a: | A: Drive A ไดรฟ์เอ หมายถึง ชื่อหน่วยบันทึกหน่วยแรกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม หรือเครื่องเลียนแบบ (compatibles) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะเข้าไปดูในหน่วยนี้ก่อน หากไม่พบสิ่งใด ๆ จึงจะย้ายไปดูหน่วยบันทึกอื่นต่อไป หน่วยที่สองจะนิยมเรียกกันว่า B: และหน่วยจานบันทึกแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ มักจะถูกกำหนดให้เป็น C: (เวลาเขียน ต้องมีเครื่องหมาย : ตามหลังเสมอ จึงจะหมายถึงหน่วยบันทึก) |
advanced technology | เทคโนโลยีก้าวหน้าใช้ตัวย่อว่า AT หมายถึงคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มรุ่นหนึ่งที่ใช้บัสชนิด 16 บิต แทนแผ่นวงจร 8 บิตที่ใช้ก่อนหน้านั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว |
altair | (แอล' แทร) 1. ชื่อดาวขนาดใหญ่ในกลุ่มดาว Aquilla (a fires-magnitude star) 2. เป็นยี่ห้อของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ หรือพีซี (personal computer) รุ่นแรก ๆ ยี่ห้อหนึ่ง โด่งดังมาก่อนเครื่องยี่ห้อแอปเปิล (Apple) หรือ ไอบีเอ็ม (IBM) |
appletalk | (แอปเปิลทอล์ค) ในปัจจุบัน มีการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาใช้ร่วมกัน เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่เรียกว่า "ข่ายงาน" (network) การทำเช่นนี้จำเป็นจะ ต้องมีระบบประสานการใช้เครื่อง แอปเปิล ทอล์คนั้น ทำหน้าที่นี้ แต่ใช้สำหรับทำให้นำเครื่องแอปเปิลแมคอินทอชและเครื่องไอบีเอ็ม พีซีซึ่งมีระบบปฏิบัติการต่างกันมาใช้ร่วมกันในข่ายงานเดียวกันได้ เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุกเครื่องจะมีช่องต่อออก สำหรับแอปเปิลทอลค์ แต่ไอบีเอ็มพีซียังไม่มี ดู network ประกอบ |
at | (เอที) เป็นคำย่อที่บริษัทไอบีเอ็มนำมาใช้แทนคำว่า advanced technology ซึ่งแปลว่า เทคโนโลยีขั้นสูงนั่นเอง เมื่อสมัยที่ไอบีเอ็มผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ชุดใหม่ที่ใช้ชิปหมายเลข 80286 ได้ตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ที่ออกสู่ตลาดรุ่นนั้นว่า " IBM AT " |
atm. | abbr. 1. atmosphere, atmospheric 2. (เอทีเอ็ม) ย่อมาจาก automatic teller machine แปลว่า เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ของคอมพิวเตอร์ของธนาคารที่ลูกค้าสามารถกดรหัสติดต่อกับธนาคารเพื่อใช้บริการบางอย่าง เช่น ฝากหรือถอนเงิน ได้ ในกรุงเทพ เครื่องเอทีเอ็ม นี้จะเห็นได้อยู่ทั่วไป เพราะได้รับความนิยมมาก ในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วกว่าการเดินทางไปธนาคาร แล้วยังต้องรอรับบริการจากพนักงาน การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องเอทีเอ็ม และคอมพิวเตอร์ของธนาคาร จะใช้ผ่านทางสายโทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่ |
automatic teller machine | เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ <คำแปล>นิยมใช้ตัวย่อว่า ATM หมายถึง เครื่องปลายทาง (terminal) ของคอมพิวเตอร์ของธนาคารที่ลูกค้าสามารถกดรหัสติดต่อกับธนาคารเพื่อใช้บริการบางอย่าง เช่น ฝากหรือถอนเงินได้ ในกรุงเทพ เครื่องเอทีเอ็ม นี้จะเห็นได้อยู่ทั่วไป เพราะได้รับความนิยมมาก ในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วกว่าการเดินทางไปธนาคาร แล้วยังต้องรอรับบริการจากพนักงาน การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องเอทีเอ็ม และคอมพิวเตอร์ของธนาคาร จะใช้ผ่านทางสายโทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่ |
