โกศ ๑ | (โกด) น. สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับประกอบนอกพระลองหรือลองที่ใส่พระบรมศพ พระศพ หรือศพ รูปทรงกระบอก ก้นสอบ ปากผาย มีฐาน และมีฝาครอบเป็นเครื่องยอด มีลักษณะแตกต่างกันไปตามอิสริยยศ, ที่ใส่พระบรมอัฐิ พระอัฐิ หรืออัฐิ มีขนาดต่าง ๆ ฝาครอบมียอด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระโกศ |
โกศ ๑ | คลัง. |
โกศ ๒ | (โกด) น. ฝัก, กระพุ้ง |
โกศ ๒ | ดอกไม้ตูม เช่น ชมช่อ ไม้เหมือนแก้ม โกศเกลา (ทวาทศมาส). |
โกศล | (-สน) ว. ฉลาด. |
เข้าโกศ | ก. บรรจุศพลงในโกศ, ลงโกศ ก็ว่า. |
ธัญโกศ | น. ฉางข้าว, ยุ้งข้าว. |
มธุโกศ | น. รวงผึ้ง. |
ลงโกศ | ก. บรรจุศพลงในโกศ, เข้าโกศ ก็ว่า. |
อัศวโกศล | ว. ผู้มีความชำนาญในเรื่องม้า. |
กระจับ ๑ | วัตถุที่มีรูปอย่างฝักกระจับสำหรับยันคางศพที่บรรจุโกศ |
กาจับหลัก ๑ | น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลักมีวัตถุรูปกระจับสำหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ |
กุดั่น | น. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุดั่น คือ โกศทำด้วยไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก |
เกรินบันไดนาค | น. เกรินซึ่งเป็นแท่นเลื่อนบนรางลาดประดับรูปนาค ใช้ในการเชิญพระบรมโกศโดยกว้านขึ้นหรือผ่อนลง. |
โกษ ๑ | (โกด) น. โกศ.<i> (ดู โกศ ๑)</i>. |
แคว้น | เดิมหมายถึงประเทศ เช่น แคว้นมคธ แคว้นโกศล ในปัจจุบันหมายถึงเขตปกครองที่เป็นส่วนย่อยของประเทศ ใหญ่กว่าจังหวัด, รัฐ, เช่น แคว้นสิบสองจุไทย. |
จตุวาตผล | (-วาตะผน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ลมไว้ ๔ อย่าง ได้แก่ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ โกศหัวบัว. |
จินดามณี | ชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. |
เจ้าพนักงานภูษามาลา | น. ข้าราชการในราชสำนัก มีหน้าที่ถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกำ ทำสุกำ เปลื้องเครื่องสุกำพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกำศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวง เรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา. |
เจ้าพนักงานสนมพลเรือน | น. ข้าราชการในราชสำนัก ทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทำสุกำศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น, สนม ก็เรียก. |
ไฉน ๒ | (ฉะไหฺน) น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนปี่ชวาแต่เล็กและสั้นกว่า ใช้เป่านำหมู่กลองชนะ สำหรับประโคมในงานพระราชทานเพลิงศพที่ได้รับพระราชทานโกศเป็นต้น คนเป่าปี่นำ เรียกว่า จ่าปี่, สรไน ก็ว่า, ลักษณนามว่า เลา. |
ช้างเผือก ๑ | น. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์หรืออัคนิพงศ์ ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดำ ม่วง เมฆ และมีตา เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบด้วยคชลักษณ์ด้วย, (กฎ) ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ ตาขาว เพดานปากขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว และอัณฑโกศขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ในทางกฎหมายและที่กรมช้างใช้เรียกว่า ช้างสำคัญ |
ช้างสำคัญ | น. ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ ตาขาว เพดานปากขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว และอัณฑโกศขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่. |
ช้างสีปลาด | (-ปะหฺลาด) น. ช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๗ อย่าง คือ ตาขาว เพดานปากขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว หรืออัณฑโกศขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่. |
