เซ็ง | ว. ชืด, จืดชืด, หมดรสเพราะทิ้งไว้นานเกินควร, เช่น ส้มตำทิ้งไว้นานจนเซ็ง, หมดความตื่นเต้น เช่น ร้องเพลงอยู่นานจนคนฟังเซ็งกันหมด. |
เซ่ง | น. เส้ง. |
เซ้ง | ก. โอนสิทธิหรือกิจการไปให้อีกคนหนึ่งโดยได้ค่าตอบแทน, รับโอนสิทธิหรือกิจการจากอีกคนหนึ่งโดยต้องเสียค่าตอบแทน เรียกว่า รับเซ้ง. |
เซ็งแซ่ | ว. ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด. |
ร้องระเบ็งเซ็งแซ่ | ก. ร้องดังอื้ออึงแซ่ไปหมด. |
รับเซ้ง | ก. รับโอนสิทธิหรือกิจการจากอีกคนหนึ่งโดยต้องเสียค่าตอบแทน. |
จรรโจษ | (จันโจด) ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า. |
จอแจ | ว. มีผู้คนคับคั่งและมีเสียงเซ็งแซ่ เช่น ผู้คนจอแจ ตลาดจอแจ |
จันโจษ | ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, ในบทกลอนใช้ว่า จรรโจษ ก็มี. |
เจี๊ยว ๑ | ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า |
เจี๊ยว ๑ | ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า. |
เจี๊ยวจ๊าว | ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. |
เจี๊ยวจ๊าว | ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. |
โจษ, โจษจัน | (โจด, โจดจัน) ก. พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, จรรโจษ หรือ จันโจษ ก็ใช้. |
ฉัพพรรณรังสี | (ฉับพันนะ-) น. รัศมี ๖ ประการ คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ). |
ซะซร้าว | (-ซ้าว) ว. เสียงร้องเซ็งแซ่. |
ซุมแซว | ว. เซ็งแซ่, จอแจ. |
ซู่ซ่า | ว. ที่โจษกันเซ็งแซ่อยู่พักหนึ่ง เช่น ข่าวซู่ซ่า. |
เซ็ก | ก. เซ็งแซ่ เช่น เสียงกระเกริกเกรียวก้อง เซ็กห้องเสียงหัว (นิทราชาคริต). |
แซ่ด | ว. มีเสียงเซ็งแซ่จนฟังไม่ได้ศัพท์ เช่น คุยกันแซ่ด. |
โป๊ยเซียน ๒ | น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหมึกสด เนื้อไก่ กุ้ง และเครื่องในหมูอีก ๕ อย่าง คือ หัวใจ เซ่งจี๊ ไส้ตัน ตับ และกระเพาะ ผัดรวมกับถั่วงอก ใบขึ้นฉ่าย ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวและน้ำมันหอย. |
พรรลาย | เซ็งแซ่ เช่น ร้องก้องเสียงพรรลาย (ตะเลงพ่าย). |
เพรียกพร้อง | (-พฺร้อง) ก. ร้องเซ็งแซ่ (ใช้แก่นกเป็นต้น). |
ระงี่ | ว. ดัง, ระงม, เซ็งแซ่. |
ระเบ็ง ๒ | ว. ดัง, ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด, มักใช้เข้าคู่กับคำ เซ็งแซ่ เป็น ระเบ็งเซ็งแซ่, ละเบ็ง ก็ว่า. |
หนวกหู | ก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉันหนวกหูเต็มทีแล้ว. |
หนวกหู | ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรำคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง. |
อลเวง | (อนละ-) ว. เซ็งแซ่, ไม่เป็นระเบียบ. |
อื้อฉาว | ว. แพร่งพราย, เซ็งแซ่, กระจาย, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม). |