acronym | (แอค' โรนิม) n. คำย่อจากพยัญชนะตัวแรกหลายคำ. -acronymic adj. คำย่อรัสพจน์หมายถึง คำย่อที่เกิดจากการนำอักษรตัวแรก หรือกลุ่มอักษรบางตัวมาสร้างขึ้นเป็นคำใหม่ประกอบด้วยอักขระตั้งแต่สองตัวขึ้นไป นิยมออกเสียงเหมือนคำปกติ เช่น DOS ซึ่งเอาอักษร D มาจากคำว่า Disk อักษร O มาจาก คำ Operating และ S มาจากคำว่า System คำนี้จะอ่านออกเสียงว่า "ดอส" แทนที่จะอ่านว่า ดีโอเอส คำย่อประเภทนี้ นิยมใช้กันมากใน วงการคอมพิวเตอร์ เช่น BASIC ซึ่งย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code ก็อ่านว่า "เบสิก" |
american national standar | สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า ANSI (อ่านว่า แอนซี) เป็นชื่อของสถาบันเอกชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่กำหนดและควบคุมมาตรฐานของอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่หวังผลกำไรใด ๆ ทั้งสิ้น |
bulletin board system | ระบบการบริการเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีผลประโยชน์ร่วมให้ส่งและรับข้อมูลหรือได้รับซอฟแวร์ เป็นต้น ระบบแผงข่าวศูนย์รวมข่าวใช้ตัวย่อว่า BBS (อ่านว่า บีบีเอส) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น ระบบแผงข่าวของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) |
chief information officer | ประธานฝ่ายสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า CIO (อ่านว่า ซีไอโอ) งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) |
computer aided design | การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAD (อ่านว่า แคด) หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก ๆ มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ |
computer aided engineerin | งานวิศวกรรมใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAE (อ่านว่า ซีเออี) หมายถึง การออกแบบคำนวณเชิงวิศวกรรมนั้น สามารถทำได้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์กำหนดสูตรสำเร็จ และจะเปลี่ยนแปลงความต้องการได้เมื่อเปลี่ยนข้อมูล |
computer aided instructio | การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อมผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน |
computer aided manufactur | การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAM (อ่านว่า แคม) มักใช้คู่กับแคด หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตในโรงงาน เช่นการควบคุมจำนวนสินค้าที่ผลิต หรือ ควบคุมการทำงาน แต่ละส่วน เช่น การนับ และการบรรจุ เป็นต้นดู CAD ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM |
computer aided software e | วิศวกรรมซอฟต์แวร์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CASE (อ่านว่าเคส) หมายความถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำซอฟต์แวร์ |
computer aided system eng | วิศวกรรมระบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CASE (อ่านว่าเคส) หมายความถึง การสร้างโปรแกรมระบบโดอาศัยคอมพิวเตอร์ช่วย |
computer graphics metafil | ใช้ตัวย่อว่า CGM (อ่านว่า ซีจีเอ็ม) เป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์ใช้เก็บภาพแบบหนึ่ง แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .cgm |
computer output on microf | ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ใช้ตัวย่อว่า COM (อ่านว่า ซีโอเอ็ม) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโครฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ 48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที |
computer-aided instructio | ใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอนความหมายเดียวกับ computer assissted instruction |
computer-aided translatio | การแปลใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAT (อ่านว่า ซีเอที) หมายถึงการแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยใช้คอม พิวเตอร์ช่วย เช่น แปลไทยเป็นอังกฤษ หรืออังกฤษเป็นไทย การแปลในลักษณะนี้ จะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจำศัพท์ ไวยากรณ์ และบริบท (context) ต่าง ๆ โปรแกรมที่ได้รับการพัฒนาไปมากแล้วคือโปรแกรมที่แปลจากอังกฤษเป็นฝรั่งเศส และฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ |
computer-assissted instru | ใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอนความหมายเดียวกับ computer aided instruction |
data base management syst | ระบบจัดการฐานข้อมูลใช้ตัวย่อว่า DBMS (อ่านว่า ดีบีเอ็มเอส) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย |
data processing | n. กระบวนการหรือเทคนิคการป้อนข้อมูล ใช้ตัวย่อว่า DP (อ่านว่า ดีพี) หมายถึง การนำข้อมูลดิบ (raw data) มาดำเนินการบางประการ เช่น จัดจำแนก คัดแยก คำนวณ บันทึก เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ หรือ ผลที่จะนำไปใช้ต่อไป โดยปกติจะใช้คำเต็ม ๆ ว่า electronic data processing หรือ EDP ซึ่งหมายเฉพาะถึง การประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เท่านั้น |
data terminal ready | ปลายทางพร้อมใช้ตัวย่อว่า DTR (อ่านว่า ดีทีอาร์) หมายถึงสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บอกให้รู้ว่า โมเด็ม (modem) พร้อม และสถานีปลายทางก็พร้อมที่จะรับข้อมูลเข้ามาได้แล้ว |
database management syste | ใช้ตัวย่อว่า DBMS (อ่านว่าดีบีเอ็มเอส) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย |
desk accessory | เครื่องใช้อำนวยความสะดวกใช้ตัวย่อว่า DA (อ่านว่า ดีเอ) หมายถึง โปรแกรมพิเศษประเภทโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) ต่าง ๆ ที่อำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้ได้ตลอดเวลา แม้ในขณะที่ใช้โปรแกรมอื่นอยู่ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา ฯ (ดู DA) |
desktop publishing | การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะใช้ตัวย่อว่า DTP (อ่านว่า ดีทีพี) หมายถึง การนำภาพและข้อความมาจัดวางไว้ด้วยกันบนจอภาพ ในตำแหน่งที่สวยงาม ดูแล้วสบายตา มักใช้เป็นต้นแบบ (ต้นฉบับที่จะนำไปผลิตต่อ) ของเอกสารสิ่งพิมพ์ อธิบายง่าย ๆ ก็คือ การจัดเตรียมต้นฉบับเอกสารสิ่งพิมพ์โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) แทนที่จะเป็นการ "ตัดปะ" อย่างสมัยก่อน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องใช้โปรแกรมช่วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันมาก คือ PageMaker และ QuarkXpress การจัดเตรียมเอกสารสิ่งพิมพ์ด้วยวิธีนี้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน |
digital-to-analog convert | ตัวแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอะนาล็อกใช้ตัวย่อว่า DAC (อ่านว่า ดีเอซี) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนข้อมูลจากดิจิตอล (digital) เป็นอะนาล็อก (analog) |
