กรมธรรม์ | (กฺรมมะทัน) น. เอกสารสัญญาซึ่งทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เอกสารที่ทาสลูกหนี้ยินยอมให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน สัญญาขายฝากที่ไร่ที่สวน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน (สามดวง). |
คดีดำ | น. คดีหมายเลขดำ ซึ่งหมายถึง คดีที่ฟ้องร้องต่อศาลและศาลได้ลงทะเบียนคดีในสารบบความของศาล โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ศาลจะให้หมายเลขคดีใหม่เรียกว่าคดีหมายเลขแดง ควบคู่ไปกับคดีหมายเลขดำที่ให้ไว้เดิม เช่น คดีหมายเลขดำที่ ๑/๒๕๕๐ คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๕๑ หรือกล่าวโดยสรุป คดีดำ หมายถึง คดีที่ศาลยังมิได้ตัดสินหรือจำหน่ายคดี ส่วนคดีแดง คือ คดีที่ศาลได้ตัดสินหรือจำหน่ายคดีแล้ว. |
คำมั่น | น. การแสดงเจตนาที่บุคคลหนึ่งให้ไว้กับอีกบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจงหรือให้ไว้กับบุคคลอื่นเป็นการทั่วไปว่าจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำมั่นจะซื้อหรือขาย คำมั่นว่าจะให้รางวัล. |
ทองหมั้น | น. ทองคำที่ฝ่ายชายมอบให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง แสดงความมั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย. |
ทัณฑ์บน | น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, (โบ) ทานบน |
ทานบน | น. ทัณฑ์บน, ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, เช่น ให้เอาตัวมาสบถษาบานเฉพาะพระพุทธพระธรรมพระสงฆเจ้าจงหนักหนา แล้วให้เรียกเอาทานบนไว้ครั้งหนึ่งก่อน ถ้าผู้นั้นมิละพะยศยังทำอยู่อิกไซ้ ก็ให้จับเอาตัวมาส่งให้ผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการ (สามดวง). |
ประกัน | น. หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นเครื่องรับรอง. |
ประจำ | ที่กำหนดให้มีเป็นปรกติ เช่น งานประจำปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติ ว่า รถประจำทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติ ว่า ครูหรืออาจารย์ประจำชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและจะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติ ว่า บัตรประจำตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้างไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราว ว่า ลูกจ้างประจำ, เรียกผู้ที่มาติดต่อหรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจำ ขาประจำ, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝากครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. |
ปากคำ | น. ถ้อยคำที่บุคคล คู่กรณี หรือพยานให้ไว้กับเจ้าพนักงาน ศาล หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ. |
ฝาก | ก. มอบให้ไว้เป็นต้นว่าเพื่อให้ช่วยดูแลคุ้มครองหรือพิทักษ์รักษา เช่น ฝากตัว ฝากบ้าน, ให้ปรากฏเป็นเกียรติ เช่น ฝากชื่อเสียง ฝากฝีมือ, ให้นำไปหรือให้ทำแทนตัว เช่น ฝากจดหมาย ฝากหน้าที่. |
มอบ ๑ | ก. เวนให้ เช่น มอบราชสมบัติ, สละให้ เช่น มอบกายถวายชีวิต มอบชีวิตเป็นราชพลี, ยกให้ เช่น มอบทรัพย์สมบัติ, ให้ไว้ เช่น มอบเงินให้เป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน. |
มัดจำ | น. เงินที่มอบไว้แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทำตามสัญญา ให้รับเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางมัดจำ, ประจำ ก็ว่า, (กฎ) สิ่งที่ให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา และเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว. |
สลักหลัง | เขียนลงข้างหลังเอกสารเป็นต้น เช่น สลักหลังเช็ค สลักหลังรูปให้ไว้เป็นที่ระลึก. |
สำคัญ | น. เครื่องหมาย, เครื่องจดจำ, เช่น ถือหลักเขตเป็นสำคัญ ให้ไว้เป็นสำคัญ ประทับตราบัวแก้วไว้เป็นสำคัญ. |