โถ ๑ | น. ภาชนะโดยมากทำด้วยดินเผา กระเบื้องเคลือบ หรือแก้ว ปากกว้าง มีฝาปิด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โกศโถ. |
ธรรม ๓ | น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์. |
นางร้องไห้ | น. หญิงผู้ดี มีฐานะเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในพระมหากษัตริย์ที่สวรรคต ได้รับการจัดมาร้องไห้หน้าพระบรมโกศซึ่งทรงพระบรมศพเป็นการอาลัย. |
เบญจา | (เบ็นจา) น. แท่นมีเสารับเพดานดาดและระบายผ้าขาว, แท่นซ้อน ๕ ชั้นลดหลั่นกัน มักใช้ประดิษฐานบุษบกหรือพระโกศ. |
ใบเมี่ยง | น. เรียกผ้าขาวสำหรับห่อศพเข้าโกศ. |
เปลื้องเครื่องสุกำศพ | ก. เปลื้องผ้าขาวที่ห่อศพออกแล้วนำผ้าขาวนั้นและสิ่งปฏิกูลภายในโกศ เช่น กระดาษฟางไปเผาพร้อมบุพโพ แล้วเอาผ้าขาวอีกผืนหนึ่งห่อศพให้ใหม่. |
ผ้าใบเมี่ยง | น. ผ้าขาวใช้ห่อศพที่เข้าโกศ. |
ผ้าโยง | น. แถบผ้าที่โยงจากปากโกศหรือหีบศพของสามัญชน ใช้สำหรับคลี่ทอดไปยังพระสงฆ์เมื่อทอดผ้าบังสุกุล. |
ภูษามาลา | น. ข้าราชการในราชสำนักมีหน้าที่รักษาเครื่องราชอิสริยยศและเครื่องแต่งพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ตลอดจนถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกำ ทำสุกำ เปลื้องเครื่องสุกำศพพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกำศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานภูษามาลา, โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวงเรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา. |
ภูษาโยง | น. แถบผ้าที่โยงจากปากโกศหรือหีบศพของหลวงสำหรับคลี่ทอดไปยังพระสงฆ์เมื่อทอดผ้าสดับปกรณ์, ใช้ว่า พระภูษาโยง แก่พระมหากษัตริย์จนถึงพระองค์เจ้า และใช้ว่า ภูษาโยง แก่หม่อมเจ้า รวมทั้งผู้ได้รับพระราชทานเกียรติยศตามเกณฑ์ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเป็นกรณีพิเศษ ส่วนสามัญชนทั่วไปใช้ว่า ผ้าโยง. |
เมรุทอง | (เมน-) น. เมรุขนาดเล็ก มีรูปทองอย่างบุษบก สร้างอยู่ภายในพระเมรุมาศ ประดิษฐานพระโกศทรงพระบรมศพเพื่อถวายพระเพลิง เรียกว่า พระเมรุทอง. |
เมรุมาศ | (เมรุมาด) น. สิ่งปลูกสร้างโดยขนบนิยมอย่างไทย มีลักษณะเป็นเครื่องยอดขนาดใหญ่ สูง สำหรับประดิษฐานพระบรมศพ ภายในมีพระเมรุทองซึ่งมีรูปทรงอย่างบุษบกขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐานพระโกศทรงพระบรมศพสำหรับถวายพระเพลิง ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเมรุมาศ. |
ไม้ล้มลุก ๑ | น. ไม้ ๒ ขาสำหรับกว้านของหนักขึ้นไปไว้บนที่สูง เช่น เอาไม้ล้มลุกกว้านพระบรมโกศขึ้นบนเกริน. |
ยานมาศ, ยานุมาศ | (ยานนะมาด, ยานุมาด) น. พระราชยานชนิดที่ใช้คนแบกในการเชิญพระโกศพระบรมศพ พระโกศพระบรมอัฐิ. |
ราชรถ | (ราดชะรด) น. ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีเรือนยอดทรงบุษบก ใช้ประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศ เช่น พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ. |
ลอง ๑ | สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับใส่ศพนั่ง รูปทรงกระบอก ก้นสอบ ปากผาย มีฐานและฝาทรงมัณฑ์ ทำด้วยเงินหรือทองแดง ใช้ทรงพระบรมศพ พระศพ หรือศพ ตั้งอยู่ในพระโกศหรือโกศ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระลอง. |
ลองใน | น. โกศชั้นใน. |
สนม ๒ | (สะหฺนม) น. ข้าราชการในราชสำนัก ทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทำสุกำศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น, เจ้าพนักงานสนมพลเรือน ก็เรียก. |
สุกำศพ | ก. การที่เจ้าพนักงานภูษามาลาหรือเจ้าพนักงานสนมพลเรือนเอาผ้าขาวห่อศพและใช้ด้ายดิบมัดตราสัง แล้วบรรจุศพลงโกศหรือหีบศพซึ่งมีกระดาษฟางปูรองรับ เช่น เจ้าหน้าที่จะสุกำศพ, ทำสุกำศพ ก็ว่า. |