เซนติเมตร | น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ เมตร, อักษรย่อว่า ซม., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า เซ็นต์. |
กงพัด ๑ | เครื่องมือชนิดหนึ่งเป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สำหรับพัดด้าย. |
ก๊ง | น. หน่วยตวงเหล้าโรงเป็นต้นตามวิธีประเพณี ๑ ก๊ง เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร. |
กดเหลือง | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Hemibagrus nemurus (Valenciennes) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไป แม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก. |
กบทูด | น. ชื่อกบภูเขาขนาดใหญ่ที่สุดชนิด Rana blythii Boulenger ในวงศ์ Ranidae ปากค่อนข้างแหลมเมื่อเทียบกับชนิดอื่น กระดูกขากรรไกรบนยาวแหลมออกมาคล้ายเขี้ยว ขนาดลำตัวอาจยาวถึง ๓๐ เซนติเมตร อาศัยในป่าดงดิบชื้นตามลำธารบนภูเขา, พายัพเรียก เขียดแลว. |
กระจง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Tragulidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เล็กที่สุด กระเพาะมี ๓ ส่วน รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวบนที่แหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย [ Tragulus napu (Cuvier) ] สูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก [ T. javanicus (Osbeck) ] สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. |
กระจัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri (Pallas) ในวงศ์ Gobiidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหว และความสามารถขึ้นมาพ้นนํ้าได้คล้ายปลาจุมพรวดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทำรูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวนํ้า ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้ ขนาดยาวได้ถึง ๒๗ เซนติเมตร, กะจัง ก็เรียก. |
กระเจี๊ยบ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Abelmoschus esculentus (L.) Moench ในวงศ์ Malvaceae ผลสีเขียว ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร ใช้เป็นผัก, กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทวาย หรือ มะเขือมอญ ก็เรียก. |
กระแจะ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนามเปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับนํ้าใช้เป็นเครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทำยา, กะแจะ ขะแจะ ตุมตัง หรือ พญายา ก็เรียก. |
กระชอน ๒ | น. ชื่อแมลงหลายชนิด ในวงศ์ Gryllotalpidae ลำตัวสีน้ำตาล ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร ปีกสั้น บินได้ในระยะใกล้ ขาคู่หน้าสั้นป้อมและแบนทางข้าง คล้ายอุ้งมือ ปลายมีหนามแข็งใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ในดิน กินรากพืชและแมลงเล็ก ๆ ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Gryllotalpa orientalis Burmeister. |
กระชับ ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xanthium indicum K. Koenig ex Roxb. ในวงศ์ Compositae มักขึ้นเป็นวัชพืชในทุ่งนาและริมนํ้า ลำต้นและใบคาย ใบมนเว้า ขอบจัก โคนใบแหลม ดอกเล็กรวมเป็นกระจุกแน่น ผลรี ยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร มีหนามปลายงอทั่วทั้งผล รากหอมอ่อน ๆ ใช้อบผ้าได้ บางส่วนของไม้นี้ใช้เป็นยาได้ แต่ทั้งต้นเป็นพิษต่อปศุสัตว์, ขี้ครอก หรือ ขี้อ้น ก็เรียก. |
กระชาย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ในวงศ์ Zingiberaceae สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นหัวกลม ๆ มีรากสะสมอาหาร ซึ่งเรียวยาว อวบนํ้า ออกเป็นกระจุก ใช้เป็นผักและเป็นเครื่องปรุงประกอบอาหาร, พายัพเรียก กะแอน หรือ ละแอน. |
กระดาน ๒ | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Thenus orientalis (Lund) ในวงศ์ Scyllaridae ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร หัวและลำตัวหุ้มด้วยเปลือกแข็งสีนํ้าตาล ส่วนหัวและหนวดคู่ที่ ๒ แบน แพนหางแผ่ราบได้กว้าง งอพับเข้าใต้ท้องเมื่อดีดตัวถอยหลังหนีศัตรู อาศัยคืบคลานอยู่ตามพื้นทะเล พบทั่วไป มักเรียกกันว่า กั้งกระดาน. |
กระดี่ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ T. trichopterus (Pallas) ] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ T. microlepis (Günther) ] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ T. leeri (Bleeker) ] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด. |