direct access storage dev | อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลเข้าถึงโดยตรงใช้ตัวย่อว่า DASD (อ่านว่าแดสดี) หมายถึงหน่วยเก็บข้อมูลที่ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ ณ ส่วนใด เช่น จานบันทึก ดู direct access ประกอบ |
disk operating system | ระบบปฏิบัติการแบบใช้จานโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่สั่งการให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทำงาน ถ้าจะแปลให้ตรงตัว ก็จะเรียกได้ว่า เป็นระบบปฏิบัติการแบบที่ใช้จานบันทึกข้อมูล เรามักจะใช้คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า DOS (อ่านว่า ดอส) ส่วนระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ เรียกว่า OS อ่านว่า โอเอส (Operating System) ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ประเภทเทียบเคียงกับไอบีเอ็ม (IBM compatibles) หรือพีซี (PC) จะใช้ "ดอส" ที่เขียนโดยบริษัทไมโครซอฟต์ นิยมเรียกกันว่าMS-DOS หรือ Microsoft DOS ส่วนระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช มีชื่อว่า System 6 หรือ 7 |
double density disk | หนาแน่นสองเท่าใช้ตัวย่อว่า DD (อ่านว่า ดีดี) หมายถึงจานบันทึกที่บรรจุข้อมูลได้สองเท่าของจานบันทึกธรรมดา ในเนื้อที่เท่ากัน เช่น จานDD ขนาด 5.25 นิ้วจุข้อมูลได้ถึง 360 K (ในขณะที่จานบันทึกธรรมดาจุเพียง 180 K) และจานDD ขนาด 3.5 นิ้ว จุได้ถึง 720 K (ในขณะที่จานบันทึกธรรมดาจุเพียง 360 K) จานบันทึกธรรมดาหรือที่เรียกว่าแบบมีความหนาแน่นเท่าเดียว (single density) นั้น บัดนี้หาซื้อไม่ได้แล้ว ดู HD ประกอบ |
dynamic data exchange | การสับเปลี่ยนข้อมูลแบบพลวัตใช้ตัวย่อว่า DDE (อ่านว่า ดีดีอี) คำนี้ใช้ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์และโอเอส/ทู หมายถึงการทำให้สองโปรแกรมบนวินโดว์ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เป็นต้นว่า การนำตัวเลขที่อยู่ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) มาใช้ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นใหม่ นอกจากนั้น หากมีการแก้ไขตัวเลขในตารางจัดการ ตัวเลขในโปรแกรมประมวลผลคำ ก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วยโดยอัตโนมัติ |
dynamic ram | แรมแบบพลวัตย่อมาจาก Dynamic Random Access Memory ใช้ตัวย่อว่า DRAM (อ่านว่าดีแรม) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบ ดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็นระยะ ๆ มิฉะนั้น มันจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ |
electrically alterable re | หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดแก้ไขได้ใช้ตัวย่อว่า EAROM (อ่านว่าอีรอม) เป็นรอม (ROM) ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาลบและบันทึกใหม่ได้โดยไม่ต้องย้ายออกมาจากแผงวงจร การบรรจุโปรแกรมใหม่ทำได้โดยใช้กระแสไฟฟ้า และทำได้สะดวกกว่าอีพรอม (EPROM) มากดู ROM และ EPROM ประกอบ |
electronic data processin | การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า EDP (อ่านว่า อีดีพี) หมายถึงการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง) ทำการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว และแสดงผลลัพธ์ให้ตามที่สั่ง |
electronic numerical inte | มักเรียกด้วยชื่อย่อว่า ENIAC (อ่านว่า อีนีแอ็ก) เป็นชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นโบราณ (ยุคที่หนึ่ง) มีขนาดใหญ่มาก มีหลอดสูญญากาศเป็นหน่วยความจำถึง 180, 000 หลอด สร้างขึ้นราวทศวรรษ 1940ดู first generation computer ประกอบ |
