ลงอุโบสถ | ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า. |
วันอุโบสถ | น. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘. |
อุโบสถ ๑ | (อุโบสด) น. เรียกสถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมเช่นสวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท ว่า โรงอุโบสถ หรือ อุโบสถ, เรียกย่อว่า โบสถ์ |
อุโบสถ ๑ | เรียกวันพระ ว่า วันอุโบสถ |
อุโบสถ ๑ | เรียกการแสดงพระปาติโมกข์ของพระสงฆ์ทุก ๆ กึ่งเดือน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด ว่า การทำอุโบสถ |
อุโบสถ ๑ | เรียกการรักษาศีล ๘ ของคฤหัสถ์ ว่า การรักษาอุโบสถ. |
อุโบสถกรรม | (อุโบสดถะกำ) น. การทำอุโบสถ. |
อุโบสถ ๒, อุโบสถหัตถี | (อุโบสด, อุโบสดถะ-) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
กาฬาวกหัตถี | (-วะกะ-) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคล-หัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถ-หัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
คังไคยหัตถี | น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีเหมือนสีนํ้าไหล, คงไคยหัตถี ก็ว่า, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
คันธหัตถี | น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
ฉัททันตหัตถี | น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
ตามพหัตถี | (ตามพะ-) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองแดง, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
เทพชุมนุม | ชื่อภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวลำดับกันขึ้นไป ๓ ชั้นถึง ๕ ชั้น เป็นต้น ตามฝาผนังด้านข้างในพระอุโบสถหรือหอพระ. |
เทียนรุ่ง | น. เทียนที่จุดในพระอุโบสถในวันวิสาขบูชาเป็นต้น มีขนาดใหญ่พอจุดอยู่ได้ตลอดคืน. |
นานาสังวาส | น. “การอยู่ร่วมต่างกัน”, การที่พระสงฆ์มีศีลไม่เสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้. |
โบสถ์ | น. สถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทำสังฆกรรม เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลมเรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคำว่า อุโบสถ). |
ใบพัทธสีมา | (-พัดทะ-) น. แผ่นหินที่ทำเป็นเครื่องหมายบอกเขตอุโบสถ, ใบสีมา หรือ ใบเสมา ก็ว่า. |
ใบสีมา, ใบเสมา | น. แผ่นหินที่ทำเป็นเครื่องหมายบอกเขตอุโบสถ, ใบพัทธสีมา ก็ว่า |
ปัณฑรหัตถี | (ปันดะระ-) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาวดังเขาไกรลาส, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
ปาติโมกข์ | น. คัมภีร์ว่าด้วยวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ, ชื่อบาลีที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ อาทิพรหมจริยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกวันอุโบสถ. |
ปิงคลหัตถี | น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองอ่อนดั่งสีตาแมว, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคย-หัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
พระประธาน | น. พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหรือวิหารเป็นต้น. |
พิหาร | วิหาร, ที่ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูป, คู่กับอุโบสถ. |
มงคลหัตถี | (มงคนละ-) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
ร่วมนอก | พื้นที่ภายในอุโบสถ วิหาร มีความกว้างตั้งแต่ริมฝาด้านในจนถึงริมนอกของเสาร่วมใน และมีความยาวตลอดถึงฝาหุ้มกลองทั้ง ๒ ด้าน, ร่วมนอกประธาน ก็เรียก. |
ร่วมนอกประธาน | น. พื้นที่ภายในอุโบสถ วิหาร มีความกว้างตั้งแต่ริมฝาด้านในจนถึงริมนอกของเสาร่วมใน และมีความยาวตลอดถึงฝาหุ้มกลองทั้ง ๒ ด้าน, ร่วมนอก ก็เรียก. |
ร่วมใน | พื้นที่ภายในอุโบสถ วิหาร มีความกว้างตั้งแต่ริมนอกของเสาร่วมในแถวหนึ่งถึงริมนอกของเสาร่วมในอีกแถวหนึ่ง และมีความยาวตลอดถึงฝาหุ้มกลองทั้ง ๒ ด้าน, ร่วมในประธาน ก็เรียก. |
ร่วมในประธาน | น. พื้นที่ภายในอุโบสถ วิหาร มีความกว้างตั้งแต่ริมนอกของเสาร่วมในแถวหนึ่งถึงริมนอกของเสาร่วมในอีกแถวหนึ่ง และมีความยาวตลอดถึงฝาหุ้มกลองทั้ง ๒ ด้าน, ร่วมใน ก็เรียก. |
ระเบียง | โรงแถวที่ล้อมรอบอุโบสถหรือวิหาร. |
ลงโบสถ์ | ก. ลงอุโบสถ |
ลูกนิมิต | น. ลูกที่ทำกลม ๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหิน ใช้ฝังเป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ. |
วันทาสีมา | ก. ไหว้พัทธสีมาก่อนที่จะเข้าอุโบสถในพิธีอุปสมบท (ใช้แก่นาค). |
วิสุงคามสีมา | (-คามมะ-) น. เขตที่พระราชทานแก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้างพระอุโบสถ. |
เวียนเทียน | ก. นั่งหรือยืนเป็นวงกลมแล้วส่งแว่นที่จุดเทียนติดไว้ต่อ ๆ กันไป, อาการที่ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินประทักษิณสิ่งที่เคารพบูชา เช่น เวียนเทียนรอบพระอุโบสถในวันวิสาขบูชา, เดิมเรียกว่า เดินเทียน |
สมานสังวาส | (สะมานะ-) น. “การอยู่ร่วมเสมอกัน”, การที่พระสงฆ์มีศีลเสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันได้. |
สังฆกรรม | น. กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรวมกันทำภายในสีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. |
สาหร่าย ๒ | น. ชื่อลายประเภทเครื่องห้อยแบบหนึ่งนิยมประดับริมเสามุขเด็จพระมหาปราสาทหรือพระอุโบสถเป็นต้น. |
เสาในประธาน | น. เสาภายในอุโบสถ วิหาร ที่ตั้งเป็นคู่ ๆ แบ่งพื้นที่ระหว่างเสาเป็นห้อง ๆ ตั้งขึ้นไปรับโครงสร้างหลังคา มีทั้งเสากลม เสาเหลี่ยม เป็นต้น, เสาประธาน หรือ เสาร่วมใน ก็เรียก. |
เสาประธาน | น. เสาภายในอุโบสถ วิหาร ที่ตั้งเป็นคู่ ๆ แบ่งพื้นที่ระหว่างเสาเป็นห้อง ๆ ตั้งขึ้นไปรับโครงสร้างหลังคา มีทั้งเสากลม เสาเหลี่ยม เป็นต้น, เสาในประธาน หรือ เสาร่วมใน ก็เรียก. |
เสาร่วมใน | น. เสาภายในอุโบสถ วิหาร ที่ตั้งเป็นคู่ ๆ แบ่งพื้นที่ระหว่างเสาเป็นห้อง ๆ ตั้งขึ้นไปรับโครงสร้างหลังคา มีทั้งเสากลม เสาเหลี่ยม เป็นต้น, เสาในประธาน หรือ เสาประธาน ก็เรียก. |
เสาราย | น. เสาที่ทำตั้งขึ้นเป็นแถวเพื่อรับชายคาอุโบสถ วิหาร ระเบียง เป็นต้น. |
เหมหัตถี | น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีเหลืองดั่งทอง, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
อัญเชิญ | ก. เชิญด้วยความเคารพนับถือ เช่น อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพระอุโบสถ. |