bank switching | การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้ |
bmp | (บีเอ็มพี) ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพหรือกราฟิกที่มีลักษณะเป็นจุดภาพ (pixel) เล็ก ๆ ที่เรียกว่าบิตแมป เช่น WINLOGO.BMP ดู bitmap ประกอบ |
c | (ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3, ตัวเลข100ของโรมัน, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม |
c: | หน่วยบันทึกซีหมายถึง ชื่อหน่วยบันทึกแข็งที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม หรือเครื่องเลียนแบบ (compatibles) เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักจะมีหน่วยบันทึกอย่างน้อยสองหน่วย คือ หน่วยบันทึกA: และหน่วยบันทึก C: หน่วยบันทึก C: มักนิยมใช้เรียกฮาร์ดดิสก์ซึ่งจะมีความจุมากกว่าหน่วยบันทึก A: มาก จึงมักใช้ C: เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ตั้งแต่โปรแกรมระบบจนถึงโปรแกรมสำเร็จ (เวลาเขียน ต้องมีเครื่องหมาย : ตามหลังตัว C เสมอ จึงจะหมายถึงหน่วยบันทึก) |
cga | (ซีจีเอ) ย่อมาจาก color gragphic adapter แปลว่า ตัวปรับสำหรับภาพกราฟิก ที่จะมองเห็นบนจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวปรับนี้เป็นมาตรฐานจอภาพของเครื่องไอบีเอ็ม แต่ภาพที่ปรากฏให้เห็นบนจอนั้นยังดูแข็ง ๆ ไม่ได้ผสมกลมกลืนสนิท ดูแล้วอาจจะปวดศรีษะได้ คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จึงพัฒนาตัวปรับสีนี้ใหม่ มีชื่อ เรียกว่า EGA หรือ VGA ดู EGA และ VGA ประกอบ |
cgm | (ซีจีเอ็ม) abbr. ย่อมาจาก computer graphics metafile เป็นระบบการเก็บภาพของคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .cgm |
cim | (ซีไอเอ็ม) 1. ย่อมาจาก computer input from microfilm (ไมโครฟิล์มสู่คอมพิวเตอร์) หมายถึง เทคโนโลยีในการอ่านข้อมูลต่าง ๆ ในไมโครฟิล์มเข้าไปเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (โดยต้องแปลงเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้) 2. ย่อมาจาก computer integrated manufacturing (การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์) หมายถึงการผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย |
clone | (โคลน) n. พวกสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์จากระบบไร้เพศ., See also: clonal adj. คอมพิวเตอร์เลียนแบบหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำเลียนแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อดัง ๆ ส่วนใหญ่จะมีราคาถูก โดยปกติ เขาแบ่งระดับขั้นของคอมพิวเตอร์กันดังนี้ คือ ถ้าเป็นระดับที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ก็มีคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม IBM แมคอินทอช Macintosh และคอมแพค Compaq ถัดลงมาอยู่ในระดับเทียบเคียงได้ compatible หมายถึง พวกที่มีชื่อ แต่โด่งดังน้อยกว่า เช่น เอ็ปซอน Epson ที่ขั้นต่ำสุดก็คือพวกที่ทำเลียนแบบในราคาถูก .....ถูกจนคนมักจะชอบเสี่ยงซื้อไปใช้ จึงจะเรียกว่า "clone" |
color graphic adapter | ตัวปรับต่อภาพสีใช้ตัวย่อว่า CGA หมายถึง ตัวปรับสำหรับภาพกราฟิกที่จะมองเห็นบนจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวปรับนี้เป็นมาตรฐานจอภาพของเครื่องไอบีเอ็ม แต่ภาพที่ปรากฏให้เห็นบนจอนั้นยังดูแข็ง ไม่ได้ผสมกลมกลืนสนิท ดูแล้วพาลจะปวดศรีษะได้ง่าย ๆ คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จึงพัฒนาตัวปรับสีนี้ใหม่ มีชื่อ เรียกว่า EGA หรือ VGA |
