โก๋น | น. โพรงไม้, รูที่อยู่ตามลำต้นไม้. |
โก๋น | ว. เรียกผึ้งที่ทำรังในโพรงไม้ ว่า ผึ้งโก๋น. |
คับแค | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด <i> Nettapus coromandelianus</i> (Gmelin) ในวงศ์ Anatidae เป็นนกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ปากสั้น รูปร่างอ้วนป้อม ตัวผู้ปีกสีเขียวเข้มเป็นมัน หน้า คอ และท้องสีขาว ที่คอมีวงสีเขียวเข้มหรือดำ ตัวเมียปีกสีนํ้าตาล ท้องสีขาวมีกระสีนํ้าตาล ทำรังในโพรงไม้. |
เงือก ๓ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Bucerotidae ปากใหญ่ บนส่วนท้ายของขากรรไกรบนมีโหนกแข็ง ส่วนใหญ่ภายในโหนกแข็งกลวง ยกเว้นบางชนิดมีโหนกแข็งตัน เช่น นกชนหิน ส่วนใหญ่ลำตัวสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์อยู่รวมกันเป็นฝูง ขณะบินมีเสียงดัง ระยะเริ่มตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหาร ดิน และมูลปิดปากโพรงด้านใน ตัวผู้ใช้วัสดุเดียวกันปิดปากโพรงทางด้านนอก เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะที่ตัวเมียฟักไข่และเลี้ยงลูกได้ ร้องเสียงดังมาก กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เงือกกรามช้าง [ <i> Rhyticeros undulatus</i> (Shaw) ] เงือกหัวแรด (<i> Buceros rhinoceros</i> Linn.) เงือกสีน้ำตาล [ <i> Ptilolaemus tickelli</i> (Blyth) ] เงือกดำ [ <i> Anthracoceros malayanus</i> (Raffles) ]. |
ชันโรง | (ชันนะ-) น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Apidae โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเหมือนผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กในอย่างผึ้งทั่วไป จึงไม่สามารถต่อยได้ ทำรังตามโพรงไม้หรือตามรอยแตกฝาผนังของบ้านเรือน รังทำจากสารเหนียวผสมขี้ดินและยางไม้ ที่พบมากในประเทศไทยอยู่ในสกุล <i> Trigona</i> ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด <i> T. terminata</i> Smith, <i> T. apicalis</i> Smith มีชื่ออื่น ๆ อีกตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด, ปักษ์ใต้เรียก ขี้ชัน. |
ตะกวด | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด <i> Varanus bengalensis</i> (Gray) ที่พบในประเทศไทยคือ ชนิดย่อย <i> V. b. nebulosus</i> (Gray) ในวงศ์ Varanidae จมูกอยู่ใกล้ตา ปากและคอค่อนข้างยาว ลิ้นแยกเป็น ๒ แฉกยาว ลำตัวกลมยาว สีนํ้าตาลเหลือง หางยาว ซ่อนตัวตามโพรงไม้ในป่า มักหากินตามพื้นดิน ไม่ค่อยลงน้ำ ปีนต้นไม้ได้ดี กินอาหารได้หลากหลายทั้งสัตว์ ซากสัตว์ และพืช, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก. |
ตะขาบ ๒ | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Coraciidae ปากใหญ่ แบนข้าง หัวใหญ่ ตัวป้อม มักเกาะตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยโฉบจับแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตามพื้นดิน ตัวผู้เกี้ยวตัวเมียโดยการบินขึ้นไปในอากาศ แล้วม้วนตัวกลับลงมา ทำรังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง [ <i> Coracias benghalensis</i> (Linn.) ] ปากสีดำ หัวและปีกสีฟ้า ตัวสีนํ้าตาล และตะขาบดง [ <i> Eurystomus orientalis</i> (Linn.) ] ปากสีแดง ตัวสีน้ำเงินแกมเขียว, ขาบ ก็เรียก. |
