มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ โฆษะ | ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่นในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. | ทีฆสระ | น. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู ฤๅ ฦๅ เอ ไอ โอ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว. | นิคหิต | (นิกคะหิด) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ &npsp;ํ ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน ชุ&npsp;ํนุ&npsp;ํ อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. | รัสสระ | (รัดสะสะหฺระ) น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ใอ ไอ เอา. | วรรณยุกต์, วรรณยุต | น. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ่ (ไม้เอก) ้ (ไม้โท) ๊ (ไม้ตรี) ๋ (ไม้จัตวา). | สมาชิก ๒ | (สะมา-) น. สิ่งแต่ละสิ่งที่มีปรากฏอยู่ในเซตใดเซตหนึ่ง เช่น { ก, ข, ค } คือ เซตของอักษร ๓ ตัวแรกในภาษาไทย มีสมาชิก ๓ ตัว, สิ่งที่ปรากฏอยู่ในคู่อันดับใดคู่อันดับหนึ่ง เช่น (ก, ข) คือ คู่อันดับหนึ่งที่มี ก เป็นสมาชิกตัวหน้า ข เป็นสมาชิกตัวหลัง. | หวย ก ข | น. การพนันอย่างหนึ่ง ที่ออกเป็นตัวหนังสือ คือ ใช้พยัญชนะในภาษาไทยตั้งแต่ ก ถึง ฮ เป็นหลัก โดยตัดออกเป็นบางตัว เหลือเพียง ๓๖ ตัว ตัวที่ออกเสียงเหมือนกันจะตั้งชื่อให้ต่างกัน เช่น ข ง่วยโป๊ ฃ เจี่ยมกวย ค หะตั๋ง ฅ เม่งจู ฆ ยิดซัว ทั้งนี้เพราะได้นำวิธีเล่นหวยของจีนมาปรับปรุงใช้, หวย ก็เรียก. | อโฆษะ | ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้อง ว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. | อัพภาส | (อับพาด) น. คำซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. |
|
| Convention | ในภาษาไทยแปลว่า อนุสัญญา แต่คำนี้ใช้แทนคำว่า สนธิสัญญา (Treaty) บ่อย ๆ ผู้เขียนหลายท่านเห็นว่า ทั้งสองคำนี้ไม่ค่อยจะมีความหมายแตกต่างกันมากนัก แม้ว่าคำ Convention มักจะใช้กันเป็นประจำ โดยหมายถึงความตกลงที่กระทำกันในการประชุมระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่กระทำกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ถึง 14 เมษายน ค.ศ. 1961 (The Vienna Convention on Diplomatic Relations) [การทูต] | itai itai | โรคอีไตอีไต, โรคแพ้พิษของแคดเมียม มีอาการปวดอย่างรุนแรงทั่วร่างกาย และจะทำให้เสียชีวิตได้เมื่อร่างกายสะสมไว้สูงถึง 50 มิลลิกรัม คำนี้เป็นคำอุทานในภาษาญี่ปุ่น แสดงความเจ็บปวด (ตรงกับโอย โอย ในภาษาไทย) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
| | | computer | (n) คณิตกร (ศัพท์บัญญัติในภาษาไทย) |
| ^ | <คำแปล> hat หมายถึง สัญลักษณ์ที่มีลักษณะคล้ายหมวก (^) ในภาษาไทยเราก็เรียกเครื่องหมายนี้ว่า "หมวก" ใช้แทน แป้นควบคุม (Control Key) เช่น กดแป้นควบคุมและแป้น K จะใช้ย่อ ๆ ว่า กด ^K ในภาษาเบสิกใช้หมายถึงการยกกำลัง เช่น 5^3 มีความหมายว่า 5 ยกกำลัง 3 ดู caret ประกอบ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>caretหมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น | click | (คลิค) 1. { clicked, clicking, clicks } n. เสียงดังกริ๊ก, กลอนสปริง, ตัวดึง, เสียงกระเดาะลิ้น vi. เสียงดังกริ๊ก, เปล่งเสียงดังกริ๊ก, กระเดาะลิ้นดังกริ๊ก, กระทำสำเร็จ, ประสานกันได้ดี, สอดคล้อง, ได้รับการต้อนรับจากประชาชน vt. ทำให้เกิดเสียงดังกริ๊ก, กระทบดังกริ๊ก 2. กด (เมาส์) การกดนิ้วในจังหวะสั้น ๆ เร็ว ๆ 1 ที ลงบนปุ่มใดปุ่มหนึ่งของของเมาส์ (ส่วนใหญ่จะใช้ปุ่มซ้ายมือสุด) แล้วยกออกในทันที ใช้เมื่อต้องการสั่งการตามรายการในเมนู หรือเลือกรายการที่ต้อง การที่มีแสดงอยู่บนจอภาพ โดยเลื่อนเมาส์ให้ลูกศรชี้อยู่ที่คำสั่งที่ต้องการก่อน จึงค่อยกด (ในภาษาไทยอาจใช้สั้น ๆ ว่า "กดเมาส์ ") ในบางกรณี ต้องกดสองทีเร็ว ๆ เรียกว่า double click ดู double click ประกอบ | computer science | วิทยาการคอมพิวเตอร์สาขาวิชาทางคอมพิวเตอร์สาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกำหนดรูปแบบ และการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาใช้งาน หรือสั่งให้ทำงานให้ตามความประสงค์ เป็นต้นว่า กระบวนการต่าง ๆ ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศ (information) ฯ อนึ่ง ศัพท์นี้ในภาษาไทยมีใช้กันอยู่หลายคำ เป็นต้นว่า คอมพิวเตอร์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ วิทยาการคอมพิวเตอร์ | space character | ช่องว่าง (ตัวอักขระ) ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ช่องว่างระหว่างคำที่เกิดจากการกดที่คานเคาะ ในภาษาไทย มีความหมายเหมือน "เว้นวรรค" ช่องว่างนี้ คอมพิวเตอร์จะถือว่าเป็นอักขระตัวหนึ่งเหมือนกัน (เหมือนตัวอักษร A B C D) | special character | อักขระพิเศษแต่เดิมใช้หมายถึงอักขระที่เป็นเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น + - * / $ = , " " ฯลฯ รวมทั้งสระ วรรณยุกต์ ในภาษาไทย บางทีเรียกรวม ๆ ว่า เครื่องหมายวรรคตอนก็ได้ นอกจากนั้น ยังหมายรวมถึงตัวอักขระที่ไม่สามารถกดได้จากแป้นพิมพ์ แต่อาจใช้เทคนิคบางอย่างทำให้พิมพ์ออกมาได้ เช่น ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช การกดแป้น Shift+ALT+K จะได้ภาพลูกแอปเปิลแหว่ง (สัญลักษณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล) ถ้าใช้แบบอักษรชื่อ Symbol |
| Erdgeschoss | (n) |das| ชั้นล่างสุด (ไม่ใช่ชั้นใต้ดิน) ซึ่งเท่ากับชั้นที่หนึ่งในภาษาไทย |
| Salut! | เป็นคำทักทายสำหรับคนที่รู้จักกันดีแล้ว หรือในหมู่เพื่อน คล้าย หวัดดี (สวัสดี)ในภาษาไทย |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |