เกะกะ | ว. กีด, ขวาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น วางของเกะกะ |
เกะกะ | ประพฤติเป็นพาลเกเร เช่น คนเกะกะ. |
กงโก้ | เกะกะไม่เรียบร้อย เช่น กงโก้กงกก |
กะเตง | ก. พาหรือเอาไปด้วย เช่น จะกะเตงกระเป๋าไปให้เกะกะทำไม กะเตงลูกไปตามหาพ่อ. |
ก้าวร้าว | ว. เกะกะระราน (ใช้แก่กิริยาและวาจาที่กระด้างและล่วงเกินผู้อื่น). |
กีด | ก. กั้น, ขวาง, เกะกะ. |
กีดขวาง | ก. ขวางกั้นไว้, ขวางเกะกะ. |
กีดหน้าขวางตา | ก. เกะกะขัดขวางทำให้เขาไม่สะดวกใจ. |
เก | เกะกะ, เกเร |
เก้กัง, เก้ ๆ กัง ๆ | ว. ขวาง ๆ รี ๆ, กีดเกะกะ, (ใช้แก่กริยายืนและเดิน). |
เก้งก้าง | ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางดูเกะกะไม่เรียบร้อย. |
โกกเกก | ก. คดโกง, เกะกะระราน, เกกมะเหรก, เช่น มีกิริยาโกกเกกร้ายกาจ (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). |
ขวาง ๆ รี ๆ | ก. กีดเกะกะ, เก้งก้าง, รี ๆ ขวาง ๆ ก็ว่า. |
เขละ | (เขฺละ) ว. เละ, เละเทะ, เกะกะ, ไม่เป็นระเบียบ, เขละขละ ก็ว่า. |
เขะขะ | ว. เกะกะ, กีดขวาง. |
ควายเขาเกก | โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, วัวเขาเกก ก็ว่า. |
จึ้ง | น. เหล็กสำหรับไชรูอย่างหนึ่ง เช่น เกะกะกบไสไชเหล็กจึ้ง (ขุนช้างขุนแผน). (ดิกชนารีไทย). |
โฉงเฉง | ว. เอะอะเอ็ดอึงเป็นทำนองเกะกะเกเร เช่น พูดจาโฉงเฉง. |
โฉเบ๊ | ก. เกะกะแกมโกง. |
ถึงว่า | คำกล่าวแสดงความคล้อยตาม เช่น คนหนึ่งพูดด้วยความแปลกใจว่า “ไม่นึกเลยว่าเขาจะเป็นคนเกะกะ” อีกคนหนึ่งก็คล้อยตามว่า “ถึงว่าซี”. |
นักเลง | ผู้เกะกะระราน เช่น เขาเป็นนักเลงมีลูกน้องมาก, นักเลงโต ก็ว่า. |
นักเลงโต | ผู้เกะกะระราน เช่น น้องชายเขาเป็นนักเลงโต ทำให้เพื่อนบ้านเดือดร้อนเสมอ ๆ, นักเลง ก็ว่า. |
โผงเผง | ก. เอ็ดอึงเป็นทำนองเกะกะเกเร. |
พลุกพล่าน | (พฺลุกพฺล่าน) ก. เกะกะ, ขวักไขว่, เกลื่อนกล่น. |
พาล ๒, พาลา | ชั่วร้าย, เกเร, เกะกะ, เช่น คนพาล. |
โม่งโค่ง | ว. ใหญ่โตเกะกะ, ใหญ่โตไม่สมรูป, เช่น รูปร่างโม่งโค่ง. |
ยุ่มย่าม | ว. ยุ่ง, เกะกะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย, เช่น หนวดเครายุ่มย่าม |
โยเย | ว. เกเร, เกะกะ |
ระกะ | ก. มากเกะกะ, ใช้เข้าคู่กับคำ ระเกะ เป็น ระเกะระกะ. |
ระเกะระกะ | ก. มากเกะกะ. |
ระราน | ก. ประพฤติเป็นพาลเกเร ทำให้เดือดร้อน เช่น เขาเที่ยวระรานชาวบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำ เกะกะ เป็น เกะกะระราน. |
รี ๆ ขวาง ๆ | ก. กีดเกะกะ, เก้งก้าง, เช่น คนไม่เคยเข้าครัวจับอะไรไม่ถูก รี ๆ ขวาง ๆ ไปหมด, ขวาง ๆ รี ๆ ก็ว่า. |
รี ๆ ขวาง ๆ | ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางที่เกะกะเก้งก้าง เช่น จะข้ามถนนก็ไม่ข้าม มัวแต่ยืนรี ๆ ขวาง ๆ อยู่นั่นแหละ. |
วัวเขาเกก | โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, ควายเขาเกก ก็ว่า. |
สระดะ | (สฺระ-) ว. ระดะไป, เกะกะไป, ดาษไป, แน่นไป. |
สาระโกก | ว. โกงเกะกะเกเร, เป็นพาล. |
เส็ง | ว. พาลเกะกะ. |
อันธพาล | น. คนเกะกะระราน. |
อาละวาด | ก. ทำเกะกะระราน, แสดงอาการดุร้าย เอะอะตึงตัง หรือคลุ้มคลั่ง, เช่น เมาสุราอาละวาด ช้างตกมันอาละวาด. |
อีเหละเขละขละ, อีเหละเขะขะ | (-เหฺละเขฺละขฺละ, -เหฺละ-) ว. เกะกะ, เกลื่อนกลาด. |
แอบ, แอบ ๆ | ว. อาการที่ยืน เดิน หรือวางสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้นไม่ให้เกะกะหรือกีดขวางทาง เช่น เดินแอบข้างทาง วางของแอบ ๆ หน่อย. |
เฮี้ยว | ก. แสดงอาการเกะกะ, อาละวาด, ตีรวน, ขัดขืนไม่ยอมทำ. |