แก้แค้น | ก. ทำตอบด้วยความแค้นหรือเพื่อให้หายแค้น. |
ข้นแค้น | ก. อัตคัด, ขัดสน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยากจน เป็น ยากจนข้นแค้น. |
ขัดแค้น | ก. โกรธเจ็บใจอยู่ไม่หาย. |
ขุ่นแค้น | ก. โกรธอย่างเจ็บใจ. |
คั่งแค้น | ก. โกรธอัดอั้นอยู่ในใจ. |
คับแค้น | ว. ลำบาก, ยากไร้, ฝืดเคือง, ลำบากเพราะถูกบีบคั้นทางใจหรือความเป็นอยู่. |
คุมแค้น | ก. ผูกใจเจ็บและคิดอยากแก้แค้น, เก็บเอาความแค้นเข้าไว้. |
คู่รักคู่แค้น | น. ผู้ที่เป็นคู่ต่อสู้ขับเคี่ยวกันมาโดยต่างผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ. |
เคียดแค้น | ก. โกรธแค้น, เคืองแค้น. |
แค่น | ก. ฝืน เช่น แค่นกิน, คะยั้นคะยอ เช่น แค่นให้กิน, ทำไม่เป็นหรือไม่สันทัดแล้วยังอวดดีขืนทำ เช่น แค่นทำ, สะเออะ เช่น ไม่มีเงินยังแค่นแต่งตัวโก้. |
แค่นแคะ, แค่นไค้ | ก. เฟ้นหาความชั่วขึ้นมากล่าว, เซ้าซี้จะให้ได้สมประสงค์. |
แค้น | ก. โกรธเจ็บใจอยู่ไม่หาย เช่น แค้นใจ แค้นเคือง. |
แค้นคอ | ก. อาการที่คนหรือสัตว์กินอาหารแล้วติดคอหรือฝืดคอกลืนไม่สะดวก. |
เจ็บแค้น | ก. ผูกใจเจ็บ. |
ยากแค้น | ว. อัตคัดขัดสน. |
แร้นแค้น | ว. ฝืดเคือง, ขัดสน, ขาดแคลน, เช่น เขามีชีวิตอยู่อย่างแร้นแค้นขาดแคลนไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง. |
ล้างแค้น | ก. แก้แค้นโดยทำร้ายร่างกายหรือทำลายล้างชื่อเสียงของผู้ที่ทำให้ตนแค้น. |
กบเต้นต่อยหอย | น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า คิดยิ่งแสนแค้นยิ่งศรเสียบทรวงหมอง. |
กรองกรอย | ตกอับ, แร้นแค้น, เช่น ผัวเมียสองคนจนกรองกรอย (สังข์ทอง), ตองตอย ก็ว่า. |
กระชง | ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น (นิ. ตรัง). |
กรีดน้ำตา | ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยายเป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้. |
กลบท | (กนละ-) น. คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น เจ้าโศกแคนแค่นแค้นดั่งแสนศร มารานร่านร้านรอนให้ตักไษย ว่าโอโอ่โอ้กำม์มาจำไกล เวรุชื่อใดจองจ่องจ้องประจาน (กลบทตรีประดับ). |
กลืนเลือด | ก. กล้ำกลืนความเจ็บแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น แม้จะแค้นหัวหน้าพวกเขาก็ยอมกลืนเลือด เพราะยังต้องพึ่งพาหัวหน้าคนนี้อยู่. |
กัดก้อนเกลือกิน | ก. ใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นมาก. |
กินเกลือกินกะปิ | ว. อดทนต่อความลำบากยากแค้น เช่น เขาเคยกินเกลือกินกะปิมาด้วยกัน. |
ขี้ซ้าย, ขี้ไซ้ | น. ส่วนที่เลวที่สุด เช่น ฝีมือแค่นี้ไม่ได้ขี้ไซ้เขาหรอก. |
ขี้ตีน | น. ฝุ่นละอองที่ติดมากับเท้า, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ต่ำค่าที่สุด เช่น เก่งแค่นี้ไม่ได้ขี้ตีนเขาหรอก. |
