กรอ ๒ | ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ (พิธีทวาทศมาส), บางทีก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. |
กรอ ๒ | ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว. |
กระสือ ๒ | น. ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. |
กระสือ ๒ | ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตำรากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทำให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก. |
กระไอ ๒ | ก. ไอ, ใช้เข้าคู่กับคำ กระอัก หรือ กระแอม เป็น กระแอมกระไอ หรือ กระไอกระแอม. |
กล้อ ๒ | (กฺล้อ) น. เครื่องสานยาชันชนิดหนึ่ง เช่น ก็ให้น้ำเต็มเต้า เข้าเต็มไหไปเต็มหม้อ ชื่อว่ากล้อก็บมิให้พร่องเลอย (ม. คำหลวง ชูชก). (ดู กร้อ). |
กอ ๒ | น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ ๒). |
ก่อ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Fagaceae บางชนิดผลมีเนื้อในกินได้ รสมัน, ปักษ์ใต้เรียก กอ. |
ก้อ ๒ | น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต–พม่า มีอยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. |
กะพ้อ ๒ | น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่งนํ้าเค็มขึ้นถึง ลำต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร เว้าเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทำไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา (โลกนิติ). |
กะแอ ๒ | ว. อ่อน, เล็ก, เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้อง ว่า ลูกกะแอ, ลูกแหง่ ก็เรียก. |
กำเบ้อ ๒, ก่ำเบ้อ | น. ผีเสื้อกลางวัน. (ดู ผีเสื้อ ๑). |
ขอ ๒ | ก. พูดให้เขาให้สิ่งที่ต้องการ, วิงวอน. |
เขือ ๒ | น. เพื่อน. |
ครือ ๒, ครือ ๆ | (คฺรือ) ว. ไม่คับไม่หลวม เช่น เสื้อครือตัว, พอ ๆ กัน เช่น เด็ก ๒ คนนี้ขยันครือ ๆ กัน. |
เครือ ๒ | (เคฺรือ) ว. ลักษณะของเสียงที่สั่นพร่าไม่แจ่มใส เรียกว่า เสียงเครือ. |
เคื้อ ๒ | น. เครือ, เชื้อสาย, เช่น เคื้อคู ว่า เชื้อสายของครู (ม. คำหลวง กุมาร). |
โคนสมอ ๒ | (-สะหฺมอ) น. ชื่อพระพิมพ์สกุลช่างหนึ่ง. |
จอ ๒ | น. ผ้าขาวที่ขึงไว้สำหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์เป็นต้น |
จอ ๒ | โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์. |
จ่อ ๒ | น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็นช่องโค้งอยู่ภายใน ใช้เลี้ยงตัวไหม. |
ช่อ ๒ | ก. ชักรอก เช่น ตีม้าฬ่อช่อใบใส่เสา (กาพย์พระไชยสุริยา). |
เชื้อ ๒ | ก. เชิญ เช่น สาวใช้เชื้อชูไป (ม. คำหลวง ทศพร), มักใช้เข้าคู่กับคำ เชิญ เป็น เชื้อเชิญ |
เชื้อ ๒ | ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่งที่มักใช้เนื่องในการอธิษฐาน. |
ซอ ๒ | น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี ใช้คันชักสีกับสายซอที่ขึงตึงเพื่อให้เกิดเสียง มีหลายชนิด เช่น ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง, ลักษณนามว่า คัน. |
ต่อ ๒ | ก. เพิ่มให้ยาวหรือขยายออกไป เช่น ต่อเชือก เอาตู้รถไฟมาต่อกัน ต่อชานบ้าน, เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา |
ต่อ ๒ | เชื่อมติดกันหรือประสานกัน เช่น ต่อเหล็ก ๒ ท่อนให้ติดกัน กระดูกต่อกันสนิท |
ต่อ ๒ | เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ |
ต่อ ๒ | ทำให้ไฟติดต่อ ๆ กันไป เช่น ต่อไฟ ต่อเทียน |
ต่อ ๒ | นำสัตว์เลี้ยงไปล่อจับสัตว์ป่า ในคำว่า ต่อนก ต่อไก่ |
