apple computer inc. | บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ <คำแปล>เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล ชุดที่โด่งดังมาก ได้แก่ แอปเปิลทู (Apple II) และ แมคอินทอช (Macintosh) ฯ คอมพิวเตอร์แอปเปิลที่วางขาย ในตลาดรุ่นแรก ๆ นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความฮือฮาอย่างมากในวงการคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นครั้งแรก (ราว ค.ศ.1977) ที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กในราคาที่คนทั่วไปจะหาไว้ใช้เป็นสมบัติส่วนตัวได้ ผู้ที่ช่วยกันริเริ่มคิดประดิษฐ์ได้แก่ Steve Jobs กับ Steve Wozniak สองสหายวัยรุ่นที่สร้างเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในโรงรถ ส่วนเครื่องรุ่นแมคอินทอชนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแรกที่เริ่มนำสัญรูป (icon) รายการคำสั่ง แบบดึงลง (pull down menu) กรอบสนทนา (dialog box) เมาส์ (mouse) ฯลฯ มาใช้ ทำให้คนทั่วไปเริ่มรู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ของยากอะไรเลย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้หนักไปในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ (desktop publishing) อย่างไรก็ตาม หาใช่มีแต่เครื่องแอปเปิลแมคอินทอชเท่านั้นไม่ที่ใช้ระบบการทำงานดังที่กล่าวแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีก็เลียนแบบ โดยการนำเอาระบบวินโดว์มาใช้ |
apple desktop bus | ตัวนำข้อมูลเข้า <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า ADB หมายถึง ตัวประสาน (interface) ที่ทำหน้าที่ประสานการทำงานของแป้นพิมพ์ เมาส์ (mouse) แทร็กบอลล์ (trackball) ฯ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่น ๆ ให้สามารถนำข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ (เฉพาะแมคอินทอช) |
bezier curve | รูปโค้งเบซิเอร์หมายถึง รูปเส้นโค้งทางคณิตศาสตร์รูปหนึ่ง เป็นโค้งที่ไม่มีรูปลักษณ์ที่มีกฏเกณฑ์เป็นสูตรกำหนด การสร้างเส้นโค้งในโปรแกรมบางโปรแกรม จะต้องเริ่มด้วยการลากเส้นตรงขึ้นมาเส้นหนึ่งก่อน แล้วสร้างจุดสองจุดบนเส้นตรงนั้น ใช้เมาส์ดึงแต่ละจุดขึ้นไป ในทิศทางที่ต่างกัน ก็จะได้โค้งแบบเบซีเอร์ ขึ้นมา |
click | (คลิค) 1. { clicked, clicking, clicks } n. เสียงดังกริ๊ก, กลอนสปริง, ตัวดึง, เสียงกระเดาะลิ้น vi. เสียงดังกริ๊ก, เปล่งเสียงดังกริ๊ก, กระเดาะลิ้นดังกริ๊ก, กระทำสำเร็จ, ประสานกันได้ดี, สอดคล้อง, ได้รับการต้อนรับจากประชาชน vt. ทำให้เกิดเสียงดังกริ๊ก, กระทบดังกริ๊ก 2. กด (เมาส์) การกดนิ้วในจังหวะสั้น ๆ เร็ว ๆ 1 ที ลงบนปุ่มใดปุ่มหนึ่งของของเมาส์ (ส่วนใหญ่จะใช้ปุ่มซ้ายมือสุด) แล้วยกออกในทันที ใช้เมื่อต้องการสั่งการตามรายการในเมนู หรือเลือกรายการที่ต้อง การที่มีแสดงอยู่บนจอภาพ โดยเลื่อนเมาส์ให้ลูกศรชี้อยู่ที่คำสั่งที่ต้องการก่อน จึงค่อยกด (ในภาษาไทยอาจใช้สั้น ๆ ว่า "กดเมาส์ ") ในบางกรณี ต้องกดสองทีเร็ว ๆ เรียกว่า double click ดู double click ประกอบ |
