กระซ่องกระแซ่ง | ว. กระย่องกระแย่ง, ซ่องแซ่ง ก็ว่า. |
ซ่องแซ่ง | ว. กระย่องกระแย่ง เช่น เขาไม่มีแรง เดินซ่องแซ่ง, กระซ่องกระแซ่ง ก็ว่า. |
ซ้อแซ้ | ว. ซอแซ, เสียงจอแจ, เช่น ผินหน้าปรับทุกข์กันซ้อแซ้ (สังข์ทอง). |
ซิกแซ็ก | ว. คดไปคดมา, เลี้ยวไปเลี้ยวมา, เฉียงไปเฉียงมา, สลับฟันปลา |
ซิกแซ็ก | ลดเลี้ยวสลับซับซ้อน. |
ซิกแซ็ก | น. เรียกกรรไกรตัดผ้าให้มีรูปอย่างฟันปลา ว่า กรรไกรซิกแซ็ก, เรียกการเย็บผ้าด้วยด้ายให้มีรูปอย่างฟันปลา ว่า การเย็บซิกแซ็ก. |
เซ็งแซ่ | ว. ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด. |
แซ่ ๑ | ว. มีเสียงอื้ออึงจนฟังไม่ได้ศัพท์, โจษกันแพร่หลาย. |
แซ่ซ้อง | ก. เปล่งเสียงแสดงความนิยมยินดีหรือสรรเสริญกันทั่วไป. |
แซ่ ๒ | น. ชื่อสกุลวงศ์ของจีน. |
แซ็กคาริน | น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H4SO2·CONH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีความหวานประมาณ ๕๕๐ เท่าของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ในทางแพทย์ใช้แทนนํ้าตาลทรายสำหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่อ้วนมาก. |
แซ็กคารินโซเดียม | น. แซ็กคารินซึ่งผลิตออกในรูปสารประกอบโซเดียม ละลายนํ้าได้ดี มีความหวานประมาณ ๔๐๐ เท่าของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ใช้ได้อย่างแซ็กคาริน. |
แซ่ด | ว. มีเสียงเซ็งแซ่จนฟังไม่ได้ศัพท์ เช่น คุยกันแซ่ด. |
แซ่ด ๆ | ก. อาการที่เซไปทรงตัวไม่อยู่ เช่น เซแซ่ด ๆ. |
แซ่บ | ว. อร่อย. |
แซ็ว | ก. กระเซ้า. |
แซ่ว | ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่หมดกำลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคำว่า นอนแซ่ว, แอ้วแซ่ว ก็ว่า. |
ไดแซ็กคาไรด์ | น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจำพวกนํ้าตาลที่ประกอบด้วย โมโนแซ็กคาไรด์ ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน มีสูตรโมเลกุล C12H22O11. |
โมโนแซ็กคาไรด์ | น. สารประกอบคาร์โบ-ไฮเดรตจำพวกนํ้าตาล ส่วนมากเป็นพวกที่มีสูตรโมเลกุล C6H12O6 (hexoses) หรือ C5H10O5 (pentoses), มอโนแซ็กคาไรด์ ก็ว่า. |
ร้องระเบ็งเซ็งแซ่ | ก. ร้องดังอื้ออึงแซ่ไปหมด. |
ลูกแซ็ก | น. เครื่องดนตรีสากลชนิดหนึ่ง ใช้เขย่าทำเสียงประกอบเพลง มักใช้แก่เพลงลาติน, ลูกซัด ก็ว่า. |
สามแซ่ | น. ชื่อของหวานประเภทน้ำเชื่อม ประกอบด้วยของ ๓ อย่าง คือ วุ้น ลูกพลับแห้ง และชิ้นฟักแช่อิ่ม. |
แอ้วแซ่ว | ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่หมดกำลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคำว่า นอนแอ้วแซ่ว, แซ่ว ก็ว่า. |
กลูโคส | (กฺลู-) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๔๖ °ซ. มีในนํ้าผึ้ง และผลไม้ที่มีรสหวาน เป็นองค์ประกอบปรกติในเลือด และมีในปัสสาวะของผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน, เดกซ์โทรส ก็เรียก. |
กาแล็กโทส | น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย หลอมละลายที่ ๑๖๕ ํ-๑๖๘ ํซ. โมเลกุลของกาแล็กโทสเชื่อมโยงกับโมเลกุลของกลูโคสเป็นโมเลกุลของแล็กโทสซึ่งมีในนํ้านม. |
ขรม | (ขะหฺรม) ว. เอ็ดอึง, แซ่, (ใช้แก่เสียง). |
คาร์โบไฮเดรต | (-เดฺรด) น. ชื่อกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสูตรเคมี Cx(H2O)y แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ นํ้าตาลและพอลิแซ็กคาไรด์ เป็นสารอาหารที่สำคัญมากประเภทหนึ่ง. |
จรรโจษ | (จันโจด) ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า. |
