โดยเสด็จ | ก. ติดตามพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศ์ ซึ่งผู้ติดตามเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ |
โดยเสด็จ | ร่วม, สมทบ, เช่น โดยเสด็จพระราชกุศล |
โดยเสด็จ | ติดตามพระมหากษัตริย์ ซึ่งผู้ติดตามเป็นพระบรมวงศานุวงศ์หรือสามัญชน, ใช้ว่า ตามเสด็จ ก็มี. |
ตามเสด็จ | ก. ติดตามพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศ์ ซึ่งผู้ติดตามเป็นสามัญชน |
ตามเสด็จ | ติดตามพระมหากษัตริย์ ซึ่งผู้ติดตามเป็นพระบรมวงศานุวงศ์หรือสามัญชน, ใช้ว่า โดยเสด็จ ก็มี เช่น พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการตามเสด็จไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินยังไทรโยค. |
รับเสด็จ | ก. รอเฝ้ารับพระมหากษัตริย์และเจ้านาย. |
สวรรคต, เสด็จสวรรคต | (สะหฺวันคด, สะเด็ด-) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นการเฉพาะ เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร). |
เสด็จ | (สะเด็ด) น. คำเรียกเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรสพระราชธิดา. |
เสด็จ | (สะเด็ด) ก. ไป เช่น เสด็จประพาส. |
เสด็จในกรม | น. พระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ ชั้นพระองค์เจ้าที่ทรงกรม. |
เสด็จพระราชดำเนิน | ก. เดินทาง (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เช่น เสด็จพระราชดำเนินโดยทางสถลมารค เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง. |
เสด็จสวรรคต, สวรรคต | (-สะหฺวันคด) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรม-ราชินี หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นการเฉพาะ เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรม-วงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร). |
กรรภิรมย์ | (กัน-) น. ฉัตร ๕ ชั้นและ ๗ ชั้น สำรับหนึ่งมี ๓ องค์ คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นเขียนทอง เป็นเครื่องสูงอันเป็นสิริมงคลยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ และใช้เข้าพิธีคชกรรมนำช้างสำคัญขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี. |
กระพอก ๒ | ก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล (ลอ). |
กล่อมหงส์ | พิธีขับกล่อมหงส์ ทำต่อเนื่องจากพิธีตรียัมปวาย เป็นการส่งเสด็จพระอิศวร พระอุมา และพระมหาพิฆเนศวรกลับสู่สวรรค์ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ |
กัน ๓ | ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่ายในสิ่งที่จำเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง ทำหน้าที่ถวายอารักขา ว่า เรือกัน. |
กามสมังคี | ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกามสมังคีศรีสุขุมสุข (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). |
เกย ๒ | น. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้นหรือลงพาหนะ |
เกยลา | น. เกยน้อยที่ยกไปได้ ใช้เป็นที่เสด็จขึ้นลงแห่งเจ้านายรองจากพระเจ้าแผ่นดินลงมา |
ขมวดยา | (ขะหฺมวด-) น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, โขมดยา ก็ว่า. |
ขันธาวาร | (-ทาวาน) น. ค่าย, กองทัพ, เช่น เสด็จถึงขันธาวารประเทศ (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). |
โขมดยา | (ขะโหฺมด-) น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, ขมวดยา ก็ว่า. |
เงือก ๑ | น. งู เช่น ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง (แช่งนํ้า). |
จำราย | ก. กระจาย, แผ่ไป, เช่น เสด็จจรจำรายศักดิ์ โสภิต (ทวาทศมาส). |
จุกช่อง | ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศ์ที่สำคัญ ตามช่องทางเสด็จพระราชดำเนินเมื่อเสด็จไปนอกพระราชวัง โดยจัดเจ้าหน้าที่ให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทาง เช่น ตรอก ซอย ปากคลอง. |
ฉนวน ๑ | (ฉะหฺนวน) น. ทางเดินซึ่งมีเครื่องกำบัง ๒ ข้าง สำหรับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายฝ่ายในเสด็จขึ้นลงหรือเข้าออก. |
ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี | (ชนมา-) น. อายุ, กำหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
ชลมารค | (-มาก) น. ทางนํ้า เช่น กระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค. |
