เบ้อเร่อ, เบ้อเร่อเท่อ, เบ้อเริ่ม, เบ้อเริ่มเทิ่ม | ว. ใหญ่โตกว่าปรกติ. |
ริเริ่ม | ก. เริ่มคิดเริ่มทำเป็นคนแรก (มักใช้ในทางดี) เช่น นายเลื่อน พงษ์โสภณ ริเริ่มทำรถจักรยานสามล้อ. |
เริ่ม | ก. ตั้งต้นมี เป็น หรือลงมือกระทำ. |
เริ่มต้น | ก. ตั้งต้น, ขึ้นต้น, เช่น เขาเริ่มต้นถักเสื้อตัวใหม่แล้ว ครูเริ่มต้นแต่งคำประพันธ์. |
เริ่มแรก | ว. แรกเกิดขึ้น, ตั้งแต่ต้น, เช่น งานเริ่มแรกของเขาคือรับราชการ เริ่มแรกที่สร้างหมู่บ้านยังไม่มีวัด, แรกเริ่ม ก็ว่า. |
เริ้ม | ว. สั่นไปทั้งตัว เช่น ตัวสั่นเริ้ม, เทิ้ม ก็ว่า. |
แรกเริ่ม | ว. แรกเกิดขึ้น, ตั้งแต่ต้น, เช่น งานแรกเริ่มของเขาคือรับราชการ แรกเริ่มที่สร้างหมู่บ้านยังไม่มีวัด, เริ่มแรก ก็ว่า. |
กรกฎาคม | (กะระกะ-, กะรักกะ-) น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. |
กระเตาะกระแตะ | ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ, เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า. |
กระอ้อกระแอ้ | ว. อ้อแอ้, อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการที่พูดไม่ชัดอย่างคนเมา. |
กลละ | (กะละละ) น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพุชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้นน้อยนักหนา เรียกชื่อว่า กลละหัวปีมีเท่านี้ (ไตรภูมิ). |
กลิ่น ๑ | (กฺลิ่น) น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น แกงหม้อนี้เริ่มมีกลิ่น, โดยปริยายหมายความว่า ลักษณะไม่น่าไว้วางใจ เช่น เรื่องนี้ชักมีกลิ่น การประมูลครั้งนี้เริ่มส่งกลิ่น. |
กลียุคศักราช | น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๒๕๕๘ ปี (กลียุคศักราชลบด้วย ๒๕๕๘ เท่ากับพุทธศักราช). |
ก่อการ | ก. ริเริ่มการ. |
ก่อตั้ง | ก.จัดตั้งขึ้น, ริเริ่มตั้งขึ้น. |
ก่อฤกษ์ | ก. ทำพิธีเริ่มก่อสร้าง เช่น วางอิฐวางหิน<i></i>. |
ก่อแล้วต้องสาน | ก. เริ่มอะไรแล้วต้องทำต่อให้เสร็จ. |
ก่อหวอด | ก. อาการที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อน เป็นต้น พ่นฟองน้ำไว้สำหรับเก็บไข่, โดยปริยายหมายถึงอาการที่เริ่มจับกลุ่มเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง. |
กะชึ่กกะชั่ก | ว. เสียงดังอย่างเสียงรถจักรไอน้ำเวลาจะเริ่มเคลื่อนที่, โดยปริยายหมายความว่า ติด ๆ ขัด ๆ, ไปไม่สะดวก. |
กะติ๊กริก | ว. เริ่มมีเนื้อมีหนังขึ้น (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้แก้มกะติ๊กริก. |
กันยายน | น. ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. |
กุมภาพันธ์ | น. ชื่อเดือนที่ ๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๑ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. |
ขบเผาะ | โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิงที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาว ว่า วัยขบเผาะ. |
ขึ้น ๑ | เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่ |
ขึ้น ๑ | เริ่มเดินหมากตัวนั้น ๆ เป็นครั้งแรก ใช้ในการเล่นหมากรุกเป็นต้น เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน |
ขึ้นสมุด | ก. เริ่มการใช้สมุดเขียนอ่าน หลังจากฝึกเขียนอ่านบนกระดานชนวนมาแล้ว. |
เขย่งก้าวกระโดด | น. การแข่งกรีฑาชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันวิ่งจากต้นทางทีละคนจนถึงเส้นเริ่มที่มีกระดานรองรับ เขย่งเท้าข้างหนึ่งพร้อมกับยันตัวขึ้นแล้วก้าวด้วยเท้าอีกข้างหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงกระโดด ใครกระโดดได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ. |
เข้า ๑ | เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทำงาน เช่น โรงเรียนเข้า, เริ่มอยู่ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทำงาน. |
เข้าไต้เข้าไฟ | ว. เริ่มมืดต้องใช้แสงไฟ, พลบ, ใช้ว่า เวลาเข้าไต้เข้าไฟ. |
เข้าพรรษา | น. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา. |
ไขลาน | หมดกำลัง, หมดแรง, เช่น พอขึ้นชกยกที่ ๕ นักมวยก็เริ่มไขลานแล้ว. |
ไขแสง | ก. เริ่มส่องแสง เช่น พระอาทิตย์ไขแสง. |
