คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า | น. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก. |
ประจุไฟฟ้า | น. อนุภาคที่แสดงอำนาจไฟฟ้าซึ่งได้แก่ โปรตอน และอิเล็กตรอน วัตถุใดที่มีจำนวนโปรตอนมากกว่าจำนวนอิเล็กตรอน ก็กำหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าบวก แต่ถ้ามีจำนวนอิเล็กตรอนมากกว่าจำนวนโปรตอน ก็กำหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าลบ. |
ไฟฟ้า | น. พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือโปรตอนหรืออนุภาคอื่นที่มีสมบัติแสดงอำนาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่. |
ไฟฟ้ากระแส | น. ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนปรากฏเป็นอิสระอยู่บนวัตถุ และเคลื่อนที่เป็นกระแส. |
ไฟฟ้าสถิต | น. ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนหรือโปรตอนปรากฏเป็นอิสระอยู่บนวัตถุ และไม่เคลื่อนที่เป็นกระแส. |
รถไฟฟ้า | น. รถที่พ่วงกันเป็นขบวนยาวโดยขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แล่นไปตามราง. |
สนามไฟฟ้า | น. บริเวณที่มีอำนาจไฟฟ้า, บริเวณที่มีเส้นแรงไฟฟ้าผ่าน. |
สายไฟฟ้า | น. เส้นโลหะตัวนำไฟฟ้า ใช้เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านอาจมีฉนวนหุ้มหรือไม่มีก็ได้, ถ้าไม่มีฉนวนหุ้มเรียก สายเปลือย. |
เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า | น. ปรากฏการณ์ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเนื่องจากอำนาจแม่เหล็ก, เรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากอำนาจแม่เหล็ก ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ, เรียกเครื่องมือสำเร็จที่ใช้สำหรับเปลี่ยนศักย์ไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้นมาก ๆ โดยอาศัยอำนาจแม่เหล็ก ว่า ขดลวดเหนี่ยวนำ. |
กระตุ้น | ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว เช่น กระตุ้นม้า, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทำงาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป. |
กระแสตรง | น. กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ตามแนวทิศเดียวกันอยู่ตลอดเวลา. |
กระแสสลับ | (-สะหฺลับ) น. กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่โดยสลับแนวทิศอยู่ตลอดเวลา. |
กัมมันตภาพรังสี | (กำมันตะ-) น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมีพลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. |
การนำ | น. การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำหรือฉนวน |
การแผ่รังสี | น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนในลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของแสง เมื่อเทหวัตถุใดดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นไว้ได้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็จะแปรสภาพเป็นพลังงานความร้อน เป็นผลให้เทหวัตถุนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเดิม. |
กิโลไซเกิล | น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ มีค่าเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ว่า กิโลเฮิรตซ์. |
กิโลเฮิรตซ์ | น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ ใช้สัญลักษณ์ kHz ๑ กิโลเฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ ๑, ๐๐๐ เฮิรตซ์ หรือเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที. |
แกมมา | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. |
แกรไฟต์ | (แกฺร-) น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดำ ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดำ เนื้ออ่อน เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทำไส้ดินสอดำ เบ้าหลอมโลหะ นํ้ามันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุมจำนวนอนุภาคนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. |
ขั้วบวก | น. ขั้วไฟฟ้าที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าอีกขั้วหนึ่ง. |
ขั้วลบ | น. ขั้วไฟฟ้าที่มีศักย์ไฟฟ้าตํ่ากว่าอีกขั้วหนึ่ง. |
คลื่นความถี่ | น. คลื่นวิทยุหรือคลื่นแฮรตเซียนซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำกว่าสามล้านเมกะเฮิรตซ์ลงมาที่ถูกแพร่กระจายในที่ว่างโดยปราศจากสื่อนำที่ประดิษฐ์ขึ้น. |
คลื่นปานกลาง | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ปานกลาง ตั้งแต่ ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๓ เมกะเฮิรตซ์ (หรือ ๓, ๐๐๐ กิโลเฮิรตซ์). |
คลื่นยาว | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ตํ่า ตั้งแต่ ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์. |
คลื่นวิทยุ | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งผ่านบรรยากาศด้วยความถี่วิทยุ. |
คลื่นสั้น | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง ตั้งแต่ ๓ เมกะเฮิรตซ์ ถึง ๓๐ เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารระยะไกล. |
คลื่นแฮรตเซียน | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ระหว่างสิบกิโลไซเกิล ต่อวินาที และสามล้านเมกะไซเกิลต่อวินาที. |
ความถี่ | น. จำนวนไซเกิล, การแกว่งกวัด, การสั่นสะเทือนหรือคลื่นใน ๑ วินาที เช่น ไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่ ๕๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล |
ความถี่วิทยุ | น. ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งวิทยุและโทรทัศน์ ขนาดตํ่าสุดตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ขนาดสูงสุดตั้งแต่ ๓๐, ๐๐๐ ถึง ๓๐๐, ๐๐๐ เมกะเฮิรตซ์. |
คอนเดนเซอร์ | น. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สำหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็นปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนำธรรมดาที่มีขนาดเท่ากัน. |
คอยล์ | น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งใช้ประกอบกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าแรงตํ่าจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูง เพื่อก่อให้เกิดประกายไฟฟ้าที่เขี้ยวหัวเทียน. |
คำประสม | น. คำที่เกิดจากการนำคำมูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคำใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมาอีกคำหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า. |
คีย์บอร์ด | เครื่องดนตรีที่มีแผงแป้นนิ้ว โดยเฉพาะที่ใช้ไฟฟ้า เช่น เปียโนไฟฟ้า ออร์แกนไฟฟ้า. |
เคเบิล | ตัวนำไฟฟ้าหลายเส้นที่นำมาประกอบกันเป็นสายใหญ่ ภายนอกอาจหุ้มด้วยฉนวนก็ได้ เช่น สายเคเบิลโทรศัพท์ สายเคเบิลไฟฟ้าแรงสูง. |
เครื่อง | (เคฺรื่อง) น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสำหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสำหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสำรับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสำรับกับแป้งเครื่องสำอาง, ของใช้ของกินสำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย. |
เครื่องควบแน่น | เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สำหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็นปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนำธรรมดาที่มีขนาดเท่ากัน, มักเรียกทับศัพท์ว่า คอนเดนเซอร์. |
แค็ตตาล็อก | น. หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ เป็นต้น ที่มีภาพสินค้าเช่นเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดของสินค้าเพื่อเผยแพร่หรือสำหรับให้ลูกค้าเลือกซื้อ. |
แคโทด | น. แผ่นหรือแท่งตัวนำที่โยงต่อกับขั้วลบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ไฟฟ้า. |
โคม | น. เครื่องตามไฟหรือเครื่องให้แสงสว่างซึ่งมีเครื่องบังลมหรือเครื่องบังคับแสงไฟ ใช้ตั้ง หิ้ว หรือแขวน เช่น โคมไฟฟ้า, ลักษณนามว่า โคม ดวง ใบ หรือ ลูก, เรียกชามอย่างเก่าขนาดใหญ่ รูปคล้ายโคมจีนหรือลูกฟักตัดครึ่ง ว่า ชามโคม, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. |
โครงการพระดาบส | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้มีสถานที่สอนความรู้วิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิชาช่างไฟฟ้า วิชาช่างเครื่องยนต์ วิชาช่างวิทยุโทรทัศน์ ให้แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัด เพศ วัย และวุฒิการศึกษา โดยครูที่มีความรู้และยินดีอาสาสมัครสอนให้เป็นวิทยาทาน เปรียบเสมือนพระดาบสในสมัยโบราณที่มีกุศลศรัทธาที่จะถ่ายทอดศิลปศาสตร์ให้แก่ลูกศิษย์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เริ่มดำเนินการโครงการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส และจัดตั้งเป็นมูลนิธิพระดาบสเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการพระดาบส และกิจการของโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส. |
จานจ่าย | น. อุปกรณ์ที่ส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหัวเทียนในฝาสูบของเครื่องยนต์ตามจังหวะที่เหมาะสม เพื่อจุดระเบิดไอนํ้ามันเชื้อเพลิงผสมอากาศ. |
จุนสี | (จุนนะสี) น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อ คิวปริกซัลเฟต (CuSO4) เมื่อเป็นผลึกมีสูตร CuSO4.5H2O ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ใช้ประโยชน์ในการชุบทองแดงด้วยไฟฟ้า ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา ฆ่าลูกนํ้า, คนทั่วไปเข้าใจว่าเกิดจากสนิมทองแดง. |
ฉนวน ๒ | (ฉะหฺนวน) น. วัตถุที่ไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไม่ได้สะดวก, วัตถุที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าหรือความร้อน. |
ช็อก | น. สภาวะที่ร่างกายเสียเลือดจนความดันเลือดต่ำมาก หรือถูกกระทบจิตใจอย่างรุนแรง หรือถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นต้น จนทำให้เป็นลมหรือหมดสติในทันที. |
ช่างไฟ | ช่างติดตั้ง ควบคุม หรือแก้ไขไฟฟ้า. |
ชำระ | จ่าย เช่น ชำระเงิน ชำระหนี้ ชำระค่าไฟฟ้า. |
ซีลีเนียม | น. ธาตุลำดับที่ ๓๔ สัญลักษณ์ Se เป็นอโลหะ มีสมบัติทางเคมีคล้ายกับธาตุกำมะถัน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๑๗ ºซ. ใช้ประโยชน์ทำเซลล์ไฟฟ้าชนิดที่ใช้พลังงานแสง. |
เซลล์ ๒ | น. อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าซึ่งใช้ปฏิกิริยาเคมีในการเปลี่ยนพลังงานในสารเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเช่นถ่านไฟฉาย ถ่านกระดุม และส่วนย่อยของแบตเตอรี่, เรียกเต็มว่า เซลล์ไฟฟ้า. |
เซลล์ทุติยภูมิ | น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนำไปอัดไฟเสียก่อน แล้วจึงจะนำไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทำให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนำเซลล์ไฟฟ้าไปอัดไฟใหม่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. |
เซลล์ปฐมภูมิ | น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นำไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. |