กบบัว | น. ชื่อกบขนาดเล็กชนิด Rana erythraea (Schlegel) ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียวมีแถบสีขาวพาดตามยาวลำตัว อาศัยอยู่ตามกอบัว จึงมีผู้เรียกว่า เขียดบัว และร้องเสียง “จิ๊ก ๆ ” บางครั้งจึงเรียกว่า เขียดจิก. |
กระถิก, กระถึก | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Sciuridae เป็นกระรอกขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาล มีแถบสีน้ำตาลเข้ม ๓ แถบพาดตามยาวลำตัว สลับกับแถบสีน้ำตาลจาง ๆ ๔ แถบ ตั้งแต่สันหลังลงไปถึงข้างลำตัว อาศัยอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลงและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว [ Tamiops rodolphe i (Milne-Edwards) ] และกระถิกขนปลายหูสั้น [ T. mxcclellandi (Horsfield) ], กระเล็น ก็เรียก. |
กระสูบ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ลำตัวเพรียวกว่า ชนิดแรกคือ กระสูบขาว [ Hampala macrolepidota (van Hasselt) ] มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดง ขอบบนและล่างสีดำ ยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด ( H. disparSmith) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่าและไม่มีแถบสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก. |
กริม | (กฺริม) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กในสกุล Trichopsis วงศ์ Anabantidae หรือ Belontiidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากัดซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและสีไม่สดสวย มักมีแถบสีเข้มพาดตลอดข้างตัว ๒-๓ แถบ ขนาดยาวได้ถึง ๗ เซนติเมตร ที่พบมากได้แก่ กริมข้างลาย [ T. vittatus (Cavier) ], กัดป่า ก็เรียก. |
กะตัก | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus วงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่างครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลมขนาดเล็กมาก ๒-๗ อัน ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ชินชัง ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างขนาด ชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ ขนาดยาวได้ถึง ๑๔ เซนติเมตร. |
ก้ามปูหลุด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tradescantia zebrina Hort ex Bosse ในวงศ์ Commelinaceae ลำต้นเรียว และเป็นปล้อง ๆ เลื้อยไปตามดิน ใบสีเขียวหม่น ใบด้านบนมีแถบสีเทาคาดตามยาว ด้านล่างสีม่วงแดง ดอกสีชมพู. |
การ์ตูน ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์ Pomacentridae ลำตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดำคลํ้า มักมีแถบสีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลำตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิดหรือขนาดบ้างมีสีส้ม พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเภทหนึ่งในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ขนาดยาวได้ถึง ๑๖ เซนติเมตร. |
กุลาดำ | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus monodon Fabricius ในวงศ์ Penaeidae ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ตัวแบนข้าง สีเขียวอมน้ำตาล มีแถบสีดำและสีจางพาดขวางเป็นลายตลอดลำตัว. |
ข้างเงิน | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Allanetta และ Stenatherina วงศ์ Atherinidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก. |
ข้าหลวง ๓ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด Scolopsis ciliatus (Lacepéde) ในวงศ์ Nemipteridae ลำตัวป้อม แบนข้างปานกลาง พื้นลำตัวสีเขียวหม่น มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น ระหว่างตาและแผ่นกระดูกใต้ตามีหนามแหลม ๑ อัน ชี้ไปทางด้านหน้า ขอบด้านนอกของขากรรไกรบนจักเป็นฟันเลื่อย พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๑๓ เซนติเมตร. |
