Amnesty International | องค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต] |
ASEAN Regional Centre for Biodiversity Conservation | ศูนย์อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิภาคอาเซียน จัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป มีสำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม [การทูต] |
ASEAN Secretariat | สำนักเลขาธิการอาเซียน " ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา มีหน้าที่ให้การสนับสนุนงานการประชุม ประสานงาน และเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ และมีเลขาธิการอาเซียนเป็น หัวหน้าสำนักงาน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ทั้งนี้ นายแผน วรรณเมธี เป็นคนไทยคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งนี้ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2527-2529 " [การทูต] |
ASEAN-UN Summit | การประชุมผู้นำอาเซียน-สหประชาชาติ เป็นการประชุมระหว่างหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนกับเลขาธิการสห ประชาชาติ มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ที่กรุงเทพฯ ในช่วงการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 [การทูต] |
Bangkok Plan of Action | แผนปฏิบัติการกรุงเทพ (ในการประชุมอังค์ถัด) เป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดของแนวนโยบาย วิธีการ และมาตรการในการดำเนินนโยบายด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการพัฒนาที่ประเทศสมาชิกอังค์ถัดได้ตกลงโดยฉันทามติเมื่อการประชุมอัง ค์ถัด ครั้งที่ 10 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอังค์ถัดและสำนักเลขาธิการอังค์ถัดดำเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่แถลงไว้ในแถลงการณ์กรุงเทพ และเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมืองเช่นเดียวกัน แผนปฏิบัติการกรุงเทพแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้ (1) การประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีต่อการ พัฒนา (2) การประมวลพัฒนาการของข้อริเริ่มระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ (3) มาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ และ (4) บทบาทในอนาคตของอังค์ถัด [การทูต] |
Bangkok Process | เป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต] |
Committee of Permanent Representatives to ASEAN | คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ประกอบด้วยผู้แทนถาวร (ระดับเอกอัครราชทูต) ประจำอาเซียนของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับสำนัก เลขาธิการอาเซียนสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนรวมทั้งองค์กร ระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาต่าง ๆ [การทูต] |
COlombo Plan Secretariat | สำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบ สำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบ ตั้งอยู่ที่กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา โดยมีเลขาธิการแผนโคลัมโบเป็นผู้บริหารงานภายใต้แผนโคลัมโบ ซึ่งเป็นความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจแงะสังคมในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก [การทูต] |
Excellency | เป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต] |
HABITAT | ดูที่ UNCHF = ศูนย์เพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของคณะกรรมาธิการว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (Commission on Human Settlements) ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานกิจกรรมการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชา ชาติที่เน้นในเรื่องที่พักพิง (shelter) และบริการทางสังคม การจัดการเมือง สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐาน และการประเมิน ติดตามข่าวสารข้อมูลทางด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ [การทูต] |
High Level Panel on Threats, Challenges and Change | คณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคาม ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง แต่งตั้งโดยนาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 16 คน มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายก - รัฐมนตรีเป็นประธาน [การทูต] |
Humanitarian Intervention | การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต] |
Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Indian Ocean Rim Association for Regional Cooperation | สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดย Charter of the Indian Ocean Rim Association for Regional Co-operation มีสมาชิกทั้งหมด 19 ประเทศ และมีอียิปต์กับญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่เจรจาด้วย สำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่สาธารณรัฐมอริเชียส [การทูต] |
JAPAN-ASEAN General Exchange Fund | กองทุนการแลกเปลี่ยนญี่ปุ่น-อาเซียน เป็นกองทุนสำหรับการพัฒนาบุคลากรของประเทศสมาชิกใหม่และ การพัฒนาสำนักเลขาธิการอาเซียน โดยญี่ปุ่นบริจาคเงินจำนวน 2, 542, 000 เหรียญสหรัฐ ในปีงบประมาณ 2543 ได้จัดตั้งกองทุน JAGEF ขึ้นมาใหม่ แทนกองทุนความร่วมมือเดิม (JACPP) [การทูต] |
Open Diplomacy | คือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต] |