electronically erasable p | electronically erasable programmable read only memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดโปรแกรมและลบได้ด้วยกระแสไฟฟ้าใช้ตัวย่อว่า EEPROM (อ่านว่าอีอีพร็อม หรือบางทีอ่านว่า อีพร็อมก็ได้) เป็นชิป (chip) ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามชื่อ ใช้เป็นหน่วยความจำ หากต้องการแก้ไข จะต้องใช้สัญญาณไฟฟ้าลบ แล้วบันทึกของใหม่ลงไป หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่ใช้ไฟฟ้า |
encapsulated postscript | ภาพที่เก็บไว้ด้วยภาษาโพสต์สคริปต์ใช้ตัวย่อว่า EPS (อ่านว่า อีพีเอส) หมายถึง ภาพที่สร้างขึ้นด้วยภาษาโพสต์สคริปต์ (PostScript) โปรแกรมประเภทนี้ใช้เนื้อที่เก็บในหน่วยความจำมาก แต่มีลักษณะคมชัดกว่าภาพชนิดอื่น ราคาค่อนข้างแพง มักใช้นามสกุล (file type) ว่า EPS การสั่งพิมพ์ภาพประเภทนี้ ต้องใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์บางชนิดเท่านั้นดู postscript ประกอบ |
end of line | ปลายบรรทัดใช้ตัวย่อว่า EOL (อ่านว่า อีโอแอล) โปรแกรมประมวลผลคำมักจะมีคำสั่งพิเศษนี้ที่จะสั่งให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) กระโดดไปปลายบรรทัดได้เลย |
enhanced graphic adaptor | enhanced graphics adapterตัวปรับภาพเพิ่มความคมใช้ตัวย่อว่า EGA (อ่านว่า อีจีเอ) เป็นมาตรฐานของจอภาพได้รับการพัฒนามาขั้นหนึ่งแล้ว ปัจจุบัน จอภาพยังคงได้รับการพัฒนาให้คมชัด และมีสีสวยขึ้นเรื่อย ๆ จอที่ดีกว่า คือจอ VGA หรือ Super VGA หรือที่เรียกว่า SVGA ดู VGA และ SVGA ประกอบ |
enhanced graphics adapter | ตัวปรับภาพเพิ่มความคมEnhanced Graphic Adaptorใช้ตัวย่อว่า EGA (อ่านว่า อีจีเอ) เป็นมาตรฐานของจอภาพได้รับการพัฒนามาขั้นหนึ่งแล้ว ปัจจุบัน จอภาพยังคงได้รับการพัฒนาให้คมชัด และมีสีสวยขึ้นเรื่อย ๆ จอที่ดีกว่า คือจอ VGA หรือ Super VGA หรือที่เรียกว่า SVGA ดู VGA และ SVGA ประกอบ |
exclusive or | หรือใช้ตัวย่อว่า XOR (อ่านว่า ซอร์) เป็นคำที่นักเขียนโปรแกรมใช้ เมื่อจะสั่งให้แสดงภาพออกมาเป็นตัวดำเนินการเชิงตรรกะตัวหนึ่ง ซึ่งใช้เลขฐานสอง สองตัวมาทำให้เกิดเป็นค่าใหม่ ถ้าในการคำนวณได้ผลลัพธ์เป็น 0 แสดงว่าคอมพิวเตอร์คำนวณได้ผลออกมาเหมือนกัน แต่ถ้าค่าออกมาไม่เท่ากัน ผลลัพธ์จะออกมาเป็นหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่คิดจะเป็นนักเขียนโปรแกรม ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใจเรื่องตรรกะนี้ก็ได้ |
executive information sys | ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารใช้ตัวย่อว่า EIS (อ่านว่า อีไอเอส) หมาถึงการนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก |
extended binary coded dec | extended binary coded decimal interchange code รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EBCDIC (อ่านว่า เอ็บซีดิก) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
extended graphic array | ขบวนปรับภาพแบบขยายใช้ตัวย่อว่า XGA อ่านว่า เอกซ์จีเอ เป็นตัวปรับประเภทหนึ่ง ที่ทำให้จอภาพมีความคมชัดเพิ่มขึ้นกว่าตัวปรับภาพของจอแบบเก่า |
extended industry standar | extended industry standard architecture การออกแบบมาตรฐานแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EISA (อ่านว่า อีซา) คอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มจะออกแบบและใช้บัส (bus) แบบ ISA (Industry Standard Architecture) เป็นมาตรฐาน แต่เครื่องที่เทียบเคียงกับเครื่องไอบีเอ็ม (IBM compatibles) นั้น แทนที่จะใช้ตามมาตรฐานนี้ กลับออกแบบบัสให้เพิ่มความเร็วขึ้น เรียกว่า อีซา เมื่อไอบีเอ็มผลิตคอมพิวเตอร์พีเอสทู (PS/2) จึงได้กำหนดมาตรฐานของบัสใหม่ โดยพัฒนาให้เร็วยิ่งขึ้นไปอีก เรียกว่า MCA ซึ่งย่อมาจาก micro channel architecture ดู MCA ประกอบ |
