ก้นอ้อย | น. เนื้อก้น ๒ ข้างตรงที่นั่งทับ. |
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย | น. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อการรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่ใช้บริโภคในประเทศ. |
ขมิ้นอ้อย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma zedoaria (Berg.) Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง บางส่วนโผล่พ้นดินขึ้นมา ใช้ปรุงอาหารและทำยา, ขมิ้นขึ้น หรือ ขมิ้นหัวขึ้น ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะตุมู. |
ข้ออ้อย | น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง |
ข้ออ้อย | ชื่อเหล็กเส้นชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายลำอ้อย. |
ค่องอ้อย | น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับคาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วนของท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่ากันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ. |
น้ำอ้อย | น. นํ้าหวานที่ได้จากต้นอ้อย, ถ้าทำเป็นแผ่นกลม ๆ เรียกว่า นํ้าอ้อยงบ, ถ้าทำเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, หางนํ้าอ้อยที่ใช้เป็นเครื่องผสมสำหรับต้มกลั่นสุรา, กากน้ำตาลที่ใช้ผสมปูนสอสำหรับการก่อสร้าง. |
ปล้องอ้อย | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acanthopthalmus kuhlii (Valenciennes) ในวงศ์ Cobitidae ลำตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ตํ่า ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นลำตัวสีเหลืองอ่อนหรือส้ม มีแถบกว้างสีดำหรือนํ้าตาลเข้มพาดขวางเป็นปล้อง ๆ โดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดเป็นทรายตามลำธารเขตภูเขา เคลื่อนไหวรวดเร็วคล้ายงูเลื้อย กินสาหร่ายและเศษซาก ขนาดยาวเพียงไม่เกิน ๘ เซนติเมตร. |
มีดควั่นอ้อย | น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปยาวรี ปลายมน มีด้าม เจาะรูที่ปลายใบมีดสำหรับสอดปลายเข้ากับหลักควั่นอ้อย ใช้ควั่นอ้อย. |
อ่อย ๑ | ก. โปรยเหยื่อล่อปลา, มักใช้ว่า อ่อยเหยื่อ |
อ่อย ๑ | ให้สิ่งของหรือเงินทองคราวละเล็กละน้อยเป็นเหยื่อล่อ. |
อ่อย ๒, อ่อย ๆ | ว. ค่อย ๆ เบา ๆ เช่น เสียงอ่อยพูดอ่อย ๆ. |
อ้อย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum officinarum L. ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้อง ข้างในตัน มีหลายพันธุ์ เช่น อ้อยขาไก่ อ้อยตะเภา หีบเอานํ้าหวานทำนํ้าตาลทรายหรือใช้ดื่ม หรือเคี้ยวกินแต่นํ้าหวาน. |
อ้อยเข้าปากช้าง | น. สิ่งหรือประโยชน์ที่ตกอยู่ในมือแล้วไม่ยอมคืน. |
อ้อยแดง | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum sinenseRoxb. ในวงศ์ Gramineae เปลือกลำต้นและใบสีม่วงแดง ใช้ทำยาได้. |
อ้อยเลา | ดู เลา ๑. |
อ๋อย | ว. คำใช้ขยายกริยา คราง ในคำว่า ครางอ๋อย |
อ๋อย | ใช้เน้นแสดงว่ามาก ในคำว่า เหลืองอ๋อย. |
อ้อยช้าง | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lannea coromandelica (Houtt.) Merr. ในวงศ์ Anacardiaceae ขึ้นตามป่า ใช้ทำยาได้, กุ๊ก ก็เรียก. |
อ้อยช้าง | ดู กาซะลองคำ ที่ กาซะลอง. |
อ้อยส้อย | ว. ทำอาการเศร้าสร้อยอ้อยอิ่งเพื่อให้เขาเห็นใจ. |
อ้อยอิ่ง | ว. รํ่าไร, ทำเชื่องช้าเหมือนไม่เต็มใจ. |
กระจัง ๑ | น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง อยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยม ใช้เป็นลวดลายสำหรับเครื่องประดับที่อยู่บนชั้นหรือตามขอบของสิ่งบางอย่าง เช่น ชั้นฐานธรรมาสน์ กระจังมีหลายแบบ เช่น กระจังตาอ้อย กระจังเจิม กระจังปฏิญาณ, เครื่องประดับที่มีลวดลายชนิดนี้ เรียกว่า ตัวกระจัง ใช้ประดับบนลับแลและอื่น ๆ. |
กระบูนเลือด | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทำให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับนํ้าปูนใสหรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูกให้แห้งสนิท. |
