กร้าว | (กฺร้าว) ว. แข็งกระด้าง, แข็งมากหรือแข็งเกินพอดีซึ่งอาจแตกบิ่นได้ง่าย, ไม่นุ่มนวล. |
กะเร่อกะร่า | ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่า, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า. |
เกินไป | ว. คำประกอบท้ายคำวิเศษณ์ เพื่อเน้นความหมาย แสดงว่าเกินกำหนด เกินพอดี เช่น กินมากเกินไป ดีเกินไป สุกเกินไป. |
ขี้เล่น | ปล่อยตัวจนเกินพอดี (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้ขี้เล่นไม่ไว้ตัวเลย. |
คับ | ก. มีลักษณะหรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ. |
แจดแจ้, แจ๊ดแจ๋ | ว. มีกิริยาวาจาจุ้นจ้านเกินพอดี. |
ซัด ๒ | คำค่อนว่าหมายความว่า แต่งตัวเกินพอดี เช่น ไปงานแค่นี้ไม่ต้องซัดชุดหรูก็ได้. |
ตู้ทองเคลื่อนที่ | น. ผู้หญิงที่แต่งเครื่องประดับจำพวกทองคำมากเกินพอดี. |
ป้อยอ | ก. ตามใจหรือเอาใจจนเกินไป, ยกย่องเยินยอจนเกินพอดี, บำรุงบำเรอจนเกินไป. |
มะพร้าวตื่นดก | ก. เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี, มักพูดเข้าคู่กับ ยาจกตื่นมี ว่า มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี. |
รุ่มร่าม | ก. เกินพอดี, เกินที่ควรเป็น, เช่น หนวดเครารุ่มร่าม, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, เช่น แต่งหนังสือสำนวนรุ่มร่าม, ไม่เรียบร้อย เช่น กิริยารุ่มร่าม, ปรกติใช้เกี่ยวกับเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวที่ยาวหรือใหญ่เกินตัว เช่น แต่งตัวรุ่มร่าม. |
ล้น | ค่อนข้างทะลึ่ง, เกินพอดี, เช่น เด็กคนนี้พูดจาล้น. |
สวิงสวาย | โลดโผน, เกินพอดี, เช่น สำนวนสวิงสวาย เต้นรำสวิงสวาย. |
หนักนิดเบาหน่อย | ว. เกินพอดีไปบ้างหรือน้อยกว่าพอดีไปบ้าง เช่น เป็นสามีภรรยากัน หนักนิดเบาหน่อยก็ควรอภัยให้กัน. |
หลวม | ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลืออยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่ |
หลาม ๒ | ล้นแผ่เลยออกมา เช่น คนไปฟังปาฐกถาล้นหลามออกมานอกห้อง, โดยปริยายหมายความว่า ใหญ่เกินพอดี เช่น พุงหลาม. |
เหลือเฟือ | ว. มากเกินต้องการ, มากเกินพอดี. |