กลดพระสุเมรุ | (-สุเมน) น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. |
จรดพระเมรุ | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งหงาย งอข้อศอก หักข้อมือ ระดับแง่ศีรษะ มืออีกข้างหนึ่งจีบหงาย แขนตึง ระดับไหล่ เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่แขนตึง. |
นาคเกี่ยว, นาคเกี้ยว, นาคเกี่ยวพระสุเมรุ | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ |
นาคเกี่ยว, นาคเกี้ยว, นาคเกี่ยวพระสุเมรุ | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา. |
ม่านเมรุ | น. ม่านที่แขวนห้อยไว้ที่เสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน. |
เมรุ, เมรุ- | (เมน, เม-รุ-) น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่ |
เมรุ, เมรุ- | ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาเลียนแบบเขาพระสุเมรุ ซึ่งตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ, ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอด ว่า เมรุ. |
เมรุทอง | (เมน-) น. เมรุขนาดเล็ก มีรูปทองอย่างบุษบก สร้างอยู่ภายในพระเมรุมาศ ประดิษฐานพระโกศทรงพระบรมศพเพื่อถวายพระเพลิง เรียกว่า พระเมรุทอง. |
เมรุมาศ | (เมรุมาด) น. สิ่งปลูกสร้างโดยขนบนิยมอย่างไทย มีลักษณะเป็นเครื่องยอดขนาดใหญ่ สูง สำหรับประดิษฐานพระบรมศพ ภายในมีพระเมรุทองซึ่งมีรูปทรงอย่างบุษบกขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐานพระโกศทรงพระบรมศพสำหรับถวายพระเพลิง ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเมรุมาศ. |
เมรุราช | (เมรุราด) น. เขาพระสุเมรุ. |
สะเก็ดตีนเมรุ | ก. เลวมาก, ไม่มีค่า, เช่น เขาเป็นพวกสะเก็ดตีนเมรุ จะอบรมสั่งสอนอย่างไรก็ไม่ได้ดี. |
สุเมรุ | (-เมน) น. เขาสิเนรุ, ชื่อภูเขาซึ่งถือว่าเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. |
กรวิก ๒ | (กะระ-, กอระ-) น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๓ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป.; ส. กรวีก). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์ ที่ สัต ๒, สัต- ๒, สัตตะ ๑). |
กัลปพฤกษ์ ๑ | เรียกต้นไม้ที่ทำขึ้นเนื่องในการทิ้งทานในงานเมรุหลวง และมีลูกมะนาวบรรจุเงินตราห้อยอยู่ตามกิ่งต่าง ๆ ของต้นไม้นั้น ว่า ต้นกัลปพฤกษ์, เรียกลูกมะนาวที่บรรจุเหรียญเงินนั้น ว่า ลูกกัลปพฤกษ์ |
คดซ่าง | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดสร้าง ซ่าง สร้าง ส้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
ค้าน | หัก, พัง, ทำลาย, เช่น เครื่องบนกระบาลผุค้าน (คำฤษฎี), สยงสรเทือนพ้ยงค้าน ค่นเมรุ (ยวนพ่าย). |
เครื่องต้น | น. เครื่องทรงสำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรม-ราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า ฉลองพระองค์เครื่องต้น, เครื่องทรงสำหรับพระพุทธรูป ซึ่งมีลักษณะอย่างเครื่องทรงพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม |
โคมเวียน | น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ |
ฉากบังเพลิง | น. เครื่องกั้นในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ บนพระเมรุมาศหรือพระเมรุ เพื่อบังมิให้ไฟลุกลามขณะถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพ มีลักษณะเป็นฉากพับได้ที่ติดไว้กับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน เมื่อจะใช้งานจึงดึงหรือยกมาปิดไว้. |
ชมพูทวีป | ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีปหรืออปรโคยานทวีป. |
ซ่าง ๒ | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง สร้าง ส้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
ฌาปนสถาน | น. สถานที่เผาศพ, เมรุ. |
ตรีกูฏ | น. ชื่อภูเขา ๓ ลูก ในไตรภูมิกล่าวว่าเป็นภูเขาที่รองรับเขาพระสุเมรุ, ผาสามเส้า ก็เรียก. |
ตะม่อ | น. ตอม่อ เช่น พวกทำเมรุทิศทั้งนั้น ก็พร้อมกันยกตั้งขึ้นทั้งหมด ติดตะม่อสองขั้นเป็นหลั่นลด นายช่างกำหนดอำนวยการ (อิเหนา). |
