ตาเฟื้องตาสลึง | น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอดไมตรีในทางชู้สาว, ตาเล็กตาน้อย ก็ว่า. |
ฝันเฟื่อง | ก. คิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์. |
ฟุ้งเฟื่อง | ก. ขจรไป, แพร่หลาย, (ใช้แก่เกียรติคุณ), เฟื่องฟุ้ง ก็ว่า. |
ฟุ้งเฟื่อง | ว. เชี่ยวชาญ, ชำนิชำนาญ, (ใช้แก่สติปัญญา), เฟื่องฟุ้ง ก็ว่า. |
ฟูเฟื่อง | ว. เจริญ, มั่งคั่ง, รุ่งเรือง, เฟื่องฟู ก็ว่า. |
เฟื่อง ๑ | น. เครื่องประดับอย่างหนึ่ง ทำเป็นสายห้อยโยงเป็นช่วง ๆ มีอุบะห้อยระหว่างเฟื่อง |
เฟื่อง ๑ | เรียกโรคที่มีเสมหะกำเริบ ว่า เสมหะเฟื่อง. |
เฟื่อง ๒ | ก. เจริญรุ่งเรือง, รุ่งโรจน์, มีชื่อเสียงโด่งดัง, เช่น เขากำลังเฟื่อง ความคิดเฟื่อง ชื่อเสียงเฟื่อง |
เฟื่อง ๒ | คล่องแคล่ว, แม่นยำ, เช่น จบปริญญาเอกมาใหม่ ๆ ความรู้กำลังเฟื่อง. |
เฟื่องฟุ้ง | ก. ขจรไป, แพร่หลาย, (ใช้แก่เกียรติคุณ), ฟุ้งเฟื่อง ก็ว่า. |
เฟื่องฟุ้ง | ว. เชี่ยวชาญ, ชำนิชำนาญ, (ใช้แก่สติปัญญา), ฟุ้งเฟื่อง ก็ว่า. |
เฟื่องฟู | ว. เจริญ, มั่งคั่ง, รุ่งเรือง, เช่น ฐานะกำลังเฟื่องฟู, ฟูเฟื่อง ก็ว่า. |
เฟื้อง | น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ หมายความว่า ๑ เฟื้อง. |
เฟื่องฟ้า | น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Bougainvillea spectabilis Willd. ในวงศ์ Nyctaginaceae ดอกสีต่าง ๆ เช่น แดง เหลือง ชมพู ปลูกเป็นไม้ประดับ. |
มีเฟื้องมีสลึง | ก. มีเงินเล็กน้อย. |
สองสลึงเฟื้อง | ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สามสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า. |
สามสลึงเฟื้อง | ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า. |
กำ ๑ | มาตราวัดรอบของกลม เมื่อวัดได้เท่าไร แล้วทบกึ่งได้ยาวราว ๑๐ เซนติเมตร เช่น ของกลมวัดรอบได้ยาว ๒๐ เซนติเมตร ของกลมนั้นเรียกว่ามีขนาด ๑ กำ, มี ๓ ชนิด คือ ๑. กำสลึง (ยาว ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด หรือ ๑๐.๗๕ เซนติเมตร) ๒. กำเฟื้อง (ยาว ๔ นิ้ว ครึ่งกระเบียด หรือ ๑๐.๕ เซนติเมตร) ๓. กำสองไพ (ยาว ๔ นิ้ว ๒ หุน หรือ ๑๐.๒๕ เซนติเมตร) |
เงินแป | น. เงินเหรียญมีลักษณะแบนกลมที่ออกมาใช้เป็นเงินตราในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำด้วยเงิน มีราคาเป็นตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ไพ (ประชุม ร. ๔), เรียกเหรียญซึ่งทำด้วยทองแดงหรือดีบุก. |
จินต์จล | ก. คิดหวั่น, คิดหวาดหวั่น, เช่น ใจปราชญ์ฤๅเฟื่องฟื้นห่อนได้จินต์จล (โลกนิติ). |
ซีก | ใช้สำหรับมาตราเงินโบราณเท่ากับครึ่งเฟื้อง. |
ดำ ๆ แดง ๆ | น. เงินทองรูปพรรณ เช่น เออ จะว่าอย่างไร ดำ ๆ แดง ๆ ที่เรามีอยู่เฟื้องอยู่สลึง (ลักวิทยา). |
ตาเล็กตาน้อย | น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอดไมตรีในทางชู้สาว, ตาเฟื้องตาสลึง ก็ว่า. |
ตีนกา ๒, ตีนครุ | (-คฺรุ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สําหรับบอกจํานวนเงิน ปลายเส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตําลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง ปลายเส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตําลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะ จํานวนตําลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตําลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น. |
ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท | ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า. |
เรือพระที่นั่งกราบ | น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จพระราชดำเนินหรือเสด็จไปอย่างลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับเพื่อสำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร. |
ละเวง | ฟุ้งเฟื่อง, ฟุ้งไป. |
วิศางค์ | น. ๑ ใน ๒๐ ของเฟื้อง. |
โสฬส | เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๑๖ อัน เป็น ๑ เฟื้อง, เรียกย่อว่า ฬส. |
หุน | น. ชื่อมาตราวัดหรือชั่งของจีน ในมาตราวัด ๑ หุน หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ใน ๑๖ ของนิ้ว ในมาตราชั่ง ๕ หุน เท่ากับ ๑ เฟื้อง. |
อัฐ ๑ | (อัด) น. เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง |
อุบะ | น. เป็นดอกไม้ที่ร้อยเป็นสายแล้วเข้าพวงอย่างพู่สำหรับห้อยกับมาลัย ห้อยระหว่างเฟื่อง หรือห้อยประดับข้างหูเป็นต้น. |