กระดูกเหล็ก | ไม่ตายง่าย ๆ เช่น เขาเป็นสารวัตรกระดูกเหล็ก ผ่านการต่อสู้กับผู้ร้ายมาโชกโชน. |
กระหม่อมบาง | ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า. |
กวางป่า | น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor Kerr ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในหมู่กวางในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนงข้างละ ๓ กิ่ง ผลัดเขาปีละครั้ง มักแยกอยู่ตามลำพังยกเว้นฤดูผสมพันธุ์จึงจะรวมกลุ่ม กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน, กวางม้า ก็เรียก. |
กะเร่อกะร่า | ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่า, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า. |
กาวใจ | น.ผู้ประสานรอยร้าวให้ผู้ที่โกรธกัน ทะเลาะกัน หรือกินแหนงแคลงใจกัน ได้กลับคืนดีกัน เช่น เขาเป็นกาวใจให้ ๒ คนนี้คืนดีกัน. |
ใกล้ชิด | เป็นที่ไว้วางใจ เช่น เขาเป็นคนใกล้ชิดของเจ้านาย. |
ขม่อมบาง | ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนขม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, กระหม่อมบาง ก็ว่า. |
ขี้เล่น | ก. ชอบสนุกสนานและชอบกระเซ้าเย้าแหย่ เช่น ถ้าเขาไปเที่ยวด้วย พวกเราจะไม่รู้สึกเหงา เพราะเขาเป็นคนขี้เล่น, มีอารมณ์ดีไม่งอแง (มักใช้แก่เด็กเล็ก ๆ ) เช่น ตาหนูคนนี้ขี้เล่น |
คนโปรด | น. ผู้เป็นที่รักใคร่เอ็นดูมากเป็นพิเศษ เช่น เขาเป็นลูกศิษย์คนโปรด. |
ครื้นเครง | (คฺรื้นเคฺรง) ว. เสียงดังครึกครื้น, เครงครื้น ก็ว่า, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่างครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง. |
ความเห็น | น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็นว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ. |
ความรู้สึกช้า | น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ. |
เงียบ ๆ | นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ. |
จุกจิก | ว. จู้จี้ เช่น เขาเป็นคนจุกจิก |
เฉย ๆ | ไม่ยินดียินร้าย เช่น เขาเป็นคนเฉย ๆ, เท่านั้น เช่น ปลูกเรือนไว้เฉย ๆ ไม่ให้ใครอยู่. |
ชะต้า | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือชอบใจ เช่น ชะต้าเขาเป็นหญิงยังทำได้ (ขุนช้างขุนแผน–แจ้ง), ใช้ว่า ฉะต้า ก็มี. |
ชื่อเสียง | ความเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เช่น เขาเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียง. |
เชื่อถือ | ก. นับถือว่าเชื่อได้ เช่น เขาเป็นที่เชื่อถือของชุมชนนี้. |
เชื้อแถว | น. เชื้อสายวงศ์ตระกูลที่สืบเนื่องต่อกันมา, ว่านเครือ เช่น เขาเป็นคนมีเชื้อแถวเก่าแก่. |
แช่ง | ก. กล่าวด้วยตั้งใจมุ่งร้ายเพื่อให้เขาเป็นเช่นนั้น. |
ซื่อตรง | ก. ประพฤติตรงไม่เอนเอียง เช่น ซื่อตรงต่อหน้าที่, ไม่คดโกง เช่น เขาเป็นคนซื่อตรง. |
ดุดัน | ว. ดุอย่างไม่ลดละ (ใช้แก่คน) เช่น เขาเป็นคนดุดัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ มุทะลุ เป็น มุทะลุดุดัน. |
ตรง, ตรง ๆ | ซื่อ, ไม่โกง, ไม่ลำเอียง, เช่น เขาเป็นคนตรง |
ตัวเปล่าเล่าเปลือย | ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. |