ตีทอง | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด <i> Megalaima haemacephala</i> (Müller) ในวงศ์ Megalaimidae เป็นนกโพระดกที่เล็กที่สุด ตัวสีเขียว คอสีเหลือง อกสีแดง หน้าผากสีแดง วงรอบเบ้าตาสีเหลือง ทำรังในโพรงไม้ กินผลไม้ขนาดเล็ก เช่น ลูกไทร ลูกหว้า มักเกาะตามกิ่งไม้แห้งในที่สูง ๆ ร้องเสียง “ต้อง ๆ ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอ. |
ไต่ไม้ | น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Sittidae ปากแหลม ตัวเล็ก หางสั้น มักไต่จากยอดไม้ลงสู่โคนโดยเอาหัวลง ทำรังในโพรงไม้ กินหนอนและแมลงในเปลือกไม้ แต่บางครั้งก็กินเมล็ดพืช เคยพบในประเทศไทย ๕ ชนิด เช่น ไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม (<i> Sitta castanea</i>Lesson) ไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ (<i> S. frontalis</i> Swainson) ไต่ไม้สีสวย (<i> S. formosa</i> Blyth). |
บ่าง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด <i>Cynocephalus variegatus</i> (Audebert) ในวงศ์ Cynocephalidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่มีหนังเป็นพังผืด ๒ ข้างของลำตัวตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลายหางสำหรับใช้กางออกคล้ายปีก ถลาร่อนจากที่สูงมายังที่ตํ่าได้ค่อนข้างไกล ขนนุ่มสีนํ้าตาลคลํ้าหรือนํ้าตาลจางเป็นหย่อม ๆ ทั่วไป เล็บโค้งแหลมใช้ปีนป่ายต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน กลางวันมักหลบอยู่ตามโพรงไม้หรือเกาะห้อยอยู่ตามพุ่มทึบ, พุงจง หรือ พะจง ก็เรียก. |
ปากเป็ด ๒ | น. ชื่องูหลามชนิด <i> Python curtus</i> Schlegel ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วนสั้นสีแดงหรือส้ม มีลายดำ เหลือง และเทา อาศัยตามโพรงไม้โพรงดินริมน้ำหรือฝังตัวในโคลนใต้วัชพืชริมฝั่งน้ำ ตามปรกติไม่ขึ้นต้นไม้ หากินตามพื้นดิน โดยการเฝ้ารอเหยื่อ กินหนู นกน้ำ พบทางภาคใต้ของประเทศไทยและมาเลเซีย ไม่มีพิษ. |
เป็ดก่า | น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด <i> Cairina scutulata</i> (Müller) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae หัวและคอสีขาวประดำ อกสีเขียวเกือบดำ ทำรังในโพรงไม้ริมลำธารในป่า มักเกาะนอนบนต้นไม้สูง ๆ เวลาบินจะเห็นแถบสีขาวที่ปีกได้ชัดเจน ร้องเสียง “ก่า ๆ ” เป็นนกเป็ดนํ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย. |
เป็ดหงส์ | น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด <i> Sarkidiornis melanotos</i> (Pennant) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae หัว คอ อก และท้องสีขาวประดำ ปีกสีเขียวเป็นมัน ตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มีหงอนอยู่เหนือขากรรไกรบน ตัวเมียขนาดเล็กกว่าตัวผู้และสีหม่นกว่า อาศัยอยู่ทั้งในแหล่งน้ำทั่วไป และลำธารในป่า ทำรังตามโพรงไม้. |