แขกเต้า | น. ชื่อนกปากขอขนาดกลางชนิด Psittacula alexandri (Linn.) ในวงศ์ Psittacidae ตาสีดำขอบเหลือง หัวสีเทา หน้าผากสีเทาอมเขียวมีเส้นสีดำลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดำลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ขนลำตัวสีเขียวอมเหลือง ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดำ มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ เมล็ดพืช ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้. |
เจ้าฟ้า ๑ | น. ชื่อกั้งขนาดกลางชนิด Acanthosquilla sirindhorn Naiyanetr ในวงศ์ Nannosquillidae ลำตัวค่อนข้างแบนสีเหลืองนวล มีแถบสีดำพาดขวางทุกปล้องตลอดความยาวลำตัวและแพนหาง ด้านบนของหางนูนเป็น ๓ ลอน แต่ละลอนมีหนาม ๔-๖ อัน ขุดรูอยู่ตามหาดทรายปนโคลน. |
ชะโด | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa micropeltes (Cuvier) ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อน ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันแต่เกล็ดเล็กและมีจำนวนมากกว่า เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๘๒-๙๕ เกล็ด เมื่อยังเล็กข้างลำตัวมีแถบสีดำเรียงคู่กันจากตาถึงครีบหาง ระหว่างแถบเป็นสีแดง แถบนี้แตกเป็นแต้มหรือจุดในปลาที่โตเต็มที่ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, แมลงภู่ อ้ายป๊อก หรือ โด ก็เรียก, พายัพเรียก ก่อ. |
ดอกหมาก ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Raiamas guttatus (Day) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาว เพรียว แบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากแหลมยาวล้ำขากรรไกรล่าง ปากกว้าง ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางปลายหัว เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบ เส้นข้างตัวพาดต่ำ ๆ ใกล้แนวสันท้อง ครีบหลังอยู่ท้ายแนวกึ่งกลางลำตัวและมีก้านครีบ ๙-๑๑ ก้าน ครีบก้นอยู่คล้อยไปข้างท้ายของลำตัวและมีก้านครีบ ๑๓-๑๔ ก้าน ครีบอกอยู่ใกล้แนวสันท้อง ส่วนครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบหลัง ครีบหางเป็นแฉกลึก บริเวณข้างลำตัวมีจุดสีน้ำเงินดำเรียบเป็นแถวยาวในแนวระดับตา ต่ำลงไปเหนือส่วนท้องจะเป็นจุดประกระจายทั่วไป ครีบต่าง ๆ มีสีอมเหลือง แพนหางตอนล่างมีแถบสีดำพาดตามยาวอยู่ที่ขอบด้านใน พบในเขตต้นน้ำหรือแม่น้ำที่มีพื้นเป็นกรวดทรายน้ำไหลแรงในทุกภาค ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, นางอ้าว อ้าว หรือ อ้ายอ้าว ก็เรียก. |
เด้าดิน | ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Actitis hypoleucos (Linn.) ในวงศ์ Scolopacidae ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลแกมเขียว ด้านล่างลำตัวสีขาว ปีกสีออกดำมีแถบสีขาวพาด เวลาเดินมักกระดกหางขึ้นลงตลอดเวลา กินแมลงและสัตว์น้ำ. |
ตะกรับ ๓ | (-กฺรับ) น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Scatophagus argus (Linn.) ในวงศ์ Scatophagidae ลำตัวสั้น แบนข้าง หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเล็กสากมือ สีพื้นลำตัวมีแตกต่างกันมาก อาจเป็นสีเขียว เทา หรือนํ้าตาล ครึ่งบนของลำตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดำพาดขวางหลายแนว และแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา, กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก. |
ตับเต่า ๒ | น. ชื่อแมลงพวกด้วง ในวงศ์ Dytiscidae ส่วนใหญ่ปีกสีดำ ขอบปีกมีแถบสีน้ำตาล ขาคู่หลังแบน มีขน และยาวกว่าขาคู่อื่น บินได้ ว่ายน้ำได้ดี เมื่ออยู่ตามผิวน้ำมักดิ่งหัวลงน้ำ กินแมลงขนาดเล็กหรือลูกปลา ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Cybister limbatus (Fabricius) ลำตัวยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร, ด้วงดิ่ง ก็เรียก. |
ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย | น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีนํ้าเงินแก่กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธงไตรรงค์” โดยสีแดงหมายถึงชาติ สีขาวหมายถึงศาสนา และสีน้ำเงินหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์. |
ธงราชนาวี | น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธงมีดวงกลมสีแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว ๔ ใน ๖ ส่วนของความกว้างของผืนธง โดยให้ขอบของดวงกลมจดขอบแถบสีแดงของผืนธง ภายในดวงกลมมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสาธงหรือคันธง. |