Organization of European Economic Cooperation | คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Pacific Islands Forum | PIF เป็นองค์กรระดับภูมิภาคของประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 เพื่อขยายความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาที่ยั่งยืน ธรรมาภิบาลและความมั่นคง ปัจจุบันมีสมาชิก 16 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นาอูรู หมู่เกาะคุก ตองกา ฟิจิ ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปาปัวนิวกีนี วานูอาตู ปาเลา ไมโครนีเซีย คิริบาส นีอูเอ และตูวาลู มีประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) จำนวน 12 ประเทศและ 1 กลุ่มเศรษฐกิจ ประกอบด้วย แคนาดา จีน ฝรั่งเศส อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ไทย และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังมีประเทศผู้สังเกตการณ์ (Observer Status) อีก 3 ประเทศ คือ ติมอร์เลสเต นิวแคลิโดเนีย และเฟรนซ์โปลินีเซีย สำนักเลขาธิการ PIF ตั้งอยู่ที่กรุงซูวา ประเทศฟิจิ [การทูต] |
Secretariat of the United Nations | คือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น [การทูต] |
Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] |
The Nordic Council | องค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อทำการปรึกษาหารือกัน ระหว่างรัฐสภาของประเทศเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน รวมทั้งรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ เกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องปฎิบัติร่วมกัน กฎข้อบังคับของคณะรัฐมนตรี (Council) ซึ่งประกอบด้วยประเทศเหล่านี้ ได้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 คณะมนตรีประกอบด้วยผู้แทนซึ่งได้รับการเลือกตั้ง 69 คน รวมทั้งผู้แทนของรัฐบาลด้วย คณะมนตรีนี้ไม่มีสำนักงานถาวร และไม่มีสำนักเลขาธิการระหว่างประเทศ การประชุมได้กระทำกันโดยหมุนเวียนไปตามนครหลวงของประเทศสมาชิก [การทูต] |
United Nations Centre for Human Settlements หรือ HABITAT | ศูนย์เพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของคณะกรรมาธิการว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (Commission on Human Settlements) ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานกิจกรรมการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชา ชาติที่เน้นในเรื่องที่พักพิง (shelter) และบริการทางสังคม การจัดการเมือง สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐาน และการประเมิน ติดตามข่าวสารข้อมูลทางด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ [การทูต] |
United Nations Emergency Force | กองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ขอรัองให้เลขาธิการสหประชาชาติเสนอแผนการภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติของสหประชาชาติ โดยได้รับอนุมัติจากชาติที่เกี่ยวข้อง ให้ทำหน้าที่ยุติและควบคุมดูแลการหยุดรบในประเทศอียิปต์ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 5 พฤศจิกายน สมัชชาก็ได้ลงมติให้จัดตั้งกองบัญชาการแห่งสหประชาชาติขึ้นปรากฏว่า ผู้แทนของสหภาพโซเวียตได้กล่าวอ้างว่า การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โดยยกบทที่ 7 ของกฎบัตรขึ้นมาอ้างว่า คณะมนตรีความมั่นคงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่กฎบัตรให้อำนาจจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สหภาพโซเวียตและอีกบางประเทศจึงแถลงว่า จะไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังดังกล่าวโดยเด็ดขาด พึงสังเกตว่า การที่สหภาพโซเวียตอ้างยืนยันว่า คณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่กฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจตั้งกองกำลังสห ประชาชาติได้ ก็เพราะหากยินยอมตามข้ออ้างของสหภาพโซเวียตดังกล่าว จะไม่มีทางจัดตั้งกองกำลังขึ้นได้เลย เพราะสหภาพโซเวียตจะใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงอย่างไม่ต้องสงสัย [การทูต] |
United Nations Secretary-General | เลขาธิการสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การสหประชาชาติ [การทูต] |
World Intellectual Property Organization | องค์การเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ เกี่ยวกับการค้า ถือกำเนิดจากอนุสัญญากรุงปารีส ปี ค.ศ. 1883 และอนุสัญญากรุงเบอร์นส์ ปี ค.ศ. 1886 ว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรมอนุสัญญาจัดตั้งองค์การเกี่ยวกับ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้านี้ ได้มีการลงนามกันเมื่อปี ค.ศ. 1967 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งของสหประชาชาติ และมีประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การแล้วรวม 155 ประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการให้ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ทั่วโลกได้รับการธำรงรักษาและเพิ่ม ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อจะกระตุ้นให้มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและวัฒนธรรม และเอื้ออำนวยต่อการถ่ายทอดวิทยาการเทคโนโลยี รวมทั้งให้เผยแพร่งานวรรณกรรม และศิลปกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และทรัพย์สินทางลิขสิทธิ์กับสิทธิที่ใกล้เคียงองค์การมีสำนักเลขาธิการตั้ง อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตำแหน่งหัวหน้าขององค์การนี้ เรียกว่า ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งขณะนี้ได้แก่ Dr.Arpad Bogsch [การทูต] |