จอแจ | ว. มีผู้คนคับคั่งและมีเสียงเซ็งแซ่ เช่น ผู้คนจอแจ ตลาดจอแจ |
จันโจษ | ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, ในบทกลอนใช้ว่า จรรโจษ ก็มี. |
เจี๊ยว ๑ | ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า |
เจี๊ยว ๑ | ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า. |
เจี๊ยวจ๊าว | ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. |
เจี๊ยวจ๊าว | ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. |
โจษ, โจษจัน | (โจด, โจดจัน) ก. พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, จรรโจษ หรือ จันโจษ ก็ใช้. |
ซอแซ | ว. เสียงจอแจ, ซ้อแซ้. |
ซะซร้าว | (-ซ้าว) ว. เสียงร้องเซ็งแซ่. |
ซุมแซว | ว. เซ็งแซ่, จอแจ. |
ซู่ซ่า | ว. ที่โจษกันเซ็งแซ่อยู่พักหนึ่ง เช่น ข่าวซู่ซ่า. |
ซูโครส | (-โคฺร้ด) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๘๐ ºซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุลของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของฟรักโทส มีรสหวานจัด มักทำจากอ้อย, สามัญเรียกว่า นํ้าตาลทราย. |
เซ็ก | ก. เซ็งแซ่ เช่น เสียงกระเกริกเกรียวก้อง เซ็กห้องเสียงหัว (นิทราชาคริต). |
เซลลูโลส | น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโพลีแซ็กคาไรด์ชนิดที่ซับซ้อน มีสูตรเคมี (C6H10O5)nประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคสมากมายเชื่อมโยงกัน เซลลูโลสเป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อไม้ ฝ้าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพลาสติก กระดาษ ไหมเทียม ดินระเบิด ฟิล์มภาพยนตร์ หรือฟิล์มถ่ายรูปชนิดไม่ไวไฟ เป็นต้น. |
น้ำตาล | น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทำด้วยอะไร ก็เติมคำนั้น ๆ ลงไป เช่น ทำจากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทำจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทำจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทำให้เป็นนํ้าตาลทราย เรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทำเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทำเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, ทำเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, ทำเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, เคี่ยวให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทำเป็นรูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หยอดเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์ กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. |
ประดัง | ดังขึ้นพร้อมกัน, แซ่ซ้อง, (หมายเอาเสียง). |
พรรลาย | เซ็งแซ่ เช่น ร้องก้องเสียงพรรลาย (ตะเลงพ่าย). |
เพรียกพร้อง | (-พฺร้อง) ก. ร้องเซ็งแซ่ (ใช้แก่นกเป็นต้น). |
ฟรักโทส | (ฟฺรัก-) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่ง ประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดคีโทเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๑๐๒ °ซ. มีปรากฏในผลไม้สุกที่มีรสหวาน นํ้าผึ้ง นํ้าต้อยของดอกไม้ มีรสหวานมากกว่านํ้าตาลทราย, เลวูโลส ก็เรียก. |
มอลโทส | น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐ °-๑๖๕ °ซ. องค์ประกอบเป็นกลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่งมีในข้าวมอลต์ ทำปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย. |
มะมี่ | ก. มี่, อึงมี่, เอิกเกริก, แซ่, อึกทึก. |
มี่ | ว. อึกทึก, เสียงแซ่. |