ตาลปัตรบังเพลิง | (-เพฺลิง) น. ตาลปัตรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพัดยศของพระสงฆ์ชั้นราชาคณะ ตรงกลางเว้นช่องว่างไว้ใส่ตะเกียงหรือโคมไฟ ปักตั้งรายรอบพระเมรุชั้นพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูง มีรูปเทวดานั่งคุกเข่าประคองโคนด้ามตาลปัตร, ตาลิปัตรบังเพลิง ก็เรียก. |
ทุ่ง | น. ที่ราบโล่งใช้เพาะปลูก เช่น ทุ่งไร่ทุ่งนา หรือใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น ทุ่งพระเมรุ. |
เนมินธร | (-มินทอน) น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๕ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส.). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์). |
บริภัณฑ์ ๑ | เรียกภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น ว่า เขาสัตบริภัณฑ์. (ป. ปริภณฺฑ). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์). |
บุพวิเทหทวีป | น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีปหรืออปรโคยานทวีป. |
ม่านบังเพลิง | น. ม่านแขวนระหว่างเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน . |
ยกยอด | ก. ทำพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น |
ยุคนธร | (-คนทอน) น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๑ ซึ่งเป็นชั้นในที่สุดในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ, ใช้ ยุคันธร หรือ ยุคุนธร ก็มี. (ป., ส.). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์). |
วินตกะ | (วินตะกะ) น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๖ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส. วินตก). |
สร้าง ๒ | (ส้าง) น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, ส้าง ซ่าง คดซ่าง คดสร้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์ ๑ | (สัดตะบอริพัน, สัดตะพัน) น. ภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น สูงลดหลั่นกันลงมาตามลำดับชื่อภูเขาชั้นในที่สุดจากเขาพระสุเมรุออกมา คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินตกะ อัสกัณ ระหว่างภูเขาแต่ละชั้นมีทะเลสีทันดรคั่น. |
ส้าง | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง ซ่าง สร้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
สามหาบ | น. เรียกอาหารคาว ๑ หาบ หวาน ๑ หาบ และเครื่องหุงต้ม ๑ หาบที่เจ้าภาพหาบเดินรอบเมรุแล้วถวายพระสงฆ์ในเวลาเก็บอัฐิ ว่า สามหาบ, เรียกการเดินในพิธีเช่นนั้นว่า เดินสามหาบ. |
สำซ่าง | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง ซ่าง สร้าง ส้าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
สิเนรุ | (-เน-รุ) น. ชื่อหนึ่งของเขาพระสุเมรุ. |
สีทันดร | (-ดอน) น. ชื่อทะเล ๗ แห่ง อยู่ระหว่างภูเขาพระสุเมรุกับภูเขายุคนธร ๑ ระหว่างภูเขายุคนธรกับภูเขาอิสินธร ๑ ระหว่างภูเขาอิสินธรกับภูเขากรวิก ๑ ระหว่างภูเขากรวิกกับภูเขาสุทัสนะ ๑ ระหว่างภูเขาสุทัสนะกับภูเขาเนมินธร ๑ ระหว่างภูเขาเนมินธรกับภูเขาวินตกะ ๑ ระหว่างภูเขาวินตกะกับภูเขาอัสกัณ ๑. (ดู บริภัณฑ์ ๑). |
สุทัสนะ | (-ทัดสะนะ) น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๔ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป. สุทสฺสน; ส. สุทรฺศน). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์). |
อมรโคยานทวีป, อปรโคยานทวีป | น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีปหรืออปรโคยานทวีป. |
อัสกัณ | (อัดสะกัน) น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๗ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป. อสฺสกณฺณ; ส. อศฺวกรฺณ). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์). |
อิสินธร | (-สินทอน) น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๒ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป. อิสินฺธร, อีสธร; ส. อีษาธร). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์). |
อุตรกุรุทวีป, อุตรกุรูทวีป | (อุดตะระ-) น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีปหรืออปรโคยานทวีป. |
อุตราวรรต | (อุดตะรา-) น. การเวียนซ้ายในพิธีอวมงคลอย่างเดินเวียนศพรอบเมรุ. |
อุตราวัฏ | (อุดตะรา-) น. การเวียนซ้ายในพิธีอวมงคลอย่างเดินเวียนศพรอบเมรุ. |