โนรี ๓ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Heniochus วงศ์ Chaetodontidae ลำตัวสั้นแต่กว้างมาก หัวแหลม ปากเล็กอยู่ที่ปลายสุด ก้านครีบหลังตอนหน้ายื่นยาวเป็นเส้น ตัวมีสีสันสดสวย หัวและลำตัวมีพื้นสีขาวเงิน มีแถบสีดำเข้มพาดขวางรวม ๓ แถบ ที่พบเสมอได้แก่ชนิด H. acuminatus (Linn.) ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อาศัยตามแนวหินปะการัง. |
บ้า ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Leptobarbus hoeveni (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาวแต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลาขนาดเล็กมีแถบสีดำคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้าลำคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ในธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นำไปบริโภคทำให้เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก. |
ใบโพ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Drepane วงศ์ Drepanidae ลำตัวสีเงิน สั้น กว้าง และแบนข้างมาก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ครีบสีเหลืองอ่อน ครีบอกยาวเรียว ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก ครีบหางมีปลายเป็นเหลี่ยมมุมป้าน ชนิด D. punctata (Linn.) มีจุดดำที่ข้างตัวเรียงในแนวตั้งหลายแนว แต่ชนิด D. longimana (Bloch & Schneider) มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน, ทั้ง ๒ ชนิดอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, แมลงปอ ก็เรียก. |
ปากกว้าง | น. ชื่องูนํ้าขนาดกลางชนิด Homalopsis buccata (Linn.) ในวงศ์ Colubridae ลำตัวยาวประมาณ ๑.๓ เมตร หัวใหญ่ ด้านบนมีแถบสีน้ำตาลเหลืองพาดขวาง ปากกว้าง เกล็ดมีสัน ตัวสีน้ำตาลแดง มักพบอาศัยอยู่ตามริมคลอง บึง และหนองน้ำ หากินเวลากลางคืน กินปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นอาหาร มีพิษอ่อนมาก, หัวกะโหลก เหลือมอ้อ เหลือมน้ำ หรือ เห่าน้ำ ก็เรียก. |
ปาทังกา | น. ชื่อตั๊กแตนชนิด Patanga succincta (Linn.) ในวงศ์ Acrididae ลำตัวยาว ๖-๗ เซนติเมตร กว้าง ๗-๘ มิลลิเมตร สีแตกต่างกันไปเป็นสีนํ้าตาล นํ้าตาลแก่ มีแถบสีครีมพาดจากหัวไปทางด้านหลังปล้องอกจนถึงปีก ขอบตาด้านหน้าและด้านหลังมีแถบสีครีมพาดยาวลงมา ปีกมีจุดและรอยด่างกระจายทั่วไป อาจพบอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นฝูง กัดกินพืชต่าง ๆ. |
เป็ดก่า | น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด Cairina scutulata (Müller) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae หัวและคอสีขาวประดำ อกสีเขียวเกือบดำ ทำรังในโพรงไม้ริมลำธารในป่า มักเกาะนอนบนต้นไม้สูง ๆ เวลาบินจะเห็นแถบสีขาวที่ปีกได้ชัดเจน ร้องเสียง “ก่า ๆ ” เป็นนกเป็ดนํ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย. |
ผีเสื้อเงิน | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Monodactylus argenteus (Linn.) ในวงศ์ Monodactylidae ลำตัวสั้นมาก รูปไข่แบนข้าง ฐานครีบหลังและครีบก้นยาวทั้งคู่มีปลายครีบตอนหน้ามน พื้นลำตัวและครีบสีเทาเงิน มีแถบสีดำพาดขวางผ่านตา ๑ เส้นและอีกเส้นโค้งผ่านแผ่นปิดเหงือกไปยังขอบหน้าของครีบหลังและครีบก้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร อยู่ในนํ้าจืดได้, โสร่งแขก ก็เรียก. |
แพรแถบ | น. แพรที่เป็นแถบสีต่าง ๆ เป็นเครื่องหมายอิสริยาภรณ์ ใช้ประดับที่หน้าอก. |
ม้าน้ำ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลำตัวหนา หัวพับเข้าหาลำตัว ปากเป็นท่อยาว ทำให้ส่วนหัวดูคล้ายม้า ส่วนหางเรียวยาว ม้วนได้ ไม่มีครีบหาง ครีบหลังอยู่ตรงข้ามครีบก้นที่มีขนาดเล็กมาก มีครีบอกแต่ไม่มีครีบท้อง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้องตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดำที่บางส่วนของลำตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการังและสาหร่ายทะเล โดยทรงตัวในแนวตั้งและอาจใช้ส่วนหางพันยึดวัตถุใต้นํ้า หลังผสมพันธุ์ ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
