golgi body [ golgi complex ] [ goigi apparatus ] | กอลจิบอดี, กอลจิคอมเพล็กซ์, กอลจิแอพพาลาตัส, ออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในไซโทพลาซึมของเซลล์ ทำหน้าที่รับโปรตีนจากร่างแหเอนโดพลาซึมแล้วลำเลียงออกนอกเซลล์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
amoeboid movement | การเคลื่อนที่แบบอะมีบา, ลักษณะการเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลของไซโทพลาซึมไปรวมกันด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้เซลล์ด้านนั้นโป่งออกเป็นซูโดโปเดียมและทำให้เซลล์เคลื่อนที่ไปจากจุดเดิมได้ เช่น การเคลื่อนที่ของอะมีบา เซลล์เม็ดเลือดขาว เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
binary fission | การแบ่งแยกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน, การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของโพรทิสต์ โดยการแบ่งเซลล์ 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ คือ นิวเคลียส จะแบ่งตัวก่อนแล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามกลายเป็น 2 เซลล์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
platelet | เพลตเลต, เกล็ดเลือด, ชิ้นส่วนของไซโทพลาซึมของเซลล์ชนิดหนึ่งในไขกระดูกและเข้าสู่เส้นเลือด มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 - 2 ไมโครเมตร ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chloroplast | คลอโรพลาสต์, ออร์แกเนลล์ที่มีรูปร่างเป็นเม็ดค่อนข้างกลม ภายในมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ สโตรมาและกรานา พบในไซโทพลาซึมของเซลล์พืช และโพรทิสต์บางชนิด คลอโรพลาสต์เป็นแหล่งสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cilia | ซิเลีย, โครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายขนสั้น ๆ มีขนาดเล็กมาก ยื่นออกมาจากไซโทพลาซึมของเซลล์ ใช้สำหรับโบกพัดในการเคลื่อนไหวของพวกโพรทิสต์บางชนิด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
pseudopodium | เท้าเทียม, ส่วนของไซโทพลาซึมที่ดันเยื่อหุ้มเซลล์ยื่นออกมา ช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์ พบในซูโดพอดและเม็ดเลือดขาวบางชนิด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cytoplasm | ไซโทพลาซึม, ของเหลวภายในเซลล์ที่อยู่รอบนิวเคลียส มีสารอินทรีย์พวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ไซโทพลาซึมแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ เอ็กโทพลาซึมและเอนโดพลาซึม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cell plate | แผ่นกั้นเซลล์, แผ่นที่กั้นไซโทพลาซึมในเซลล์พืชออกเป็นสองส่วน เกิดขึ้นหลังจากโครโมโซมแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ในกระบวนการแบ่งเซลล์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mitochondria (พหูพจน์), mitochondrion (เอกพจน์) | ไมโทคอนเดรีย, ไมโทคอนเดรียน, ออร์แกแนลล์ของเซลล์อย่างหนึ่งมีขนาดเล็กมาก มีอยู่ในไซโทพลาซึมของเซลล์เกือบทุกชนิด เป็นแหล่งผลิตพลังงานที่สำคัญให้แก่เซลล์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nuclear membrane [ nuclear envelope ] | เยื่อหุ้มนิวเคลียส, เยื่อบาง ๆ ที่หุ้มนิวเคลียส มีช่องหรือรูเล็ก ๆ อยู่ทั่ว ๆ ไป ทำให้สารซึมผ่านเข้าออกระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาซึม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ribosome | ไรโบโซม, ออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะ เป็นเม็ดเล็ก ๆ ลอยอยู่ในไซโทพลาซึม หรือเกาะอยู่กับร่างแหเอนโดพลาซึม มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างโปรตีน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
vacuole | แวคิวโอล, ออร์แกเนลภายในไซโทพลาซึม ลักษณะค่อนข้างกลมใส มีเยื่อบาง ๆ ล้อมรอบแวคิวโอลมีหลายชนิด ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น ย่อยอาหาร ขับถ่ายของเสีย เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
messenger RNA (mRNA) | อาร์เอ็นเอนำรหัส, อาร์เอ็นเอที่ถูกสร้างขึ้นจากดีเอ็นเอเพื่อนำเอารหัสในการสร้างโปรตีนออกมาสร้างโปรตีนที่ไซโทพลาซึม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
endoplasmic reticulum (ER) | เอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม, ออร์แกเนลล์ที่อยู่ในไซโทพลาซึม มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ 2 ชั้น พับซ้อนกันไปมาคล้ายร่างแห มีหน้าที่ช่วยในการสร้างโปรตีนและเป็นทางลำเลียงสารภายในเซลล์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
endoplasm | เอนโดพลาซึม, ไซโทพลาซึมชั้นในถัดจากเอ็กเอ็กโทพลาซึมเข้าไป มีลักษณะเหลว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |