กะติ๊กริก | ว. เริ่มมีเนื้อมีหนังขึ้น (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้แก้มกะติ๊กริก. |
กะล่อยกะหลิบ | ว. คล่องแคล่วว่องไวในการใช้มืออย่างแนบเนียนน่าดู เช่น เด็กคนนี้รู้จักเปิบข้าวดูกะล่อยกะหลิบ |
กึ๋น | สติปัญญาที่แหลมคม, นิยมใช้กับคำว่า มี หรือ ไม่มี เช่น หัวหน้าคนนี้มีกึ๋น เด็กคนนี้ไม่มีกึ๋นเอาเลย. |
แก่ ๑ | ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน |
ขี้เกียจ | ก. มีนิสัยไม่ชอบทำงาน เช่น เด็กคนนี้ขี้เกียจ, เกียจคร้าน ก็ว่า, รู้สึกไม่อยากทำเพราะไม่เห็นประโยชน์เป็นต้น เช่น ขี้เกียจเถียง |
เข็น | โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. |
แข็ง | ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง |
คล่อง | (คฺล่อง) ว. สะดวก เช่น หายใจได้คล่องขึ้น, ว่องไว เช่น เด็กคนนี้ใช้คล่อง, ไม่ฝืด เช่น คล่องคอ, ไม่ติดขัด เช่น พูดคล่อง. |
เจ้าทุกข์ | ว. ที่มีหน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์. |
ดื้อไม้ | ก. รู้สึกชาชินต่อการถูกตีหรือถูกเฆี่ยน (ใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้ดื้อไม้ ตีไปก็เท่านั้นไม่เคยหลาบจำ. |
ดูดำดูดี | ก. เอาใจใส่ดูแลทั้งในเวลามีทุกข์และมีสุข เช่น จะหวังอะไรให้เขามาดูดำดูดีกับคนอย่างเรา, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เขาไม่ดูดำดูดีเด็กคนนี้เลย. |
ได้น้ำได้ท่า | ก. ได้รับการดูแลโดยการอาบน้ำให้อย่างสม่ำเสมอ เช่น เด็กคนนี้พอได้น้ำได้ท่าก็ดูมีน้ำมีนวลเนื้อแน่นขึ้น. |
ต่อปากต่อคำ | ก. พูดสวนตอบไปทันที เช่น เด็กคนนี้ผู้ใหญ่ว่าอะไรก็ต่อปากต่อคำไม่ลดละ, โต้ตอบด้วย เช่น เขาว่าอะไรก็อย่าไปต่อปากต่อคำกับเขา. |
ตัวสำคัญ | น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. |
เตลิด | (ตะเหฺลิด) ก. แตกหนีไปคนละทิศละทาง, หนีไปอย่างไร้ทิศทาง, เช่น ฝูงวัวเตลิดไป, โดยปริยายหมายความว่า รั้งไม่อยู่ เช่น เด็กคนนี้เตลิดไปแล้ว เอาแต่เที่ยวเตร่ไม่ยอมเรียนหนังสือ. |
นี่เอง | คำประกอบคำอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง. |
เบาไม้ | ก. ไม่ค่อยถูกเฆี่ยนถูกตี (ใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้เบาไม้ไปหน่อย จึงไม่ค่อยเชื่อฟัง. |
ประพิมพ์ประพาย | น. รูปพรรณสัณฐาน โดยเฉพาะหมายถึงลักษณะหรือส่วนที่คล้ายคลึงกัน เช่น เด็กคนนี้มีประพิมพ์ประพายคล้ายพ่อ. |
เปอร์เซ็นต์ | น. จำนวนที่เทียบเป็นส่วนร้อยหรือร้อยละ, การคิดเทียบเป็นส่วนร้อย เรียกว่า ร้อยละ หรือ ต่อร้อย ใช้เครื่องหมาย % แทน เช่น นักเรียนโรงเรียนนี้สอบได้ ๗๐ % คือ สอบได้ ๗๐ คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๑๐๐ คน เด็กคนนี้สอบได้ ๘๐ % คือ ได้คะแนน ๘๐ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน |
แผล็บ ๑ | (แผฺล็บ) น. ชั่วเวลานิดเดียว เช่น โผล่แผล็บ ทำแผล็บเดียวเสร็จ, แพล็บ ก็ว่า, ลักษณนามใช้เรียกชั่วเวลานิดเดียว เช่น เด็กคนนี้ขี้เกียจจริง ๆ ทำงานแผล็บ ๒ แผล็บ ก็เลิกเสียแล้ว. |
ไม่ใช่เล่น | ว. เก่ง, พิเศษกว่าธรรมดา, เช่น ฝีปากไม่ใช่เล่น เด็กคนนี้ซนไม่ใช่เล่น. |
ไม้แข็ง | น. ไม้ตีระนาดมี ๒ ส่วน ส่วนที่ใช้มือถือทำด้วยไม้ไผ่เหลากลม ตอนปลายที่ใช้ตีพอกด้วยผ้าชุบยางรักเมื่อตีจะมีเสียงกังวาน ใช้เฉพาะระนาดเอก, โดยปริยายหมายความว่า วิธีการเฉียบขาด, อำนาจเด็ดขาด, เช่น เด็กคนนี้ต้องใช้ไม้แข็งจึงจะปราบอยู่. |
ยอขึ้น | ก. ชอบให้ยกย่องแล้วจึงจะตั้งใจทำ เช่น เด็กคนนี้ยอขึ้น. |
ยี่ห้อ | ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอกยี่ห้อโกง |
รั้น | ว. ดื้อดันทุรัง เช่น เด็กคนนี้รั้นจริง. |
ร้ายกาจ | ว. ร้ายมาก, ร้ายยิ่ง, เช่น เด็กคนนี้ความประพฤติร้ายกาจ ขยะส่งกลิ่นเหม็นร้ายกาจ. |
ล้น | ค่อนข้างทะลึ่ง, เกินพอดี, เช่น เด็กคนนี้พูดจาล้น. |
ละมุนละไม | เรียบร้อย, นุ่มนวล, เช่น เด็กคนนี้มีกิริยามารยาทละมุนละไม. |
ลิง ๑ | ว. อาการที่แสดงกิริยาซุกซนอยู่ไม่สุข เช่น เด็กคนนี้ลิงเหลือเกิน. |
เลินเล่อ | ก. ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น เด็กคนนี้เลินเล่อ ทำกระเป๋าสตางค์หล่นหายโดยไม่รู้ตัว. |
วาสนา | (วาดสะหฺนา) น. บุญบารมี, กุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก. |
เวทนา ๒ | (เวดทะ-) ก. สังเวชสลดใจ เช่น เรามักเวทนาผู้เคราะห์ร้าย เด็กคนนี้น่าเวทนา. |
แว้ | ก. ร้อง (ใช้แก่เด็กแดง ๆ ) เช่น เด็กคนนี้ พอแว้ออกมาก็มีเงินเป็นล้านแล้ว, อุแว้ ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า เกิด เช่น พอหลานแว้ออกมา ย่าก็ดีอกดีใจ. |
แวว | น. ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็นนักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้ |
สม ๑ | ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสมฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน |
สะดุด ๒, สะดุด ๆ | ว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่านหนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ. |
สะอาดสะอ้าน | ว. สะอาดหมดจด เช่น เด็กคนนี้หน้าตาสะอาดสะอ้าน. |
สัปดน | (สับปะดน) ว. หยาบโลน เช่น พูดสัปดนสองแง่สองง่าม, อุตรินอกแบบนอกแผน เช่น เด็กคนนี้ชอบเล่นสัปดน เอาประทัดผูกหางหมาแล้วจุด, (ปาก) ใช้ว่า สัปโดกสัปดน. |
สายเลือด | น. ญาติพี่น้องที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน, ลูก, เช่น เด็กคนนี้เป็นสายเลือดของเขาแท้ ๆ เขายังไม่เอาใจใส่เลย |
สีสา | ว. ประสีประสา (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เด็กคนนี้พูดจาไม่รู้สีสา อย่าถือสาเลย. |
เสียมือเสียตีน, เสียมือเสียเท้า | ก. สูญเสียมือและตีนไป, สูญเสียมือและเท้าไป, โดยปริยายหมายถึงเสียบุคคลที่รับใช้ใกล้ชิดหรือไว้วางใจไป เช่น เด็กคนนี้รับใช้ใกล้ชิดจนรู้ใจท่านสมภารมานาน ตายไปก็เท่ากับท่านเสียมือเสียตีนไป. |
เสียสันดาน | ก. เสียอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด (ใช้เป็นคำตำหนิ) เช่น เด็กคนนี้เสียสันดาน ชอบลักขโมยของคนอื่น. |
เสียงแตก | น. เสียงพูดในตอนแตกเนื้อหนุ่ม เช่น เด็กคนนี้พูดเสียงแตก แสดงว่าเริ่มจะเป็นหนุ่มแล้ว |
แสนเข็น | ว. ยากแก่การที่จะอบรมสั่งสอนให้ดีได้ เช่น เด็กคนนี้ดื้อแสนเข็น. |
หน่วยก้าน | น. ท่วงที, ท่าที, แวว, เช่น เด็กคนนี้หน่วยก้านดี อนาคตคงไปได้ไกล. |
หนักข้อ | ก. กำเริบ เช่น เด็กคนนี้ชักจะหนักข้อขึ้นทุกวัน พ่อแม่ว่ากล่าวอย่างไรก็ไม่ฟัง. |
หน้าแก่ | ว. ที่มองดูอายุมากกว่าอายุจริง เช่น เด็กคนนี้หน้าแก่, เรียกหมากที่หน้าเต็มใกล้จะสุก ว่า หมากหน้าแก่. |
หน้าตา | น. เค้าหน้า เช่น เด็กคนนี้หน้าตาเหมือนแม่ |
หมั่นไส้ | ชวนให้รู้สึกเอ็นดู, (มักใช้แก่เด็ก), เช่น เด็กคนนี้อ้วนแก้มยุ้ย น่าหมั่นไส้, มันไส้ ก็ว่า. |
หมายหัว | ก. จดจำไว้ด้วยความประสงค์ร้าย เช่น เขาถูกพวกนักเลงหมายหัวไว้ว่าจะต้องหาทางกำจัดให้ได้, คาดหมายไว้ว่าจะเป็นไปในทางไม่ดี เช่น เด็กคนนี้ถูกหมายหัวไว้ว่าจะต้องสอบตกแน่ ๆ. |