เอย ๒, เอ่ย ๑ | คำกล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้ายคำกลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย (บทดอกสร้อย). |
เอ่ย ๒ | ก. เปล่งเสียงพูด, เริ่มพูด. |
เอ่ย ๒ | ว. คำออกเสียงใช้ในความเพื่อให้ทาย เช่น นกอะไรเอ่ย. |
เอ๊ย | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงอาการว่าพูดผิดไปเป็นต้น. |
เอ๊ย | ว. คำลงท้ายชื่อหรือถ้อยคำเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความเอ็นดู, เอ๋ย ก็ว่า. |
เอ๋ย | ว. คำลงท้ายชื่อหรือถ้อยคำเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความเอ็นดู, เอ๊ย ก็ว่า |
เอ๋ย | คำที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคำกลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ยกาดำ รถเอ๋ยรถทรง. |
เอื้อนอรรถ, เอื้อนเอ่ย, เอื้อนโอฐ ๒ | ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้แก่กิริยาที่ทำทีอิดเอื้อนไม่ใคร่พูดออกมาง่าย ๆ. |
กระจองงอง, กระจองงอง ๆ | ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย. |
กระแด้แร่ | ว. กระแดะ, ดัดจริต, เช่น อย่าทำดื้อกระแด้แร่เลยแม่เอ๋ย (มณีพิชัย). |
กระไร | ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กลอักษร | (กน-, กนละ-) น. กลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกำใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). |
กวางเดินดง | ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง เช่น อกเอ๋ยอกประหลาดจริงที่นิ่งเฉย โอ้เอ๋ยผิดคิดไม่เห็นจะเป็นเลย เสียดายเอ๋ยที่พี่เคยสงวนงาม (กลบท). |
กำพร้า ๒ | (-พฺร้า) ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว (ลอ). |
ขวัญ | เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ |
ขึ้นชื่อ | ก. ลือชื่อ, เอ่ยถึงบ่อย ๆ |
คำทาย | น. ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทายว่าได้แก่อะไร มีคำว่า อะไรเอ่ย อยู่ข้างหน้าเสมอ เช่น อะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปกดิน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปริศนา เป็น ปริศนาคำทาย. |
โง่เง่าเต่าตุ่น | ว. โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จำนงหมาย (นิ. ทวาราวดี). |
ฉ่า ๒ | ว. เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลงแม่เพลง มีเสียงต่าง ๆ เช่น ชะฉ่า ชาฉ่า ชัดฉ่า เป็นต้น เช่น ขอพวกกัญญาอย่าเคือง เอ๋ยในใจเอย ฉ่าฉ่าฉ่าชา ชะฉ่าไฮ้, ชะฉ่าชะฉ่า ชะฉ่าไฮ้ เล่นเพลงปรบไก่จนหัวไหล่ยอก (บทเพลงปรบไก่), เอ่ชา เอ๊ชา ชา ฉ่า ชา นอยแม่ (บทเพลงฉ่อย). |
ช่างกระไร | คำกล่าวติเตียน ตัดพ้อ หรือผิดหวัง เช่น เมียเจ้ารูปทองสิบสองหนัก ยศศักดิ์ปึ่งชาจะหาไหน พี่น้องพร้อมพรั่งช่างกระไร แต่จะยกมือไหว้ก็ไม่มี (สังข์ทอง), คำกล่าวแสดงความตื่นเต้น เช่น น้องเอ๋ยรูปร่างช่างกระไร นางในกรุงศรีไม่มีเทียม (ขุนช้างขุนแผน). |
เชยชิด | ก. สัมผัสแนบชิด เช่น ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย ยังไม่เคยเชยชิดพิสมัย (อภัย). |
ซากศพ | น. ศพ เช่น แม้นพระองค์ไม่ทรงเลี้ยงมัทรีไว้ จะนิ่งมัธยัสถ์ตัดเยื่อใยไม่โปรดบ้าง ก็จะเห็นแต่กเลวระร่างซากศพของมัทรี (ม. ร่ายยาว มัทรี), เจ้าพี่เอ๋ยอุตส่าห์พาซากศพ มาให้พบผัวรักเมื่อเป็นผี (ตับนางลอย), บางทีเขียนเป็น ทรากศพ ก็มี เช่น พระบาทเจ้าจะได้ทอดทัศนา ซึ่งทรากศพสาธารณนอนตาย (ม. คำหลวง มัทรี), ร่างของคนที่ตายมานานแล้วแต่มีเค้าพอให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงเป็นต้น. |
ดอกไม้พวง | น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า นิจาเอ๋ยกะไรเลยไม่เคยเห็น นิจาเอ๋ยกะไรน่านํ้าตากระเด็น นิจาเอ๋ยกะไรเปนได้เช่นนี้ (กลบท). |
ดอกสร้อย ๒ | น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน วรรคที่ ๑ มี ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ และจบบทด้วยคำว่า เอย เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว...คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย, บทดอกสร้อย ก็ว่า. |
ตรีพิธพรรณ | (ตฺรีพิดทะพัน) น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้มีคำเดียวกันซ้ำ ๓ ครั้งภายในวรรคเดียวกัน จะเป็นตำแหน่งใดก็ได้ เช่น สังเวชจิตร์เอ๋ยจิตร์จิตร์เราหนอ ไม่เจียมกายกายแก่ทำกายตะกอ ดีแต่ก้ออวดก้อก้อเกินนัก (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน) |
ตุ๊ดตู่ ๔ | น. ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง เช่น ในบทดอกสร้อยสุภาษิตว่า “ตุ๊ดเอ๋ยตุ๊ดตู่ ในเรี่ยวในรูช่างอยู่ได้...”. |
แถกขวัญ | ก. ทำลายขวัญ, ทำให้กลัว, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร). |
นักงาน | น. หน้าที่ เช่น อันการสงครามครั้งนี้ ไว้นักงานพี่จะช่วยหัก (รามเกียรติ์ ร. ๑), เจ้าพนักงาน เช่น เหวยนักงานเอ๋ย เร่งรุกเร็วบัดนี้พลัน จงแสดงทุกข์แห่งโอรส ให้ปรากฏโดยคดี ว่าบัดนี้หมู่สีพีลงโทษ โกรธจอมธรรม์ (ม. คำหลวง หิมพานต์). |
บทดอกสร้อย | น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน วรรคที่ ๑ มี ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ และจบบทด้วยคำว่า เอย เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว...คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย, ดอกสร้อย ก็ว่า. |
บังอร | เด็ก ๆ ที่กำลังน่ารัก เช่น จึ่งตรัสประภาษไปว่าพราหมณ์เอ่ย อย่าเพ่อน้อยใจแก่เราก่อน เราจะพาสองกุมารบังอรมาให้จงได้ (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
ผูกขวัญ | ก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร. |
มือเก่า | ว. มีความชำนาญหรือชํ่าชองมาก เช่น อย่าประมาทมือเก่านะเจ้าเอ๋ย (อภัย). |
สด ๆ, สด ๆ ร้อน ๆ | ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคลผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือนเจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ. |
ออเจ้า | ส. คำใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย เช่น ทชีก็ปรับทุกข์ร้อนทางจะอวดมีว่า ออเจ้าเอ๋ยออเจ้าเราค่อยมั่งมีขึ้นถึงเพียงนี้มีเสียกว่าออเจ้า (ม. คำหลวง ชูชก), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
โอ้ ๑ | อ. คำในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคยเลยจะห่างเหเสนหา (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต (อิเหนา). |