control panel | แผงควบคุมเป็นชื่อโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) กลุ่มหนึ่ง เป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ หรือส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น จอภาพ, เมาส์ , แป้นพิมพ์, หน่วยความจำ ระบบเครือข่าย ฯ control panel นี้จะมีให้ใช้ทั้งในแมคอินทอช และระบบวินโดว์บนพีซี หรือ Presentation Manager ของ โอเอสทู (OS 2) |
device | (ดิไวซฺ') n. อุปกรณ์, เครื่องประดิษฐ์, เครื่องกลไก, แผนการ, หลักในใจ, เครื่องหมาย, Syn. contrivance อุปกรณ์หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เมาส์ หน่วยจานบันทึก หรือโมเด็ม ซึ่งสามารถรับและแสดงผลข้อมูลได้ อุปกรณ์บางชนิดต้องมีโปรแกรมช่วย โปรแกรมนี้เรียกว่า device driverดู device driver ประกอบ |
double-click | คลิกคลิกกดเมาส์สองครั้ง (เร็ว ๆ) หมายถึง การใช้นิ้วชี้กดบนปุ่มของเมาส์สองครั้งในจังหวะติด ๆ กัน อาจเป็นคำสั่งเรียกโปรแกรม หรือคำสั่งเปิดแฟ้มข้อมูล ก็ได้ ดู click ประกอบ |
drag | (แดรก) { dragged, dragging, drags } vt. ลาก, ดึง, กวาด, คราด, เลื่อน, ลอก, นำเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามา, เอ้อระเหย, เฉื่อยชา vi. ถูกลากหรือดึงไปตาม, เลื่อนบนพื้นดิน, เคลื่อนอย่างอืดอาด, ล้าหลัง, ขุดลอก. n. เครื่องมือลาก, การลากอวน, คนที่น่าเบื่อที่สุด, สิ่งที่เบื่อที่สุด หมายถึง การใช้เมาส์ลากเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งบนจอภาพจากตำแหน่งเดิมไปยังตำแหน่งใหม่ บางทีใช้หมายถึงการ "ลากดำ" หรือ "ทำแถบสี" บนข้อความบางตอนเพื่อเป็นการบอกคอมพิวเตอร์ว่าได้เลือกข้อความนี้ไว้ แล้วจะใช้คำสั่ง cut หรือ copy ต่อไป |
drag and drop | ลากแล้วปล่อยลากไปวางหมายถึง การใช้เมาส์ลากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ภาพหรือข้อความทั้งบล็อก) บนจอภาพ ไปวางไว้ยังตำแหน่งใหม่ โดยต้องกำหนด (select) ให้คอมพิวเตอร์รู้ก่อน แล้วจึงใช้เมาส์ลากไป การลากด้วยเมาส์นั้น จะต้องกดนิ้วชี้บนปุ่มซ้ายของเมาส์แช่ไว้ ในขณะที่ลากเมาส์เพื่อนำไปวางในที่ ๆ ต้องการ เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะยกนิ้วออกจากเมาส์ได้ ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) อาจลากไปได้ทั้งแถวหรือทั้งคอลัมน์ |
drop-down list box | ช่องเลือกแบบดึงลงในระบบวินโดว์ จะมีช่องสองช่องที่แสดงบนจอภาพ ช่องแรกมีไว้ให้พิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลลงไป ส่วนอีกช่องหนึ่ง จะมีรายชื่อให้เลือกหาเอาโดยกดเมาส์ที่ลูกศรที่บาร์เลื่อนจอ ภาพ (scroll bar) เช่น ในการสั่งเก็บหรือบันทึกแฟ้มข้อมูลลงในจานบันทึก เราอาจเลือกหาชื่อที่แสดงอยู่ในช่องให้เลือกนี้ (ถ้ามีอยู่แล้ว) เมื่อพบแล้ว ก็กดเมาส์ที่ชื่อนั้น หรือถ้ารู้แน่ว่าไม่มี จะพิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลใหม่ลงไปในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อีกช่องหนึ่งเลยก็ได้ |