common user access | การเข้าถึงผู้ใช้ร่วมกันใช้ตัวย่อว่า CUA หมายถึง ตัวชี้นำ (guidelines) ที่ เครื่องไอบีเอ็มสร้างขึ้นมา ใช้เพื่อทำให้การเข้าสู่โปรแกรมมีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน แม้แต่เครื่องแมคอินทอชก็ใช้ตัวชี้นำนี้ |
compatibility | ความเข้ากันได้ความใช้แทนกันได้การเทียบเคียงกันได้หมายถึง ความสามารถในการทำงานของอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่สามารถเทียบแทนกันได้กับอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว เช่น ถ้าใช้ว่า "IBM Compat" ก็แปลความได้ว่าคอมพิวเตอร์นั้นไม่ใช่ยี่ห้อไอบีเอ็ม แต่ผลิตขึ้นมาด้วยมาตรฐานเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และสามารถนำมาใช้แทนเครื่องไอบีเอ็มได้ (หมายถึง ใช้โปรแกรมหรือคำสั่งต่าง ๆ ของไอบีเอ็มได้นั่นเอง) |
computer architecture | หมายถึง ระบบโครงสร้าง อุปกรณ์ หรือส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ในบางกรณี อาจหมายถึงการออกแบบระบบการสื่อสารติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน ว่ากันว่า บริษัทไอบีเอ็มมีการออกแบบโครงสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจง่ายกว่ายี่ห้ออื่น ทำให้มีการสร้างเครื่องเลียนแบบ (compatibles) ไอบีเอ็มขายเต็มตลาดได้ในขณะนี้ |
computer graphics metafil | ใช้ตัวย่อว่า CGM (อ่านว่า ซีจีเอ็ม) เป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์ใช้เก็บภาพแบบหนึ่ง แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .cgm |
computer input from micro | ไมโครฟิล์มสู่คอมพิวเตอร์ใช้ตัวย่อว่า CIM (ซีไอเอ็ม) หมายถึง เทคโนโลยีในการอ่านข้อมูลต่าง ๆ ในไมโครฟิล์มเข้าไปเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (โดยต้องแปลงเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้) |
computer output on microf | ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ใช้ตัวย่อว่า COM (อ่านว่า ซีโอเอ็ม) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโครฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ 48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที |
conventional memory | หน่วยความจำปกติใช้เรียก 640 กิโลไบต์แรกของหน่วยความจำ (RAM) ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม และเครื่องเลียนแบบไอบีเอ็ม (IBM compatibles) ที่กำหนดว่าต้องมีหน่วยความจำอย่างน้อย 640 เค (เป็นมาตรฐานที่กำหนดไว้นานแล้ว) |
cp/m | (ซีพี/เอ็ม) ย่อมาจาก Control Program for Microcomputers เป็นชื่อโปรแกรมระบบที่เคยโด่งดังมากเมื่อสมัยใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ 8 บิต หรือเมื่อราวสิบปีก่อน |
ctrl+alt+del | (เริ่มเครื่องใหม่) <ความหมาย>แป้น CTRL, ALT, DEL ล้วนเป็นแป้นพิมพ์พิเศษของเครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม หรือ เครื่องที่ทำเลียนแบบไอบีเอ็ม เมื่อกดทั้งสามแป้นนี้พร้อมกันแล้ว จะเท่ากับสั่งให้คอมพิวเตอร์เริ่มต้น การทำเช่นนี้เรียกว่า "warm boot" จะเหมือนกับการปิดแล้วเปิดสวิตซ์ที่เครื่องใหม่ (cold boot) ในกรณีเช่นที่ว่านี้ ถ้ามีแฟ้มข้อมูลที่กำลังทำอยู่ ข้อมูลจะหายไปหมด เพราะไม่ได้สั่งเก็บหรือบันทึก |
cua | (ซียูเอ) ย่อมาจาก คำว่า Common User Access ซึ่งหมายถึง ตัวชี้นำ (guidelines) ที่ เครื่องไอบีเอ็มสร้างขึ้นมา ใช้เพื่อทำให้การเข้าสู่โปรแกรมมีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน แม้แต่เครื่องแมคอินทอชก็ใช้ตัวชี้นำนี้ |
data base management syst | ระบบจัดการฐานข้อมูลใช้ตัวย่อว่า DBMS (อ่านว่า ดีบีเอ็มเอส) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย |
database management syste | ใช้ตัวย่อว่า DBMS (อ่านว่าดีบีเอ็มเอส) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย |
dbms | (ดีบีเอ็มเอส) ย่อมาจาก data base management system (แปลว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้ หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย |
disk operating system | ระบบปฏิบัติการแบบใช้จานโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่สั่งการให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทำงาน ถ้าจะแปลให้ตรงตัว ก็จะเรียกได้ว่า เป็นระบบปฏิบัติการแบบที่ใช้จานบันทึกข้อมูล เรามักจะใช้คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า DOS (อ่านว่า ดอส) ส่วนระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ เรียกว่า OS อ่านว่า โอเอส (Operating System) ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ประเภทเทียบเคียงกับไอบีเอ็ม (IBM compatibles) หรือพีซี (PC) จะใช้ "ดอส" ที่เขียนโดยบริษัทไมโครซอฟต์ นิยมเรียกกันว่าMS-DOS หรือ Microsoft DOS ส่วนระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช มีชื่อว่า System 6 หรือ 7 |
dos | (ดอส) ย่อมาจาก disk operating system (ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกับการจัดการควบคุมแผ่นบันทึก (disk) หรือที่เรียกว่าระบบปฏิบัติการ (OS) ดอสที่ใช้เฉพาะกับไมโครคอมพิวเตอร์ (ดอสที่ใช้กับเมนเฟรมก็มี เป็นของบริษัทไอบีเอ็ม) |
drive a | A:ไดรฟ์เอหมายถึง ชื่อหน่วยบันทึกหน่วยแรกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม หรือเครื่องเลียนแบบ (compatibles) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะเข้าไปดูในหน่วยนี้ก่อน หากไม่พบสิ่งใด ๆ จึงจะย้ายไปดูหน่วยบันทึกอื่นต่อไป หน่วยที่สองจะนิยมเรียกกันว่า B: และหน่วยจานบันทึกแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ มักจะถูกกำหนดให้เป็น C: (เวลาเขียน ต้องมีเครื่องหมาย : ตามหลังเสมอ จึงจะหมายถึงหน่วยบันทึก) |
ebcdic | (เอบซีดิก) ย่อมาจาก extended binary coded decimal interchange code (แปลว่า รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
ega | (อีจีเอ) ย่อมาจาก enhanced graphics adapter (แปลว่า ตัวปรับต่อภาพเพิ่มความคม) เป็นมาตรฐานการแสดงภาพกราฟิกบนจอภาพซึ่งบริษัทไอบีเอ็มพัฒนาใช้อยู่ก่อน ในปัจจุบัน จอภาพได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ที่มีชื่อเป็นที่นิยม เรียกกันว่า วีจีเอ (VGA) และ ซุเปอร์วีจีเอ (SVGA) ซึ่งจะสามารถแสดงสีที่สวยกว่า กับทั้งมีความคมชัดมากกว่า ดู CGA, VGA และ SVGA ประกอบ |
eighty column card | บัตร 80 คอลัมน์บัตรทำด้วยกระดาษ มีไว้ใช้สำหรับบรรจุข้อมูล โดยปกติจะต้องมีรูปร่างและขนาดตามมาตรฐานที่กำหนด (71/8 นิ้ว +31/4 นิ้ว) จะต้องทำด้วยกระดาษชนิดพิเศษที่มีความต้านทานความชื้นสูง และมีความต้านทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในอากาศ ในการบรรจุข้อมูลนั้น ใช้วิธีเจาะรูตามคอลัมน์ของบัตรซึ่งจะมี 80 คอลัมน์ (จึงเรียกกันว่า บัตร 80 คอลัมน์) แต่ละคอลัมน์มี 12 แถว ในการเจาะนั้นรูหนึ่งรูในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวเลข (0-9) และรูสองรูหรือมากกว่าในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร (A-Z) หรือ อักขรพิเศษอื่น ๆ เมื่อใส่บัตรเข้าเครื่อง รูเหล่านี้จะถูกแปรงไฟฟ้าปัดผ่าน ทำให้เครื่อง สามารถอ่านข้อมูลเข้าไปได้ บัตรคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมากคือ บัตรที่ ดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Hermann Hollerith) แห่งบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) เป็นผู้คิดขึ้น บางทีจึงนิยมเรียกกันว่า บัตรไอบีเอ็ม (IBM card) หรือ บัตรฮอลเลอริท (Hollerith card) ดู card ประกอบ |