แม่ม่ายลองไน | น. ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีแถบสีดำ ขาว เหลือง หรือส้มพาดขวางเด่นตามลำตัวและปีก เฉพาะเพศผู้มีอวัยวะทำเสียงบริเวณด้านล่างของส่วนท้อง เสียงนั้นก้องได้ยินไปไกล มีหลายชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ชนิด Tosena melanoptera (White) ในวงศ์ Cicadidae เมื่อหุบปีกวัดจากหัวถึงปลายปีกยาว ๙-๑๐ เซนติเมตร, ลองไน ก็เรียก. |
ยี่สก | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni Sauvage ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดำเด่นพาดตามยาวเฉพาะบนลำตัว ๗-๘ แถบ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ยี่สกทอง ก็เรียก. |
รากกล้วย ๑ | น. ชื่อปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Acantopsisวงศ์ cobitidae หัวยาวปลายแหลม ลำตัวยาวเรียว ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา ข้างตัวมักมีจุดสีดำเรียงในแนวยาวหรือประอยู่ด้านหลัง บ้างมีแถบสีดำคล้ำตามแนวยาว พบอาศัยอยู่เป็นฝูงตามลำน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลหรือพื้นท้องน้ำเป็นกรวดทรายซึ่งปลามุดซ่อนตัว, ซ่อนทราย กล้วย ทราย หรือ หมู ก็เรียก. |
ราหู ๒ | น. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mantaและ Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลากระเบนนก มีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลายสุดของหัวข้างละอันใช้ตะล่อมอาหารเข้าปาก ด้านบนลำตัวสีดำ เช่น ชนิด Mobula japonica (Müller & Henle), ชนิด Manta birostris (Donndorff) เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้านท้ายของส่วนหัว. |
แรด ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Osphronemus gouramy Lacepède ในวงศ์ Osphronemidae ลำตัวแบนข้างหนา ปากเชิด ปลายครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น มีลายแถบสีเข้มพาดขวางลำตัวเห็นได้ชัดโดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก ปลาตัวผู้ขนาดใหญ่มีโหนกที่สันหัวคล้ายนอและมีสีส้ม พื้นลำตัวและครีบสีนํ้าตาล ขนาดยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร. |
ลายสอ | น. ชื่องูขนาดกลางในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑ เมตร ลำตัวสีน้ำตาล น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลเข้ม มีลายเป็นแถบสีดำข้างลำตัว และสีน้ำตาลเข้มบนหลังตลอดตัว เกล็ดบนหลังมีสัน อยู่ตามพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้ หากินเวลากลางวัน กินกบ เขียด และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ดุแต่ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ลายสอบ้าน [ Xenochrophis piscator (Schneider) ] ลายสอหัวเหลือง [ Sinonatrix percarinata (Boulenger) ]. |
สายสะพาย | น. แพรแถบสีเดียวหรือหลายสี เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง ใช้สะพายบ่า. |
สาลิกา ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก วงศ์ย่อย Corvinae ในวงศ์ Corvidae ปากสีแดง มีแถบสีดำคาดตา ตัวสีเขียว ขนปลายปีกสีน้ำตาล ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้ กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ สาลิกาเขียว [ Cissa chinensis (Boddaert) ] และสาลิกาเขียวหางสั้น (C. hypoleuca Salvadori & Giglioli) พบทางตะวันออก. |
สีกุน | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ที่มีขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ในวงศ์ Carangidae ในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือม่ง ที่มีแถบสีเหลืองพาดจากตาถึงคอดหาง หรือมีสีเหลือบเหลืองบนข้างตัว มักมีจุดสีดำที่มุมแผ่นปิดเหงือก อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่หรือเล็กใกล้ฝั่ง ส่วนใหญ่เป็นชนิดในสกุล Selaroides ซึ่งมีชนิดเดียว คือ S. leptolepis (Cuvier) และชนิดในสกุล Alepis, Selarส่วนสกุล Atuleมีชนิดเดียวคือ A. mate (Cuvier) ปลาเหล่านี้มีขนาดยาว ๑๔-๒๗ เซนติเมตร. |
