กระสือ ๑ | น. ผีชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก ออกหากินในเวลากลางคืน เห็นเป็นแสงเรือง ๆ ในที่มืด, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย |
กระสือ ๒ | น. ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. |
กระสือ ๒ | ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตำรากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทำให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก. |
กลาบาต ๒ | (กะลาบาด) น. การตามไฟในเวลากลางคืน รายล้อมค่ายหลวงที่พระเจ้าอยู่หัวประทับแรมคืน เพื่อรักษาความปลอดภัย เป็นหน้าที่เจ้าพนักงานฝ่ายกลาโหม ในกำกับของพันทนายคบหอก เช่น เกณฑ์นั่งริ้วกลาบาต ใส่เสื้อ หมวก ถือปืนคาบศิลา ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งเย็น (หมายรับสั่งเรื่องต้อนรับแขกเมืองโปรตุเกส พ.ศ. ๒๓๒๙) |
กาลจักร | (กาละ-) น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มนํ้าเมา กินเนื้อสัตว์ พรํ่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และเสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. |
แขวก | (แขฺวก) น. ชื่อนกยางขนาดกลางชนิด Nycticorax nycticorax (Linn.) ในวงศ์ Ardeidae หัวค่อนข้างโต คอสั้น ท้ายทอยมีขนหงอนคล้ายผมเปีย ๒-๓ เส้น ขนลำตัวด้านบนสีเขียวอมเทา ขนลำตัวด้านล่างสีขาว ขาสั้นกว่านกยางชนิดอื่น อยู่เป็นฝูง หากินในเวลากลางคืน กินปลาและสัตว์ขนาดเล็ก. |
โขมด ๑ | (ขะโหฺมด) น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ได้แก่แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. |
ค้างคาว ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดและหลายวงศ์ ลำตัวมีขนปุย ปีกเป็นแผ่นหนังขนาดใหญ่ เวลาเกาะจะห้อยหัวลง หากินในเวลากลางคืน เช่น ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝนหรือค้างคาวแม่ไก่ใหญ่ [ Pteropus vampyrus (Linn.) ] ในวงศ์ Pteropodidae, ค้างคาวลูกหนูบ้าน [ Pipistrellus javanicus (Gray) ] ในวงศ์ Vespertilionidae. |
เค้า ๒ | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่หลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Strigidae และวงศ์ Tytonidae หัวโต ตาโตอยู่ทางด้านหน้าของหัว มองเห็นได้ดีในเวลากลางคืน ขนรอบหัวและหน้าพองฟู รูปหน้าคล้ายรูปหัวใจ ขนตามลำตัวนุ่มหนาและเบามีลายเป็นจุด ๆ หรือลายคล้ายเกล็ดปลา หากินในเวลากลางคืน กลางวันหลบพักผ่อนตามต้นไม้ เช่น แสก [ Tyto alba (Scopoli) ] เค้ากู่หรือฮูก ( Otus lempiji Pennant) เค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา [ Bubo sumatranas (Raffles) ] เค้าป่าสีน้ำตาล ( Strix leptogrammica Temminck) เค้าโมงหรือเค้าแมว [ Glaucidium cuculoides (Vigors) ] เค้าเหยี่ยว [ Ninox scutulata (Raffles) ], ฮูก ก็เรียก. |
ฆ้องโหม่ง | น. ฆ้องขนาดใหญ่รองลงมาจากฆ้องชัย มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยในแนวดิ่งกับขาหยั่งหรือคานไม้ หัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้าหรือเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงเถิดเทิง, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอกเวลา “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอกเวลา “ทุ่ม”. |
จากพราก, จากพาก | (จากกะพรฺาก, จากกะพาก) (ทางวรรณคดีนิยมว่า คู่ของนกนี้ต้องพรากจากกันจะครวญถึงกันในเวลากลางคืน), จักรพาก หรือ จักรวาก ก็เรียก. |
ชะมด ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้อวัยวะเพศ มักหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด [ Viverricula malaccensis (Gmelin) ] เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง ( Viverra zibetha Linn.), ชะมดแผงสันหางดำ ( V. megaspila Blyth), อีสานเรียก เห็นอ้ม. |
ชีโว | น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน, (ยาม) พฤหัสบดี. (ดู ยาม, ยาม-). |
ตบยุง | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Caprimulgidae และในวงศ์ Eurostopodidae ขนนุ่มสีนํ้าตาลเทา มีลายกระขาว หากินในเวลากลางคืน กลางวันจะพรางตัวซ่อนอยู่ตามพื้นดิน กินแมลง เช่น ตบยุงหางยาว ( Caprimulgus macrurusHorsfield) ตบยุงเล็ก ( C. asiaticus Latham) ตบยุงภูเขา ( C. indicus Latham) ซึ่งจัดไว้ในวงศ์ Caprimulgidae, ตบยุงยักษ์ [ Eurostopodus macrotis (Vigors) ] ตบยุงพันธุ์มลายู [ E. temminckii (Gould) ] ซึ่งจัดไว้ในวงศ์ Eurostopdidae, กระบา กระบ่า หรือ กระบ้า ก็เรียก. |
ตาฟางไก่ | น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมองอะไรไม่เห็น. |
ตี | น. วิธีนับเวลาในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖, แต่ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง. |
ตุ๊กแก ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Gekkonidae หัวโต ลำตัวยาว มีลายเป็นจุดสีต่าง ๆ กระจายอยู่ด้านบนของตัวเปลี่ยนสีได้ หางค่อนข้างยาว ตีนมีลักษณะพิเศษสามารถเกาะตามพื้นเรียบได้ ไข่กลมติดตามผนัง หลายชนิดร้องเสียงดัง ออกหากินในเวลากลางคืน ตุ๊กแกที่พบบ่อยตามบ้านเรือนและในป่า ได้แก่ ตุ๊กแกใหญ่ [ Gekko gecko (Linn.) ] บางชนิดร่อนตัวได้ ได้แก่ ตุ๊กแกบินหางเฟิน ( Ptychozoon lionatum Annandale), พายัพเรียก ต๊กโต, อีสานเรียก กับแก้. |
ตุ๊ยตุ่ย, ตุ๋ยตุ่ย | น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง คล้ายว่าวจุฬา แต่หัวไม่ยาว มีไม้ยื่นออกไปสำหรับผูกคันธนู เมื่อถูกลมพัด ใบธนูที่ทำด้วยใบลานจะพลิกหมุนกลับไปมาทำให้เกิดเสียงดังตุ๊ยตุ่ยคล้ายเสียงเพลง นิยมเอาว่าวขึ้นในเวลาเย็น แล้วเอาเชือกผูกไว้ตามต้นไม้เป็นต้นเพื่อฟังเสียงในเวลากลางคืน. |
ทะเลทราย | น. อาณาบริเวณที่กว้างใหญ่เต็มไปด้วยทราย มีอากาศหนาวจัดในเวลากลางคืนและร้อนจัดในเวลากลางวัน ยากแก่การดำรงชีวิต มีพืชขึ้นอยู่น้อยมาก. |
ทึดทือ | น. ชื่อนกขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ Strigidae ตาสีเหลือง ตัวสีนํ้าตาลมีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านล่าง ขนคิ้วยาวเห็นได้ชัด ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน กินปลาเป็นส่วนใหญ่ อาจกินหนูและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ บ้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ทึดทือพันธุ์เหนือ [ Ketupa zeylonensis (Gmelin) ] และทึดทือมลายู [ K. ketupa (Horsfield) ]. |
น้ำค้าง | น. ไอนํ้าในอากาศที่ถูกความเย็นแล้วหยาดลงมาค้างบนใบไม้ใบหญ้าเป็นต้นในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด |
บังเงา | ว. เรียกหญิงหากินที่ในเวลากลางคืนมักยืนแอบอยู่ตามเงามืดที่แสงไฟส่องไปไม่ถึง ว่า นางบังเงา. |
บ่าง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Cynocephalus variegatus (Audebert) ในวงศ์ Cynocephalidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่มีหนังเป็นพังผืด ๒ ข้างของลำตัวตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลายหางสำหรับใช้กางออกคล้ายปีก ถลาร่อนจากที่สูงมายังที่ตํ่าได้ค่อนข้างไกล ขนนุ่มสีนํ้าตาลคลํ้าหรือนํ้าตาลจางเป็นหย่อม ๆ ทั่วไป เล็บโค้งแหลมใช้ปีนป่ายต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน กลางวันมักหลบอยู่ตามโพรงไม้หรือเกาะห้อยอยู่ตามพุ่มทึบ, พุงจง หรือ พะจง ก็เรียก. |
