ง่าย้อย | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Hydnocarpus kurzii (king) Warb. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบรูปไข่แกมรูปใบหอก ผลกลม สีน้ำตาล. |
เถาย่านาง | ดู ย่านาง ๒. |
ม้าย่อง | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ มีท่อนเดียว |
ม้าย่อง | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา |
ม้าย่อง | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง จัดเข้าชุดเป็นเพลงชุดม้า คือ ม้ารำ ม้าสะบัดกีบ และม้าย่อง. |
กระทดกระทวย | ว. ไหวน้อย ๆ แต่พองาม, กิริยาย่างกรายอย่างนวยนาด. |
กลาง | ที่รวม, ที่รวมกิจการงานที่มีสาขาย่อยออกไป, เช่น สำนักงานกลาง ไปรษณีย์กลาง. |
กาสาว-, กาสาวะ | (กาสาวะ-) น. ผ้าย้อมฝาด, เขียนเป็น กาสาว์ ก็มี. |
กาสาวพัสตร์ | น. ผ้าย้อมฝาด คือผ้าเหลืองพระ. |
กุ๊น | ก. ขลิบเย็บหุ้มริมผ้าหรือของอื่น ๆ ใช้แถบผ้าย้วยหรือเฉลียงเย็บหุ้ม ๒ ข้างเม้มเข้าเป็นตะเข็บกลมบ้างแบนบ้าง มักใช้ที่คอเสื้อหรือชายเสื้อเป็นต้น. |
ขนุน ๑ | (ขะหฺนุน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด. |
ข้าม ๑ | ก. ยกเท้าย่างผ่านเหนือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้พ้นไป เช่น ข้ามธรณีประตู, จากข้างหนึ่งไปถึงอีกข้างหนึ่งโดยมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งขวางอยู่ เช่น ข้ามแม่น้ำ ข้ามถนน, จากข้างหนึ่งไปถึงอีกข้างหนึ่งโดยมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งช่วย เช่น ข้ามเรือ ข้ามสะพาน ข้ามฟาก, ล่วงพ้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยผ่านเหนือสิ่งนั้นไป เช่น บินข้ามประเทศ, ล่วงพ้นช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ข้ามคืน ข้ามปี, ผ่านเลยลำดับ เช่น เรียนข้ามชั้น ชกข้ามรุ่น. |
ขายส่ง | ก. ขายเป็นจำนวนมาก ๆ แก่ร้านค้าย่อยหรือร้านที่เป็นลูกค้าประจำ. |
เขี้ยวตะขาบ | ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง. |
คนดีผีคุ้ม | น. คนทำดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม. |
ชาลา ๒ | น. ชานเรือน, พื้นภายนอกเรือน, เช่น หน้าตึกเป็นบันไดขึ้น ๒ ข้างมาบรรจบกัน ตรงกลางเป็นชาลาย่อม ๆ |
ชี่ | น. ยาย้อมฟัน ทำจากกะลามะพร้าวเผาไฟแล้วบดให้ละเอียด ใช้สีเพื่อให้ฟันดำเป็นมัน เช่น เอาชี่สีฟันเป็นมันขลับ กระจกส่องเงาวับดูจับแสง (ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณร), สี้ ก็เรียก. |
ซอยเท้า | กิริยาที่ผู้รำละครใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าย่ำซ้ำ ๆ โดยส้นเท้าไม่แตะพื้น ขณะอยู่ในท่าย่อเข่า. |
ตับอ่อน | น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้อง ทำหน้าที่สร้างและขับนํ้าย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมน เช่น อินซูลิน. |
ตับ ๒ | ลักษณนามเรียกของที่เรียงกันเป็นแถว เช่น ปลาย่างตับหนึ่ง พลุ ๒ ตับ. |
ติดต้อยห้อยตาม | ก. ตามไปติด ๆ เช่น แต่ร่ำร้องเรียกหาเลือดตาย้อย อุตส่าห์สู้ติดต้อยห้อยตาม (สังข์ทอง). |
เตียบ | น. ภาชนะใส่ของกิน ลักษณะคล้ายพานปากคลุ่ม มีฝาครอบทรงกรวย ทั้งตัวภาชนะและฝาย่อมุมไม้สิบสอง. |
น้ำฝาด | น. น้ำที่มีรสฝาด เกิดจากการเอาเปลือกไม้แก่นไม้เป็นต้นของไม้บางชนิดเช่นขนุนมาต้ม ใช้ย้อมสบงจีวร, ฝาด ก็ว่า เช่น ผ้าย้อมฝาด. |
น้ำพริก | น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วยกะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทนกะปิก็มี เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รสแต่ค่อนข้างหวาน ทำด้วยถั่วทองคั่วแล้วโขลก เนื้อกุ้งโขลก ผสมกับกะทิ และเครื่องปรุงรส กินกับเหมือดคือผักบางอย่าง ใช้กินกับขนมจีน, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม. |
นิ่ว ๒ | ก. ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความไม่พอใจหรือรู้สึกเจ็บเป็นต้น. |
ปิ้ง | ก. ทำให้สุกด้วยการวางไว้เหนือไฟ มักใช้แก่ของแห้ง โดยปรกติใช้เวลาน้อยกว่าย่าง เช่น ปิ้งข้าวเกรียบ ปิ้งเนื้อเค็ม ปิ้งปลาแห้ง. |
พลบค่ำ | น. เวลาย่ำค่ำ, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, พลบ ก็ว่า. |
พลศาสตร์ | (พนละ-) น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง แบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ คือ จลนพลศาสตร์ และ จลนศาสตร์. |
แฟ้ม | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย รูปร่างคล้ายฝาหอยแครงประกบเป็นคู่ ขอบปากตอนบนมีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ใต้หูมีห่วงและลูกสลักสำหรับขัดปาก ขอบด้านล่างถักพันให้ติดกันอย่างบานพับ ใช้ใส่เสบียงกรัง เช่น ปลาย่าง เนื้อเค็ม พริกแห้ง |
ม้ารำ | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง จัดเข้าชุดเป็นเพลงชุดม้า คือ ม้ารำ ม้าสะบัดกีบ และม้าย่อง. |
ม้าสะบัดกีบ | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง จัดเข้าชุดเป็นเพลงชุดม้า คือ ม้ารำ ม้าสะบัดกีบ และม้าย่อง. |
ไม้ ๑ | น. คำรวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของต้นไม้ที่ใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คำประกอบหน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทำด้วยไม้หรือเดิมทำด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คำนำหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดำ ไม้แดง, ท่ารำและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็นตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างใน ว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้ |
ไม้ร่มนกจับ | น. ผู้มีวาสนาย่อมมีคนมาพึ่งบารมี. |
ย่น | ก. ร่นให้สั้นหรือให้เร็วเข้า เช่น ย่นหนทาง ย่นเวลา, หดร่นเข้าไป เช่น คอย่น, ร่นเป็นริ้วรอย เช่น หน้าย่น, ไม่เรียบ เช่น เสื้อผ้าย่น. |
ย้วย | ก. เบี่ยงหรือเลี่ยงจากแนวปรกติ ทำให้ยาวยื่นเกินไป เช่น กระโปรงย้วย ผ้าย้วย, ให้บิดไปบิดมา โค้งไปโค้งมา เสี้ยวไป เฉไปเฉมา เช่น แถวย้วย แม่น้ำย้วย. |
ย้อนยอก | ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจาย้อนยอก, ยอกย้อน ก็ว่า. |
ย้อมใจ | ก. ชุบใจ, ทำให้ใจชุ่มชื่น, ปลุกใจให้กล้า เช่น กินเหล้าย้อมใจ. |
ย้อย | ก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อยลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมากย้อย น้ำตาย้อย |
ย่านาง ๒ | น. ชื่อไม้เถาชนิด Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ในวงศ์ Menispermaceae ใช้ต้มหน่อไม้แก้รสขื่น รากใช้ทำยาได้, เถาย่านาง หรือ เถาวัลย์เขียว ก็เรียก. |
เยา ๒ | ว. เบา, อ่อน, น้อย เช่น ราคาเยา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ย่อม เป็น ย่อมเยา เช่น ราคาย่อมเยา. |
รงค-, รงค์ | (รงคะ-, รง) น. สี, นํ้าย้อม |
รม | ก. อบด้วยควันหรือไอไฟ เช่น ใช้ควันรมปลากะพงให้หอม ใช้ควันอ้อยรมเป็ดให้หอม รมผึ้งให้หนีหรือให้เมา, ทำให้ควันไฟหรือไอไฟเป็นต้นเกาะติดอยู่ เช่น รมบาตร รมปลาย่างให้แห้ง. |
เร่ | ก. เที่ยวไปหลายแห่งไม่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้างขนส่งซึ่งไม่ประจำที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปมาไม่เป็นตำแหน่งแห่งที่, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและเวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่นหมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. |
เลียง ๑ | น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใส่ผักต่าง ๆ เช่น ตำลึง บวบ น้ำเต้า หัวปลี ยอดฟักทอง ปรุงด้วยหัวหอม พริกไทย กะปิ ตำกับกุ้งแห้งหรือปลาย่าง บางทีก็มีกระชายด้วย ใส่ใบแมงลักให้มีกลิ่นหอม. |
ศาลฎีกา | น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด คำสั่งและคำพิพากษาของศาลฎีกาย่อมเป็นที่สุด. |
สี้ | น. ยาย้อมฟัน ทำจากกะลามะพร้าวเผาไฟแล้วบดให้ละเอียด ใช้สีเพื่อให้ฟันดำเป็นมัน, ชี่ ก็เรียก. |
หงิก | โดยปริยายหมายความว่า อาการที่เหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกดุ ถูกใช้ หรือทำงานหนักมากเป็นต้น เช่น ถูกแม่ดุเสียหงิกไปเลย, อาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า. |
หน้าทับเฉพาะเพลง | น. ชื่อหน้าทับที่ต้องบรรเลงเฉพาะกับเพลงนั้น ๆ เท่านั้น เช่น หน้าทับเพลงสาธุการ หน้าทับเพลงม้าย่อง. |
หน้านิ่วคิ้วขมวด | ว. อาการที่ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือเจ็บปวดเป็นต้น. |
หน้าหงาย | โดยปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไปขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้องหน้าหงายกลับมา |