สีชมพูสวน | น. ชื่อนกขนาดเล็กมากชนิด Dicaeumcruentatum (Linn.) ในวงศ์ Dicaeidae ปากสั้น หางสั้น ตัวผู้มีสีขาวที่ด้านล่างลำตัว มีแถบสีแดงเด่นตั้งแต่กระหม่อมไปยังท้ายทอยถึงกลางหลังและโคนขนหาง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเทา มีแถบสีแดงที่ตะโพกและโคนขนหาง ทำรังเป็นรูปถ้วยด้วยดอกหญ้าและใยแมงมุมบนกิ่งไม้ กินน้ำต้อยและแมลง. |
เสือปลา | น. ชื่อเสือชนิด Felis viverrina Bennett ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่กว่าแมวป่า พื้นลำตัวสีเทาหรือน้ำตาลอมเขียว มีลายสีดำเป็นจุดกระจายอยู่ทั่วตัว หางยาวมีแถบสีดำเป็นวงใกล้ปลายหาง กินปลาและสัตว์เล็ก, ทางภาคตะวันออกเรียกเสือปลาที่มีขนาดใหญ่ว่า เสือแผ้ว. |
เสือสุมาตรา | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Systomus partipentazona (Fowler) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปทรงคล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังมีก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายมีขอบจักเป็นฟันเลื่อยละเอียด มีหนวดเพียงที่ขากรรไกรบน เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวไปสุดที่แนวใต้ครีบหลังเท่านั้น พื้นลำตัวทั่วไปสีเหลืองเทา โดยเฉพาะใกล้แนวสันหลัง ที่สำคัญคือมีแถบสีดำเด่นพาดขวางจากสันหลังถึงหรือเกือบถึงสันท้อง ๔ แถบ คือ ที่บนหัว ที่แนวหน้า หลังครีบหลัง และที่คอดหาง ฐานครีบหลังและครีบก้นมีสีดำ ที่จะงอยปาก ขอบปลายครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีแดง ขนาดยาวไม่เกิน ๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก เสือ หรือ ข้างลาย. |
ไส้ตัน ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดโดยเฉพาะในสกุล Encrasicholinaรวมทั้งในสกุล Stolephorusวงศ์ Engraulidae หรือ Engraulididae รูปร่างกลมยาว แบนข้างเล็กน้อยหรือปานกลาง ปากกว้างมาก และอยู่ต่ำกว่าจะงอยปาก เกล็ดเป็นแบบเรียบและบาง ครีบอกอยู่ใกล้แนวสันท้อง ระหว่างครีบอก และครีบท้องมีหนามแหลมเล็กมาก ๒-๗ อัน มีสีเด่นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดข้างลำตัว อยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ผิวน้ำเพื่อหากินแพลงก์ตอนบริเวณใกล้ฝั่ง ใช้ทำน้ำปลาที่มีคุณภาพดีหรือทำเป็นปลาตากแห้งทั้งตัว โดยเฉลี่ยยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร บางชนิดยาวถึง ๑๕ เซนติเมตร มีชื่อเรียกที่รู้จักกันดีอีก คือ กะตัก ชื่ออื่น ๆ ที่แตกต่างกันตามขนาดหรือตามท้องถิ่นจากปลาขนาดเล็กถึงโตตามลำดับ คือ สายไหม เส้นขนมจีน ข้าวสาร หัวไม้ขีด หัวอ่อน และ ชินชัง นอกจากนี้ก็ยังมีชื่อ กล้วย มะลิ และ เก๋ย. |
หมูหริ่ง, หมูหรึ่ง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Arctonyx collaris F. Cuvier ในวงศ์ Mustelidae ขนาดไล่เลี่ยกับสุนัขบ้าน รูปร่างอ้วน สั้น หลังโค้ง ขนลำตัวหยาบแข็งสีเหลืองอมเทาหรือดำ มีแถบสีดำพาดผ่านระหว่างหูมายังด้านข้างของจมูก มีแถบขาวพาดกลางหัวมาถึงปลายบนของปาก ตาเล็กสีดำ มีแถบขาวใต้ตา จมูกใหญ่คล้ายหมู คอสีขาว ใบหูเล็ก ครึ่งบนของหูสีขาวครึ่งล่างสีดำ ขาใหญ่สีดำ เล็บยาวโค้งปลายแหลมใช้ขุดดินรวมทั้งใช้จมูกดุดเพื่อหาอาหาร หางสั้น กินสัตว์เล็ก ๆ พืช และผลไม้. |
หริ่ง | น. ชื่อหนูขนาดเล็กถึงขนาดปานกลางหลายชนิด ในวงศ์ Muridae เช่น หนูหริ่งบ้าน (Mus musculus Linn.) มีขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวค่อนข้างแบน หน้าสั้น ฟันเล็ก ขาสีดำ ปลายนิ้วสีขาว ฝ่าตีนสีเข้ม หางยาวสีดำ เคลื่อนไหวได้รวดเร็วและกระโดดเก่ง ในประเทศไทยมีผู้พบบางตัวมีแถบสีเหลืองพาดตามขวางบริเวณกลางลำตัวใกล้โคนขาหลัง แยกเป็นชนิดย่อย M. m. castaneusWaterhouse, หนูหริ่งไม้หางพู่ [ Chiropodomys gliroides (Blyth) ] มีขนลำตัวค่อนข้างยาว ด้านหลังสีน้ำตาลคล้ำ ท้องสีขาว หางยาว มีแผงขนสีขาวและดำตั้งแต่กลางหางไปถึงปลาย ปลายหางเป็นพู่สีขาว อาศัยอยู่ตามป่า. |
หูช้าง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Platax วงศ์ Ephippidae ลำตัวกว้างจนเกือบกลม แบนข้างมาก รูปร่างคล้ายรูปไพ่โพดำ มีแถบสีดำพาดขวางลำตัว หลายชนิดมีขนาดโตแตกต่างกันตั้งแต่ ๓๕-๖๕ เซนติเมตร. |
อินทรธนู | (อินทะนู) น. รุ้ง (แถบสีโค้งบนท้องฟ้า) |