คดีดำ | น. คดีหมายเลขดำ ซึ่งหมายถึง คดีที่ฟ้องร้องต่อศาลและศาลได้ลงทะเบียนคดีในสารบบความของศาล โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ศาลจะให้หมายเลขคดีใหม่เรียกว่าคดีหมายเลขแดง ควบคู่ไปกับคดีหมายเลขดำที่ให้ไว้เดิม เช่น คดีหมายเลขดำที่ ๑/๒๕๕๐ คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๕๑ หรือกล่าวโดยสรุป คดีดำ หมายถึง คดีที่ศาลยังมิได้ตัดสินหรือจำหน่ายคดี ส่วนคดีแดง คือ คดีที่ศาลได้ตัดสินหรือจำหน่ายคดีแล้ว. |
คดีแดง | น. คดีหมายเลขแดง ซึ่งหมายถึง คดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เป็นลำดับไปจนสิ้นปี เรียกย่อ ๆ ว่า “คดีแดง” เช่น คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๕๐ หรือคดีแดงที่ ๑/๒๕๕๐. <i> (ดู คดีดำ ประกอบ)</i>. |
คริสต์ศักราช | (คฺริดสักกะหฺราด) น. ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๕๔๓ เท่ากับคริสต์ศักราช). |
คลี | การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี (กามนิต). |
คอหอย | น. อวัยวะภายในลำคอ เป็นทางร่วมของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินอากาศหายใจ เริ่มตั้งแต่หลังโพรงจมูก หลังช่องปากลงไปจนถึงหลังกล่องเสียง. |
ค่อยดีขึ้น | ว. เริ่มดีขึ้นเล็กน้อย. |
เคือง | ก. ไม่พอใจและเริ่มรู้สึกโกรธ |
โครงการพระดาบส | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้มีสถานที่สอนความรู้วิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิชาช่างไฟฟ้า วิชาช่างเครื่องยนต์ วิชาช่างวิทยุโทรทัศน์ ให้แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัด เพศ วัย และวุฒิการศึกษา โดยครูที่มีความรู้และยินดีอาสาสมัครสอนให้เป็นวิทยาทาน เปรียบเสมือนพระดาบสในสมัยโบราณที่มีกุศลศรัทธาที่จะถ่ายทอดศิลปศาสตร์ให้แก่ลูกศิษย์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เริ่มดำเนินการโครงการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส และจัดตั้งเป็นมูลนิธิพระดาบสเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการพระดาบส และกิจการของโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส. |
งวง ๑ | ลมชนิดหนึ่ง เมื่อเริ่มเกิดจะเห็นเป็นลำยื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกำลังแรงมาก ลำนี้จะยาวลงมามาก เรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก |
งานสารบรรณ | น. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย. |
เงือก ๓ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Bucerotidae ปากใหญ่ บนส่วนท้ายของขากรรไกรบนมีโหนกแข็ง ส่วนใหญ่ภายในโหนกแข็งกลวง ยกเว้นบางชนิดมีโหนกแข็งตัน เช่น นกชนหิน ส่วนใหญ่ลำตัวสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์อยู่รวมกันเป็นฝูง ขณะบินมีเสียงดัง ระยะเริ่มตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหาร ดิน และมูลปิดปากโพรงด้านใน ตัวผู้ใช้วัสดุเดียวกันปิดปากโพรงทางด้านนอก เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะที่ตัวเมียฟักไข่และเลี้ยงลูกได้ ร้องเสียงดังมาก กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เงือกกรามช้าง [ <i> Rhyticeros undulatus</i> (Shaw) ] เงือกหัวแรด (<i> Buceros rhinoceros</i> Linn.) เงือกสีน้ำตาล [ <i> Ptilolaemus tickelli</i> (Blyth) ] เงือกดำ [ <i> Anthracoceros malayanus</i> (Raffles) ]. |
จตุรงคนายก | (จะตุรงคะ-) น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง (ชุมนุมตำรากลอน). |
จรดพระกรรไกรกรรบิด, จรดพระกรรไตรกรรบิด | ก. ใช้กรรไกรขริบปอยผมเล็กน้อย เป็นการเริ่มในพระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์. |
จระเข้หางยาว | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น นิยมใช้เป็นเพลงเริ่มฝึกการหัดเรียนดนตรีประเภทเครื่องสายและขับร้อง |
จ๊ะจ๋า | ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัดพูดจ๊ะจ๋าแล้ว. |
จับ | เริ่ม เช่น จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป |
จับมือ | ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวาของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตามในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนาแหล่งน้ำ. |
จับระบำ | ก. เริ่มฟ้อนรำ. |