Association of Souteast Asian Nations | สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Example: ประเทศสมาชิก ASEAN ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเชีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม [ธุรกิจ] |
Yao language (Southeastern Asia) | ภาษาเย้า (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) [TU Subject Heading] |
Art, Southeast Asian | ศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [TU Subject Heading] |
Golden Triangle (Southeastern Asia) | สามเหลี่ยมทองคำ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) [TU Subject Heading] |
Kyoto University. The Center for Southeast Asian Studies Library | มหาวิทยาลัยเกียวโต. ห้องสมุดศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา [TU Subject Heading] |
Southeast Asia | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [TU Subject Heading] |
Southeast Asian literature | วรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [TU Subject Heading] |
Association of South East Asian Nations (ASEAN) | สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน), Example: อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นความพยายามร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคในช่วงนั้น ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้ในสงครามอินโดจีนในช่วงแรกของการ ก่อตั้งอาเซียน ความร่วมมือส่วนใหญ่จะเน้นไปทางด้านการเมือง แต่ต่อมาได้หันมาให้ความสนใจทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น โดยได้มีการลงนามในปฏญญาแห่งอาเซียนที่นครบาหลีเมื่อ พ.ศ. 2519 เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การเมืองและข้อมูลข่าวสาร ใน พ.ศ. 2520 ได้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (ASEAN Preferential Trading Arrangement) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อนำไปสู่การ พัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค และ พ.. 2535 ได้มีการลงนามเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้า เพื่อให้ตลาดอาเซียนรวมตัวกันเป็นตลาดใหญ่ตลาดเดียว เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ในการนี้ได้มีการลดอัตราภาษีระหว่างกันในสินค้าทุกประเภท โดยใช้หลักอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (ดู CEPT) เป็นกลไกหลัก ปัจจุบัน (ปี 2538) ประกอบด้วยสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน และเวียดนาม [สิ่งแวดล้อม] |
Association of South-East Asian Nations | สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 เพื่อร่วมมือและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และการบริหารในภูมิภาค โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมาบรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2527 เวียดนามเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับสุดท้ายหรือประเทศที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2542 [การทูต] |
Zone of Peace Freedom and Neutrality | เขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [การทูต] |
Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] |
International Law Enforcement Academy | สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2541 เป็นโครงการ 3 ปี (ระหว่าง 2541-2544) โดยสหรัฐอเมริกาให้เงินสนับสนุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจัดการฝึกอบรมแก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินการตามกฎหมายในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ระหว่างประเทศ [การทูต] |
Open and Caring Societies | สังคมเปิดและเอื้ออาทร เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 ที่ได้เล็งเห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวมในปีดังกล่าวจะมีสังคมเปิดที่ประชาชน ยึดมั่นในเอกสักษณ์แห่งชาติของตนและเข้าถึงโอกาสของการพัฒนาความเป็นมนุษย์ อย่างสมบูรณ์ได้อย่างเท่าเทียมกัน และจะเป็นสังคมเอื้ออาทรที่ความหิวโหยทุกข์โภชนาการ การสูญเสียและความยากจนจะไม่ใช่ปัญหาพื้นฐาน และเป็นสังคมที่มีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง [การทูต] |
Pacific Charter | คือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต] |
Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] |
Southeast Asia Fund for Institutional and Legal Development | กองทุนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการพัฒนาสถาบันและกฎหมาย ไทยและแคนาดาได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อจัดตั้งสำนักงานกองทุนฯ ในประเทศไทย [การทูต] |
Southeast Asia Ministers of Education Organization | องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [การทูต] |
Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty | สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ลงนามในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2538 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาคและส่งเสริมความพยายามระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคใน การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่ง นอกจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของแผนงานว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Zone of Peace, Freedom and Neutrality - ZOPFAN) แล้ว ยังเป็นการสนับ สนุนกระบวนการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในเวทีระดับโลกอีกด้วย " [การทูต] |
Treaty of Amity and Cooperation | สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยอาเซียนเมี่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อกำหนด หลักการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค โดยมีหลักการที่สำคัญได้แก่ การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาโดยสันติ การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลัง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งมีมาตราเกี่ยวกับแนวทางยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยอาศัยกลไกคณะอัครมนตรี (High Council) ปัจจุบันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ เป็นภาคีสนธิสัญญาฯ " [การทูต] |
The ASEAN Declaration (Bangkok Declaration) | " หมายถึง เอกสารก่อตั้งสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of South-East Asian Nations : ASEAN) ซึ่งได้มีการลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดย ผู้แทนระดับรัฐมนตรีของ 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย " [การทูต] |
Gutta percha | ยางธรรมชาติสายพันธุ์หนึ่งที่ได้จากต้นยางกัตตา (Palaquium gutta) ซึ่งเป็นต้นไม้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสมบัติความยืดหยุ่นไม่ดีเนื่องจากลักษณะโครงสร้างโมเลกุลเป็น ทรานส์-1, 4-พอลิไอโซพรีน (trans-1, 4-polyisoprene) แต่มีความเป็นฉนวนที่ดี นิยมใช้ในการทำส่วนประกอบของลูกกอล์ฟ ทำฟันปลอม ฉนวนหุ้มสายเคเบิลไฟทั้งใต้ดินและในทะเล [เทคโนโลยียาง] |
Hevea brasiliensis | ยางพาราเป็นพืชที่ปลูกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และให้ผลผลิตเป็นยาง ธรรมชาติที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็น ซิส- 1, 4 พอลิไอโซพรีน (cis-1, 4 polyisoprene) [เทคโนโลยียาง] |