drop-down menu | รายการเลือกแบบดึงลงหมายถึง รายชื่อเมนูที่เมื่อใช้เมาส์กดแล้วจะมีรายการแสดงให้เลือก เช่น ถ้ากดเมาส์ที่เมนู Edit จะมีรายการเลือก copy, cut, paste ฯ เรียงลงมาให้เลือก |
esc key | (แป้นพิมพ์) แป้นหลีกมาจากคำว่า ESCape key ซึ่งเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ |
escape key | แป้นหลีกเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ (บนแป้นมักจะมี ESC) มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ |
event-driven programming | การเขียนโปรแกรมเชิงเหตุการณ์หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมวิธีหนึ่งที่จะนำเอาเหตุการณ์จริงเข้ามาใช้ และจะรอคอยให้ผู้ใช้ กดแป้นพิมพ์ หรือเมาส์ เสียก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนใด ๆ |
exe | อีเอกซ์อีย่อมาจากคำว่า executable file ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลในระบบดอสและ โอเอส/ทู แฟ้มที่มีนามสกุลดังกล่าวนี้ จะเป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวโปรแกรมแท้ ๆ และจะเป็นตัวปฏิบัติการ แฟ้มข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนั้นจะเป็นเพียงแฟ้มประกอบ เช่น โปรแกรมสำเร็จ Microsoft Excel จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายสิบแฟ้ม แต่แฟ้มที่เป็นตัวปฏิบัติการคือแฟ้ม Excel.exe ถ้ากดเมาส์ที่ชื่อแฟ้มข้อมูลนี้ก็จะเท่ากับเป็นการสั่งเรียกโปรแกรมนั้นให้เริ่มทำงาน มีลักษณะคล้ายแฟ้มข้อมูลที่นามสกุล .COM |
executable file | แฟ้มกระทำการในระบบดอสและ โอเอส/ทู แฟ้มประเภทนี้เป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวโปรแกรมแท้ ๆ และจะเป็นตัวกระทำการ แฟ้มข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนั้นจะเป็นเพียงแฟ้มประกอบ เช่น โปรแกรมสำเร็จ Microsoft Excel จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายสิบแฟ้ม แต่แฟ้มที่เป็นตัวกระทำการคือแฟ้ม Excel.exe ถ้ากดเมาส์สองทีที่แฟ้มข้อมูลนี้ก็จะเท่ากับเป็นการสั่งให้โปรแกรมนั้นเริ่มทำงาน แฟ้มประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .exe มีลักษณะคล้ายแฟ้มข้อมูลที่นามสกุล .COM |
graphical user interface | การใช้ภาพเป็นตัวประสานกับผู้ใช้ใช้ตัวย่อว่า GUI (อ่านว่ากุย) เป็นวิธีการให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ให้ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางภาพ เช่น ใช้เมาส์กดเลือกสัญรูป (icon) แทนการพิมพ์คำสั่งดังแต่ก่อน หรือการเลือกคำสั่งตามรายการเลือกที่เรียกว่า ระบบเมนู |
