ยาแผนโบราณ | น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ. |
กระด้าง ๑ | ชื่อไม้พุ่มชนิด Lasianthus hookeri C. B. Clarke ex Hook. f. ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและมีขนสาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติดกับลำต้นที่ง่ามใบ ตำราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทำยาได้, พายัพเรียก กะด้าง. |
กระษัย | (-ไส) น. ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กษัย ก็มี. |
กระษัยกล่อน | (-ไสกฺล่อน) น. ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายผอมแห้ง ซึ่งเกิดจากโรคกร่อน, เขียนเป็น กษัยกล่อน ก็มี. |
กระสบ | น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตำราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน. |
กรามช้าง ๑ | น. ชื่อโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทำให้ขากรรไกรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง. |
กล่อน | (กฺล่อน) น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเกิดจากของเหลวเข้าไปขังอยู่ในถุงอัณฑะ, ถ้าของเหลวนั้นเป็นนํ้า เรียกว่า กล่อนนํ้า, ถ้าเป็นเลือด เรียกว่า กล่อนเลือด, ถ้าเป็นหนอง เรียกว่า กล่อนหนอง. |
กษัย, กษัย- | ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. |
กษัยกล่อน | น. ชื่อโรคทางตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายผอมแห้ง ซึ่งเกิดจากโรคกล่อน, เขียนเป็น กระษัยกล่อน ก็มี. |
กำเดา | แพทย์แผนโบราณเรียกไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัด ว่า ไข้กำเดา. |
โกฐ | (โกด) น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐนํ้าเต้า, ตำรายาแผนโบราณเขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. |
เขม่าซาง | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งตามตำราแพทย์แผนโบราณ. |
เจียดยา | ก. ซื้อยาแผนโบราณ. |
ชิวหาสดมภ์ | น. ชื่อโรคลม ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าทำให้มีอาการลิ้นกระด้างคางแข็ง. |
ซาง ๒ | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นแก่เด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางนํ้า ซางขโมย ซางโจร ซางโค. |
ตะกัง | น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมตะกัง, ปะกัง ก็ว่า. |
ตะพั้น | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากำ ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะผิดอากาศเป็นต้น, สะพั้น ก็ว่า. |
ตำแย ๒ | ว. เรียกหญิงผู้ทำคลอดตามแผนโบราณ ว่า หมอตำแย. |
ตีนกา ๒, ตีนครุ | (-คฺรุ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สําหรับบอกจํานวนเงิน ปลายเส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตําลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง ปลายเส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตําลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะ จํานวนตําลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตําลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น. |
ทศเบญจกูล | น. เครื่องเผ็ดร้อน ๑๐ อย่างตามตำราแพทย์แผนโบราณ. |
เทพีปักษี | น. ชื่อโรคซึ่งเกิดแก่เด็ก ตำราแพทย์แผนโบราณว่าทำให้มีอาการท้องขึ้น มือเท้าเย็น ศีรษะร้อน. |
โบราณ, โบราณ- | (โบราน, โบรานนะ-) ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษรโบราณ หนังสือโบราณ, เก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ |
ประดง | น. ชื่อโรคผิวหนังจำพวกหนึ่ง ทำให้คันเป็นต้น ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่ามีหลายชนิด เช่น ประดงเลือด ประดงลม. |
ประถมจินดา | (ปฺระถมมะ-) น. ชื่อคัมภีร์แพทย์แผนโบราณ. |
ปะกัง | น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมปะกัง, ตะกัง ก็ว่า. |
ปานดง | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่ามีอาการเจ็บปวดแล่นไปตามผิวหนัง. |
เปลี่ยวดำ | น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเกิดจากความเย็นมาก, เกลี่ยวดำ ก็ว่า. |
แปรไข้ | น. วิธีรักษาโดยวางยาตามแบบแพทย์แผนโบราณ เพื่อบรรเทาโรคหนักให้เบาลง. |
แผน ๑ | น. สิ่งที่กำหนดถือเป็นแนวดำเนิน เช่น วางแผน, แบบ, ตำรา, เช่น แผนโบราณ แผนปัจจุบัน. |
มหาโชตรัต | (มะหาโชตะรัด) น. ชื่อตำราแพทย์แผนโบราณว่าด้วยระดูสตรี. |
มหาสดมภ์ | (มะหาสะดม) น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่งตามตำราแพทย์แผนโบราณซึ่งอาจทำให้ขากรรไกรแข็ง. |
ยาสามัญประจำบ้าน | น. ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน. |
ลมตะกัง | น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น, ลมปะกัง ก็ว่า. |
เวชศาสตร์ | (เวดชะสาด) น. ชื่อตำรารักษาโรคแผนโบราณ, วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยการใช้ยา. |
ศรัทธา | (สัดทา) ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขาศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. |
สะพั้น | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากำ ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะผิดอากาศเป็นต้น, ตะพั้น ก็ว่า. |
หมอตำแย | น. หญิงที่มีอาชีพทำคลอดตามแผนโบราณ. |