เข้าเรื่อง | ว. ตรงประเด็นของเรื่อง |
เข้าเรื่อง | มีสาระ, ได้เรื่องได้ราว |
เข้าเรื่อง | มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น พูดไม่เข้าเรื่อง ทำไม่เข้าเรื่อง. |
คนละเรื่องเดียวกัน | น. เรื่องเดียวกันแต่มองต่างกัน. |
โครงเรื่อง | น. เค้าเรื่องที่กำหนดขึ้น. |
เดินเรื่อง | ก. เริ่มกล่าวเนื้อเรื่องเรื่อยไป |
เดินเรื่อง | ติดต่อวิ่งเต้นให้เรื่องราวสำเร็จลุล่วงไป. |
ต้นเรื่อง | น. มูลเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องนั้น ๆ, เรื่องเดิม, เรื่องก่อนที่จะเริ่มเรื่องที่แต่ง, เช่น เรื่องนนทุกเป็นต้นเรื่องรามเกียรติ์. |
ตับเรื่อง | น. เพลงที่นำมารวมบรรเลงและขับร้องติดต่อกันโดยที่บทร้องเป็นเรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ มีทั้งอัตราเดียวกันและอัตราผสม เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ. |
ตามเรื่องตามราว | ว. ปล่อยให้เป็นไปเอง, สุดแต่จะเป็นไป. |
ท้องเรื่อง | น. เนื้อเรื่องที่ดำเนินไปตั้งแต่ต้นจนจบ. |
เนื้อเรื่อง | น. เรื่องราว, สาระของเรื่อง. |
มะเรื่อง | น. วันถัดจากวันมะรืนไปวันหนึ่ง. |
ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้เรื่องได้ราว | ว. ถือเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้, ถือเป็นสาระไม่ได้. |
ไม่เป็นเรื่อง, ไม่เป็นเรื่องเป็นราว | ว. ไม่มีสาระ เช่น เรื่องไม่เป็นเรื่อง. |
ราวเรื่อง | น. เรื่องที่ต่อเนื่องกันยืดยาว. |
รู้เรื่อง | ก. เข้าใจเรื่อง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้เรื่อง. |
เรื่อง | น. ภาวะหรือเนื้อหาของสิ่งซึ่งเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ |
เรื่อง | เนื้อความ เช่น อ่านเอาเรื่อง, คดี, เหตุ, เช่น ไปก่อเรื่อง ไปมีเรื่อง. |
เรื่องราว | น. เรื่องที่พูดหรือเล่าติดต่อกันไป. |
เรื่องสั้น | น. บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิดเป็นต้น เช่น เรื่องสร้อยคอที่หาย ของประเสริฐอักษร เรื่องจับตาย ของมนัส จรรยงค์ เรื่องมอม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช. |
เรื้อง | ว. เรือง. |
สืบสาวราวเรื่อง | ก. ค้นคว้าให้ได้เรื่อง เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้สืบสาวราวเรื่องได้ว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร. |
เสกสรรปั้นแต่ง, เสกสรรปั้นเรื่อง | ก. แต่งเรื่องขึ้นมาโดยจะมีความจริงหรือไม่ก็ได้เพื่อให้เข้าใจผิด เช่น คนคนนี้ช่างเสกสรรปั้นเรื่องมาเล่าให้ผู้ใหญ่ผิดใจกันอยู่เสมอ. |
หัวเรื่อง | น. ถ้อยคำหรือวลีที่แสดงสาระสำคัญของเรื่องซึ่งเขียนไว้ที่ต้นเรื่อง. |
หาเรื่อง | ก. ทำให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย |
หาเรื่อง | หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน |
หาเรื่อง | ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่องกันได้. |
หูหาเรื่อง | น. หูที่รับฟังแล้วตีความไปอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะไปในทางที่ไม่ดี. |
เอาเรื่อง | ก. ถือเป็นเรื่องเป็นราว เช่น เจ้าของเขาจะเอาเรื่อง. |
เอาเรื่อง | ว. ยิ่งกว่าธรรมดา, มาก, เช่น เผ็ดเอาเรื่อง |
เอาเรื่อง | เอาจริง, เอาจริงเอาจัง เช่น เขาเป็นคนเอาเรื่อง. |
กก ๔ | ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอาเรื่องไปกกไว้. |
กฎ | ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. |
กถา | (กะ-) น. ถ้อยคำ, เรื่อง, คำอธิบาย, คำกล่าว. |
กถามรรค | (-มัก) น. ลาดเลาแห่งกถา ได้แก่เรื่องที่แต่งตามอัตโนมัติของผู้แต่งว่าด้วยธรรมนั้น ๆ. |
กถามุข | น. เบื้องต้นของเนื้อเรื่อง, ข้อความนำเรื่อง. |
กรณี | (กะระ-, กอระ-) น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. |
กรมท่า ๑ | (กฺรม-) น. กรมพระคลังส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ ต่อมาเพิ่มหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก. (ดู กรมพระคลัง ประกอบ). |
กรมท่ากลาง | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ที่ตั้งขึ้นภายหลังกรมท่าซ้าย กรมท่าขวา ทำหน้าที่รวมงานการติดต่อกับชาติตะวันตกเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา. |
กรมท่าขวา | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ กับชาติที่อยู่ทางด้านขวาหรือทางตะวันตกของอ่าวไทย เช่น อินเดีย อิหร่าน รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางด้านนั้น. |
กรมท่าซ้าย | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศกับชาติที่อยู่ทางด้านซ้ายหรือทางตะวันออกของอ่าวไทย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางด้านนั้น. |
กรรมาธิการ | (กำ-, กัน-) น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภา คณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ. |
กระจอก ๓ | ไม่สำคัญ, เล็กน้อย, เช่น เรื่องกระจอก, ต่ำต้อย เช่น คนกระจอก. |
กระดากปาก, กระดากลิ้น | ก. ตะขิดตะขวงใจที่จะพูดในเรื่องที่ไม่ควรพูด. |
กระดิกหู | เข้าใจดี, รู้เรื่องดี, ใช้กับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ภาษาอังกฤษฉันกระดิกหูเสียที่ไหนถึงจะให้ไปทำงานบ้านฝรั่ง. |
กระตุก | รั้งไว้, ห้ามไว้โดยเร็ว, เช่น เกือบจะมีเรื่องกับเขาแล้ว ดีว่าเพื่อนกระตุกไว้ |
กระทรวง ๑ | (-ซวง) น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา (ปกีรณำพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ (สุ. สอนเด็ก). |
กระทู้ ๑ | หลัก เช่น ช้างพังพลายเป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสำหรับแผ่นดินสืบมา (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), ประการหนึ่งปืนเป็นกระทู้การสงคราม (เรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชครั้งกรุงธนบุรี ประชุมพงศ. ๒). |
กระบวนความ | น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ. |