green pc | พีซีประหยัดไฟหมายถึงคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการจัดสร้างให้ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุด เช่น ถ้าไม่ใช้แป้นพิมพ์หรือเมาส์ชั่วระยะหนึ่ง จอภาพก็จะมืด (ไม่มีแสงสว่าง) |
gui | (จียูไอ, กุย) ย่อมาจาก graphical user interface (แปลว่า การใช้ภาพเป็นตัวประสานกับผู้ใช้) เป็นวิธีการให้ความสะดวกแก่ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ให้ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางภาพ เช่น ใช้เมาส์กดเลือกสัญรูป (icon) แทนการพิมพ์คำสั่งดังแต่ก่อน หรือการเลือกคำสั่งตามรายการเลือกที่เรียกว่า ระบบเมนู |
handles | จุดรอบภาพในเรื่องที่เกี่ยวกับโปรแกรมวาดภาพหรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ตั้งโต๊ะ (desktop publishing) คำนี้จะหมายถึง กรอบสี่เหลี่ยมที่มีจุดที่มุม และที่กึ่งกลางของเส้นรอบด้านทั้งสองข้างที่เกิดขึ้นรอบ "ภาพ" ที่ได้เลือก (select) หรือกำหนดไว้ การย้ายหรือการเคลื่อนที่ภาพเหล่านี้ จะต้องทำให้มีจุดรอบภาพนี้ก่อน จึงจะใช้เมาส์ลากไปได้ หรือจะใช้เมาส์กดที่มุมใดมุมหนึ่งแล้วลากออกหรือหดเข้า เป็นการขยายหรือลดสัดส่วนของภาพนั้นก็ได้ ถ้าเป็นข้อความ (text) ก็หมายถึงเส้นกำกับข้อความที่อยู่บนและล่างของข้อความที่เลือกหรือกำหนดไว้ |
horizontal scroll bar | แถบเลื่อนภาพแนวตั้งหมายถึง แถบสี่เหลี่ยมยาวที่อยู่ริมขวาสุดของแต่ละวินโดว์ ใช้สำหรับเลื่อนดูข้อความบนจอภาพขึ้นลงหรือแนวตั้งที่ปลายสุดของแถบเลื่อนขึ้นลงนี้ ทั้งด้านบนและล่างจะมีเครื่องหมายลูกศร ถ้ากดเมาส์ที่ลูกศรด้านบน ก็จะทำให้ข้อความบนจอภาพเลื่อนลง ถ้ากดที่ลูกศรด้านล่าง ภาพบนจอก็จะเลื่อนขึ้น ดู vertical scroll bar เปรียบเทียบ |
hot spot | จุดร้อนหมายถึง เนื้อที่บางส่วนบนจอภาพ ที่เมื่อกดเมาส์ลงไปแล้ว จะทำให้เกิดรายการอื่นขึ้นมา แทนที่จะเป็นเรื่องเดิมที่ทำอยู่ ตัวอย่าง เช่นในโปรแกรมประเภทใช้สื่อหลายแบบ (multimedia) หรือการเรียกเมนู Help หรือกดเรียกลูกโป่ง (balloon) มาให้คำอธิบายในเครื่องแมคอินทอช |
hypertext | ข้อความหลายมิติหมายถึง การเรียกหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการรู้ ให้แสดงบนจอภาพ ซึ่งอาจมีทั้งข้อความที่ใช้อธิบาย หรือบางทีจะมีภาพประกอบ มีเสียง หรือมีการแสดงการเคลื่อนไหว ฯ ใช้มากในโฮมเพจต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต ส่วนมาก คำที่จะมีคำอธิบายเช่นนี้ มักจะเป็นคำที่ขีดเส้นใต้ไว้ หรือไม่ก็เป็นตัวดำหนา เมื่อลากเมาส์ไปวางที่คำเหล่านี้ ตัวชี้ตำแหน่งจะเปลี่ยนเป็นนิ้วชี้ ถ้ากดเมาส์ ก็จะมีรายละเอียดมาอธิบายให้ หรือจะโยงไปหารายละเอียดของเรื่องนั้น ๆ |
input device | อุปกรณ์รับเข้าหมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถอ่านข้อมูล และส่งข้อมูลเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เพื่อให้ทำการประมวลผลต่อไป โดยอุปกรณ์นี้จะส่งข้อมูลหรือโปรแกรมไปยังหน่วยความจำก่อน ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ก็จะมีหลายชนิด เป้นต้นว่า หน่วยขับจานบันทึก หน่วยขับแถบบันทึก เครื่องกราดภาพ ฯ ถ้าเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ก็รวมถึง แป้นพิมพ์ เมาส์ ฯลฯ ด้วยดู output device เปรียบเทียบ |