eisa | (อีซา) ย่อมาจาก extended industry standard architecture (แปลว่า การออกแบบมาตรฐานแบบขยาย) คอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มจะออกแบบและใช้บัส (bus) แบบ ISA (industry standard archi- tecture) เป็นมาตรฐาน แต่เครื่องที่เทียบเคียงกับเครื่องไอบีเอ็ม (IBM compatibles) นั้น แทนที่จะใช้ตามมาตรฐานนี้ กลับออกแบบบัสให้เพิ่มความเร็วขึ้น เรียกว่า อีซา เมื่อไอบีเอ็มผลิตคอมพิวเตอร์ PS/2 จึงได้กำหนดมาตรฐานของบัสใหม่ โดยพัฒนาให้เร็วยิ่งขึ้นไปอีก เรียกว่า MCA ซึ่งย่อมาจาก micro channel architecture ดู MCA ประกอบ |
em dash | (เอ็มแดช) เป็นอักษรพิเศษตัวหนึ่งที่ใช้ในการพิมพ์ มีลักษณะเป็นขีดยาวเท่า ๆ กับอักษร M หรือเครื่องหมาย hyphen 2 ตัวพิมพ์ติด ๆ กัน (--) โดยปกติ จะใช้เพื่อแสดงว่าต้องการเน้นข้อความนั้น ๆ เช่น " การ เล่นกอล์ฟเป็นการพนันอย่างหนึ่ง -- การพนันที่เป็นที่นิยมมากเสียด้วย " ดู en dash เปรียบเทียบ |
emm | (อีเอ็มเอ็ม) ย่อมาจากคำ expanded memory manager เป็นชื่อของโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) โปรแกรมหนึ่งที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำให้หน่วยความจำมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผลเป็นชิป (chip) เบอร์ 80386 หรือ 80486 |
ems | (อีเอ็มเอส) ย่อมาจาก expanded memory specification บางครั้งก็เรียกชื่อเต็มเลยว่า LIM-EMS ย่อมาจากคำว่า Lotus-Intel Microsoft Expanded Memory Specification อีเอ็มเอสนั้นเป็นโปรแกรมที่ขยายตัวประมวลผล 8088 ที่มีหน่วยความจำ 640 K ให้มีเนื้อที่มากขึ้น เพื่อให้มีที่พอบรรจุโปรแกรมโลตัส 1-2-3 ซึ่งเป็นโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) ขนาดใหญ่ ลงไปในหน่วยความจำที่มีขนาดเพียง 640 K ได้ ในปัจจุบัน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้โปรแกรมอีเอ็มเอสนี้แล้ว เพราะหน่วยความจำของไมโครคอมพิวเตอร์รุ่น ใหม่ ๆ มีขนาดใหญ่กว่าสมัยก่อนมาก |
expanded memory manager | ชื่อโปรแกรมขยายหน่วยความจำใช้ตัวย่อว่า EMM (อีเอ็มเอ็ม) เป็นชื่อของโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) โปรแกรมหนึ่งที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำให้หน่วยความจำมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผลเป็นชิป (chip) เบอร์ 80386 หรือ 80486 |
extended binary coded dec | extended binary coded decimal interchange code รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EBCDIC (อ่านว่า เอ็บซีดิก) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
extended industry standar | extended industry standard architecture การออกแบบมาตรฐานแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EISA (อ่านว่า อีซา) คอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มจะออกแบบและใช้บัส (bus) แบบ ISA (Industry Standard Architecture) เป็นมาตรฐาน แต่เครื่องที่เทียบเคียงกับเครื่องไอบีเอ็ม (IBM compatibles) นั้น แทนที่จะใช้ตามมาตรฐานนี้ กลับออกแบบบัสให้เพิ่มความเร็วขึ้น เรียกว่า อีซา เมื่อไอบีเอ็มผลิตคอมพิวเตอร์พีเอสทู (PS/2) จึงได้กำหนดมาตรฐานของบัสใหม่ โดยพัฒนาให้เร็วยิ่งขึ้นไปอีก เรียกว่า MCA ซึ่งย่อมาจาก micro channel architecture ดู MCA ประกอบ |