พญาลอ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด <i> Lophura diardi</i> (Bonaparte) ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเทา ตะโพกสีแดงสด ขนหางยาวสีดำเหลือบเขียว ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายขวางสีดำ ทำรังเป็นแอ่งตามพุ่มไม้หรือโพรงไม้ติดดิน คุ้ยเขี่ยหากินตามพื้นดิน พบตามป่าทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นไก่ฟ้าที่รู้จักกันดีในประเทศไทย มีชื่อสามัญว่า Siamese Fireback หรือ Siamese Fireback Pheasant, ไก่ฟ้าพญาลอ ก็เรียก. |
พรวด ๒ | (พฺรวด) น. ชื่อผึ้งโพรง (<i> Apis cerana</i> Fabricius) ในวงศ์ Apidae เป็นผึ้งขนาดกลาง ผึ้งงานลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูง ทำรังซ้อนกันหลายชั้นเรียงขนานกันอยู่ในโพรงไม้ กระบอกไม้ ซอกหิน หรือซอกหลังคาบ้านที่ปิดมิดชิด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรัง ประมาณ ๓๐ เซนติเมตร นำมาเลี้ยงได้เช่นเดียวกับผึ้งพันธุ์, พายัพและอีสานเรียก ผึ้งโก๋น, ผึ้งรวง ก็เรียก. |
โพรง | (โพฺรง) น. ช่องที่กลวงเข้าไป เช่น โพรงไม้ โพรงจมูก. |
โพระดก | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Megalaimidae หรือ Capitonidae ปากหนาสั้นแข็งแรง ปลายแหลมใหญ่ มีขนแข็งตรงโคนปาก หน้าสีแดง เหลือง หรือนํ้าตาลแล้วแต่ชนิด ตัวอ้วนป้อมสีเขียว ทำรังตามโพรงไม้ กินผลไม้และแมลง เช่น โพระดกธรรมดา [ <i> Megalaima lineate</i> (Vieillot) ] โพระดกหูเขียว [ <i> M. faiostricta</i> (Temiminck) ] โพระดกคอสีฟ้า [ <i> M. asiatica</i> (Latham) ]. |
ลิ้นทอง | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด <i>Ampeliceps coronatus</i> Blyth วงศ์ Sturnidae ตัวสีดำเหลือบเป็นมัน ขอบขนปลายปีกสีเหลือง ตัวผู้กระหม่อม ด้านข้างของหัว และคอหอยสีเหลืองจัด ตัวเมียเฉพาะกระหม่อมเป็นสีเหลือง ทำรังตามโพรงไม้ กินผลไม้และแมลง เป็นนกที่สามารถร้องเลียนเสียงคนและสัตว์อื่น ๆ ได้, เอี้ยงหัวสีทอง ก็เรียก. |
สาลิกา ๑ | ชื่อนกขนาดเล็กชนิด <i>Acridotheres tristis</i> (Linn.) ในวงศ์ Sturnidae หัวสีดำ วงรอบเบ้าตาและปากสีเหลือง ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มขาวที่ปีก ปลายหางสีขาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ตามโพรงไม้ ง่ามไม้ หรือซอกอาคาร กินแมลงและผลไม้ พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย, เอี้ยง หรือ เอี้ยงสาลิกา ก็เรียก. (ป.; ส. ศาริกา). |
แสก ๒ | น. ชื่อนกขนาดกลาง ในวงศ์ Tytonidae ลักษณะคล้ายนกเค้า ใบหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยม ตาอยู่ทางด้านหน้าของหัว ขณะที่นกส่วนใหญ่ตาอยู่ทางด้านข้าง กินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ โดยเฉพาะหนู ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ แสก [ <i>Tyto alba</i> (Scopoli) ] พบอาศัยหลบพักตามต้นไม้หรือชายคา ทำรังตามชายคา และ แสกแดง (<i>Phodilus badius</i> Horsfield) ชนิดนี้ไม่พบอาศัยตามบ้านเรือน ทำรังตามโพรงไม้ในป่า. |