joystick | ก้านควบคุม <คำแปล>หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีสายเสียบต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องปลายทาง (terminal) มีคันโยก ทำหน้าที่เหมือนเมาส์ หมุนได้เป็นวงรอบ ใช้ควบคุมการเคลื่อนตัวไปในทิศทางต่าง ๆ ของตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ไปสู่จุดต่าง ๆ บนจอภาพ นำมาใช้กับการเล่นเกมเท่านั้น |
memory resident program | โปรแกรมในหน่วยความจำหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนที่เก็บเอาไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่เราไม่รู้ไม่เห็น และไม่สามารถเรียกมาดูได้ โดยมากเป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ต่าง ๆ เช่น โปรแกรมตัวขับเมาส์ (mouse driver) เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้บางทีเรียกว่า TSR (terminate and stay residnts) |
menu bar | แถบรายการเลือกหมายถึง แถบบรรจุชื่อรายการที่แต่ละโปรแกรมสำเร็จบนระบบวินโดว์มีไว้ให้เลือก ปกติจะอยู่ส่วนบนของจอภาพ เราสามารถเลือกคำสั่งจากรายการเหล่านี้ได้โดยกดเมาส์ที่รายการใดรายการหนึ่งเลย |
menu-driven system | ระบบทำงานด้วยเมนูหมายถึงระบบการทำงานของโปรแกรมที่ใช้เมนูเป็นหลัก กล่าวคือ มีรายการคำสั่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพให้เลือก ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งเลย เพียงแต่ใช้เมาส์เลื่อนไปที่คำสั่งที่ต้องการแล้วกด คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานให้ ระบบดังกล่าวนี้ทำให้การทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์นั้นง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก |
mouse | (เมาซฺ) n. หนู (pl. mice) อุปกรณ์สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์บนจอภาพ, อุปกรณ์นำเข้า (input device) ชนิดหนึ่งมีขนาดพอเหมาะกับมือเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สามารถเคลื่อนย้ายไปบนผิวพื้นเรียบ ตัวเมาส์นี้ เมื่อเชื่อมต่อกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จะเป็นตัวทำให้เคลื่อนย้าย cursor ไปในทิศทางที่ต้องการได้ ใต้ตัวเมาส์จะมีลูกกลิ้งกลม ๆ ซึ่งจะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เคลื่อนย้ายไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ โดยปกติ เมาส์ของพีซีจะมี 3 ปุ่ม ส่วนใหญ่จะใช้ปุ่มทางด้านซ้าย ระบบวินโดว์ 95 มีการใช้ปุ่มทางขวาของเมาส์มากขึ้น ส่วนเมาส์ของแมคอินทอชจะมีปุ่มเดียว การใช้เมาส์จะมี 3 ลักษณะ คือ กดที่ปุ่มซ้ายหรือขวาเพียงครั้งเดียวเพื่อเลือกคำสั่ง หรือกำหนดภาพ ฯ กด 2 ครั้ง ติด ๆ กันเพื่อเริ่มต้นโปรแกรมหรือเปิดแฟ้มข้อมูล กับกดแล้วลากเพื่อเคลื่อนย้ายข้อความหรือภาพ |
