กระยาเสวย | น. เครื่องเสวย. |
เขียวเสวย | น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลสีเขียว รสมัน. |
พานพระขันหมาก, พานพระขันหมากเสวย | น. พานใส่หมากพลูเครื่องเสวย เป็นเครื่องราชูปโภค ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ ลักษณะเป็นพานซ้อนกัน ๒ ชั้น รูปทรงคล้ายพานแว่นฟ้า ทำด้วยทองคำ จำหลักลวดลายลงยาสี จะเรียกว่า พานพระศรี พานพระขันหมาก หรือพานพระขันหมากเสวย ซึ่งสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียก, ในพานประกอบด้วย ตลับพู่ใส่ขี้ผึ้ง ๑ มังสี ๒ สำหรับใส่หมากเจียน ๑ หมากทั้งลูก ๑ ซองพลู ๒ สำหรับใส่พลูจีบ ๑ ตลับใส่กระวาน ๑ ตลับใส่ยาฝอย ๑ และพระแสงกรรบิด ๑. |
พานหมากเสวย | น. พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยของเจ้านาย, พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยซึ่งเป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศของเจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า มีลักษณะแตกต่างกันไปตามชั้นยศ จะเรียกว่า พานพระศรี ก็มี ซึ่งสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียก. |
เสวย ๑ | (สะเหฺวย) ก. กิน เช่น เสวยพระกระยาหาร เสวยพระสุธารส |
เสวย ๑ | ครอง เช่น เสวยราชย์. |
เสวย ๒ | (สะเหฺวย) ก. ได้รับ, ได้ประสบ, เช่น เสวยทุกขเวทนา, ได้รับประโยชน์ เช่น เสวยสิทธิ์. |
เสวยกรรม | ก. ตาย เช่น หนหลังเกรงแหล่งหล้า พระบาทคิดหนหน้า อยู่เกล้าเสวยกรรม (ลอ). |
เสวยพระชาติ | ก. เกิด (ใช้แก่พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเกิดเป็นพระโพธิสัตว์). |
กษีรธารา | น. สายนํ้านม เช่น ให้เสวยโภชนและกษีรธารา (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กัตติกมาส | (กัดติกะมาด) น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์กัตติกา คือ เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ ตกในราวเดือนพฤศจิกายน. |
กามสมังคี | ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกามสมังคีศรีสุขุมสุข (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). |
เครื่อง | (เคฺรื่อง) น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสำหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสำหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสำรับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสำรับกับแป้งเครื่องสำอาง, ของใช้ของกินสำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย. |
เครื่องต้น | ของใช้ของเสวยสำหรับพระมหากษัตริย์. |
จาตุรงคสันนิบาต | น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คำสามัญว่า มาฆบูชา. |
จิตร- ๒ | (จิดตฺระ-) น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์จิตรา เรียกว่า จิตรมาส คือ เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน. |
เชษฐมาส | (เชดถะ-) น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์เชษฐะ คือ เดือน ๗ ตามจันทรคติ ตกในราวเดือนมิถุนายน. |
ตะพาบ ๒ | น. หม้อน้ำสำหรับใส่น้ำเพื่อเสวย, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระตะพาบ. |
บุษยมาส | น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรบุษยะ คือ เดือนยี่ ตกในราวมกราคม. |
ปก ๒ | น. แว่นแคว้น เช่น ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระยาผ่านในปกเมืองเนืองทั้งปกเขม ครั้นเต็มสมบูรณ์สามสิบแปดข้าว เข้าศักราชเจ็ดร้อยห้าสิบแปด กลายท่านได้ปราบต์ทั้งปกกาวชาวด้านหนตีนเถิงฝั่งของ (จารึกวัดบูรพาราม). |
ปราบดาภิเษก | (ปฺราบดา-) น. พระราชพิธีขึ้นเสวยราชสมบัติหรือได้ราชสมบัติ. |
ผัคคุณมาส | น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรผลคุนี คือ เดือน ๔ ตกในราวเดือนมีนาคม. |
ผาลคุน | (ผานละคุน) น. เดือนซึ่งพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรผลคุนี คือ เดือน ๔ ตกในราวเดือนมีนาคม. |
พระเครื่อง | เครื่องเสวย. |
พานพระศรี | น. พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยของพระมหากษัตริย์, พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยซึ่งเป็นเครื่องราชูปโภค ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศเจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า มีลักษณะแตกต่างกันไปตามชั้นยศ สำหรับเจ้านายนั้นจะเรียกว่า พานหมากเสวย ก็มี ซึ่งสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียก. |
ไพศาขมาส | (-มาด) น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์วิศาขะ คือ เดือน ๖ ตกในราวเดือนพฤษภาคม. |
ภวังค-, ภวังค์ | (พะวังคะ-) น. ส่วนที่สืบต่อระหว่างปฏิสนธิกับจุติ มิได้เสวยอารมณ์ในทวารทั้ง ๖ มีจักษุทวารเป็นต้น. (ป.) |
ภัทรบทมาส | (พัดทฺระบดทะมาด) น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ภัทร-ปทา คือ เดือน ๑๐ ตกในราวเดือนกันยายน. |
ภาษาธรรม | น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น. |
มฤคศิรมาส | น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์มฤคศิระ คือ เดือนอ้าย ตกในราวเดือนธันวาคม. |
มาฆบูชา | น. การทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. |
รับพระเคราะห์ | ก. ทำพิธีรับเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวงที่จะมาเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์. |
ราชย์ | น. ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ, เช่น ขึ้นครองราชย์ เสวยราชย์. |
ฤกษ์บน | น. ฤกษ์ที่ดาวนพเคราะห์เสวยประจำวัน มี ๒๗ ฤกษ์. |
วันมาฆบูชา | น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. |
ส่งพระเคราะห์ | ก. ทำพิธีส่งเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวงที่กำลังจะสิ้นสุดการเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์. |
สมโภค | (-โพก) น. การเสวยสุขกายใจอันเป็นไปในทางโลก. |
สัตมหาสถาน | (สัดตะมะหาสะถาน) น. สถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุขภายหลังตรัสรู้. |
สิบสองพระกำนัล | น. นางพระกำนัลที่มีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ มี ๑๒ ตำแหน่ง ได้แก่ กำนัลรับพระหัตถ์ กำนัลพระขันหมาก กำนัลน้ำเสวย กำนัลพัชนี กำนัลพระสำอาง กำนัลพระมาลา กำนัลพระบังคน กำนัลพระไสยาสน์ กำนัลทิพยรส กำนัลพระโภชน์ กำนัลพระโอษฐ์ และกำนัลทาพระองค์. |
อภิเษก | ก. แต่งตั้งโดยการทำพิธีรดนํ้า เช่นพิธีขึ้นเสวยราชย์ของพระมหากษัตริย์. |
อาสูร | (-สูน) ก. สงสาร เช่น อาสูรสองหลานเอย ย่อมเสวยเคยข้าวสาลี (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์) |