หก ๒ | น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็ก ในวงศ์ Psittacidae ปากหนา หัวโต ตัวสีเขียว หางสั้น อยู่รวมกันเป็นฝูง ทำรังตามโพรงไม้ มักเกาะห้อยหัวลง กินผลไม้และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ หกใหญ่ [ <i>Psittinus cyanurus</i> (Forster) ] หกเล็กปากแดง [ <i>Loriculus vernalis</i> (Sparrman) ] และหกเล็กปากดำ [ <i>L. galgulus</i> (Linn.) ]. |
หัวขวาน ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Picidae ปากใหญ่ปลายแหลมคม ใช้ปากเจาะต้นไม้เพื่อหาแมลงและตัวหนอน ขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงอาณาเขต มักพบไต่อยู่ตามต้นไม้และกิ่งไม้ใหญ่ ลิ้นยาว ขนหางแข็งช่วยพยุงตัวขณะไต่ต้นไม้ในแนวตั้ง เจาะต้นไม้เสียงดังมาก สีสวย ทำรังในโพรงไม้ เช่น หัวขวานด่างแคระ [ <i>Dendrocopos canicapillus</i> (Blyth) ] หัวขวานใหญ่สีดำ [ <i>Dryocopus javensis</i> (Horsfield) ] หัวขวานเขียวตะโพกแดง [ <i>Picus erythropygius</i> (Elliot) ] หัวขวานใหญ่สีเทา [ <i>Mulleripicus pulverulentus</i> (Temminck) ]. |
เหยี่ยว | น. ชื่อนกหลายชนิด ในวงศ์ Accipitridae และ Falconidae ปากเป็นปากขอและคม ปีกแข็งแรง ขาและนิ้วแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม บินร่อนได้นาน ๆ วงศ์แรกเป็นนกขนาดใหญ่ ปลายปีกมน ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก บนกิ่งก้านของต้นไม้สูง ส่วนใหญ่ล่าสัตว์ บางชนิดกินซากสัตว์ เช่น เหยี่ยวขาวหรือเหยี่ยวปักหลัก [ <i>Elanus caeruleus</i> (Desfontaines) ] เหยี่ยวแดง [ <i>Haliastur</i><i>Indus</i> (Boddaert) ] เหยี่ยวดำ [ <i>Milvus migrans</i> (Boddaert) ] เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ [ <i>Aviceda leuphotes</i> (Dumont) ] วงศ์หลังเป็นนกขนาดเล็ก ปลายปีกแหลม บางชนิดทำรังตามโพรงไม้ บางชนิดทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก บนกิ่งไม้ค่อนข้างสูง ล่าแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว (<i>Polihierax Insignis</i> Walden) เหยี่ยวแมลงปอขาแดง [ <i>Microhierax caerulescens</i> (Linn.) ] เหยี่ยวตีนแดง (<i>Falco amurensis</i> Radde). |
อ้น ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Rhizomyidae ลำตัวกลมอ้วนป้อมสีนํ้าตาล ตาและหูเล็กมาก ฟันแทะมีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด ขาและหางสั้น อาศัยอยู่ใต้ดินหรือโพรงไม้ กินรากไม้ หน่อไผ่ พืช และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ อ้นใหญ่ [ <i> Rhizomys sumatrensis</i> (Raffles) ] อ้นกลาง [ <i> R. pruinosus</i> Blyth (Hodgson) ] และอ้นเล็ก [ <i> Cannomys badius</i> Blyth (Hodgson) ]. |
เอี้ยง | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อม หางสั้น มีทั้งที่หากินบนพื้นดินและบนต้นไม้ รวมทั้งบนสัตว์เลี้ยง เช่น ควาย พบอยู่รวมกันเป็นฝูง ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ตามโพรงไม้ ง่ามไม้ หรือซอกอาคาร กินผลไม้และแมลง เช่น เอี้ยงดำปักษ์ใต้ [ <i> Aplonis panayensis</i> (Scopoli) ] เอี้ยงด่าง (<i> Sturnus contra</i> Linn.) เอี้ยงสาริกาหรือสาลิกา [ <i> Acridotheres tristis</i> (Linn.) ]. |