extended memory specifica | ข้อกำหนดหน่วยความจำแบบขยายใช้ตัวย่อว่า XMS (อ่านว่า เอกซ์เอ็มเอส) เป็นมาตรฐานการจัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำแบบหนึ่งที่ยอมให้โปรแกรมระบบดอส เข้าถึงส่วนความจำขยายได้ โปรแกรมในดอสที่จัดการเรื่องนี้ มีชื่อว่า Himem.Sys |
hma | (เอชเอ็มเอ) ย่อมาจากคำว่า high memory area (เขตปฏิบัติการหน่วยความจำสูง) หมายถึงขนาดของหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบดอส (เดิมมี 64 K) ที่สามารถนำมาขยายเพิ่มขึ้นให้เกิน กว่า 1 เมกะไบต์ได้ |
ibm | abbr. Intercontinental Ballistic Missile จรวดขีปนาวุธข้ามทวีป, International Business Machines Corporation, บริษัทไอบีเอ็ม เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตเครื่องจักรประมวลผลสำหรับธุรกิจหลายชนิด ซึ่งก็หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ไอบีเอ็มเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดบริษัทหนึ่งในด้านนี้ ในปัจจุบัน เริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น บริษัทไอบีเอ็มนี้ผลิตคอมพิวเตอร์ทุกขนาดตั้งแต่ขนาดใหญ่ (mainframe) จนถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ราคาเครื่องของบริษัทนี้จะแพงกว่าของบริษัทอื่น และมีบริษัทมากมายพยายามเลียนแบบ จนเกิดมีคำ"IBM compatibles" ซึ่งใช้เรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เทียบเคียงกับคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มได้ กล่าวคือ ใช้โปรแกรมระบบ (operating system) อย่างเดียวกัน |
ibm at | ไอบีเอ็ม เอทีเป็นชื่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่บริษัทไอบีเอ็มผลิตขึ้น และนำออกสู่ตลาดในราวปี ค.ศ.1984 เครื่องนี้ใช้ตัวประมวลผลIntel 80286 คำว่า เอที ย่อมาจากคำว่า Advanced Technology ซึ่งแปลตรง ๆ ตัวได้ว่า เทคโนโลยีขั้นสูง |
ibm card | บัตรไอบีเอ็มหมายถึงบัตรคอมพิวเตอร์ที่ฮอลเลอริท (Hollerith) เป็นผู้ออกแบบ นำมาใช้เจาะเป็นรู เพื่อสื่อสารนำข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเลิกใช้แล้วดุ card ประกอบ |
ibm pc | ไอบีเอ็ม พีซีเป็นชื่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่บริษัทไอบีเอ็ม เริ่มผลิตออกสู่ตลาดมาตั้งแต่ ค.ศ.1981 ก่อนหน้านี้ บริษัทไอบีเอ็มจะผลิตแต่เครื่องขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เมนเฟรม (mainframe) คำ PC นั้นย่อมาจาก personal computer ในปัจจุบัน คำพีซีกลายเป็นคำที่หมายถึงไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้ออะไรก็ได้ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเดียวกับไอบีเอ็ม บางทีก็เรียกว่า "เทียบเคียงกับไอบีเอ็ม" หรือ "IBM compatibles" |
ibm xt | ไอบีเอ็ม เอ็กซ์ทีเป็นชื่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่บริษัทไอบีเอ็มพัฒนาหลังจากที่ผลิตพีซีแล้วเป็นไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) อยู่ในตัวเครื่องเลย (ไม่แยกออกต่างหากจากตัวเครื่องแบบแต่ก่อน) คำว่า XT ย่อมาจาก extended technology ซึ่งก็แปลว่าเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งนั่งเอง บริษัทไอบีเอ็มผลิต XT หลังจาก PC แล้วต่อไปก็ผลิต AT ดู IBM AT ประกอบ |
industry standard archite | ใช้ตัวย่อว่า ISA (อ่านว่า อิซ่า) ซึ่งก็คือบัส (bus) แบบหนึ่งที่สร้างขึ้นมาใช้กับเครื่องไอบีเอ็ม เอที (IBM AT) คอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบไอบีเอ็มมักใช้บัสนี้หรืออีซา (EISA) ดู EISA เปรียบเทียบ |