กระโดน | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากเป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม ใบอ่อนใช้เป็นผัก เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก. |
กระทิง ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลำคลองและที่ลุ่ม ที่พบทั่วไปในประเทศไทย เช่น ชนิด M. armatus (Lacepéde), M. favus Hora, และกระทิงไฟ ( M. erythrotaeniaBleeker) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร. |
กระทู้ ๓ | น. ชื่อหนอนผีเสื้อกลางคืนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Noctuidae ลำตัวรูปทรงกระบอก ยาว ๓-๔ เซนติเมตร ผิวเป็นมัน มีขนตามลำตัวน้อย ส่วนใหญ่สีน้ำตาลคลํ้า ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือเส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมนํ้าตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาวที่สันหลังและข้างลำตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทำให้เหลือแต่ตอโผล่เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์หรือหนอนกระทู้คอรวง [ Mythimna separate (Walker) ] ทำลายต้นข้าว, หนอนกระทู้ผัก [ Spodoptera litura (fabricius) ] ที่กัดกินพืชผัก. |
กระเบน | น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวกว้างตั้งแต่ ๑๕-๓๐๐ เซนติเมตร ลำตัวแบนลงมาก และต่อเนื่องกับครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด |
กระมัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntioplites proctozysron (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นใหญ่แข็งและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลำตัวเป็นสีขาว ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เหลี่ยม ก็เรียก. |
กระสง | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa lucius (Cuvier) ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและแอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลำตัวข้างละ ๗-๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร. |
กระสือ ๓ | น. ชื่อตัวอ่อนหิ่งห้อยและตัวเต็มวัยหิ่งห้อยเพศเมียที่ไม่มีปีกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Lampyridae เช่น สกุล Lamprigera, Pyrocoelia, Diaphanesยาวได้ถึง ๑๐ เซนติเมตร อยู่ตามพื้นดิน สามารถทำแสงจากอวัยวะทำแสงที่อยู่ปลายท้องได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. (ดู หิ่งห้อย ประกอบ). |
กระสุนพระอินทร์ | น. ชื่อกิ้งกือในสกุล Sphaerotherium วงศ์ Sphaerotheriidae ยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร หัวแบนเล็ก ลำตัวโค้งนูน มี ๑๓ ปล้อง ผิวลำตัวเรียบมัน ด้านหลังสีน้ำตาล ดำ ครีม หรือเขียว เมื่อถูกกระทบจะม้วนเข้าสอดกับปล้องสุดท้ายจนกลมคล้ายลูกกระสุนดินปั้น พบชุกชุมช่วงต้นฤดูฝนตามพื้นที่สูงที่มีใบไม้ทับถมและชุ่มชื้น, ปักษ์ใต้เรียก มวนชิด. |
กระสูบ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ลำตัวเพรียวกว่า ชนิดแรกคือ กระสูบขาว [ Hampala macrolepidota (van Hasselt) ] มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดง ขอบบนและล่างสีดำ ยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด ( H. disparSmith) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่าและไม่มีแถบสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก. |
กระแห, กระแหทอง | น. ปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด Barbonymus schwanefeldi (Bleeker) หรือ Puntius schwanefeldi (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้างคล้ายปลาตะเพียนขาว มักมีสีแดงอ่อนบนครีบ เฉพาะส่วนปลายของครีบหลังและขอบทั้งบนและล่างของครีบหางมีสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ตะเพียนหางแดง หรือ เลียนไฟ ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ลำปำ. |
กรับเสภา | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน มี ๔ ด้าน ด้านหนึ่งโค้งสำหรับกระทบให้เกิดเสียง ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ขยับประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับเสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ประคองไว้ในอุ้งมือข้างละคู่ ขณะที่ขับเสภาก็ขยับกรับแต่ละคู่ให้กระทบกันให้สอดคล้องกับท่วงทำนองขับ, กรับขยับ ก็ว่า. |
