กระดาก ๑ | ก. รู้สึกขวยเขิน, วางหน้าไม่สนิท, ตะขิดตะขวงใจไม่กล้าพูดหรือไม่กล้าทำเพราะเกรงจะได้รับความอับอาย. |
กระยึกกระยัก | ว. ยึกยัก, อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ. |
กระสอบทราย | น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, โดยปริยายเรียกผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ เนื่องจากถูกชก เตะ ต่อย โดยไม่มีทางสู้หรือไม่กล้าต่อสู้. |
กระอักกระไอ | ว. อิดเอื้อน, ไม่กล้าพูด, ทำเสียงไออุบอับอยู่ในคอ, เช่น พูดจากุกกักกระอักกระไอ (ไกรทอง). |
กระอิดกระเอื้อน | ก. อิดเอื้อน, ไม่กล้าที่จะพูด, กล่าวไม่เต็มปาก |
แก๊ง | กลุ่มคนที่ประพฤติตนไม่ดี เช่น ในซอยนี้มีแก๊งติดยา ฉันจึงไม่กล้าเดินเข้าไปคนเดียว. |
ขนหย็อง | น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนกที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว. |
ขยั้น | (ขะยั่น) ก. คร้าม, เกรง, ไม่กล้า, แหยง. |
ขลาด | (ขฺลาด) ว. มักกลัว, ไม่กล้า. |
เข็ด ๒ | ก. กลัวจนไม่กล้าทำเช่นนั้นอีก เพราะเคยได้รับผลร้ายมาแล้ว, หลาบจำ, ไม่กล้าสู้, เช่นในคำว่า เข็ดข้อ เข็ดข้อเข็ดลำ เข็ดเขี้ยว. |
เข็ดขยาด | ก. กลัวมากจนไม่กล้าทำ. |
เข็ดข้อ, เข็ดข้อเข็ดลำ | ก. ไม่กล้าสู้เพราะคร้ามข้อคร้ามลำ. |
เข็ดขี้อ่อนขี้แก่ | ก. หลาบจำไม่อยากหรือไม่กล้าทำอีก. |
เข็ดเขี้ยว | ก. ไม่กล้าสู้เพราะเคยต่อสู้กัน แล้วสู้ไม่ได้. |
เข้าหน้า | ก. เผชิญหน้า เช่น ไม่กล้าเข้าหน้า. |
คร้าม | (คฺร้าม) ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว. |
เงื้อง่าราคาแพง | ก. จะทำอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทำลงไป ดีแต่ทำท่าหรือวางท่าว่าจะทำเท่านั้น. |
จดไม่ลง | ก. ไม่กล้าซื้อเพราะราคาแพงมาก. |
จ๋อง | ว. หงอยเหงา, เซื่อง, ไม่กล้า, ไม่คึกคัก. |
เชือดไก่ให้ลิงดู | ก. ลงโทษคนหนึ่งหรือคนกลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็นตัวอย่างให้คนอื่นหรือคนกลุ่มอื่นเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าขัดคำสั่ง หรือไม่กล้าทำความผิด. |
บุญหนักศักดิ์ใหญ่ | ว. มีฐานันดรศักดิ์สูงและอำนาจวาสนายิ่งใหญ่ (มักใช้ในความประชด) เช่น ถึงเป็นพี่น้องกัน แต่ฉันก็ไม่กล้าไปรบกวนเขา เพราะเขาบุญหนักศักดิ์ใหญ่เหลือเกิน. |
ปอด ๑ | ว. กลัวจนไม่กล้าทำอะไร. |
ปากหอยปากปู | ไม่กล้าพูด, พูดไม่ขึ้นหรือพูดไม่มีใครสนใจฟัง (ใช้แก่ผู้น้อย). |
พะอืดพะอม | โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไรดี, ไม่กล้าที่จะตัดสินใจเด็ดขาดลงไป, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ก็ว่า. |
ม้าน ๑ | เรียกหน้าที่เผือดด้วยความละอายจนไม่กล้าสบตาคน ว่า หน้าม้าน. |
ยึกยัก | ว. อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, กระยึกกระยัก ก็ว่า. |
ระย่อ | ก. ขยาด, ครั่นคร้าม, ไม่กล้าสู้, ไม่มีกำลังใจจะสู้. |
ละ ๑ | เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ … หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ – ' – แสดงว่ามีคำหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. |
สู้หน้า | ก. รอหน้า, เผชิญหน้า, เช่น เขาทำผิด เลยไม่กล้าสู้หน้าฉัน. |
หงอ | ว. อาการที่กลัวจนตัวงอ, อาการที่กลัวลานหรือครั่นคร้ามไม่กล้าสู้, ในคำว่า กลัวหงอ, ใช้ว่า หงอก๋อ ก็มี. |
หน้าตัวเมีย | น. ลักษณะหน้าตาท่าทางคล้ายผู้หญิง, โดยปริยายหมายความว่า ใจเสาะ, ขี้ขลาด, ไม่กล้าสู้, (มักพูดเป็นเชิงเหยียดหยามผู้ชาย). |
หน้าม้าน | ว. มีสีหน้าเผือดด้วยความละอายจนไม่กล้าสบตาคน. |
หมาเห่าใบตองแห้ง | น. คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง. |
หลบตา | ก. หลีกไม่จับตา, ไม่กล้าสบตา, ไม่สู้สายตา. |
หลาบจำ | ก. เข็ดจนไม่กล้าทำอีกต่อไป. |
หือ ๒ | ก. เถียง, คัดค้าน, เช่น อย่ามาหือนะ เขาไม่กล้าหือ. |
หือไม่ขึ้น | ก. เถียงไม่ได้, คัดค้านไม่ได้, ไม่กล้าเถียง, ไม่กล้าคัดค้าน. |
หุ่นไล่กา | น. หุ่นที่มักทำเป็นรูปคนสวมเสื้อผ้าสำหรับลวงนกกาให้กลัว ทำให้ไม่กล้าลงมากินพืชผลในไร่นา. |
อยู่มือ | ก. เกรงกลัวไม่กล้าฝ่าฝืน, อยู่ในบังคับไม่กล้าฝ่าฝืน. |
อับอาย | ว. อายไม่กล้าสู้หน้า, ขายหน้า. |
อิดเอื้อน, อิด ๆ เอื้อน ๆ | ก. ไม่กล้าที่จะพูด, กล่าวไม่เต็มปาก |