ตาไม่มีแวว | ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมาให้เลือกแต่กลับไปเลือกของเลว. |
แต่ไหนแต่ไร | ตั้งแต่นานมาแล้วถึงปัจจุบัน เช่น เขาเป็นคนอย่างนี้แต่ไหนแต่ไรแล้ว. |
ทรัพย-, ทรัพย์ | (ซับพะยะ-, ซับ) น. เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์ |
นักเลง | ผู้เกะกะระราน เช่น เขาเป็นนักเลงมีลูกน้องมาก, นักเลงโต ก็ว่า. |
นักเลงโต | ผู้เกะกะระราน เช่น น้องชายเขาเป็นนักเลงโต ทำให้เพื่อนบ้านเดือดร้อนเสมอ ๆ, นักเลง ก็ว่า. |
นาย | ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่ |
น้ำใจ | น. ใจแท้ ๆ, ใจจริง, ความรู้สึกนึกคิดจริง ๆ, เช่น อยู่ด้วยกันไม่นานก็เห็นนํ้าใจว่าเขาเป็นคนอย่างไร, ความจริงใจ เช่น เราเห็นว่าเขามีน้ำใจกับเรา ไม่เคยหลอกลวงเราเลย, นิสัยใจคอ เช่น นํ้าใจชาย นํ้าใจหญิง, ความเอื้ออาทร เช่น เขาเป็นคนมีนํ้าใจ เธอช่างแล้งนํ้าใจ. |
น้ำใสใจคอ | น. น้ำใจที่แท้จริง (มักใช้ในทางดี) เช่น เขาเป็นคนมีน้ำใสใจคอโอบอ้อมอารี. |
บ่ง ๑ | ก. ชี้, ระบุ, อ้างหรือแสดงให้รู้โดยเจาะจง, เช่น การกระทำของเขาบ่งชัดอยู่แล้วว่าเขาเป็นผู้กระทำผิด. |
เป็น ๑ | ก. คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำเพื่อให้เห็นว่าคำหน้าและคำหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย. |
เป็นแดน | ว. เป็นไปเสมอ, เป็นประจำ, เช่น นั่งที่ไหนนินทาเขาเป็นแดน (สุภาษิตสอนหญิง). |
ผมสองสี | ว. มีอายุแล้ว หมายถึง คนที่มีผมหงอกบ้างแล้ว เช่น เขาเป็นคนผมสองสีแล้ว. |
ผลุบผลับ | (-ผฺลับ) ว. ลุกลน, ไม่เรียบร้อย, เช่น เขาเป็นคนผลุบผลับ ชอบทำของแตกบ่อย ๆ. |
เผื่อแผ่ | ก. เจือจาน, ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความโอบอ้อมอารี เช่น เขาเป็นคนมีน้ำใจ มีอะไรก็เผื่อแผ่เพื่อนฝูงเสมอ, แผ่เผื่อ ก็ว่า. |
พอมีพอกิน | ว. มีฐานะปานกลาง เช่น เขาเป็นคนมีฐานะพอมีพอกิน. |
พอมีอันจะกิน | ว. ค่อนข้างรวย, มีฐานะค่อนข้างดี, เช่น เขาเป็นคนพอมีอันจะกิน. |
พายุบุแคม | น. พายุที่กระหน่ำตีเข้ามาอย่างเร็วและแรง, โดยปริยายใช้เปรียบกับการกระทำที่เร็วและแรง เช่น เขาเป็นคนใจร้อน ขับรถอย่างกับพายุบุแคม |
พิถีพิถัน | ว. ละเอียดลออมาก เช่น เขาเป็นคนพิถีพิถันในการเลือกเสื้อผ้า. |
พิเศษ | ว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษ เขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ |
มันสมอง | โดยปริยายหมายความว่า ปัญญาความคิด เช่น เขาเป็นคนระดับมันสมองของชาติ, สมอง หรือ หัวสมอง ก็ว่า. |
มี | ว. รวย เช่น เขาเป็นคนมี ไม่ใช่คนจน, ไม่เปล่า, ไม่ว่าง, เช่น ในหม้อมีข้าว ในห้องน้ำมีคน. |
มีชาติมีสกุล | ก. มีเชื้อสายดี เช่น เขาเป็นพวกมีชาติมีสกุล. |
มีตระกูล | ว. ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลสูง เช่น เขาเป็นลูกผู้ดีมีตระกูล. |
มือแข็ง | เก่ง เช่น เขาเป็นนักเทนนิสมือแข็ง |
มือดี | ว. มีความชำนาญ, มีความสามารถสูง, เช่น เขาเป็นคนมือดีของกองปราบ. |
มือหนึ่ง | ผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เช่น เขาเป็นมือหนึ่งทางประวัติศาสตร์. |