กระด้าง ๓ | เรียกนํ้าที่ฟอกสบู่แล้วไม่มีฟองสบู่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อย ว่า นํ้ากระด้าง. |
กระสัง ๒ | น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจใช้เรียกนกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู (เสือโค). |
กลั่น | (กฺลั่น) ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สำคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นนํ้า เรียกน้ำที่ได้จากกรรมวิธีเช่นนั้น ว่า น้ำกลั่น, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา. |
ก๊าด | น. เรียกนํ้ามันชนิดหนึ่งที่ใช้จุดไฟตะเกียงเป็นต้น ว่า นํ้ามันก๊าด. |
กินนอน | น. เรียกโรงเรียนที่นักเรียนต้องกินอยู่หลับนอนอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจำ ว่า โรงเรียนกินนอน, โรงเรียนประจำ ก็เรียก, เรียกนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนกินนอน ว่า นักเรียนกินนอน หรือ นักเรียนประจำ. |
ไก่นา ๒ | น. ชื่อที่ชาวบ้านเรียกนกที่อาศัยตามทุ่งนาหลายชนิด เช่น คุ่มสี [ Coturnix chinensis (Linn.) ] และนกอื่น ๆ หลายชนิด ในวงศ์ Rallidae เช่น กวัก [ Amaurornis phoenicurus (Pennant) ] อีล้ำ [ Gallinula choropus (Linn.) ] อีลุ้ม [ Gallicrex cinerea (Gmelin) ]. |
ขังหน่วย | ว. เรียกนํ้าตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ ว่า นํ้าตาขังหน่วย, น้ำตาคลอหน่วย หรือ น้ำตาล่อหน่วย ก็ว่า. |
ขี้โล้ | น. เรียกน้ำมันที่เป็นขี้ตะกอน ว่า น้ำมันขี้โล้ |
ขีด | เรียกน้ำหนัก ๑ ใน ๑๐ ของกิโลกรัม ว่า ขีดหนึ่ง. |
ครำ | (คฺรำ) น. เรียกน้ำเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อระบายน้ำเสีย ว่า นํ้าครำ, ไขเสนียด ก็เรียก. |
คลอหน่วย | ว. เรียกน้ำตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ ว่า น้ำตาคลอหน่วย, น้ำตาล่อหน่วย หรือ น้ำตาขังหน่วย ก็ว่า. |
คล้อย | หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อย ว่า นมคล้อย. |
ค็อกเทล | อาหารเรียกน้ำย่อยที่กินก่อนอาหารจานหลัก |
คาวปลา | ว. เรียกน้ำที่ขับถ่ายจากช่องคลอดภายหลังคลอดลูกแล้วประมาณ ๓-๔ วัน ปรกติมีกลิ่นคาวเล็กน้อย ว่า นํ้าคาวปลา. |
คุณ ๑, คุณ- | คำที่ใช้เรียกนำหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร |
คุณนาย | น. คำยกย่อง ใช้เรียกภรรยาข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ยังมิได้เป็นคุณหญิง, ในปัจจุบันใช้เรียกยกย่องสตรีทั่ว ๆ ไปที่ผู้เรียกนับถือ. |
งบ ๑ | น. สิ่งที่เป็นแผ่นกลม ๆ เช่น งบนํ้าตาล งบนํ้าอ้อย, เรียกนํ้าตาล นํ้าอ้อย ที่ทำให้เป็นแผ่น ๆ เช่นนั้น ว่า นํ้าตาลงบ นํ้าอ้อยงบ. |
ชำนัญพิเศษ | น. เรียกนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ว่า ผู้ชำนัญพิเศษ |
ชี้ | น. เรียกนิ้วที่ ๒ นับแต่หัวแม่มือว่า นิ้วชี้. |
เชิงทรง | น. เรียกนาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก ว่า นาเชิงทรง, นาขอบเหล็ก ก็ว่า. |
เชื่อม ๑ | ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลต้มให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือเคี่ยวกับสิ่งอื่น ว่า นํ้าเชื่อม |
ดำ ๒ | ก. เอาข้าวกล้าเป็นต้นไปปักลงในดินที่ไถคราดแล้วเพื่อปลูก, เรียกนาชนิดหนึ่งซึ่งใช้ถอนต้นกล้ามาปลูก ว่า นาดำ, คู่กับ นาหว่าน ซึ่งใช้หว่านเมล็ดข้าวลงในนา. |
ดี ๑ | น. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ที่บรรจุนํ้าข้นสีเขียว มีรสขม ซึ่งออกจากตับ สำหรับช่วยย่อยอาหาร, เรียกนํ้าข้นสีเขียว มีรสขม ออกจากตับ สำหรับช่วยย่อยอาหาร ว่า นํ้าดี. |
ตงุ่น | (ตะหฺงุ่น) ว. เรียกนํ้าตาลที่เคี่ยวจนเป็นยางอย่างนํ้าผึ้ง ว่า นํ้าตาลตงุ่น. |
เต้า ๒ | ลักษณนามเรียกนมหรือพูลูกตาล เช่น นมเต้าหนึ่ง ตาล ๒ เต้า |
ทอก | น. โบราณเรียกนกยางชนิดหนึ่ง ว่า ยางทอก |
ท่า ๑ | เรียกนํ้าในแม่นํ้าลำคลอง ว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน. |
น้ำตก | น. นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, เรียกนํ้าที่ทำให้ตกลงมาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น |
บอด | เรียกนมที่หัวบุ๋มเข้าไป ว่า นมตาบอด หรือ นมบอด. |
บาดาล | น. พื้นที่ใต้ระดับผิวดินลงไป, เรียกนํ้าที่สูบจากใต้ดินที่ลึกไม่ตํ่ากว่า ๑๐ เมตร ว่า นํ้าบาดาล |
ปรัง | (ปฺรัง) น. เรียกนาที่ต้องทำในฤดูแล้ง ว่า นาปรัง. (ข. ปฺรัง ว่า ฤดูแล้ง). |
เปียก ๑ | ก. มีนํ้าชุ่มปนผสมอยู่หรือติดอยู่ เช่น เปียกเหงื่อ เปียกฝน เปียกน้ำ. |
โป่ง | เรียกพื้นดินที่มีนํ้าผุดพุขึ้นมา ว่า โป่งนํ้า และเรียกนํ้าที่ผุดพุขึ้นมานั้น ว่า นํ้าโป่ง. |
ผงฟู | น. สารผสมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเปียกนํ้าหรือทำให้ร้อนจะให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต มีสูตร NaHCO3 ปนแป้ง ผสมคลุกเคล้ากับสารอื่นซึ่งมักเป็นกรดทาร์ทาริก มีสูตร HOOC·CHOH·CHOH· COOH หรือโพแทสเซียมไฮโดรเจนทาร์เทรต มีสูตร KHC4H4O6 หรือแคลเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต มีสูตร Ca(H2PO4)2 หรือสารส้ม ใช้ประโยชน์ทำให้ขนมปังและขนมบางประเภทมีเนื้อฟูพรุน. |
พะเลย | น. วิธีปลูกข้าวในนาที่เป็นตม โดยนำข้าวปลูกที่แช่นํ้าไว้หว่านแทนข้าวที่เสียไป, เรียกนาที่ทำด้วยวิธีนั้น ว่า นาพะเลย. |
เพาะกาย | ก. บริหารร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงโดยวิธียกน้ำหนักเป็นต้น. |
เรียก | ก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม |
เรียก | ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ. |
เรือน | ลักษณนามใช้เรียกนาฬิกา เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่ง นาฬิกา ๒ เรือน. |
โรงเรียนกินนอน, โรงเรียนประจำ | น. โรงเรียนที่นักเรียนต้องกินอยู่หลับนอนอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจำ, เรียกนักเรียนเช่นนั้น ว่า นักเรียนกินนอน หรือ นักเรียนประจำ. |
ล่อหน่วย | ว. เรียกน้ำตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ว่า น้ำตาล่อหน่วย, น้ำตาคลอหน่วย หรือ น้ำตาขังหน่วย ก็ว่า. |
ลินสีด | เรียกนํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดของต้นแฟลกซ์ ว่า นํ้ามันลินสีด มีลักษณะข้น เหนียว เมื่อถูกอากาศจะแข็งตัว ใช้ประโยชน์ในการผสมสี หมึกพิมพ์ นํ้ามันชักเงา เป็นต้น. |
ไล่ ๑ | สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ. |
สะเออะ ๒ | น. เรียกนํ้าที่ได้จากเนื้อสัตว์สดเช่นกุ้ง เนื้อที่คั้นกับนํ้ามะนาว ตั้งไฟให้สุก ใช้ปรุงรส ว่า นํ้าสะเออะ. |
ไสน้ำแข็ง | ก. ดันก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไสที่เป็นม้าไม้ ๒ ขาเตี้ย ๆ ตรงกลางมีใบกบฝังจากข้างล่าง ให้คมอยู่ข้างบน เพื่อย่อยน้ำแข็งให้เป็นฝอย, เรียกน้ำแข็งที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า น้ำแข็งไส. |
หล่อลื่น | ว. เรียกนํ้ามันที่ทำให้เครื่องจักรเดินคล่อง ว่า นํ้ามันหล่อลื่น. |
อนุบาล | ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวังรักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาล ว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาล ว่า นักเรียนอนุบาล |
อรไท | (ออระไท) น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียกนางกษัตริย์), ใช้ว่า อ่อนไท้ ก็มี. |
อสุจิ | เรียกนํ้ากาม ว่า นํ้าอสุจิ. |
อ่อนไท้ | น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียกนางกษัตริย์) เช่น จอมราชพิศพักตรา อ่อนไท้ (ลอ), ใช้ว่า อรไท ก็มี. |