กริม | (กฺริม) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กในสกุล Trichopsis วงศ์ Anabantidae หรือ Belontiidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากัดซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและสีไม่สดสวย มักมีแถบสีเข้มพาดตลอดข้างตัว ๒-๓ แถบ ขนาดยาวได้ถึง ๗ เซนติเมตร ที่พบมากได้แก่ กริมข้างลาย [ T. vittatus (Cavier) ], กัดป่า ก็เรียก. |
กะตัก | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus วงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่างครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลมขนาดเล็กมาก ๒-๗ อัน ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ชินชัง ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างขนาด ชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ ขนาดยาวได้ถึง ๑๔ เซนติเมตร. |
กะปะ | น. ชื่องูพิษขนาดเล็กชนิด Calloselasma rhodostoma (Boie) ในวงศ์ Viperidae ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร สีน้ำตาลอมแดงลายสีนํ้าตาลเข้ม บนหลังมีลายรูปสามเหลี่ยมสีนํ้าตาลแก่เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน ริมฝีปากเหลือง และมีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก, ตัวที่มีสีคลํ้าเรียก งูปะบุก. |
กะพ้อ ๒ | น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่งนํ้าเค็มขึ้นถึง ลำต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร เว้าเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทำไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา (โลกนิติ). |
กะเรกะร่อน | น. ชื่อกล้วยไม้หลายชนิดในสกุล Cymbidium วงศ์ Orchidaceae อิงอาศัยตามต้นไม้ ใบเขียวหนา ยาว ๒๐-๖๐ เซนติเมตร เช่น กะเรกะร่อนด้ามข้าว ( C. bicolor Lindl.) ดอกสีขาว กะเรกะร่อนปากเป็ด ( C. finlaysonianum Lindl.) ดอกสีเหลือง ปากสีแดงคลํ้า. |
กัด ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Betta splendens Regan ในวงศ์ Osphronemidae ขนาดยาวได้ถึง ๖.๕ เซนติเมตร ทำรังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัวให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด. |
กันเกรา | (-เกฺรา) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตำเสา หรือ มันปลา ก็เรียก. |
กา ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Morulius chrysophekadion (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากงุ้มตํ่า ตาเล็ก ตลอดทั้งหัว ตัว และครีบมีสีม่วงเข้มถึงดำทึบ ครีบหลังเป็นแผนใหญ่ เฉพาะเกล็ดมีจุดสีเหลืองประปราย ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร, เพี้ย ก็เรียก. |
ก้าง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa orientalis (Schneider) ในวงศ์ Channidae คล้ายปลาช่อนซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน แต่ตัวเล็กกว่า เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ด ขอบครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม มักพบหลบอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นที่มีใบไม้จมอยู่ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, ขี้ก้าง ก็เรียก. |
ก้างพระร่วง | น. ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดจำพวกเดียวกับปลาเนื้ออ่อน ชนิด Kryptopterus bicirrhis (Valenciennes) ในวงศ์ Siluridae ลำตัวยาวแบนข้างมาก ปากเล็กเชิดขึ้น เนื้อมีลักษณะใสจนมองทะลุลำตัวเห็นแถวกระดูกและอวัยวะภายในต่าง ๆ ขนาดยาวไม่เกิน ๑๒ เซนติเมตร, กระจก ก็เรียก. |
ก้ามปู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Samanea saman (Jacq.) Merr. ในวงศ์ Leguminosae เรือนยอดทึบแบนแผ่สาขากว้างใหญ่จึงให้ร่มเงาได้ดี ช่อดอกเป็นพู่สีชมพูแก่ ฝักแก่สีนํ้าตาลไหม้ ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร รสหวาน เป็นไม้ที่นำเข้ามาปลูก, เดิมเรียก จามจุรีแดง แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี, พายัพเรียก ฉำฉา หรือ สำสา. |
การ์ตูน ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์ Pomacentridae ลำตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดำคลํ้า มักมีแถบสีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลำตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิดหรือขนาดบ้างมีสีส้ม พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเภทหนึ่งในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ขนาดยาวได้ถึง ๑๖ เซนติเมตร. |
