ขล้อเงาะ | (ขฺล้อ-) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Terminalia cambodiana Gagnep. ในวงศ์ Combretaceae ใบรีหรือรูปไข่ ดอกเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อเล็ก ๆ ผลมี ๕ ครีบ, คร่อเงาะ ก็เรียก. |
คร่อเงาะ | ดู ขล้อเงาะ. |
เงาะ ๑ | น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต (Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลมมลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, โดยปริยายเรียกคนที่มีรูปร่างเช่นนั้น. |
เงาะ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Nephelium lappaceum L. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกินได้ เปลือกมีขนยาวสีเหลืองหรือแดงเป็นต้น, ปักษ์ใต้เรียก พรวน. |
เงาะป่า | ดู กะทกรก (๒). |
เถาเงาะ | ดู กะทกรก (๒). |
สะเงาะสะแงะ | ว. เปะปะอย่างคนเมา เช่น เดินสะเงาะสะแงะ พูดจาสะเงาะสะแงะ. |
กระดูกขัดมัน | ว. ขี้เหนียวมากอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่าย ๆ เช่น แม่ค้าคนนี้กระดูกขัดมันเหลือเกิน เราซื้อผลไม้แกตั้งร้อยกว่าบาทขอแถมเงาะลูกหนึ่งก็ไม่ได้ |
กรีดเล็บ | ก. อาการที่ใช้เล็บเก็บสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีท่างาม เช่น กรีดเล็บเก็บพวงสุมาลี นารีขับเพลงวังเวงใจ (เงาะป่า). |
กลม ๑ | (กฺลม) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ปี่พาทย์ทำตอนตัวละครที่เป็นเทพเจ้าหรือเจ้าเงาะเหาะโดยลำพัง และใช้เป็นเพลงบรรเลงในเวลาเทศน์มหาชาติประจำกัณฑ์สักบรรพ. |
กอย | น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างต่ำเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, เงาะ ก็เรียก. |
กะทกรก | ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora foetida L. ในวงศ์ Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี ๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม เมื่อสุกสีเหลืองกินได้ มีใบประดับเป็นฝอยหุ้ม ยอดนำมาต้มใช้เป็นผัก, กระโปรงทอง เงาะป่า ถลกบาตร เถาเงาะ เถาสิงโต หรือ หญ้ารกช้าง ก็เรียก. |
ควักค้อน | (คฺวัก-) ก. ค้อนจนหน้าควํ่า เช่น ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ (สังข์ทอง), ค้อนควัก ก็ว่า. |
งามแงะ | ว. งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะว่าเล่นหรือว่าจริง (สังข์ทอง). |
ถอดรูป | ก. เอารูปที่ปกคลุมออกให้เห็นรูปที่งดงาม เช่น เจ้าเงาะถอดรูป, เปลี่ยนรูปโฉมให้งดงาม เช่น เด็กสาวชนบทถอดรูปเป็นดาวมหาวิทยาลัย. |
ทะยาทะแย, ทะยาทะแยแส | ก. เอาใจใส่, สนใจ, แยแส, เช่น แก้สาดเสียสิ้นกินแต่ของ อันใบตองหาทะยาทะแยไม่ (ขุนช้างขุนแผน), เมื่อนั้นรจนาไม่ทะยาทะแยแส คิดว่าเงาะลูบหลังทำรังแก ไม่เหลียวแลร้องอึงคะนึงไป (สังข์ทอง). |
นอก | ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือน นอกประเทศ นอกกาย นอกตำแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของนอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป ว่า บ้านนอก, เรียกประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจากนอกกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน. |
พรวน ๔ | (พฺรวน) น. ต้นเงาะ. (ดู เงาะ ๒). |
พระ | ส. คำใช้แทนผู้เป็นใหญ่ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เมียเห็นว่าเงาะนี้มีความรู้ พระอย่าได้ลบหลู่ว่าชั่วช้า (สังข์ทอง), หรือเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล (กาพย์เห่เรือ). |
พลากร ๒ | น. อากรที่เรียกเก็บจากจำนวนต้นของไม้ผลยืนต้น ๗ ชนิด คือ ขนุน สะท้อน (กระท้อน) เงาะ ส้มต่าง ๆ มะไฟ ฝรั่ง สาเก และไม้ล้มลุกคือสับปะรด (ลัทธิธรรมเนียม). |
มวนหวาน | น. ชื่อผีเสื้อกลางคืนหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Noctuidae เป็นศัตรูพืชโดยใช้ปลายปากที่แข็งแรงเจาะเปลือกผลไม้ เช่น ส้ม เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย เพื่อดูดกินน้ำข้างใน ทำให้เกิดรอยแผลเชื้อโรคเข้าได้ ผลไม้เน่าและร่วงในที่สุด ชนิดที่พบบ่อย คือ ชนิด Eudocima fullonia (Clerck), E. salaminia (Cramer) และ Purbia discrepans (Walker). |
มือ ๑ | ลักษณนามบอกจำนวนนับ ๕ ลูก เป็น ๑ มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปราง มังคุด เงาะ). |
แม้น ๑ | สัน. แม้ เช่น แม้นมิไปช่วยจะม้วยมอด ด้วยสังข์ทองไม่ถอดรูปเงาะป่า (สังข์ทอง). |
ล่อน | ก. หลุดออกหมดไม่มีเหลือติดอยู่ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเนื้อเยื่อ หรือสิ่งซึ่งห่อหุ้มอยู่) เช่น เงาะล่อน พริกไทยล่อน, หลุดออกเป็นชิ้นเป็นแผ่น เช่น สะเก็ดล่อน สีล่อน, หลุดออกง่ายเมื่อกะเทาะหรือแซะออกเป็นต้น เช่น แป้งขนมเบื้องล่อน. |
สมพัตสร | (-พัดสอน) น. อากรประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผลประโยชน์ของแผ่นดิน เก็บจากจำนวนพื้นที่ที่ปลูกไม้ล้มลุกบางประเภทและจำนวนไม้ผลยืนต้นบางประเภท เช่น ขนุน เงาะ กระท้อน มะไฟ เก็บเป็นรายปี. |
เสมอสอง | ว. เทียบเท่า, เทียบคู่, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พระสังข์ครั้งนี้จะถอดเงาะ งามเหมาะไม่มีเสมอสอง (สังข์ทอง). |