ต่อ ๒ | ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้นักเรียน ครูเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง. |
ต่อ ๒ | ว. เรียกเรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรียวเชิดขึ้นตามส่วนเช่นเรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ |
ต่อ ๒ | เรียกสัตว์เลี้ยงที่นำไปล่อจับสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ. |
ต้อ ๒ | ว. อ้วนสั้น, อ้วนเตี้ย, เช่น ขวดต้อ. |
ตะกอ ๒ | ว. เพิ่งจะรุ่นหนุ่มรุ่นสาว, ใช้แก่คนหรือสัตว์ (ปรัดเล), ใช้ว่า สะกอ ก็มี |
ตะกอ ๒ | แรกรุ่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ รุ่น หรือ หนุ่ม เป็น รุ่นตะกอ หนุ่มตะกอ. |
ถ่อ ๒ | น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยลูกค้าแทงประตูตรงข้ามกันได้ ๒ ประตู คือ หน่วย (๑) กับ ๓ หรือ ๒ กับ ครบ (๔) โปออกประตูใดประตูหนึ่งที่ลูกค้าแทง เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน. |
ทอ ๒ | ก. ขวิด, กระทบ, ชน, เช่น วัวควายทอคนตาย. |
ท่อ ๒ | ก. ตี เช่น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่อเมืองตาก (จารึกพ่อขุนรามคำแหง). |
ท้อ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Prunus persica (L.) Batsch ในวงศ์ Rosaceae ผลกินได้, พายัพเรียก หมากม่วน. |
เทื้อ ๒ | ว. สาวแก่, ทึนทึก |
เทื้อ ๒ | ไม่ว่องไว เช่น น้อยภักษ์ก็ผอมซูบ สรีรรูปบันดาลมากภักษ์ก็พีพาน จะหนักเนื้อแลเทื้อองค์ (กฤษณา). |
นอ ๒ | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าอย่างหนึ่งของชาวมูเซอ. |
เนื้อ ๒ | น. ชื่อสัตว์ป่าประเภทกวาง. |
เบื่อ ๒ | ก. รู้สึกอิดหนาระอาใจ เหนื่อยหน่าย หรือไม่อยาก เช่น เบื่องาน เบื่อโลก เบื่ออาหาร. |
เบื้อ ๒ | น. สัตว์ในนิยายเล่ากันว่ามีรูปร่างคล้ายคน แต่ไม่มีสะบ้าหัวเข่า พูดไม่ได้, โดยปริยายเรียกผู้ที่นิ่งเฉยไม่พูดไม่จาเหมือนตัวเบื้อ ว่า เป็นเบื้อ เช่น นั่งเป็นเบื้อ. |
ปรือ ๒ | (ปฺรือ) ว. ลักษณะอาการของนัยน์ตาที่หรี่เพราะง่วงแต่ฝืนไว้หรือเมา, ลักษณะของนัยน์ตาหรี่เหมือนง่วงหรือเมา. |
ปอ ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม และไม้ต้น หลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ที่เปลือกใช้ทำปอ เช่น ปอกระเจา ( Corchorus capsularis L. และ C. olitorius L.) ในวงศ์ Tiliaceae, ปอกระสา [ Broussonetia papyrifera (L.) Vent. ] ในวงศ์ Moraceae, ปอแก้ว ( Hibiscus cannabinus L.) ในวงศ์ Malvaceae, ปอสำโรง ( Sterculia foetida L.) ในวงศ์ Sterculiaceae. |
เป๋าฮื้อ ๒ | น. ชื่อเห็ดชนิด Pleurotus abalonusY.H. Han, K.M. Chen et S. Cheng ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นเป็นกลุ่ม โคนก้านดอกติดกัน ดอกเห็ดเนื้อหนา มี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์สีเทาดำ และ พันธุ์สีนํ้าตาลอ่อน กินได้. |
ผีเสื้อ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Chaetodontidae ยกเว้นปลาโนรี ( Heniochusspp.) ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก ปากเล็ก บางชนิดปากยื่นยาวเป็นท่ออยู่ปลายสุดของหัว มีเกล็ดหนามคลุมถึงบนครีบหลัง ครีบก้น และครีบหาง สีสวยสด แตกต่างกันตามชนิด มักเป็นบั้ง แถบ หรือจุดคละกันหลายสี อาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง กินสัตว์น้ำขนาดเล็กหรือสาหร่าย ขนาดยาวตั้งแต่ ๑๐-๓๐ เซนติเมตร มีการนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม. |