กระยาทิพย์ | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีนํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ข้าวฟ่าง ถั่วราชมาส งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกระยาทิพย์, ข้าวทิพย์ ก็เรียก. |
กระสือ ๒ | ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตำรากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทำให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก. |
กรามช้าง ๓ | น. เครื่องมือสำหรับหีบอ้อยหรือหีบมะพร้าวขูดเพื่อเอาน้ำอ้อยหรือน้ำกะทิคราวละมาก ๆ ประกอบด้วยไม้หนีบ ที่วางของที่จะหีบซึ่งทำคล้ายกับส่วนล่างของปากช้าง เซาะร่องไว้ให้น้ำอ้อยหรือน้ำกะทิไหล ถ้าหีบมะพร้าวขูดจะมีที่ใส่มะพร้าว ซึ่งสานด้วยตอกหวาย รูปทรงคล้ายกระป๋อง. |
กักการุ | น. ดอกฟัก เช่น อิกกักการุดิเรกอเนกดิบุษปวัน อ้อยลำแลใหญ่ครัน คือหมาก (สมุทรโฆษ). |
กากน้ำตาล | น. ของเหลวสีดำ เหนียวข้น ไม่สามารถตกผลึกน้ำตาลได้อีก ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลจากอ้อย. |
กาซะลองคำ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Radermachera ignea (Kurz) Steenis ในวงศ์ Bignoniaceae ชอบขึ้นตามที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือ เปลือกเรียบสีเทา ดอกสีเหลืองทอง, อ้อยช้าง ก็เรียก. |
กุ๊ก ๓ | ดู อ้อยช้าง (๑). |
เกินกิน | ว. กินไม่ดีเพราะแก่เกินไป เช่น อ้อยท่อนนี้แก่เกินกิน. |
ขมิ้นขึ้น | ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น ๑. |
ขมิ้นหัวขึ้น | ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น ๑. |
ข้อ | น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา |
ข้อ | ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อนหนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ |
ขาไก่ ๒ | เรียกอ้อยชนิดลำเล็กสีเหลือง ว่า อ้อยขาไก่. |
ข้าวกระยาทิพย์ | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีน้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ข้าวฟ่าง ถั่วราชมาส งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวทิพย์ ก็เรียก. |
ข้าวควบ | น. ข้าวเกรียบใส่นํ้าตาลอ้อย มีรสหวานอย่างข้าวเกรียบว่าว. |
ข้าวจี่ ๑ | น. ข้าวเหนียวนึ่งนวดกับเกลือปั้นเป็นก้อน เสียบไม้ปิ้งไฟ บางทีใส่น้ำอ้อยงบข้างใน ทาไข่แล้วปิ้งไฟ. |
ข้าวทิพย์ | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีนํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ข้าวฟ่าง ถั่วราชมาส งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวกระยาทิพย์ ก็เรียก. |
ข้าวโพด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zea mays L. ในวงศ์ Gramineae ลำต้นสูงคล้ายอ้อยหรือข้าวฟ่าง เมล็ดเรียงชิดกันแน่นรอบซังเป็นฝักกลม ๆ ยาว ๆ มีกาบหุ้มหลายชั้น. |
ควั่น | (คฺวั่น) ว. เรียกอ้อยที่ควั่นให้ขาดออกเป็นข้อ ๆ ว่า อ้อยควั่น. |
คาย ๑ | ก. ปล่อยของที่ไม่ต้องการจะกลืนหรือกลืนไม่ได้ออกจากปาก เช่น คายชานอ้อย |
คาย ๒ | น. ส่วนที่มีลักษณะเป็นผงหรือขนละเอียดแหลมคมของบางสิ่งบางอย่าง เวลากระทบผิวหนังทำให้รู้สึกระคายคัน เช่น คายข้าว คายอ้อย คายไผ่. |
คือ | ก. เป็น เช่น โลกคือดาวดวงหนึ่ง, เท่ากับ, เหมือนกับ, เช่น อ้อยลำแลใหญ่ครัน คือหมาก (สมุทรโฆษ). |
งบ ๑ | น. สิ่งที่เป็นแผ่นกลม ๆ เช่น งบนํ้าตาล งบนํ้าอ้อย, เรียกนํ้าตาล นํ้าอ้อย ที่ทำให้เป็นแผ่น ๆ เช่นนั้น ว่า นํ้าตาลงบ นํ้าอ้อยงบ. |
งูเห่า | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวเหมือนขมิ้นอ้อย แต่เนื้อสีขาว กลิ่นฉุนเหมือนนํ้ามันดินอ่อน ๆ. |
ชา ๔ | ก. หมายไว้, กำหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคำ กฎ เป็น กำหนดกฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา (พระอัยการบานแพนก), สรนุกนิเรียบเรือชา (สมุทรโฆษ). |
ชาน ๑ | น. กากอ้อยที่เคี้ยวหรือหีบเอาน้ำหวานออกหมดแล้ว, กากหมากพลูที่เคี้ยวกินจนจืด. |