ปล้องฉนวน | น. ชื่องูขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ลำตัวเล็กเรียว ยาว ๔๐-๑๑๐ เซนติเมตร มักมีลายเป็นปล้องสีนํ้าตาลหรือดำสลับขาว หากินตามพื้นดินในเวลากลางคืน กินสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เช่น จิ้งจก กิ้งก่า เป็นงูไม่มีพิษ มีหลายชนิด เช่น ปล้องฉนวนหลังเหลือง [ Lycodon laoensis (Günther) ] ปล้องฉนวนบ้าน ( L. subcinctus Boie) ปล้องฉนวนอินเดีย [ Dryocalamus davisonii (Blandford) ]. |
เป็ดผี ๑ | น. ชื่อตั๊กแตนหนวดยาวหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Tettigoniidae ทำเสียงดังหวีดหวิวในเวลากลางคืนโดยใช้ปีกเสียดสีกัน มีทั้งชนิดที่มีปีกยาวคลุมลำตัว ลักษณะปีกเหมือนใบไม้ เมื่อเกาะเหมือนเอาใบไม้ ๒ ใบมาประกบกัน เช่น ชนิด Holochlora siamensis Karny และชนิดปีกสั้น เช่น ชนิด Eleandrus titan Karny. |
ผีโขมด | น. ผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป. (ดู โขมด ๑). |
ผีเสื้อราตรี | น. เรียกผู้หญิงที่มีอาชีพให้บริการในสถานบันเทิงในเวลากลางคืน. |
ผีเสื้อ ๑ | น. ชื่อแมลงอันดับ Lepidoptera มีปีกเป็นแผ่นบาง ๒ คู่ ลำตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมาก คล้ายฝุ่นเมื่อมองด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ปากเป็นงวงยาวม้วนได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน มีหนวดแบบเส้นด้าย ปลายหนวดเป็นปุ่ม เรียก ผีเสื้อกลางวัน และชนิดหากินในเวลากลางคืน หนวดมีหลายแบบ ปลายหนวดไม่เป็นปุ่ม เรียก ผีเสื้อกลางคืน, พายัพเรียก กะเบ้อ, อีสานเรียก กะเบ้อ กะเบี้ย ก่ำบี้ หรือ กะบี้. |
พุโธ | น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม). |
ภุมโม | น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม). |
แม่ตะงาว | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Boiga multomaculata (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๘ เมตร หัวโต ตาโต ตัวยาวเรียวสีนํ้าตาลอ่อน มีลายแต้มสีนํ้าตาลเข้มเป็นจุดใหญ่ ๆ ตลอดตัวคล้ายงูแมวเซา ออกหากินในเวลากลางคืน มักพบอยู่บนต้นไม้ กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีพิษอ่อน. |
รวิ ๒ | น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม). |
เรือผีหลอก | น. เรือแจวชนิดหนึ่ง สำหรับจับสัตว์น้ำในลำคลองและลำน้ำในเวลากลางคืน กราบเรือทางขวาติดแผ่นกระดานทาสีขาวปล่อยริมข้างหนึ่งให้ลงน้ำ กราบซ้ายมีตาข่ายกันมิให้ปลาและกุ้งกระโดดข้าม ปลาตกใจจะกระโดดเข้ามาหาเรือเอง. |
ลมบก | น. ลมที่พัดออกจากฝั่งไปสู่ทะเลในเวลากลางคืน เนื่องจากอุณหภูมิของนํ้าทะเลอุ่นกว่าอุณหภูมิของพื้นดินที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือผิวนํ้าจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่. |
ลิงลม | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Nycticebus coucang (Boddaert) ในวงศ์ Lorisidae ขนนุ่มหนาสีเทามีลายสีน้ำตาล ตากลมโต ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง เล็บแบน แต่นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บยาวโค้งแหลมเห็นได้ชัด นิ้วชี้ของขาหน้าสั้นกว่านิ้วอื่น ๆ ดูคล้ายติ่ง หางสั้นมาก เคลื่อนไหวเชื่องช้าและนอนในเวลากลางวัน แต่ว่องไวเมื่อออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก. |
วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ | ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม. |
วาว | ว. สุกใส, มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน, เช่น ในเวลากลางคืนตาแมวดูวาว, เป็นมัน เช่น ผ้าต่วนเป็นมันวาว พื้นเป็นมันวาว, วาบแวบ. |
ศศิ ๒ | (สะสิ) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. |
ศุโกร | (สุกโกฺร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. |
สวัสดิภาพ | น. ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ตำรวจออกตรวจท้องที่ในเวลากลางคืนเพื่อสวัสดิภาพของประชาชน. |
สะตือ ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Chitala Lopsis (Bleeker) ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย แต่ไม่มีจุดดำเด่น มีจุดสีนํ้าตาลกระจายอยู่ทั่วตัว กินสัตว์น้ำขนาดเล็กในเวลากลางคืน พบทั่วไปแต่เป็นปลาหายาก ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร. |
สามเหลี่ยม ๒ | น. ชื่องูพิษขนาดกลางชนิด Bungarus fasciatus (Linn.) ในวงศ์ Elapidae ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร มีลายเป็นปล้องสีดำสลับเหลือง หลังเป็นสันแหลมทำให้ลำตัวมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ปลายหางทู่ พบตามที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทย ออกหากินในเวลากลางคืน กินกบ เขียด และงูขนาดเล็ก มีพิษรุนแรงมาก, ก้านปล้อง ตามธาร หรือ ทับธาร ก็เรียก. |
สิงโต ๓ | น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Pteroisและ Dendrochirusวงศ์ Scorpaenidae โดยเฉพาะชนิด P. volitans (Linn.) ส่วนหัวมีหนามแข็งและติ่งหรือริ้วเนื้อ ว่ายน้ำเชื่องช้ามากขณะที่ครีบต่าง ๆ โดยเฉพาะครีบอกและครีบหลังซึ่งมีขนาดใหญ่และยาวจะแผ่กว้าง ลำตัวโดยเฉพาะครีบต่าง ๆ มีสีฉูดฉาดเป็นริ้วลายหรือจุด ส่วนใหญ่เป็นสีแดงส้มสะดุดตา ก้านครีบแข็งมีพิษรุนแรง หากินสัตว์อื่นในเวลากลางคืน จัดเป็นปลาเด่นชนิดหนึ่งของปลาทะเลประเภทสวยงาม ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร. |
โสโร | น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยาม ในเวลากลางคืน. (ดู ยาม). |
หมาจิ้งจอก | น. ชื่อหมาชนิด Canis aureus Linn. ในวงศ์ Canidae ขนตามลำตัวสีเทาอมนํ้าตาล มีขนลักษณะคล้ายอานม้าบริเวณไหล่ ปากแหลม หูตั้งแหลมตรง หางเป็นพวง เขี้ยวและฟันคมมาก กลางวันมักนอนอยู่ในโพรงดิน ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์. |
หมาหริ่ง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Melogale personata Geoffroy ในวงศ์ Mustelidae ขนาดไล่เลี่ยกับพังพอนแต่หางสั้นกว่า ขนลำตัวหยาบแข็ง สีน้ำตาลอมเทาถึงดำ หน้าสั้นค่อนข้างแหลม หัวสีดำมีแถบขาวระหว่างตา กลางหัวมีแถบขาวพาดไปจนถึงกลางหลัง ส่วนคิ้วใต้ตา คอ และหูด้านในสีขาว ขาสั้น ฝ่าตีนกว้าง เล็บยาว โค้งปลายแหลมเหมาะสำหรับขุดดินและป่นต้นไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน กินสัตว์ขนาดเล็ก. |
หลาม ๑ | น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python molurus (Linn.) ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วน หางสั้น โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ลายสีนํ้าตาล ที่กลางหัวมีเส้นสั้น ๆ สีอ่อน ซึ่งมักเรียกว่า ศรขาว ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ. |
เหลือม | (เหฺลือม) น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python reticulates (Schneider) ในวงศ์ Pythonidae ตัวโตเรียวยาว ลายสีนํ้าตาลเหลือง ยาวได้ถึง ๑๐ เมตร ที่กลางหัวมีเส้นสีดำซึ่งมักเรียกว่า ศรดำ ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ เป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก. |
อังแพลม | (-แพฺลม) น. ตะเกียงหิ้วขนาดเล็ก มีที่กำบังแสงและลม ๓ ด้าน สำหรับส่องหาของหรือตีกบเป็นต้นในเวลากลางคืน. |
อีเห็น | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ลำตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทำให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด [ Paradoxurus hermaphroditus (Pallas) ] อีเห็นหน้าขาว [ Paguma larvata (Hamitton-Smith) ] อีเห็นหูขาว [ Arctogalidia trivirgata (Gray) ], ปักษ์ใต้เรียก มดสัง มุดสัง หรือ มูสัง. |