extended memory specifica | ข้อกำหนดหน่วยความจำแบบขยายใช้ตัวย่อว่า XMS (อ่านว่า เอกซ์เอ็มเอส) เป็นมาตรฐานการจัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำแบบหนึ่งที่ยอมให้โปรแกรมระบบดอส เข้าถึงส่วนความจำขยายได้ โปรแกรมในดอสที่จัดการเรื่องนี้ มีชื่อว่า Himem.Sys |
extended technology | เทคโนโลยีแบบขยายใช้ตัวย่อว่า XT (อ่านว่า เอกซ์ที) เป็นเทคโนโลยีใหม่แบบหนึ่งที่นำมาใช้ในการสร้างไมโครคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นนั้น จึงได้รับสมญานาม ว่า XT มีการเน้นในเรื่องการกำหนดให้มีช่องเสียบแผ่นวงจร (card) เพิ่ม เพื่อการปรับขยายในภายหลัง กับการใช้จานบันทึกที่มีความจุสูง ดู AT ประกอบ |
federal communication com | คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารใช้ตัวย่อว่า FCC (อ่านว่า เอฟซีซี) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่มีหน้าที่ควบคุมในเรื่องการสื่อสาร โดยเฉพาะการควบคุมสัญญาณความถี่ของคลื่นวิทยุ |
file allocation table | ตารางการจัดสรรแฟ้มใช้ตัวย่อว่า FAT (อ่านว่า แฟ็ต) ใช้ในระบบดอส หมายถึงส่วนหนึ่งของจานบันทึกที่เป็นตารางสำหรับเก็บชื่อ ขนาด ความจุ และที่อยู่ของแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในจานบันทึกนั้น |
first in, first out | เข้าก่อนออกก่อนใช้ตัวย่อว่า FIFO อ่านว่า ฟีโฟ หรือไฟโฟ ผู้เขียนโปรแกรมนำศัพท์คำนี้มาใช้ในเรื่องของ การส่งข้อมูล เข้าไปเก็บ บางทีเราต้องการให้เก็บแบบที่เข้าไปก่อน ก็ให้เรียกออกมาได้ก่อน บางที เราอาจต้องการให้เป็นแบบ "เข้าทีหลัง ออกก่อน" เพราะข้อมูลที่เข้าไปก่อนอยู่ลึกเข้าไป กว่าจะเรียกออกมาได้ ต้องรอจนข้อมูลที่เข้าไปทีหลังออกมา จนหมดเสียก่อน แบบหลังนี้เรียกว่า last in, first out ดู last in, first out ประกอบ |
gb | (จีบี) ย่อมาจากคำว่า gigabyte (อ่านว่า กิกะไบต์) เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230) หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ฯ |
graphic interchange forma | รูปแบบสับเปลี่ยนภาพกราฟิกใช้ตัวย่อว่า GIF (อ่านว่า จิฟ) เป็นรูปแบบการเก็บแฟ้มข้อมูลที่มีภาพแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นพีซีหรือแมคอินทอชก็จะสามารถเรียกมาใช้ได้ มักจะมีไว้ใช้ในบริการ CompuServe ดู CompuServe ประกอบ |
graphical user interface | การใช้ภาพเป็นตัวประสานกับผู้ใช้ใช้ตัวย่อว่า GUI (อ่านว่ากุย) เป็นวิธีการให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ให้ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางภาพ เช่น ใช้เมาส์กดเลือกสัญรูป (icon) แทนการพิมพ์คำสั่งดังแต่ก่อน หรือการเลือกคำสั่งตามรายการเลือกที่เรียกว่า ระบบเมนู |
indexed sequential access | วิธีการเข้าถึงลำดับดรรชนีใช้ตัวย่อว่า ISAM (อ่านว่า ไอแซม) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอย่างหนึ่ง เพื่อให้สามารถเรียกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ใช้ในโปรแกรมประเภทคลังข้อมูล |
industry standard archite | ใช้ตัวย่อว่า ISA (อ่านว่า อิซ่า) ซึ่งก็คือบัส (bus) แบบหนึ่งที่สร้างขึ้นมาใช้กับเครื่องไอบีเอ็ม เอที (IBM AT) คอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบไอบีเอ็มมักใช้บัสนี้หรืออีซา (EISA) ดู EISA เปรียบเทียบ |