ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ไปยัง, -ไปยัง- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ Metastasis (เม็ดแทส) | (n) การแพร่กระจายของเนื้อร้าย มะเร็ง ไปยังอวัยวะอื่นๆ | selfie | [เซลฟฺ-ฟี] (n) การถ่ายภาพตนเองในอิริยาบทต่างๆด้วยโทรศัพทมือถือหรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ แล้วมีการเผยแพร่ภาพไปยังสื่อสังคมออนไลน์ |
| การสื่อสาร | น. วิธีการนำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือ เป็นต้น จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรืออีกสถานที่หนึ่ง. | กุก | น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหก ลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น | เกียร์ | น. กลอุปกรณ์ที่ส่งผ่านกำลังและการเคลื่อนที่จากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งของเครื่องกล | โกรก | (โกฺรก) ก. เทให้ไหลเรื่อยไปยังที่หมาย เช่น โกรกนํ้า, เทให้ไหลลงไป เช่น เอานํ้าโกรกหัว | ขน ๒ | ก. เอาสิ่งของเป็นต้นจำนวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยบรรทุก หาบ หาม หรือด้วยวิธีอื่น. | ขว้างข้าวเม่า | น. ประเพณีอย่างหนึ่ง เอามะพร้าวทั้งผลโยนไปยังที่เขากำลังทำข้าวเม่ากันอยู่ เพื่อแสดงว่าเอามะพร้าวมาขอแลกข้าวเม่าไปกินบ้าง. | ข้ามเรือ | ก. ลงเรือข้ามน้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง. | ขายฝาก | น. การซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดกันไว้. | ขึ้นเหนือล่องใต้ | ก. เดินทางไกลไปยังที่ต่าง ๆ โดยมักไปเป็นประจำ. | ไขรา | น. ส่วนของหลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะตอนที่ยื่นพ้นผนังอาคารออกไปยังขอบหลังคา, ถ้าส่วนที่ยื่นนั้นอยู่ตรงหน้าจั่ว เรียก ไขราหน้าจั่ว, ถ้าอยู่ปลายหน้าบัน เรียก ไขราหน้าบัน, ถ้าเป็นหลังคาปีกนก เรียก ไขราปีกนก, ถ้าเป็นหลังคาบังสาดตามขนาดยาวของเต้า เรียก ไขราจันทันเต้า หรือ ไขราเต้า. | คล้อยหลัง | ว. ผ่านพ้นไปยังพอเห็นหลังไว ๆ เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยหลังไปไม่นาน. | คลัตช์ | น. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งพลังงานซึ่งถ่ายทอดมาจากเครื่องยนต์ไปยังเกียร์ หรือตัดพลังงานนั้นตามต้องการ. | ความยาวคลื่น | น. ความยาวระหว่างจุดใดจุดหนึ่งบนคลื่นลูกหนึ่งไปยังจุดในตำแหน่งเดียวกันบนคลื่นลูกถัดไป. | คำบอกกล่าว | น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจา ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนองในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับจำนอง. | คู่สายโทรศัพท์ | น. สายที่ใช้ประกอบการสื่อสารทางโทรศัพท์ ๒ เส้น ต่อจากห้องเครื่องชุมสายโทรศัพท์ไปยังบ้านผู้ใช้โทรศัพท์, คู่สาย ก็ว่า. | เครื่องกล | น. เครื่องมือที่ประกอบด้วยส่วนที่อยู่กับที่และส่วนที่เคลื่อนที่ได้ สามารถปรับเปลี่ยนและส่งถ่ายพลังงานกลไปยังจุดอื่นในรูปที่เป็นประโยชน์มากขึ้น เช่น รอก คาน ลิ่ม. | โฆษณา | (โคดสะนา) ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน | จ้อง ๒ | ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทำร้าย จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. | จับยาม | ก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรา. | จานจ่าย | น. อุปกรณ์ที่ส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหัวเทียนในฝาสูบของเครื่องยนต์ตามจังหวะที่เหมาะสม เพื่อจุดระเบิดไอนํ้ามันเชื้อเพลิงผสมอากาศ. | ชก | ก. กำหมัดแล้วพุ่งตรงไปยังที่หมาย เช่น ชกหน้า. | ช่องเขา | น. เส้นทางที่ใช้เป็นทางข้ามทิวเขาจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง, ช่องที่อยู่ในระหว่างเขา ๒ ลูก. | ชอนตา | ก. พุ่งแยงไปยังนัยน์ตา (ใช้แก่แสงอย่างแสงแดดแสงไฟ) เช่น แสงตะวันชอนตา. | ชะวากทะเล | น. ฝั่งทะเลที่เว้าเป็นช่องเข้าไปยังปากแม่นํ้า ซึ่งนํ้าจืดไหลมาผสมกับนํ้าทะเล. | ชักพระ | น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย. | ชักศพ | ก. ถือสายสิญจน์ที่โยงจากศพและนำศพให้เคลื่อนที่ไปยังที่เก็บ ที่ตั้ง หรือที่เผาศพ (ใช้แก่พระ). | โชงโลง | น. เครื่องมือชนิดหนึ่งสำหรับวิดน้ำ ลักษณะคล้ายลูกฟักผ่าซีกและตัดครึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีคันยาวต่อออกไปทางท้ายสำหรับจับ ผูกโยงแขวนไว้กับขาหยั่ง แล้วจับคันจ้วงน้ำสาดออกไปยังที่ที่ต้องการ, ชงโลง ก็ว่า, อีสานเรียก กะโซ้, พายัพเรียก กระโจ้, ปักษ์ใต้เรียก โพง. | ตกทอด | ก. สืบต่อกันมาเป็นทอด ๆ, สืบต่อจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง, เช่น มรดกตกทอด | ต่อ ๕ | ไปยัง, ไปถึง, เช่น ยื่นต่ออำเภอ | ติดต่อ | ว. ลักษณะของโรคติดเชื้อเมื่อเป็นแก่ผู้หนึ่งแล้วสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้, เรียกโรคที่มีลักษณะเช่นนั้น ว่า โรคติดต่อ เช่น วัณโรคเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง. | ทแยงมุม | ว. เฉียงจากมุมหนึ่งไปยังมุมตรงข้าม. | ท้องตรา | น. หนังสือราชการที่ประทับตราของเจ้ากระทรวง มีไปยังเจ้าเมืองตามหัวเมือง, เดิมเรียกว่า สารตรา. | ทอด ๒ | พาดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น ทอดไม้หมากทำเป็นสะพานข้ามคู | ทอย ๑ | ก. โยนให้เรียดหรือเรี่ยดินไปให้ถูกเป้าหรือไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เช่น ทอยเบี้ยในการเล่นทอยกอง ทอยเบี้ยเล่นต้องเต, ปาให้ถูกเป้า เช่น ทอยลูกข่าง. | ทูต | น. ผู้นำข้อความไปแจ้งทั้ง ๒ ฝ่าย, ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร, ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปยังต่างประเทศ เพื่อเจรจาหรือเจริญสัมพันธไมตรีเป็นทางราชการ. | เที่ยว ๑ | น. เรียกการไปยังที่ซึ่งกำหนดไว้ครั้งหนึ่ง ๆ หรือไปกลับรอบหนึ่ง ๆ ว่า เที่ยว เช่น เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง เที่ยวไป เที่ยวกลับ, ลักษณนามบอกอาการเช่นนั้น เช่น ไป ๒ เที่ยว มา ๓ เที่ยว. | โทรทัศน์ | น. กระบวนการถ่ายทอดเสียงและภาพได้พร้อมกันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นเสียงและภาพให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่ดังกล่าว ว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้รับจากเครื่องส่งโทรทัศน์ให้กลับเป็นคลื่นเสียงและภาพตามเดิม ว่า เครื่องรับโทรทัศน์. | โทรเลข | น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งรหัสสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ. (อ. telegraph). | โทรเลข | ก. ส่งข้อความไปยังอีกบุคคลหนึ่งทางโทรเลข. | โทรสาร | น. ระบบสื่อสารที่ใช้ส่งและรับรูปภาพหรือข้อความในรูปของคลื่นสัญญาณไฟฟ้าผ่านระบบโทรคมนาคม เครื่องส่งในระบบนี้จะกราดเอกสารที่ต้นทางแล้วแปลงข้อมูลเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า ก่อนที่จะส่งผ่านสายไฟฟ้า เส้นใยแก้ว หรือคลื่นวิทยุ ไปยังเครื่องรับที่ปลายทาง ซึ่งจะแปลงคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากลับมาเป็นข้อมูลเอกสารเดิม ก่อนที่จะพิมพ์ออกมาในแผ่นกระดาษ, เดิมใช้ โทรภาพ | นักท่องเที่ยว | น. บุคคลที่เดินทางจากท้องที่อันเป็นถิ่นที่อยู่โดยปรกติของตนไปยังท้องที่อื่นเป็นการชั่วคราวด้วยความสมัครใจ และด้วยวัตถุประสงค์อันมิใช่เพื่อไปประกอบอาชีพหรือหารายได้ เช่น การพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษาหาความรู้ การบันเทิง. | นั่งปรก | (-ปฺรก) ก. นั่งทำใจให้เป็นสมาธิกำกับพระสงฆ์ด้วยกันอีก ๔ รูปซึ่งสวดในพิธีที่มีสวดภาณวาร, นั่งเข้าสมาธิส่งกระแสจิตเข้าไปยังวัตถุมงคลในพิธีต่าง ๆ. | นาฬิกาทราย | น. อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดเวลา ประกอบด้วย กระเปาะแก้ว ๒ กระเปาะที่มีรูเล็ก ๆ ทะลุถึงกัน ข้างในบรรจุทรายที่จะไหลจากกระเปาะหนึ่งไปยังอีกกระเปาะหนึ่งได้หมดพอดีในเวลาที่กำหนดไว้. | น้ำเหลือง | น. ของเหลวที่ไหลออกมาจากหลอดเลือดฝอย เข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกาย แล้วไหลเข้าสู่หลอดน้ำเหลืองซึ่งจะส่งต่อไปยังหลอดเลือดดำ, ของเหลวสีเหลืองใสที่เยิ้มออกมาทางแผล. | นี่นัน | ว. อึงมี่, อึกทึก, เช่น จึงดำรัสตรัสชวนอนุชา ลงจากพลับพลาผายผัน พร้อมพวกกระบี่นี่นัน จรจรัลไปยังฝั่งนที (ตับเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย). | แน่ว | ว. ตรงดิ่งไปยังที่หมายไม่แวะเวียน เช่น วิ่งแน่วกลับไป, ไม่ว่อกแว่ก เช่น ใจแน่ว. | ผ้าโยง | น. แถบผ้าที่โยงจากปากโกศหรือหีบศพของสามัญชน ใช้สำหรับคลี่ทอดไปยังพระสงฆ์เมื่อทอดผ้าบังสุกุล. | ผีเสื้อเงิน | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Monodactylus argenteus (Linn.) ในวงศ์ Monodactylidae ลำตัวสั้นมาก รูปไข่แบนข้าง ฐานครีบหลังและครีบก้นยาวทั้งคู่มีปลายครีบตอนหน้ามน พื้นลำตัวและครีบสีเทาเงิน มีแถบสีดำพาดขวางผ่านตา ๑ เส้นและอีกเส้นโค้งผ่านแผ่นปิดเหงือกไปยังขอบหน้าของครีบหลังและครีบก้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร อยู่ในนํ้าจืดได้, โสร่งแขก ก็เรียก. | เผือน ๒ | ก. ขัดถู เช่น กูก็มิไปยังอย้าวเรือน เผือนถู (ม. คำหลวง ชูชก). | พัสดุภัณฑ์ | น. สิ่งของที่บรรจุหีบห่อสำหรับส่งจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง. |
| remission | ๑. การลดหนี้, การปลดหนี้ (ก. แพ่ง)๒. การลดโทษ, การยกโทษ (ก. อาญา)๓. การย้อนสำนวนไปยังศาลล่าง (ก. วิ.) [ ดู remand ความหมายที่ ๑ ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | remand | ๑. การส่งผู้ต้องหากลับไปคุมขัง๒. การย้อนสำนวนไปยังศาลล่าง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | remand | ๑. การย้อนสำนวนไปยังศาลล่าง (ก. วิ.) [ ดู remission ความหมายที่ ๓ ]๒. การขังระหว่างพิจารณา (ป. วิ. อาญา) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | ab alienation | การโอนทรัพย์สินไปยังผู้อื่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | devolution | ๑. การโอนอำนาจของส่วนกลางให้ส่วนท้องถิ่น (ก. ปกครอง)๒. การโอนสิทธิหรือโอนทรัพย์สิน (จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง) (ก. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | embargo | ๑. การกักเรือสินค้าที่อยู่ในท่า๒. การห้ามส่งสินค้า (ไปยังประเทศอื่น) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
|
| Media | สื่อ, ตัวกลางหรือตัวเชื่อม หรือพาหนะที่ทำให้สารเดินทางจากจุดต้นกำหนดหรือจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายปลายทาง [เทคโนโลยีการศึกษา] | Instructional Media | สื่อการเรียนการสอน, คำนี้นักการศึกษาบางท่านใช้คำว่า "สื่อการเรียน" เพราะเห็นว่าสื่อต่างๆ ที่เรานำมาใช้นั้นเพื่อการศึกษา หรือเพื่อช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่วนนักการศึกษาบางท่านจะใช้คำ "สื่อการสอน" เพราะเห็นว่าสื่อต่างๆ นั้น เป็นตัวถ่ายทอดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน<br />สื่อการเรียนการสอนนี้ ได้มีนักการศึกษาได้ให้ความหมาย หรือคำจำกัดความไว้หลายท่านด้วยกัน แต่พอจะสรุปความได้คือ "สื่อการเรียนการสอน" หมายถึง วัสดุ เครื่องมือ ตลอดจนถึงวิธีการต่างๆ ที่จะเป็นตัวช่วยถ่ายทอดความรู้ จากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน [เทคโนโลยีการศึกษา] | Migration | การเคลื่อนที่ของปิโตรเลียมจากหินต้นกำเนิดไปยังแหล่งกักเก็บ, Example: การเคลื่อนที่มีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ การเคลื่อนที่แบบปฐมภูมิ (primary migration) เป็นการเคลื่อนที่ของไฮโดรคาร์บอนออกจากหินต้นกำเนิด การเคลื่อนที่แบบทุติยภูมิ (secondary migration) เป็นการเคลื่อนที่ผ่านชั้นหินที่มีคุณสมบัติในการซึมผ่านสูงหรือในหินกักเก็บเอง และการเคลื่อนที่แบบตติยภูมิ (tertiary migration) เป็นการเคลื่อนที่จากแหล่งกักเก็บหนึ่ง (trap) ไปยังอีกแหล่งหนึ่ง หรือเป็นการเคลื่อนที่หายไปของไฮโดรคาร์บอนจากแหล่งกักเก็บ [ปิโตรเลี่ยม] | Floating Storage Unit | ถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่, ถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ซึ่งใช้เก็บน้ำมันที่ผลิตได้จากแท่นผลิตในทะเล ก่อนที่จะส่งไปยังเรือบรรทุกน้ำมัน (tanker) [ปิโตรเลี่ยม] | Van de Graaff generator | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474, Example: [นิวเคลียร์] | Van de Graaff accelerator | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474 [นิวเคลียร์] | Radiotherapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] | Radiation therapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] | Download | บรรจุลง, การส่งข้อมูลจากแม่ข่ายไปยังเครือข่าย <p>เขียนทับศัพท์เป็น ดาวน์โหลด [คอมพิวเตอร์] | Nuclear gauge | เครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์, นิวเคลียร์เกจ, เครื่องวัดและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรม ทำงานโดยการให้รังสีจากต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึกผ่านออกมาทางช่องผ่านไปยังวัสดุที่ต้องการวัด และมีหัววัดรังสีทำหน้าที่ตรวจวัดความเข้มของรังสี หรือจำแนกชนิดและขนาดพลังงานของรังสีซึ่งเป็นผลจากอันตรกิริยาระหว่างรังสีกับวัสดุนั้น ค่าที่วัดได้จะถูกใช้เป็นตัวแปรในอุปกรณ์ควบคุมกระบวนการผลิต เช่น ใช้ควบคุมความหนาแน่นของวัสดุในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็ก ซีเมนต์ ควบคุมความหนาของแผ่นวัสดุในอุตสาหกรรมกระดาษ พลาสติก ควบคุมความชื้นของวัสดุในอุตสาหกรรมถ่านหิน เหล็ก แก้ว และควบคุมระดับของเหลวในอุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี, Example: [นิวเคลียร์] | Mutation | การกลายพันธุ์, การกลาย, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ(DNA) ของเซลล์สิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้, Example: [นิวเคลียร์] | Mutant | พันธุ์กลาย, ผลจากการกลาย, สิ่งมีชีวิตที่สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ เกิดการกลายพันธุ์ขึ้นหนึ่งลักษณะหรือมากกว่า สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นถัดไป และสังเกตเห็นผลที่เกิดจากการกลายพันธุ์ได้ [นิวเคลียร์] | Mutagenesis | กระบวนการกลายพันธุ์, กระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอ ของเซลล์สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เซลล์นั้นหรือเซลล์ที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ดังกล่าวมีรูปร่างลักษณะหรือพฤติกรรมต่างไปจากเดิม กระบวนการนี้อาจเกิดขึ้นเอง หรือเกิดจากการเหนี่ยวนำโดยสิ่งก่อกลายพันธุ์ ถ้าเกิดที่เซลล์สืบพันธุ์ จะมีการส่งผ่านหรือถ่ายทอดลักษณะผิดปกติไปยังรุ่นถัดไป แต่ถ้าเกิดที่เซลล์ร่างกาย การกลายจะจำกัดเฉพาะที่เนื้อเยื่อส่วนนั้น [นิวเคลียร์] | Hereditary effect | ผลต่อพันธุกรรม, ผลกระทบของรังสีต่อสารพันธุกรรมของเซลล์สืบพันธุ์ของผู้ที่ได้รับรังสี แล้วถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังรุ่นถัดไป [นิวเคลียร์] | Habit survey | การสำรวจลักษณะนิสัย, การสำรวจลักษณะนิสัยของกลุ่มประชากรในแต่ละพื้นที่ ที่อาจนำไปสู่การได้รับรังสี เช่น พฤติกรรมการบริโภคและอาชีพ เพื่อประเมินปริมาณรังสีที่คาดว่าจะได้รับ โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มประชากรที่คาดว่าจะได้รับรังสีสูงสุด, Example: [นิวเคลียร์] | upload | บรรจุขึ้น, บรรจุขึ้น คือการถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง เครื่องที่ส่งข้อมูล เรียกว่า ตัวที่ทำการ "บรรจุขึ้น" หรือการส่งข้อมูลจากเครือข่ายไปยังแม่ข่าย <p>เขียนทับศัพท์เป็น อัปโหลด [คอมพิวเตอร์] | Bionic Eye | ตาเทียม, เทคโนโลยีเพื่อช่วยผู้ที่ตาบอดมองเห็นได้อีก โดยการผ่าตัดฝังไมโครชิป (retinal implant) ไว้ที่เรตินาในลูกตา ใช้กล้องวิดีโอที่ติดไว้กับแว่นตา ส่งสัญญาณภาพไปยังไมโครชิป ที่เชื่อมกับเรตินาที่เสื่อม ทำหน้าที่แปลงแสงให้เป็นสารเคมีที่ไปกระตุ้นเซลประสาทในการเห็นภายในสมองส่วนกลาง, Example: ความหมายเดียวกับ Retinal Prosthesis หรือ Retinal Implant [Assistive Technology] | Retinal Prosthesis | ตาเทียม, เทคโนโลยีเพื่อช่วยผู้ที่ตาบอดมองเห็นได้อีก โดยการผ่าตัดฝังไมโครชิป (retinal implant) ไว้ที่เรตินาในลูกตา ใช้กล้องวิดีโอที่ติดไว้กับแว่นตา ส่งสัญญาณภาพไปยังไมโครชิป ที่เชื่อมกับเรตินาที่เสื่อม ทำหน้าที่แปลงแสงให้เป็นสารเคมีที่ไปกระตุ้นเซลประสาทในการเห็นภายในสมองส่วนกลาง, Example: ความหมายเดียวกับ Bionic Eye หรือ Retinal Implant [Assistive Technology] | Retinal Implant | ตาเทียม, เทคโนโลยีเพื่อช่วยผู้ที่ตาบอดมองเห็นได้อีก โดยการผ่าตัดฝังไมโครชิป (retinal implant) ไว้ที่เรตินาในลูกตา ใช้กล้องวิดีโอที่ติดไว้กับแว่นตา ส่งสัญญาณภาพไปยังไมโครชิป ที่เชื่อมกับเรตินาที่เสื่อม ทำหน้าที่แปลงแสงให้เป็นสารเคมีที่ไปกระตุ้นเซลประสาทในการเห็นภายในสมองส่วนกลาง, Example: ความหมายเดียวกับ Bionic Eye หรือ Retinal Prosthesis [Assistive Technology] | Genetic effec | ผลต่อพันธุกรรม , ผลกระทบของรังสีต่อสารพันธุกรรมของเซลล์สืบพันธุ์ของผู้ที่ได้รับรังสี แล้วถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังรุ่นถัดไป [นิวเคลียร์] | Agreement | การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต] | Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] | ASEAN Promotion Centre on Trade, Investment and Tourism (ASEAN Centre) | ศูนย์ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวอาเซียน (ศูนย์อาเซียน) " ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2524 ภายใต้ความตกลงระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศสมาชิกอาเซียน มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาเซียนไปยังญี่ปุ่น ส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในอาเซียน และส่งเสริมนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นให้เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศสมาชิก อาเซียน " [การทูต] | Chargé d' Affaires ad interim | อุปทูตรักษาราชการสถานเอกอัครราชทูต หรือ อุปทูตชั่วคราว " ในกรณีที่ตำแหน่งของหัวหน้าคณะผู้แทนว่างลง หรือหัวหน้าคณะ ผู้แทนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ อุปทูตชั่วคราวจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นการชั่วคราวได้ โดยหัวหน้าคณะผู้แทนจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวให้กระทรวงการต่างประเทศของรัฐ ผู้รับทราบ หรือหากหัวหน้าคณะผู้แทนไม่สามารถแจ้งได้ กระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้ส่งจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวไปยังกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ " [การทูต] | Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] | Condolences | เมื่อใดที่ประมุขของรัฐผู้รับ หรือบุคคลในครอบครัวของประมุขนั้นถึงแก่กรรม เป็นธรรมเนียมที่ผู้แทนทางการทูตซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ประจำอยู่ในรัฐนั้น หลังจากที่ได้รายงานให้กระทรวงการต่างประเทศของผู้แทนทางการทูตนั้นก่อนทาง โทรเลขหรือโทรสารจะไปเยี่ยมหรือพบกับเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมของรัฐนั้นเพื่อ แสดงความเสียใจในนามของประมุขของรัฐของตน โดยมิต้องรอรับคำสั่งเป็นพิเศษจากกระทรวงการต่างประเทศก่อนตามปกติ โทรเลขหรือโทรสารแสดงความเสียใจนั้นจะส่งจากประมุขของรัฐ ไปยังบุคคลที่เหมาะสมในครอบครัวที่ประสบความทุกข์โศกนั้นโดยตรง [การทูต] | Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] | CSI | เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2545 โดยสำนักศุลกากรและป้องกันชายแดนสหรัฐอเมริกา ( US Bureau of Customs and Border Protection )ภายใต้กระทรวง Department of Homeland Security มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่สินค้าที่ขนส่งเข้าไปยังสหรัฐ อเมริกา ด้วยการติดตั้งระบบติดตามตู้บรรทุกสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อการก่อการร้าย และมีระบบตรวจสอบตู้บรรทุกสินค้าก่อนออกจากประเทศต้นทางไปสู่สหรัฐอเมริกา [การทูต] | Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] | Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] | Exercise by Diplomatic Missions of Consular functions | การปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 70 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ว่า1. บทของอนุสัญญานี้ใช้แก่ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูตด้วย เท่าที่บริบทจะอำนวยให้2. ชื่อของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในแผนกกงสุล หรือมิฉะนั้นได้รับภาระให้ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้น จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงนั้นที่แต่งตั้งไว้3. ในการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางการทูตอาจติดต่อกับก. เจ้าหน้าที่ท้องที่ของเขตกงสุลนั้นข. เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้าหากกระทำได้ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และจารีตประเพณีของรัฐผู้รับ หรือตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ในบังคับแห่งกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ทางการทูต [การทูต] | Free Trade Zones | เขตปลอดภาษี เป็นอาณาบริเวณที่อยู่ใกล้ท่าเรือหรือท่าอากาศยานที่อนุญาตให้นำเข้าโดยไม่ ต้องเสียภาษีนำเข้า ทั้งนี้ อาจเป็นการนำเข้าเพื่อส่งไปยังประเทศที่สาม หรือนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าสำหรับส่งออกตามที่กฎหมายกำหนด จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าของประเทศ นั้น ๆ ให้สามารถส่งออกไปขายแข่งกับตลาดโลกได้มากขึ้น [การทูต] | Functions of Diplomatic Mission | ภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะผู้แทนทางการทูต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติเป็นประจำของผู้แทนทางการทูตนั้น ได้แก่ หน้าที่การเจรจา การสังเกต และการคุ้มครอง อย่างไรก็ดี มีบางประเทศได้มอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตของตนปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และกิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญใด ๆ กับการทูตเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า1. นอกจากประการอื่นแล้ว การหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตประกอบด้วยก. ทำหน้าที่แทนรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับข. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดอันกฎหมายระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ค. เจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับง. สืบเสาะให้แน่ด้วยวิถีทางทั้งมวลอันชอบด้วยกฎหมายถึงสถาวะและพัฒนาการในรัฐ ผู้รับ แล้วรายงานไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่งจ. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ2. ไม่มีข้อความในอนุสัญญานี้ ที่จะหมายความได้ว่าเป็นการห้ามไม่ให้คณะผู้แทนทางการทูตปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล [การทูต] | goods in transit | สินค้าที่ส่งผ่านแดน หมายถึง สินค้าที่มีการส่งจากรัฐหนึ่งผ่านรัฐหนึ่งรัฐใด หรือหลายรัฐไปยังอีกรัฐหนึ่ง โดยมีการขนถ่ายสินค้าที่ต้นทางและปลายทางเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านการขนส่งของอาเซียน [การทูต] | Head of Diplomatic Mission | บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต] | Hugo Grotius (1583-1645) | บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต] | inter-state transport | การขนส่งระหว่างรัฐ หมายถึง การขนส่งจากรัฐหนึ่งไปยังอีกรัฐหนึ่ง [การทูต] | Introducer of Ambassadors | หมายถึง เจ้าหน้าที่แนะนำเอกอัครราชทูต ในนครหลวงของบางประเทศจะมีเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะ ซึ่งรับผิดชอบการติดต่อกับเอกอัครราชทูตซึ่งกำหนดจะยื่นสารตราตั้ง ให้เดินทางจากทำเนียบเอกอัครราชทูตไปยังทำเนียบของประมุขแห่งรัฐ และจะเป็นผู้เบิกตัว หรือแนะนำเอกอัครราชทูตผู้นั้นต่อประมุขของรัฐในพิธียื่นสารตราตั้ง ในนครหลวงของอีกบางประเทศ เจ้าหน้าที่แนะนำตัวเอกอัครราชทูตจะมีตำแหน่งเรียกอย่างอื่นคือ Master of Ceremonies ส่วนในประเทศอังกฤษ ณ พระราชสำนักแห่งเซนต์เจมส์ ผู้ที่ทำหน้าที่เช่นนี้จะเรียกว่า Her Majesty?s Marshal of the Diplomatic Corps ส่วนในสหรัฐอเมริกา ผู้กระทำหน้าที่นี้คืออธิบดีกรมพิธีการทูต (Chief of Protocol) [การทูต] | Multiple Representation | คือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้" [การทูต] | No Objection Certificate | เป็นเอกสารรับรองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย กระทรวงการต่างประเทศไทยไม่มีข้อขัดข้องสำหรับบุคคลที่จะนำเอกสารนี้ไปใช้ เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาของต่างประเทศตามคำร้องขอของรัฐบาล ปากีสถาน หรือใช้ในการขอเปลี่ยนแปลงสถานะวีซ่าจากประเภทหนึ่งไปยังอีกประเภทหนึ่งตาม ที่ต่างประเทศนั้น ๆ เป็นผู้กำหนด กรณีนักศึกษาไทยไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาโดยวีซ่านักเรียน แต่ภายหลังประสงค์จะขอเปลี่ยนวีซ่าเป็นวีซ่าทำงานตามกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง ของสหรัฐอเมริกา [การทูต] | New Diplomacy | การทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต] | Normal Diplomacy | การติดต่อทางการทูตโดยวิถีทางทูตตามปกติ มักจะกระทำกันดังนี้ เมื่อรัฐบาลต้องการจะหยิบยกปัญหาขึ้นกับอีกรัฐบาลหนึ่ง ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำสั่งไปยังเอกอัครราชทูตของ ประเทศตนที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับส่งให้ยกเรื่องนั้นขึ้นเจรจากับรัฐบาล ของประเทศผู้รับ โดยปกติเอกอัครราชทูตจะมีหนังสือทางการทูต (Diplomatic Note) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศผู้รับนั้นก่อน หรือไม่ก็ไปพบกับรัฐมนตรีด้วยตนเอง ณ กระทรวงการต่างประเทศ การเจรจากันอาจทำให้จำเป็นต้องมีการบันทึกของทูตแลกเปลี่ยนกันขึ้น ในรูปบันทึกช่วยจำ (Aide-Memoire ) ในบางกรณี เอกอัครราชทูตจำเป็นต้องไปพูดจา ณ กระทรวงการต่างประเทศ อีกหลายครั้งกว่าจะเสร็จเรื่อง ในระหว่างนั้น เอกอัครราชทูตมีหน้าที่จะต้องรายงานผลการเจรจาแต่ะครั้งไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศของตน และบางคราวอาจจะต้องขอคำสั่งเพิ่มเติมอีกเมื่อเกิดกรณีใหม่โดยมิได้คาดหมาย มาก่อนเป็นต้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับก็จะส่งคำสั่งไปยังเอก อัครราชทูตของตน แนะว่าควรดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจากันกับรัฐบาลของ ประเทศที่ตนประจำอยู่ผลการเจรจาอาจเป็นที่ตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง ฝ่าย หรืออาจจะจบลงด้วยภาวะชะงักงัน ( Stalemate ) หรือรัฐบาลทั้งสองอาจจะตกลงกันว่าไม่สามารถตกลงกันได้ และปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปก่อน จนกว่าจะมีการรื้อฟื้นเจรจากันใหม่ บางคราวปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น อาจกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไปก็ได้ [การทูต] | Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] | Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] | Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] | Plan Puebla-Panama | สมาชิก เม็กซิโก เบลิซ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ นิการากัว คอสตาริกา และปานามา วัตถุประสงค์ ริเริ่มโดยประธานาธิบดี Vicente Fox ของเม็กซิโก เมื่อปี พ.ศ. 2543 เพื่อแสวงหาความร่วมมือและให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ประเทศภูมิภาค อเมริกากลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมและสาธารณูปโภค เช่น ถนน สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจจากเม็กซิโกลงไปยังประเทศทางตอนใต้ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศร่วมกัน และเพื่อแก้ไขปัญหาการอพยพของแรงงานผิดกฎหมายจากประเทศในแถบอเมริกากลางเข้า สู่เม็กซิโก หมายเหตุ Puebla เป็นชื่อเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเม็กซิโก และเป็นจุดเริ่มต้นโครงการ ซึ่งสิ้นสุดที่ปานามา [การทูต] | Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] | Servicio Nacional de Sanidad y Calidad Agroalimentaria | สำนักงานตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ของ อาร์เจนตินา เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการตรวจสอบมาตรฐานการส่งออก และนำเข้าสินค้าเกษตรและสัตว์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเศรษฐกิจและการผลิตของอาร์เจนตินา โรงงานผลิตสัตว์น้ำของไทยที่ส่งออกสินค้าไปยังอาร์เจนตินาจะต้องได้รับใบ รับรองมาตรฐานการผลิตจาก SENASA ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้นำสินค้าเข้าสู่อาร์เจนตินา [การทูต] | Termination of Consular Office | การยุติลงของการหน้าที่ทางการกงสุล กล่าวคือ หน้าที่ของหัวหน้าคณะในสถานที่ทำการทางกงสุลจะยุติลงเนื่องจาก 1. วายชนม์2. รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับ3. รัฐผู้รับเพิกถอนอนุมัติบัตร (Exequatur)4. การหน้าที่ของผู้นั้นได้ถึงกำหนดครบวาระหรือยุติลง5. เกิดสงครามระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับไม่เหมือนกับกรณีคณะผู้แทนทางการทูต สถานที่ทำการทางกงสุลนั้น ภาระหน้าที่จะไม่ยุติลงเนื่องจากมีการเปลี่ยนกษัตริย์หรือประธานาธิบดีของ รัฐผู้ส่งหรือรัฐผู้รับ ข้อ 25 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ?การหน้าที่ของบุคคลในสถานที่ทำการกงสุลจะยุติลงก) เมื่อรัฐผู้ส่งได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้รับว่า การหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้ยุติลงแล้วข) เมื่อมีการเพิกถอนอนุมัติบัตรค) เมื่อรัฐผู้รับได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้ส่งว่า รัฐผู้รับได้เลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล [การทูต] | Visa | การตรวจลงตรา กล่าวคือ เป็นเครื่องหมายแสดงการรับรองที่ประทับอยู่ในหนังสือเดินทางว่า หนังสือเดินทางฉบับนั้นได้รับการตรวจตราแล้ว ในกรณีที่ผู้ถือหนังสือดังกล่าวยื่นขอเดินทางเข้าไปในประเทศที่ให้การตรวจลง ตรา และทุกอย่างถูกต้องจึงให้ผู้นั้นเดินทางไปยังประเทศดังกล่าวได้อนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ของวรรค D ว่า หน้าที่ทางกงสุลข้อหนึ่งคือ ?ออกหนังสือเดินทางและเอกสารเดินทางให้แก่คนชาติของรัฐผู้ส่ง และตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่ง?พึง เข้าใจว่า แม้หนังสือเดินทางจะได้รับการตรวจลงตราแล้วก็ตาม ก็มิได้เป็นการประกันร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ผู้ถือหนังสือนั้นจะได้รับการยินยอมให้เดินทางเข้าไปในรัฐที่ให้การตรวจลง ตรา คือ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในรัฐนั้นอาจห้ามมิให้เข้าประเทศได้ ทั้ง ๆ ที่ได้รับการตรวจตราแล้วก็ตาม แต่การกระทำเช่นนี้เป็นกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมากการตรวจลงตราหรือวีซ่านั้น แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ1) การตรวจลงตราทางการทูต ซึ่งออกให้แก่บุคคลในคณะทูตและกงสุล รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของต่างประเทศ2) การตรวจลงตราทางราชการ ออกให้แก่ข้าราชการที่ไม่รวมอยู่ในประเภทที่ 1) ซึ่งจะเดินทางไปธุระราชการ และ3) การตรวจลงตราธรรมดา ออกให้แก่บุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และไม่รวมอยู่ในประเภทที่ 1) และ 2) มีหลายประเทศได้ให้การตรวจลงตราชั่วคราว การตรวจลงตราสำหรับลูกเรือเดินทะเล การตรวจลงตราสำหรับพ่อค้าต่างประเทศ การตรวจลงตราสำหรับนักศึกษา และการตรวจลงตราสำหรับผู้อพยพลี้ภัย เป็นต้น [การทูต] |
| บินตรงไปยัง ... | [bin trong pai yang ...] (v, exp) EN: fly nonstop to ... FR: voler sans escale à destination de ... | เดินไปยังเมือง | [doēn pai yang meūang] (v, exp) EN: walk toward the town | ไปยัง | [pai yang] (v, exp) FR: aller à ; aller vers |
| memory stick | (n) อุปกรณ์เก็บข้อมูลประเภท flash memory ชนิดหนึ่ง ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท SONY และใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆของ SONY มีขนาดเล็กประมาณเท่าแผ่นหมากฝรั่ง magic gate memory stick คือ memory stick ที่มีหมายเลขรหัสประจำในแต่ละแผ่น เพื่อให้สามารถควบคุมการทำสำเนาข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ (เช่น ข้อมูลเพลง หรือภาพ) ได้ คือ ข้อมูลที่บันทึกจะนำมาใช้ได้เมื่ออ่านจากแผ่นที่มีหมายเลขที่กำหนดเท่านั้น และจะใช้ไม่ได้เมื่อทำสำเนาข้อมูลนั้นไปยังแผ่นหรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่น, See also: flash memory | paste | (vt) วาง, แปะ (ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถ เลือก text หรือ object อื่นๆ, ตัด (cut) ลบออก หรือ ทำสำเนา (copy) (ซึ่งจะนำเก็บเข้าในกระดานทด หรือ clipboard ไว้ด้วย) แล้ว วาง, แปะ (paste) ไปยังที่อื่นๆ เป็นการย้าย หรือทำสำเนา text, object นั้นๆ) | conveyor | (n) เครื่องสำหรับนำวัตถุไปยังที่อื่น เช่น สายพาน | CDMA | (abbrev) CDMA (Code division multiple access) คือ เทคโนโลยี ที่ใช้ในการส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็น DATA หรือ VOICE จากผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่คนนึง ไปยังอีกคนนึง โดยข้อมูลที่ส่งไปจะถูกเข้ารหัสต่างๆกันใน channel เดียวกัน ทำให้สามารถที่จะส่งข้อมูลจากหลายๆผู้ใช้งานใน channel เดียวกันได้ | instagram | [อิน'สตาแกรม] (n) โปรแกรมฟิลเต้อร์และลูกเล่นในตัวกล้องถ่ายรูปเพื่อการตบแต่งภาพถ่ายอิเล็กทรอนิกส์ให้โทนสีแปลกไปตามต้องการ พร้อมช่วยให้เกิดความสะดวกแก่การเชื่อมต่อไปยัง Social Media ต่างๆ เช่น Facebook และ Twitter เป็นต้น |
| adjourn | (vi) ออกจากที่นัดพบ (ไปยังอีกที่หนึ่ง), See also: ย้ายที่ ไปยังที่อื่น | afflux | (n) สิ่งที่ไหลไปยังจุด ๆ หนึ่ง, See also: การไหลไปสู่จุดใดจุดหนึ่ง เช่น การไหลคั่งของเลือดไปยังอวัยวะหนึ่ง | along | (adv) ไปยัง | ambulant | (adj) ที่เคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง, Syn. walking | angina pectoris | (n) อาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณหัวใจที่แผ่จากหัวใจไปยังไหล่แล้วไปที่แขนข้างซ้ายหรือจากหัวใจไปที่ท้อง | antechamber | (n) ห้องขนาดเล็กซึ่งเป็นห้องที่เป็นทางผ่านไปยังห้องที่ใหญ่กว่า | apothem | (n) เส้นตั้งฉากจากจุดศูนย์กลางไปยังด้านใดด้านหนึ่งของรูปเหลี่ยมด้านเท่า | around | (adv) ไปยัง | ascend | (vt) เคลื่อนที่ไปยัง | at | (prep) ไปยัง, Syn. toward, in the direction of | address to | (phrv) ส่ง (คำพูด, ข้อเขียน, ข้อความ) ไปยัง, Syn. direct to | aim at | (phrv) มุ่งหมายเพื่อ, See also: มุ่งไปยัง, มุ่งมั่นเพื่อ, Syn. drive at, drive for | ask to | (phrv) เชิญไปยัง, Syn. invite to | bound | (vi) มุ่งหน้า, See also: มุ่ง, ตรงไปยัง | buck | (vt) ส่งต่อไปยัง (เพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ) | be past it | (idm) หวนกลับไปทำสิ่งที่ผ่านมาอีกไม่ได้ (คำไม่เป็นทางการ), See also: กลับไปยังอดีตผ่านไปแล้วไม่ได้, Syn. get past | beam to | (phrv) กระจายเสียงไปยัง (วิทยุหรือโทรทัศน์) | bear to | (phrv) นำไปยัง, See also: ลำเลียงไปยัง | bring around | (phrv) พาไปยังสถานที่ที่ตกลงกัน, Syn. bring over | bring into | (phrv) นำไปยัง (สถานที่), See also: พาไปยัง สถานที่ | bring round | (phrv) พาไปยังสถานที่ตกลงกันไว้, Syn. bring over | cast | (vt) มองตรงไปยัง | center | (vt) มุ่งความสนใจไปยัง, Syn. concentrate, focus | centre | (vt) มุ่งความสนใจไปยัง, Syn. concentrate, focus | channel | (vt) มุ่งไปยัง, See also: ใช้ไปในทาง, Syn. direct | coastward | (adj) ไปยังฝั่งทะเล | coastward | (adv) ไปยังฝั่งทะเล | concenter | (vt) มุ่งความสนใจไปยัง, Syn. concentrate, converge | concenter | (vi) มุ่งความสนใจไปยัง | concentrate | (vt) ทำให้ตรงไปยังจุดศูนย์กลาง, Syn. center, focus | concentrate | (vi) ทำให้ตรงไปยังจุดศูนย์กลาง | concentration | (n) การมุ่งไปยังศูนย์กลาง | concurrent | (adj) ที่ไปยังจุดเดียวกัน | consign | (vt) ส่งไปยัง, Syn. send, deliver | converge | (vi) ไปยังจุดหมายเดียวกัน | cross-pollination | (n) การถ่ายเกสรดอกไม้จากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่ง | carry down | (phrv) สืบทอดไปยัง, See also: ถ่ายทอดให้กับ, ส่งต่อให้คนรุ่นหลัง, Syn. hand down | cast back | (phrv) หันกลับไปยัง, See also: กลับไปสู่, Syn. throw back | commute into | (phrv) เดินทางไปมา (จากบ้านไปยังอีกสถานที่ในแต่ละวัน), Syn. commute from | commute to | (phrv) เดินทางไปมา (จากบ้านไปยังอีกสถานที่ในแต่ละวัน) | consign to | (phrv) ส่งไปยัง | convey to | (phrv) ส่งไป, See also: ลำเลียงไปยัง | cut ahead to | (phrv) ข้ามไป, See also: ตัดไปที่, กระโดดไปยัง, Syn. cut to, jump to | despatch to | (phrv) ส่งไปยัง, Syn. dispatch to | destine for | (phrv) ส่งไปยัง | direct to | (phrv) บอกทางไปยัง, See also: อธิบายเส้นทางไป | disappear to | (phrv) รีบไป, See also: รีบออกไปยัง, Syn. become of, come of, get to, go to | dispatch to | (phrv) ส่งไปยัง, Syn. despatch to | diverge to | (phrv) เปลี่ยน (เส้นทาง) ไปยัง | divert onto | (phrv) เปลี่ยนเส้นทางจราจรไปยัง, Syn. divert from, divert to |
| across | (อะครอส') prep. จากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง, ข้าม, ขวาง, ตามขวาง, ผ่า, ทะลุ, อยู่อีกข้างหนึ่ง, ประสานกัน, พาด, ไขว้, สะพายแล่ง, ก่ายกัน, ตัดผ่านกัน, Syn. athwart | aliyah | (อาลี' ยอ, อาลียา') n., (pl. aliyahs aliyos, aliyoth) การอพยพของยิวไปยังอิสราเอลการเดินสู่ที่อ่านพระคัมพีร์ในโบสถ์ยิว | allograft | (แอล' โลกราฟทฺ' , -แกรฟทฺ) n. homograft, การย้ายปะตอนของเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะจากสิ่งมีชีวิตไปยังอีกสิ่งมีชีวิตที่เป็นพันธุ์เดียว (species) กัน | apothem | (แอพ'พะเธม) n. เส้นตั้งฉากจากจุดศูนย์กลางไปยังด้านใดด้านหนึ่งของรูปเหลี่ยมด้านเท่า | at 1 | (แอท) prep. ที่, บน, ใกล้, ณ, เมื่อ, ไปยัง, พอ, กำลัง (ทำงาน, เล่น) , ในภาวะ, ยุ่งอยู่กับ, ด้วย (แสดงความเร็ว) | athwart | (อะธวอร์ท') adj. จากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง, ทอดข้าม, ขวาง, ผิดทาง, วิปริต, Syn. irregular, Ant. regular, right | athwartships | (อะธวอร์ท'ชิพซฺ) adv. จากข้างหนึ่งของเรือไปยังอีกข้างหนึ่ง | autoinfection | (ออโทอินเฟค'เชิน) n. การใส่เชื้อโรคจากส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีกส่วนที่ยังไม่ติดเชื้อ. -autonoculability n. | autoplasty | (ออโทพลาส'ทิ) n. ศัลยกรรมย้ายเพาะเนื้อเยื่อจากส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีก ส่วนหนึ่ง. -autoplastic adj. | bus | (บัส) 1. { bussed, bussing, buses } n. รถโดยสารประจำทาง, รถเมล์, รถบัส, รถม้า, เครื่องบินโดยสาร, ตัวเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าหลายวงจร, สายรวม, สายตัวนำใช้สำหรับการส่งสัญญาณ, หมายถึงวงจรหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อสำหรับส่งถ่ายขัอมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปสู่อีกอุปกรณ์หนึ่ง, สายตา 2. วงจรหรือทางเดินไฟฟ้าที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อสำหรับส่งอิเล็กตรอน ให้กระจายออกไปยังจุดต่าง ๆ คอมพิวเตอร์มีบัสไว้ เพื่อทำหน้าที่กระจายอิเล็กตรอน (ซึ่งแทรกรหัสข้อมูลไปตามจุดที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนดให้) | by | (บาย) prep. โดย, ไปยัง, ข้าง, อยู่ข้าง, ใกล้, ติดตัว, ไปทาง, ทาง, หันไปทาง, จาก, ผ่าน, ผ่านไป, ผ่านข้าง, ของ, อาศัย, ใช้, ที่, ทีละ, ต่อ adj. อยู่ใกล้, ใกล้ -Conf. with | cable tv | ระบบทีวีตามสาย โดยถ่ายทอดรายการไปยังเครื่องรับตามสายของลูกค้า | change of venue | n. การโอนคดีไปยังศาลศาลอื่น | changeover | n. การเปลี่ยนจากสิ่ง (ระบบ, ภาวะ) หนึ่งไปยังอีกสิ่ง (ระบบภาวะ) หนึ่ง | commissariat | (คอมมิแซ'เรียท) n. กองตรวจงานในรัสเซีย, วิธีการส่งอาหาร/อุปกรณ์/สัมภาระและอื่น ๆ ไปยังกองทัพ, กองเสบียง, กองเกียกกาย, กรมตำรวจ | contagion | (คันเท'เจิน) n. การติดต่อของโรค, โรคติดต่อ, พาหะนำโรค, การติดต่อที่อันตราย, การแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง. | count | (เคาทฺ) { counted, counting, counts } v., n. (การ) นับ, นับจำนวน, นับค่า, คิด, คิดว่า, นับว่า, ถือ, เข้าใจว่า, หวังว่า.มขุนนางยุโรปที่มี่ตำแหน่งฐานะเท่าท่านเอิร์ลของอังกฤษ -Phr. (count beyond นับไม่หมด นับไม่ไหว) -Phr. (count down นับย้อนกลับ นับถอยหลัง (ไปยังศูนย์)) - | data transfer | การถ่ายโอนข้อมูลหมายถึง การเคลื่อนย้ายข้อมูลจากที่เก็บในตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง หรืออาจหมายถึงการย้ายที่เก็บจากสื่อเก็บหนึ่งไปอีกสื่อหนึ่งก็ได้ หรือบางทีอาจหมายถึง การย้ายข้อมูลจากโปรแกรมหลัก (master program) ไปทำงานยังโปรแกรมย่อย (subprogram) | delivery | (ดิลิฟ'เวอรี) n. การส่ง, การนำส่ง, การกล่าว, การกล่าวสุนทรพจน์, การโยน (ลูกบอล) , สิ่งที่นำส่ง, การคลอดบุตร, การส่งสินค้าจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ, Syn. transfer | devolve | (ดิวอลว') vt. ตกมาอยู่กับ, ทำให้กลิ้งลง, ตกทอดมรดก. vi. ถูกย้ายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง, ถูกมอบงาน, See also: devolvement n. ดูdevolve | direct mail | n. การส่งทางไปรษณีย์โดยตรงไปยังผู้รับ | downcourt | adv. , adj. ไปยังด้านสนามของทีม | drag | (แดรก) { dragged, dragging, drags } vt. ลาก, ดึง, กวาด, คราด, เลื่อน, ลอก, นำเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามา, เอ้อระเหย, เฉื่อยชา vi. ถูกลากหรือดึงไปตาม, เลื่อนบนพื้นดิน, เคลื่อนอย่างอืดอาด, ล้าหลัง, ขุดลอก. n. เครื่องมือลาก, การลากอวน, คนที่น่าเบื่อที่สุด, สิ่งที่เบื่อที่สุด หมายถึง การใช้เมาส์ลากเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งบนจอภาพจากตำแหน่งเดิมไปยังตำแหน่งใหม่ บางทีใช้หมายถึงการ "ลากดำ" หรือ "ทำแถบสี" บนข้อความบางตอนเพื่อเป็นการบอกคอมพิวเตอร์ว่าได้เลือกข้อความนี้ไว้ แล้วจะใช้คำสั่ง cut หรือ copy ต่อไป | e-mail | (อี' เมล) n. electronic mail, ข้อมูลและข่าวสารที่ส่งไปยังผู้ใช้ (users) โดยทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์, วิชาการส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้บนเครือข่าย, ข้อมูลที่ส่งไปยังผู้ใช้ทางเครือข่าย (network) | electrolysis | (อีเลคทรอล'ลิซิส) n. การผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปใน electrolytes และมีการเคลื่อนที่ของไอออน (ions) ไปยังขั้วไฟฟ้า, การทำลายเนื้องอก รากผม ไฝ หูด ด้วยกระแสไฟฟ้า | embargo | (เอมบาร์'โก) { embargoed, embargoing, embargos } n. การห้ามเรือเข้าหรือออกจากท่า, การห้ามค้าขายระหว่างประเทศ, การห้ามส่งสินค้าไปยังประเทศหนึ่ง, การห้าม, คำสั่งห้ามค้าขาย vi. สั่งห้ามเรือสินค้าเข้าหรือออกจากท่า, สั่งห้ามค้าขายกับประเทศหนึ่ง คำที่มีความหมายเหมือ | encyclical | (เอนซิค'ลิคัล) n. จดหมายสันตะปาปาที่ส่งไปยังบิชอพทั้งหลาย. | endoplasmic reticulum | เป็นท่อขนาดเล็ก แทรกอยู่ทั้วไปในไซโตปลาสซึม และเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างผนังเซลล์กับผนังนิวเคลียส ของเหลวภายในนี้จึงเหมือนกับของเหลวภายนอกเซลล์ทำหน้าที่เป็นระบบสังเคราะห์และลำเลียงสารไปยังที่ต่างภายในและภายนอกเซลล์ แบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ Granular พวกนี้มี ribosome มาเกาะจึงเห็นเปืนผิวขรุขระ ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนและลำเลียงเพื่อปล่อยออกนอกเซลล์ ส่วนชนิดที่ 2 เรียกว่า Agranular หรือชนิดผิวเรียบเพราะไม่มี ribosome มาเกาะ ทำหน้าที่ผลิตสารพวกไขมันและลำเลียงโปรตีนต่าง ๆ ภายในเซลล์ | exit | (เอค'ซิท, เอค'ซิท) n. ทางออก, ประตูฉุกเฉิน, การจากไป, การลงจากเวที, การตาย. vi. ออกไป, จากไป, ลงจากเวที, ตาย. -make one's exit ออกไป, จากไป, Syn. outlet, ออกทางออกหมายถึงคำสั่งที่ผู้ใช้โปรแกรมใช้ เมื่อต้องการหยุดหรือเลิกใช้โปรแกรมนั้นเพื่อกลับออกไปสู่ระบบปฏิบัติการ operating systems