ขี้ผง | น. เศษสิ่งของเล็ก ๆ หรือละเอียดที่เหลือหรือร่วงจากวัสดุต่าง ๆ, ผง หรือ เศษผง ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า เล็กน้อย, ไม่สำคัญ, เช่น จ่ายเงินแค่นี้เรื่องขี้ผง. |
ขึ้ง | ก. แค้น, เคือง, โกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น โกรธขึ้ง ขึ้งโกรธ ขึ้งเคียด. |
เข็ญใจ | ว. ยากจนข้นแค้น. |
เข่นฆ่า | ก. ฆ่าด้วยความโกรธแค้น. |
ครุ่น | (คฺรุ่น) ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น. |
คับใจ, คับอกคับใจ | ก. อึดอัดใจ, รู้สึกอัดอั้นตันใจ, รู้สึกคับแค้นอยู่ในอกในใจ. |
คิดบัญชี | ก. แก้แค้น. |
คุมนุม | ก. ผูกใจเจ็บ, อาฆาตแค้น, เช่น อนึ่งวิวาทด่าตีกันแล้วต่างคนต่างมาเรือน ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วัน (สามดวง), ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วันหนึ่ง (กฎ. ราชบุรี). |
คุย ๑ | พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย. |
จองล้างจองผลาญ | ก. ผูกใจเจ็บคิดจะทำการแก้แค้นให้ได้. |
เจ็บร้อน | ก. เป็นเดือดเป็นแค้น. |
เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด | น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคมสมเขาสรวล คำสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน. |
ซัด ๒ | คำค่อนว่าหมายความว่า แต่งตัวเกินพอดี เช่น ไปงานแค่นี้ไม่ต้องซัดชุดหรูก็ได้. |
แดน | น. เขต, พื้นที่ที่กำหนดไว้โดยตรงหรือโดยหมายรู้กัน, เช่น ชายแดน ลํ้าแดน, ถิ่นที่มีคน สัตว์ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งประเภทเดียวกันอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น แดนผู้ร้าย แดนเสือโคร่ง แดนกล้วยไข่ แดนโลกีย์, โลก เช่น สตรีใดในพิภพจบแดน ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์ (อิเหนา). |
ตองตอย | ว. ตกอับ, แร้นแค้น, กรองกรอย ก็ว่า |
ตอบโต้ | ก. โต้กลับไป, ตอบแทนการกระทำของฝ่ายตรงข้าม, แก้แค้น. |
ตัดหัวคั่วแห้ง | ก. ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น. |
ตายด้าน | โดยปริยายหมายความว่า หยุดเจริญก้าวหน้า ติดอยู่แค่นั้น. |
ตึงตัว | ว. แก้ไขให้คลายความลำบากหรือความคับแค้นได้ยาก เช่น เศรษฐกิจอยู่ในภาวะตึงตัว. |
ถือโกรธ | ก. คุมแค้น, ผูกใจโกรธ. |
เท่านั้น | ว. แค่นั้น, เพียงนั้น, ขนาดนั้น, เป็นคำเน้นความแสดงจำนวนจำกัดจำเพาะ. |
นาคราชแผลงฤทธิ์ ๑ | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๘ คำ บังคับซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ คำ คือ คำท้ายวรรค (คำที่ ๖, ๗ และ ๘) กับ ๓ คำต้นวรรคถัดไป (คำที่ ๑, ๒ และ ๓) และซ้ำเสียงสระวรรคละ ๓ คู่ ในคำที่ ๓ กับ ๔ คำที่ ๕ กับ ๗ และคำที่ ๘ กับคำที่ ๑ ในวรรคถัดไป เช่น กรุงกระษัตริย์ตรัสฟังแค้นคั่งจิตร คิดแค้นใจไหวหวิดในจิตรฉงน จนฉงายกายไฉงใจร้อนรน จนร้าวราญการกระมลจิตรวนเวียน (ศิริวิบุลกิตติ์). |
บาดใจ | ก. เจ็บแค้นใจ. |