mouse button | ปุ่มบนเมาส์หมายถึง ส่วนพื้นที่บนหลังเมาส์ที่ใช้สำหรับกดเพื่อทำให้เกิดการกระทำบางประการ เช่น การเริ่มต้นโปรแกรม การเลือกรายการ การย้ายข้อความหรือภาพ ฯ เมาส์ของเครื่องแมคอินทอชจะมีปุ่มเดียว ส่วนของพีซีจะมีถึงสามปุ่ม ดู mouse ประกอบ |
mouse pad | แผ่นรองเมาส์หมายถึง แผ่นพลาสติกหรือบางทีก็เป็นแผ่นยางบาง ๆ สี่เหลี่ยม ใช้วางตัวเมาส์เพื่อให้เคลื่อนย้ายได้คล่อง และกระชับกว่าที่จะใช้บนผิวโต๊ะทำงานธรรมดา ๆ |
optical mouse | เมาส์แสงหมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนเมาส์ แต่แทนที่จะมีลูกกลิ้งกลม ๆ อยู่ด้านล่าง กลับใช้ลำแสง |
peripheral device | รอบข้างอุปกรณ์รอบข้างหมายถึง อุปกรณ์ใด ๆ ที่ใช้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้คุ้มประโยชน์ เช่น จอภาพ, เมาส์, แผงแป้นอักขระ, เครื่องพิมพ์, เครื่องกราดภาพ, หน่วยบันทึกทั้งนอกและในตัวเครื่อง รวมตลอดไปถึงไมโครโฟนมีความหมายเหมือน peripheral equipment |
peripheral equipment | บริภัณฑ์รอบข้างหมายถึง อุปกรณ์ใด ๆ ที่ใช้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้คุ้มประโยชน์ เช่น จอภาพ, เมาส์, แผงแป้นอักขระ, เครื่องพิมพ์, เครื่องกราดภาพ, หน่วยบันทึกทั้งนอกและในตัวเครื่อง รวมตลอดไปถึงไมโครโฟนมีความหมายเหมือน peripheral device |
pointing device | อุปกรณ์ชี้หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เคลื่อนที่ ไปได้ทั่วจอภาพ อาจเป็นแป้นพิมพ์ เมาส์ (mouse) แทร็กบอลล์ (trackball) หรือ ก้านควบคุม (joystick) ก็ได้ |
pop-up menu | รายการเลือกแบบผุดขึ้นหมายถึง รายการเลือกที่จะผุดขึ้น เมื่อกดเมาส์ที่ลูกศรหลังรายการนั้น มักจะเป็นรายการที่ให้เลือกในกรอบสนทนาอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่รายการเลือกที่มาจากบาร์เมนู (menu bar) เมื่อเลือกรายการใดแล้ว ก็จะแสดงรายการที่เลือกนั้นให้เห็นอยู่ตลอด |
program window | หมายถึง วินโดว์ที่มองเห็นบนจอภาพหลังจากที่กดเมาส์สั่งเริ่มโปรแกรม ถ้าหากต้องการจะใช้โปรแกรมนั้น ต้องใช้คำสั่ง FILE...new หรือ open จะทำให้เห็นวินโดว์ใหม่เรียกว่า วินโดว์เอกสาร (document window) แล้วจึงจะเริ่มทำงานได้มีความหมายเหมือน application windowดู document window เปรียบเทียบ |
pull down menu | ในระบบวินโดว์ หมายถึง รายการเลือก (menu) ที่จะมองเห็นบนจอภาพ เมื่อกดเมาส์ที่บาร์เมนู ก็จะมีรายการคำสั่งต่าง ๆ มาให้เลือก เช่น ถ้ากดเมนู File จะมีรายการเลือก New Open Close Save Save as ให้เลือก เป็นต้น |
recycled bin | ถังขยะเป็นศัพท์ที่ใช้ในระบบวินโดว์ 95 ของพีซี (แมคอินทอชใช้ trash) หมายถึง ที่ซึ่งจัดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับลากแฟ้มข้อมูลที่ไม่ต้องการทิ้งลงไป สัญรูปก็มีลักษณะเหมือนถังขยะ ใช้เป็นที่ทิ้งสิ่งที่ไม่ต้องการใช้อีกแล้ว (ถ้าเก็บต่อไป จะทำให้เปลืองที่ อย่างน้อยก็ทำให้มีที่ว่างมากขึ้น) มีความหมายคล้ายคำสั่ง delete ในดอสนั่นเอง เมื่อต้องการกำจัดของในถังขยะให้หมดไป ก็ใช้คำสั่ง "empty recycled bin " แต่ถ้าเปลี่ยนใจไม่ลบทิ้ง ก็สามารถเปิดถัง (กดเมาส์ที่ถัง 2 ที) ลากแฟ้มข้อมูลนั้นกลับคืนออกมาได้ |
retum key | แป้นขึ้นบรรทัดเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีสัญลักษณ์ (บนแป้น ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) การกดแป้นนี้ เป็นคำสั่งให้ขึ้นบรรทัดใหม่ โดยที่ยังพิมพ์ข้อความไม่ถึงจุดสุดท้ายของบรรทัด ในบางโปรแกรม หมายถึง การสั่งให้นำข้อมูลเข้าไปเก็บในหน่วยความจำหรือเป็นคำสั่งให้หน่วยประมวลผลเริ่มทำงาน (มีความหมายเหมือนการกดแป้น Enter Key) ในระบบวินโดว์ ใช้กดแป้นนี้แทนกดเมาส์ที่ปุ่ม OK เมื่อตอบคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) เสร็จแล้วก็ได้ |
screen saver | โปรแกรมรักษาจอภาพหมายถึง โปรแกรมพิเศษที่จัดให้จอภาพมีภาพที่เคลื่อนไหวได้มาแทนงานที่กำลังทำ ทั้งนี้เพราะการปล่อยให้จอภาพแสดงภาพใดภาพหนึ่งนานเกินไป จอจะมีรอยไหม้ (burn in) รอยนี้จะติดอยู่ตลอดไป ลบออกไม่ได้ บางทีอาจทำให้จอมืดไปเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อขยับเมาส์ หรือแตะที่แป้นพิมพ์แป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อความหรือภาพบนจอที่เคลื่อนไหวอยู่ ก็จะหายไป และกลับเป็นเหมือนเดิม ในระบบวินโดว์ คำสั่งกำหนดเรื่อง screen saver ว่าจะใช้ภาพใด เคลื่อนไหวช้าเร็วเพียงใดจะอยู่ในเรื่องของ " Desktop " (กดที่สัญรูป Control Panel) จะมีภาพจากระบบวินโดว์มาให้เลือกหลายภาพ เมื่อเลือกแล้ว ภาพเหล่านี้จะปรากฏบนจอเองโดยอัตโนมัติ หลังจากที่หยุดใช้เมาส์หรือกดแป้นพิมพ์ประมาณ 2-3 นาที (กำหนดเองได้) |
scroll bar | แถบเลื่อนภาพหมายถึง ปุ่มรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่อยู่ริมด้านขวาและด้านล่างของวินโดว์ ที่ปลายแถบทั้งสองด้านจะมีลูกศรหันหัวขึ้นและลง หรือหันไปทางซ้ายและขวา บนแถบจะมีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปเล็ก ๆ เมื่อใช้เมาส์กดที่ลูกศรด้านใดด้านหนึ่ง หรือ ลากสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ขึ้นหรือลง จะทำให้ข้อความหรือภาพ ที่อยู่บนจอเลื่อนขึ้น/ลง หรือ เลื่อนไปทางซ้าย/ขวาได้ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่อยู่บนแถบเลื่อนภาพนี้ เรียกว่า scroll box ดู scroll box ประกอบ |
scroll box | รูปสี่เหลี่ยมบนแถบเลื่อนภาพหมายถึงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปเล็ก ๆ บนแถบเลื่อนภาพที่อยู่ด้านขวาและด้านล่างของวินโดว์ เมื่อใช้เมาส์กดที่รูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ แล้วลากขึ้น/ลง หรือซ้าย/ขวา จะทำให้ข้อความหรือภาพที่อยู่บนจอเลื่อนขึ้น/ลง หรือเลื่อนไปซ้าย/ขวาได้ ดู scroll bar ประกอบ |
serial port | ช่องอนุกรมหมายถึง ช่องที่อยู่ด้านหลังของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีไว้สำหรับเสียบสายไฟ ต่อไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เมาส์ การถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางช่องนี้ จะช้ากว่าผ่านทางช่องขนาน (pararell port) มาก เพราะจะสามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ครั้งละ 1 บิตเท่านั้น ดู pararell port เปรียบเทียบ |
shift+click | กดเมาส์พร้อมกับกดแป้น Shiftหมายถึง การกดแป้น Shift แช่ไว้ แล้วกดเมาส์เพียงทีเดียว เป็นคำสั่งที่ใช้เมื่อต้องการกำหนดข้อความ หรือเลือกภาพหลาย ๆ ภาพพร้อม ๆ กัน |
shift+drag | กดแป้น Shift พร้อมกับลากเมาส์หมายถึงการกดแป้นShift แช่ไว้ แล้วใช้เมาส์ดึงจุดที่มุมของภาพเข้าหรืออก ใช้เมื่อต้องการจะหดหรือขยายภาพ จะทำให้ภาพหดหรือขยายอย่างได้สัดส่วน |
start button | ปุ่มเริ่มต้นในระบบวินโดว์ 95 และ 98 ปุ่มเริ่มต้นจะอยู่บนแถบงาน (task bar) ที่ด้านล่างซ้ายสุดของจอภาพ จะมองเห็นได้ทันทีที่คอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบวินโดว์เรียบร้อยแล้ว ถ้ากดเมาส์ที่ปุ่มนี้ จะมีเมนูให้เลือกสั่งงานได้หลายอย่างดู Start menu ประกอบ |
start menu | เมนูเริ่มแรกในระบบวินโดว์ 95 และ 98 เมนูเริ่มแรกนี้จะมองเห็นได้ทันทีที่กดเมาส์ที่ปุ่ม Start มีคำสั่งให้เลือกใช้ดังนี้ Programs, Documents, Settings, Find , Help, Run และ Shut downดู Start button ประกอบ |
systems unit | เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยจอภาพ ตัวประมวลผล หน่วยความจำ และหน่วยบันทึกข้อมูล บางทีก็เรียกกันง่าย ๆ ว่า คอนโซล (console) อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้กับเครื่องเรียกว่า บริภัณฑ์รอบข้าง (peripheral equipment) ซึ่งประกอบด้วย แป้นพิมพ์ เมาส์ |
taskbar | แถบงานหมายถึง แถบที่อยู่ด้านล่างสุดของจอภาพในระบบวินโดว์ 95 และ 98 ซ้ายสุด จะเป็นปุ่ม Start ซึ่งเป็นปุ่มที่เราจะต้องใช้ทุกครั้งที่เข้ามาในระบบ บนแถบนี้ จะมีสัญรูปเล็ก ๆ ของ นาฬิกา ลำโพง หรือบางที หากกำลังสั่งพิมพ์งาน ก็จะมีสัญรูปเครื่องพิมพ์ และเป็นที่บอกว่า ขณะนั้นเราเปิดวินโดว์อะไรไว้แล้วบ้าง แถบงานนี้ ปกติจะกว้างเท่ากับขนาดของปุ่ม Start คือประมาณ .5 นิ้ว แต่เราสามารถย่อให้เล็กลงไปอีก หรือขยายให้ใหญ่ขึ้น หรือหากต้องการย้ายที่ กล่าวคืออาจย้ายไปไว้ด้านข้าง ฯ ก็สามารถใช้เมาส์ลากไปได้เลย หากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วไม่มีแถบงานนี้ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่า แถบงานถูกซ่อนไว้ ทดลองเลื่อนเมาส์ไปทางด้านล่าง ต่ำลงไปจนชิดกับที่แถบงานเคยอยู่ หากยังไม่มีแถบงานปรากฏให้เห็น ก็อาจเป็นได้ว่า มีคนย้ายแถบงานไปไว้ที่อื่น ต้องลองหาดูให้ดี ๆ |