หลังจากที่ใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมต่าง ๆ ของแมคอินทอชมักจะใช้คำว่า Quit แทน ซึ่งก็มีความหมายเหมือนกัน ในระบบวินโดว์ของพีซี ทุกโปรแกรมจะมีคำสั่งนี้ไว้ให้เลือกใต้เมนู File ซึ่งเป็นคำสั่งกลับออกไปยังระบบวินโดว์นั้นเอง | flowing | (โฟล'อิง) adj. ซึ่งไหล, หลั่งไหล, ไปคล่องแคล่ว, ไปยังราบรื่น, ย้อย, อุดมสมบูรณ์, มีมากเกิน., See also: flowingly adv., Syn. moving | forestay | (ฟอร์'สเท) n. เชือกสายระโยงจากกระโดงหน้าไปยังหัวเรือ | gas main | n. ท่อขนาดใหญ่ สำหรับนำส่งแก๊สไปยังท่อเล็ก | hall | (ฮอล) n. ห้องโถง, ห้องประชุม, ห้องรับประทานอาหาร, ศาล, หอ, ห้องนันทนาการ, คฤหาสน์, ทางเดินจากประตูหน้าไปยังห้องโถง, | head-on | adj. ประสานงากัน, ส่วนหน้า, ซึ่งหน้า. adv. ตรงดิ่งไปยัง, เข้าหา | hither | (ฮิท'เธอะ) adv. มาที่นี้ Phr. (hither and thither ที่โน่นและที่นี่, ที่ต่าง ๆ), See also: Phr. hither and yon ไปยังที่อื่น ๆ ไปหลายที่ adj. ที่นี้, ที่ใกล้เคียง | information technology | เทคโนโลยีสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า IT หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) | input device | อุปกรณ์รับเข้าหมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถอ่านข้อมูล และส่งข้อมูลเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เพื่อให้ทำการประมวลผลต่อไป โดยอุปกรณ์นี้จะส่งข้อมูลหรือโปรแกรมไปยังหน่วยความจำก่อน ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ก็จะมีหลายชนิด เป้นต้นว่า หน่วยขับจานบันทึก หน่วยขับแถบบันทึก เครื่องกราดภาพ ฯ ถ้าเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ก็รวมถึง แป้นพิมพ์ เมาส์ ฯลฯ ด้วยดู output device เปรียบเทียบ | internet | (อินเทอร์เน็ต) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับ Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น ไทยมี Chulanet, KSC , Infonews เป็นต้น) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล | into | (อิน'ทู) prep. เข้าไปข้างใน, เข้ามาข้างใน, เข้าไป, กลายเป็น, ไปยัง | it | (อิท) pron. มัน, นั่น, ตัว, คน, บุคคล, ตัวมาร, ตัวการ, คนสำคัญ, คนโง่. n. คนเล่น, สถานการณ์โดยทั่วไป ไอทีย่อมาจาก information technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) | itinerancy | (ไอทิน'เนอเรินซี) n. การเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง, การธุดงค์, กลุ่มผู้เดินทางไปในที่ต่าง ๆ , การหมุนเวียนไปประจำที่ต่าง ๆ, Syn. itineracy | itinerate | (ไอทิน'นะเรท) vt. เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง, เร่ร่อน, ท่องเที่ยว, เดินทางและทำงานในที่ต่าง ๆ, See also: itineration n. | job control program | ชุดคำสั่งควบคุมงานหมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมชุดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุมสายงานในการปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่อ่านข้อมูลเข้าไปเก็บ กำหนดว่าจะต้องใช้อุปกรณ์หรือชุดคำสั่งใดบ้าง (เช่น ตัวแปลภาษาใด) กำหนดการเริ่มกระทำการ (execute) และการส่งผลที่คำนวณแล้วไปยังเครื่องพิมพ์ ฯมีความหมายเหมือน job control language | keyboard buffer | ที่พักข้อมูล (ที่ส่งเข้าไปทางแป้นพิมพ์) หมายถึง เขตพื้นที่ของหน่วยความจำส่วนหนึ่ง ที่แบ่งเอาไว้เพื่อรองรับสัญญาณ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราพิมพ์สัมผัสเร็วกว่าที่เครื่องจะรับปฏิบัติตามคำสั่งได้ทัน คอมพิวเตอร์ จะนำข้อมูลที่เรากดแป้นพิมพ์แล้ว ไปเก็บไว้ยัง "ที่พักข้อมูล" นี้ก่อน จะเห็นได้ว่า ในบางครั้ง แม้เราจะหยุดพิมพ์แล้ว ที่พักข้อมูลส่วนนี้ก็ยังทะยอยส่งข้อมูลที่เรากดแป้นไว้เข้าไปยังหน่วยความจำมีความหมายเหมือน keystroke buffer | keystroke buffer | หมายถึง เขตพื้นที่ของหน่วยความจำส่วนหนึ่ง ที่แบ่งเอาไว้เพื่อรองรับสัญญาณ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราพิมพ์สัมผัสเร็วกว่าที่เครื่องจะรับปฏิบัติตามคำสั่งได้ทัน คอมพิวเตอร์ จะนำข้อมูลที่เรากดแป้นพิมพ์แล้ว ไปเก็บไว้ยัง "ที่พักข้อมูล" นี้ก่อน จะเห็นได้ว่า ในบางครั้ง แม้เราจะหยุดพิมพ์แล้ว ที่พักข้อมูลส่วนนี้ก็ยังทะยอยส่งข้อมูลที่เรากดแป้นไว้เข้าไปยังหน่วยความจำมีความหมายเหมือน keyboard buffer | knocker | (นอค'เคอะ) n. ผู้ทำให้ล้มลง, สิ่งที่ทำให้ล้มลง, คนที่ชอบหาเรื่อง, เต้านมผู้หญิง. --Phr. (on theknocker ขายจากบ้านหนึ่งไปยังอีกบ้านหนึ่ง, เร่งขาย) | lash | (แลช) { lashed, lashing, lashes } n. การเฆี่ยน, การหวด, การตี, การโบย, แส้, ปลายแส้, สิ่งที่ทำให้เจ็บปวด (เหมือนถูกแส้เฆี่ยน) , คำพูดที่เจ็บปวด, การด่า, การเหน็บแนม, ขนตา. v. เฆี่ยน, หวด, ตี, โบย, ด่า, พูดเหน็บแนม, เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว, พุ่งไปยัง., See also: lasher n. | letter of credit | n. หนังสือจากธนาคารหนึ่งไปยังอีกธนาคารหนึ่ง ให้จ่ายเงินในจำนวนที่ระบุไว้แก่บุคคลที่ระบุไว้ | local bus | บัสเฉพาะที่เป็นช่องว่างที่จะใช้เสียบแผ่นวงจร แผ่นวงจรที่เสียบนี้จะต่อตรงไปยังตัวประมวลผลโดยตรง ทำให้ทำงานได้รวดเร็วกว่าแผ่นวงจรอื่น ๆ เช่น แผ่นวงจรวีดิทัศน์ที่ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ (hard disk) | locomotion | (โลคะโม'เชิน) n. การเคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่ง, การเคลื่อนที่, อำนาจการเคลื่อนที่, See also: locomote vi. ดูlocomotion, Syn. progress, movement, advance, Ant. stillness, rest |
| by | (pre) ใกล้, ข้างๆ, โดย, ตาม, ไปทาง, ไปยัง, ทีละ, ต่อ | head | (vi) มุ่งหน้าไปทาง, บ่ายหน้าไปยัง, ออกเดินทาง | heavenward | (adj, adv) ไปยังสวรรค์, ไปสู่สวรรค์ | homeward | (adj, adv) ไปยังบ้าน, กลับไปบ้าน, สู่บ้าน | homewards | (adj, adv) ไปยังบ้าน, กลับไปบ้าน, สู่บ้าน | homing | (adj) กลับบ้าน, ไปยังบ้าน, ไปสู่จุดหมายปลายทาง | repair | (vi) ไปเป็นประจำ, ไปยัง, ชุมนุม | thereto | (adv) ไปยังที่นั้น, นอกจากนั้น, แก่สิ่งนั้น | thither | (adv) ไปยังที่นั้น, ไปที่นั่น | up | (pre) บน, เหนือ, ข้างบน, ถึง, ไปยัง | whereto | (adv) ทำไม, ไปยังที่นั้น, ยังที่ซึ่ง | whereto | (con) ทำไม, ไปยังที่นั้น, ยังที่ซึ่ง, ไปยังที่ใด |
| abducens nerve | (n) เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 นำคำสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อตา บังคับให้เกิดการชำเลืองตา ให้โฟกัสภาพชัด | absolute altimeter | (n) มาตราวัดความสูงสัมบูรณ์ม เครื่องวัดความสูงสัมบูรณ์--เครื่องวัดความสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งวัดระยะตามแนวดิ่งไปยังผิวพื้นด้านล่าง โดยใช้เทคโนโลยีทางวิทยุ เรดาร์ เสียง เลเซอร์ หรือ คาแพซิทิฟ | beamforming | (uniq) เทดโนโลยีการส่งสัญญานผ่าน air interface โดยสามารถกำหนดความแรงและทิศทางของสัญญานไปยังฝั่งรับได้ | biosecurity | ความปลอดภัยทางชีวะภาพ ความหมาย มาตรการที่มุ่งป้องกันการนำเข้าและ/หรือการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายไปยังสัตว์และพืช เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ ในการเกษตร มาตรการเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การปกป้องพืชผลอาหารและปศุสัตว์จากศัตรูพืช ชนิดพันธุ์ที่รุกราน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ | biosecurity | ความปลอดภัยทางชีวะภาพ ความหมาย มาตรการที่มุ่งป้องกันการนำเข้าและ/หรือการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายไปยังสัตว์และพืช เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ ในการเกษตร มาตรการเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การปกป้องพืชผลอาหารและปศุสัตว์จากศัตรูพืช ชนิดพันธุ์ที่รุกราน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ | biosecurity | ความปลอดภัยทางชีวะภาพ ความหมาย มาตรการที่มุ่งป้องกันการนำเข้าและ/หรือการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายไปยังสัตว์และพืช เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ ในการเกษตร มาตรการเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การปกป้องพืชผลอาหารและปศุสัตว์จากศัตรูพืช ชนิดพันธุ์ที่รุกราน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ | channelise | (vi) กำหนดการเดินทาง สร้างช่องทางสำหรับ ส่งบุคคลหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การส่งข้อความผ่าน | Crohn's disease | การอักเสบเรื้อรังที่มักจะเกี่ยวข้องกับส่วนล่างของลำไส้เล็กส่วนปลายมักจะแพร่กระจายไปยังลําไส้ใหญ่และเกิดเป็นอาการท้องเสีย, เป็นตะคริว, การเบื่ออาหารและน้ําหนักลดและทำให้เกิดการเจริญเติบโตของฝีหนองและทำให้เกิดแผลเป็น | crowdsource | (vt, uniq) เป็นการรวมกันของคำว่า Crowd + Outsourcing คือการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มค้นเพื่อค้นหาคำตอบ และวิธีการในการแก้ปัญหาทางธุรกิจนั้นๆ บริษัทสามารถ broadcast คำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบไปยังกลุ่มคนขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการใหม่ ๆ Crowd หรือ User ส่วนมากในการทำ Crowdsourcing เราจะหมายถึงกลุ่มชุมชน Online | diaspora | [ไดอัซพอ'ระ] (n) การพลัดถิ่น การกระจัดกระจายของชาวยิวจากอิสราเอลไปยังบาบิโลเนีย และจากบาบิโลเนียไปทั่วโลก ในคริสตศตวรรษที่ 6, See also: body, dispersion, distribution, scattering | flow into | ไหลไปยัง | Glycosylation | การปรับเปลี่ยนภายหลังการแปลซึ่งโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตหนึ่งหรือมากกว่าจะถูกเพิ่มไปยังโปรตีน | Klebsiella pneumoniae (K. pneumoniae) | เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ปกติอยู่ในลำไส้ของคนและในอุจจาระ. แบคทีเรียเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายเมื่อพวกมันอยู่ในลำไส้ของคุณ. แต่ถ้าพวกมันแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายของคน, พวกเขาสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง. ความเสี่ยงจะสูงขึ้นถ้าคุณป่วย. | mayfly | (n, name, uniq) ชีปะขาว หรือชีผะขาวก็เรียก ชีผ้าขาวก็เรียก หรือเมย์ฟลายส์ (mayflies) ชื่อวิทยาศาสตร์ เอพฮีมีรอบเทอรา (Ephemeroptera) ตัวขนาดเล็กถึงกลาง ปีกบางมีเส้นมากมาย ปีกคู่แรกใหญ่กว่าคู่หลัง ตัวเมียวางไข่ในน้ำ ตัวอ่อนรูปร่างเรียวยาวอาศัยในน้ำนาน 1-2 ปี ลอกคราบหลายครั้งจนเป็นแมลงโตเต็มวัย มีปีก ชอบเล่นไฟ มันมีอายุเพียง 1-2 วันเท่านั้น ไม่กินอาหาร ผสมพันธุ์แล้วตาย ฤดูกาลวางไข่อยู่ในราวกลางเดือนเมษายน พบใกล้แหล่งน้ำ บ่อน้ำ ลำธาร ตัวแก่เต็มที่จะลอกคราบออกพร้อมบินขึ้นจากผิวน้ำไปยังแสงสว่าง เป็นการบินขึ้นมาดูโลกครั้งแรกและครั้งสุดท้ายในชีวิต | Microischemia | โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเป็นคําที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดขนาดเล็กในสมอง.การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายบริเวณสีขาวของสมองและไขสันหลังเป็นบริเวณที่มีใยประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก - เนื้อเยื่อสมองที่มีเส้นใยประสาทและทําหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังส่วนอื่น ๆ ของสมอง | non-refoulement | (n) หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังดินแดนหรือถิ่นที่ชีวิตและเสรีภาพของพวกเขาจะถูกคุกคาม Non-refoulement is a principle in international law, specifically, refugee law, which protects refugees from being returned to places where their lives and freedoms would be threatened.[ Google ] Art.33(1) of the 1951 UN Convention on the Status of Refugees, and its 1967 protocol. | router | (n) Router คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ computer จากเครือข่ายหนึ่ง ไปยัง computer อีกเครือข่ายหนึ่ง หรือเปรียบเทียบง่าย ๆ ก็คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เหมือนบุรุษไปรษณีย์ ที่คอยส่งข้อความจาก computer เราไปยังที่อื่น แถมยังเลือกเส้นทางที่สะดวก หรือใกล้ที่สุด เพื่อจะไปยังจุดหมายปลายทาง Router มีทั้งแบบกระจายสัญญาณ และทำหน้าที่รับสัญญาณอย่างเดียว | Sickle cell disease | กลุ่มของความผิดปกติที่มีผลต่อฮีโมโกลโมเลกุลในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ให้ออกซิเจนไปยังเซลล์ทั่วร่างกาย คนที่มีความผิดปกตินี้มีโมเลกุลของโมโกลเศร้าที่เรียกว่าฮีโมโกล S ซึ่งสามารถบิดเบือนเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นเคียวหรือเสี้ยว, รูปร่าง | stateside | (adv) ไปยังสหรัฐอเมริกา | Suboccipitobregmatic diameter | ของหัวทารกจากจุดที่ต่ำที่สุดของกระดูกท้ายทอยไปยังศูนย์กลางของกระหม่อมด้านหน้า; นี่คือเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กที่สุดและเป็นหนึ่งที่เหมาะสมในการคลอด |
| 便乗者 | [びんじょうしゃ, binjousha] (n) นักเดินทางท่องเที่ยวพเนจร (เดินทางโดยการโบกรถ จากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง) |
| 信用状 | [しんようじょう, shinyoujou] (n) หนังสือจากธนาคารหนึ่งไปยังอีกธนาคารหนึ่ง ให้จ่ายเงินในจำนวนที่ระบุไว้แก่บุคคลที่ระบุไว้ |
| 動員 | [どういん, douin] TH: การเคลื่อนพลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง EN: mobilisation (vs) | 運ぶ | [はこぶ, hakobu] TH: เอาสิ่งของเป็นจำนวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง EN: to transport | 返す | [かえす, kaesu] TH: การคืนสิ่งที่ได้มาก่อนหน้านั้นกลับไปยังที่เดิม EN: to return something (vt) |
| durch | (präp) ผ่าน, ทะลุผ่าน เช่น Wir fahren von Deutschland durch die Schweiz nach Italien. เราขับรถออกจากเยอรมนีผ่านสวิตเซอร์แลนด์ไปยังอิตาลี | in | (präp) |+ สถานที่| ใน, ที่ (ขึ้นกับรูปประโยค ถ้าบ่งการเดินทางเคลื่อนไหว แปลว่า ไปที่ ไปใน ซึ่ง in + Akk. แต่ถ้าบ่งการเป็นอยู่ in + Dat.) เช่น (1) Ich war in den Alpen letzte Woche. ผมอยู่ที่เทือกเขาแอลป์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (2) Ich fahre in die Alpen diese Woche. ผมจะไปยังเทือกเขาแอลป์อาทิตย์นี้ | nach | ไปยัง | reisen | (vt) |reiste, ist gereist| irgendwohin reisen เดินทาง, ท่องเที่ยวไป เช่น Ich reise gerne ins Gebirge. ฉันชอบเที่ยวไปยังเทือกเขา, See also: eine Reise machen | Bote | (n) |der, pl. Boten| ผู้ที่ส่งข่าวสารจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง | zu | (prep) |+ D| ไปสู่, ยังที่, ไปยัง (ใช้บอกเป้าหมายของการเดินทางหรือการเคลื่อนที่) เช่น zur Post gehen, zur Arbeit fahren, zu einem Konzert |
| envoyer | (vt) 1)ส่งไปยังที่หนึ่งๆ เช่น Il envoie son enfant à l'école. 2)ส่งจดหมาย 3)ขว้าง Image: |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |