เจ้าแม่ | น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น. |
เจ้าแม่หลวง | น. คำที่ชาวไทยภูเขาใช้เรียกสมเด็จพระบรมราชินีนาถ. |
กม ๒ | ก. กุม เช่น เกลือกเจ้าแม่มาคิดคม ครุบคั้นกินกม บไว้บวางตัวตู (เสือโค). |
กระหยด | ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย (มโนห์รา). |
กะริงกะเรียด | ก. ดัดจริต เช่น เป็นหญิงเจ้าแม่อา อย่าทำกะริงกะเรียด ตัวเจ้ายังน้อยสักเท่าเขียด เจ้ามาวอนแม่จะมีผัว (มโนห์รา). |
กาลี ๒ | น. ชื่อหนึ่งของพระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า เจ้าแม่กาลี, ปรกติสร้างรูปเป็นหญิงผิวดำ (ส. กาลี ว่า หญิงดำ), และว่ามีอำนาจเสมือน กาล (เวลา) ที่ไม่มีผู้ใดเอาชนะได้. |
กำพร้า ๒ | (-พฺร้า) ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว (ลอ). |
ขยด | (ขะหฺยด) ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนีฯ (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย (มโนห์รา). |
ขุนเพ็ด | น. ไม้เหลาอย่างรูปของลับชายขนาดต่าง ๆ ใช้เป็นของแก้บนตามศาลเจ้าแม่, ปลัดขิก ทองระอา หรือ ดอกไม้เจ้า ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน. |
คงคา ๑ | น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจำนํ้า, ชื่อแม่นํ้าสำคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว) |
ค้อยค้อย | ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เช่น เจ้าแม่แต่จงกรมค้อยค้อย ด้วยบราทุกราพร้อยพราย (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ดอกไม้เจ้า | น. ไม้เหลาอย่างรูปของลับชายขนาดต่าง ๆ ใช้เป็นของแก้บนตามศาลเจ้าแม่, ขุนเพ็ด ทองระอา หรือ ปลัดขิก ก็เรียก. |
ตำนาน | น. เรื่องแสดงความเป็นมาแต่ปางหลังของสถานที่ บุคคล หรือพิธีกรรม เป็นต้น, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตำนานพุทธเจดีย์, ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว |
ทองระอา | น. ไม้เหลาอย่างรูปของลับชายขนาดต่าง ๆ ใช้เป็นของแก้บนตามศาลเจ้าแม่, ขุนเพ็ด ปลัดขิก หรือ ดอกไม้เจ้า ก็เรียก. |
ปลัดขิก | (ปะหฺลัด-) น. ไม้เหลาอย่างรูปของลับชายขนาดต่าง ๆ ใช้เป็นของแก้บนตามศาลเจ้าแม่, ขุนเพ็ด ทองระอา หรือ ดอกไม้เจ้า ก็เรียก. |
พาณี | เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. |
โพสพ | (โพสบ) น. ชื่อเทพธิดาประจำข้าว, เจ้าแม่แห่งข้าว, ใช้ว่า ไพสพ ก็มี. |
ไพสพ | น. ชื่อเทพธิดาประจำข้าว, เจ้าแม่แห่งข้าว, โพสพ ก็ใช้ |
แม่ | คำยกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี |
แม่พระคงคา | น. เทพธิดาประจำน้ำ, เจ้าแม่แห่งน้ำ. |
แม่พระธรณี | น. เทพธิดาประจำแผ่นดิน, เจ้าแม่แห่งแผ่นดิน. |
แม่โพสพ | น. เทพธิดาประจำข้าว, เจ้าแม่แห่งข้าว. |
ลักษมี | ชื่อเจ้าแม่แห่งลาภและความงาม เป็นชายาพระนารายณ์. |
วาณี | เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. |
ศาล | ที่สิงสถิตของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม. |