ชลาลัย | น. น้ำ, ห้วงน้ำ, เช่น ปางเสด็จประเวศด้าว ชลาลัย (กาพย์เห่เรือ), น้ำใจนางเปรียบอย่างชลาลัย ไม่เลือกไหลห้วยหนองคลองละหาน (กากี). |
ชักพระ | น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย. |
ช้าหงส์, ช้าเจ้าหงส์ | พิธีขับกล่อมหงส์ ทำต่อเนื่องจากพิธีตรียัมปวาย เป็นการส่งเสด็จพระอิศวร พระอุมาและพระมหาพิฆเนศวร กลับสู่สวรรค์ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ |
ชี ๑ | น. นักบวช เช่น ท้าวธคือไกรษรงามสง่า เสด็จเข้าป่าเปนชี (ม. คำหลวง วนประเวศน์) |
เชราะ | (ชะเราะ) น. ทาง, ซอก, ทางนํ้าเซาะ, เช่น ครั้นภูบาลเสด็จเทา ทางเชราะเขาขนองไพร (ม. คำหลวง วนประเวศน์). |
ใช้บน | ก. แก้บน เช่น ดีใจที่จะได้จรจรัล ตามเสด็จทรงธรรม์ไปใช้บน (อิเหนา). |
ซั้น | รีบ, เร็ว, ถี่, ติด ๆ กัน, เช่น เชอญเสด็จภักพลหมั้น แต่งทับซั้นไปหน่วง (ตะเลงพ่าย). |
ซุ้ม ๒ | น. สิ่งที่สร้างขึ้นในการรับเสด็จเป็นต้น มีรูปลักษณะอย่างซุ้มไม้, ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทำขึ้นใช้กันแดดกันฝนชั่วคราว ส่วนบนมักโค้ง เช่น ซุ้มดอกเห็ด |
ดั้ง ๑ | เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือไชยและเรือพระที่นั่งลำทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง. ก. ป้องกัน. |
ด้าว | น. แดน เช่น ปางเสด็จประเวศด้าว ชลาลัย (กาพย์เห่เรือ), ประเทศ เช่น คนต่างด้าว |
ดำบล | น. ตำบล, ถิ่น, หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ๆ เช่น ธก็เสด็จดล ดำบลมุจลินทร์สระน้นน (ม. คำหลวง วนประเวศน์). |
ดิพร | (ดิบ) ว. กล้า, แข็ง, มาก, เช่น พระเสด็จแสดงดิพรแกล้ว การยุทธ ยิ่งแฮ (ยวนพ่าย). |
ต้นเชือก | น. ตำแหน่งมหาดเล็กชั้นหุ้มแพร ทำหน้าที่กำกับหัวขบวนเสด็จพระราชดำเนิน, คู่กับ ปลายเชือก. |
ตำรวจหลวง | น. ข้าราชการในพระองค์ แต่งเครื่องแบบ สวมเสื้อนอก คอปิด กระดุม ๕ เม็ด นุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน (หากแต่งเครื่องเต็มยศนุ่งผ้าม่วงเชิงมีลายดิ้นเงิน สวมเสื้อนอกคอตั้งสีม่วงเทา) สะพายกระบี่ สวมหมวกทรงประพาส มีหน้าที่รักษาพระองค์พระมหากษัตริย์และพระราชินี ณ ที่ประทับ และนำเสด็จเป็นชุดตามพระเกียรติยศในงานพระราชพิธีและพิธีด้วย เดิมเรียกว่า พระตำรวจหลวง. |
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ | น. ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย. |
ท้องพระโรง | น. ห้องโถงขนาดใหญ่ในพระที่นั่ง สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จออกว่าราชการ ออกมหาสมาคม รับแขกเมือง, ห้องโถงซึ่งต่อออกมาจากตำหนักเจ้านายที่เป็นพระราชโอรสที่ทรงกรม และทรงเป็นผู้ปฏิบัติพระกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ใช้สำหรับเสด็จออกให้เฝ้าหรือว่าราชการ. |
ทะแยกลองโยน | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ทำนองเพลงทะแย อัตรา ๒ ชั้น มาบรรเลง และตีกลองสองหน้า หน้าทับกลองโยน เลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ, ในการเทศน์มหาชาติใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน. |
ทักษิณานุปทาน, ทักษิณานุประทาน | น. การที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงพระราชอุทิศถวายเจ้านายที่มีศักดิ์สูงซึ่งเสด็จล่วงลับไปแล้ว. |
ทัน ๒ | เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทันพระศรีสรรเพชญ์ เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร). |
เทวทูต | น. ทูตของเทพ คือสิ่งที่เป็นสัญญาณเตือนให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิต เพื่อให้เกิดความสังเวชและรีบเร่งทำความดีด้วยความไม่ประมาท เช่น เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสอุทยานพบเทวทูต ๓ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ทำให้เกิดความสังเวช ต่อมาได้พบเทวทูตที่ ๔ คือสมณะ ทำให้คิดออกบวช. |
นฤพาน | (นะรึ-) ก. ตาย (ใช้แก่พระมหากษัตริย์บางพระองค์ เท่าที่ปรากฏในเอกสารสมัยอยุธยา) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน (พงศ. กรุงเก่า). |
นักสราช | ตำแหน่งนายขมังธนูอยู่หน้าเรือพระที่นั่ง เพื่อยิงผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นอันตรายต่อพระเจ้าแผ่นดิน ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค. |