PWR type reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่อง ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
Pressurized water reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า, Example: [นิวเคลียร์] |
Pressurized water cooled moderated reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
Transition metal oxides | ออกไซด์ของโลหะเปลี่ยนสถานะ [TU Subject Heading] |
refrigeration | การทำความเย็น, การทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะเป็นไอ และดูดความร้อนจากบริเวณใกล้เคียง ทำให้อุณหภูมิบริเวณนั้นเย็นลง ใช้ในการถนอมอาหาร การปรับอากาศ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sublimation | การระเหิด, การเปลี่ยนสถานะของสารที่เป็นของแข็งไปเป็นไอ โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว และเมื่อไอของสารเย็นลงจะเปลี่ยนกลับมาเป็นของแข็งโดยไม่ผ่านสถานะของเหลว เช่น การระเหิดของการบูร ลูกเหม็น เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
latent heat | ความร้อนแฝง, ปริมาณความร้อนที่สารให้หรือรับไว้เพื่อใช้ในการเปลี่ยนสถานะ โดยที่สารนั้นมีอุณหภูมิคงตัว ความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารหนึ่งหน่วยมวลเรียกว่า ความร้อนแฝงจำเพาะ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
latent heat of solidification | ความร้อนแฝงของการแข็งตัว, ความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวเป็นของแข็ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
latent heat of condensation | ความร้อนแฝงของการกลั่นตัว, ความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารจากแก๊สหรือไอเป็นของเหลว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
latent heat of vapourisation | ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ, ความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวเป็นแก๊สหรือไอ เช่น ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอของน้ำมีค่าเท่ากับ 2, 256 กิโลจูลต่อกิโลกรัม ที่อุณหภูมิ 100 ํC ความดันปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
latent heat of fusion | ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว, ความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งเป็นของเหลว เช่น ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลวของน้าแข็งมีค่าเท่ากับ 333 กิโลจูลต่อกิโลกรัม ที่อุณหภูมิ 0 ํC ความดันปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
specific latent heat | ความร้อนแฝงจำเพาะ, ความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสาร 1 หน่วยมวล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
boiling point | จุดเดือด, อุณหภูมิซึ่งของเหลว มีความดันไอเท่ากับความดันของบรรยากาศรอบ ๆ และของเหลวกำลังเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ เช่น น้ำบริสุทธิ์ มีจุดเดือด 100 ํ C ที่ความดันปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
freezing point | จุดเยือกแข็ง, อุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เช่น ที่ความดันปกติ น้ำบริสุทธิ์มีจุดเยือกแข็ง 0 ํC เป็นจุดเดียวกับจุดหลอมเหลวของน้ำแข็ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
melting point | จุดหลอมเหลว, อุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เช่น ที่ความดันปกติ น้ำแข็งมีจุดหลอมเหลว 0°C เป็นจุดเดียวกับจุดเยือกแข็งของน้ำบริสุทธิ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
expansion valve | ลิ้นขยาย, ลิ้นที่ควบคุมการไหลของของเหลว เมื่อลิ้นนี้เปิดของเหลวที่มีความดันสูงจากท่อเล็กจะไหลไปสู่ท่อใหญ่ ของเหลวจึงมีความดันลดลง และปริมาตรเพิ่มขึ้น ทำให้เปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สและมีอุณหภูมิลดลง เช่น ลิ้นที่ใช้ควบคุมการไหลของน้ำยาเครื่องทำความเย็น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
critical temperature | อุณหภูมิวิกฤต, อุณหภูมิต่ำสุดที่สารหนึ่งจะอยู่ได้ในสถานะของแก๊ส โดยถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ แม้ว่าจะเพิ่มความดันให้สูงขึ้นเท่าใดก็ไม่สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
vapour | ไอ, สารที่อยู่ในลักษณะของแก๊สซึ่งถ้ามีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤติ เมื่อเพิ่มความดันก็สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |