แคว้น | (แคฺว้น) น. ดินแดนอันเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ |
แคว้น | เดิมหมายถึงประเทศ เช่น แคว้นมคธ แคว้นโกศล ในปัจจุบันหมายถึงเขตปกครองที่เป็นส่วนย่อยของประเทศ ใหญ่กว่าจังหวัด, รัฐ, เช่น แคว้นสิบสองจุไทย. |
แว่นแคว้น | น. แผ่นดินซึ่งมีขอบเขตเป็นปริมณฑล เช่น แว่นแคว้นตะนาวศรี ฝ่ายเขาเล่าก็สามพารา เป็นใหญ่ในชวาแว่นแคว้น (อิเหนา). |
กรรบาสิกพัสตร์ | (-สิกะพัด) น. ผ้าอันทอด้วยฝ้าย คือ ผ้าฝ้าย. (ใน ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์ ว่า มาแต่แคว้นกาสี). |
กระแซ ๑ | น. คนเชื้อสายชาวอินเดียเมืองมณีปุระ (เมืองหนึ่งในแคว้นอัสสัม). |
กังไส | น. เครื่องถ้วยปั้นที่ทำมาจากแคว้นเกียงสีในประเทศจีน. |
กัมพุช ๑, กัมพุช- | (กำพุด, กำพุดชะ-) น. แคว้นเขมร, (โบ) ชื่อแคว้นหนึ่งทางตอนเหนือของอินเดีย, กัมโพช ก็ใช้. |
กัมโพช | (กำโพด) น. แคว้นเขมร, (โบ) ชื่อแคว้นหนึ่งทางตอนเหนือของอินเดีย, กัมพุช ก็ใช้. |
กาศิก, กาศิก- | (กาสิกะ-) ว. ที่มาจากแคว้นกาสี |
กาศิกพัสตร์ | น. ผ้าเนื้อละเอียดมาจากแคว้นกาสี. |
เขิน ๑ | น. ชื่อคนไทใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า |
คันธารราษฎร์ | (-ทาระราด) น. ชื่อแคว้นโบราณ อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย |
เจ้าฟ้า | เรียกเจ้าผู้ครองแคว้นไทยถิ่นอื่น เช่น เจ้าฟ้าเชียงตุง. |
ซิก ๒, ซิกข์ | ชื่อชาวอินเดียพวกหนึ่งที่นับถือศาสนาซิกข์ส่วนมากอยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย |
ปก ๒ | น. แว่นแคว้น เช่น ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระยาผ่านในปกเมืองเนืองทั้งปกเขม ครั้นเต็มสมบูรณ์สามสิบแปดข้าว เข้าศักราชเจ็ดร้อยห้าสิบแปด กลายท่านได้ปราบต์ทั้งปกกาวชาวด้านหนตีนเถิงฝั่งของ (จารึกวัดบูรพาราม). |
ปฐมโพธิกาล | (ปะถมมะโพทิกาน) น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ. |
ประเทศ | น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น, ถิ่นที่อยู่ |
พิชิต, พิชิต- | (พิชิดตะ-) น. แว่นแคว้นที่ปราบปรามแล้ว, แว่นแคว้น. |
พิสัย | ขอบ, เขต, แดน, ตำบล, ถิ่น, แว่นแคว้น, ที่, มณฑล, ประเทศ. |
เพี้ย ๑ | น. ตำแหน่งขุนนางไทยแคว้นล้านนาและล้านช้าง คือ พญา. |
มคธ | (มะคด) น. ชื่อแคว้นใหญ่ในอินเดียครั้งพุทธกาล ปัจจุบันคือรัฐพิหาร. |
มังค่า | ว. คำประกอบคำ ฝรั่ง ว่า ฝรั่งมังค่า เพี้ยนมาจาก พังคะ ซึ่งเป็นชื่อแคว้นเบงกอล. |
รัฐ, รัฐ- | (รัด, รัดถะ-) น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุดของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. |
ราษฎร์ ๒ | น. แว่นแคว้น, บ้านเมือง. |
ละเม็ด | น. ชนชาวเขาจำพวกข่า อยู่ทางแคว้นสิบสองจุไทย. |
ลื้อ ๑ | น. ไทยพวกหนึ่งอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา. |
แว่น ๑ | น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และเรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า |
สยามรัฐ | (สะหฺยามมะ-) น. แคว้นไทย, ประเทศไทย. |
สามนตราช | น. พระราชาแห่งแคว้นที่ใกล้เคียง, เจ้าประเทศราช. |
สิกข์, สิข | ชื่อชาวอินเดียพวกหนึ่งที่นับถือศาสนาสิกข์ ส่วนมากอยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย |
หอคำ | น. เรือนของเจ้าผู้ครองแคว้นฝ่ายเหนือ. |
อะหม | น. ชนชาติไทใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อาหม ก็ว่า. |
อาหม | (-หมฺ) น. ชนชาติไทใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อะหม ก็ว่า. |