การบูรป่า | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Adenosma indiana (Lour.) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ขึ้นตามป่าเต็งรัง ต้นสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ขอบใบจักถี่ ใบมีกลิ่นคล้ายกลิ่นใบกะเพรา โหระพา แต่อ่อนกว่า ดอกเล็กสีม่วง ออกเป็นช่อเรียวยาวตามง่ามใบและที่ปลายยอด, กระต่ายจาม ข้าวคำ หรือ พริกกระต่าย ก็เรียก. |
กำ ๑ | มาตราวัดรอบของกลม เมื่อวัดได้เท่าไร แล้วทบกึ่งได้ยาวราว ๑๐ เซนติเมตร เช่น ของกลมวัดรอบได้ยาว ๒๐ เซนติเมตร ของกลมนั้นเรียกว่ามีขนาด ๑ กำ, มี ๓ ชนิด คือ ๑. กำสลึง (ยาว ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด หรือ ๑๐.๗๕ เซนติเมตร) ๒. กำเฟื้อง (ยาว ๔ นิ้ว ครึ่งกระเบียด หรือ ๑๐.๕ เซนติเมตร) ๓. กำสองไพ (ยาว ๔ นิ้ว ๒ หุน หรือ ๑๐.๒๕ เซนติเมตร) |
กิ้งกือเหล็ก | น. ชื่อกิ้งกือขนาดเล็กชนิด Polydesmusspp. ในวงศ์ Polydesmidae โตขนาดก้านไม้ขีดไฟ ลำตัวแบนทางด้านบน ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร สีดำเป็นมัน ขอบข้างลำตัวและท้องสีครีมอ่อน หากินอยู่ตามกองขยะ ปุ๋ยหมัก มักซุกอยู่ในที่มืดและชื้น. |
กุ้งฝอย | น. ชื่อกุ้งตัวเล็ก ๆ ขนาดยาวไม่เกิน ๔ เซนติเมตร มีหลายชนิด พบในน้ำจืด ที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ชนิด Macrobrachium lanchesteri (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae และหลายชนิดในสกุล Caridina วงศ์ Atyidae. |
กุดจี่ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae หัวแบน ขาแบน ด้านข้างขามีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย ลำตัวยาว ๐.๕-๖.๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ปั้นมูลสัตว์เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกตัวมักทำเสียงดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียก ตัวฉู่ฉี่หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อย เช่น Onitis subopacusArrow, Onthophagus seniculus Fabricius พบทุกภาค, กุดจี่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กุดจี่ขี้ช้างหรือด้วงขี้ช้าง ( Heliocopris dominus Bates) พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน, จี่ ก็เรียก. |
กุเรา | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ ในสกุล Eleutheronemaและในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลำตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum (Shaw), P. sextarius Bloch & Schneider ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เซนติเมตร, กุเลา ก็เรียก. |
กุลาดำ | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus monodon Fabricius ในวงศ์ Penaeidae ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ตัวแบนข้าง สีเขียวอมน้ำตาล มีแถบสีดำและสีจางพาดขวางเป็นลายตลอดลำตัว. |
กุแล | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องบางคล้ายคมมีด เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีนํ้าเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคลํ้า ๑ จุด ครีบหลังและครีบหางสีดำคลํ้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึงชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกันเป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนน้อยและสั้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก |
เกล็ดถี่ | น ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Thynnichthys thynnoides (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กมาก พื้นลำตัวสีเงินเป็นประกาย พบทั่วไป แต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, นางเกล็ด พรม หรือ ลิง ก็เรียก. |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) . |
แกง ๓ | น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Pentatomidae ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอ่อน ยาว ๒.๕-๓.๐ เซนติเมตร เมื่อถูกตัวจะปล่อยของเหลว มีกลิ่นฉุน ชนิดที่พบทั่วไป เช่น ชนิด T essaratoma javamicaThunberg, T. papillosa (Drury) ดูดกินน้ำเลี้ยงใบลิ้นจี่หรือลำไย, แมลงแคง ก็เรียก. |
แก้มช้ำ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius orphoides (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยชํ้า สุดแผ่นปิดเหงือกดำ โคนครีบหางมีจุดสีดำ พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดำ มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก. |
แกมมา | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. |