กอดเก้าอี้ | ก. ยึดตำแหน่ง, ไม่ยอมละตำแหน่ง, เช่น ไม่ว่างานของเขาจะล้มเหลวและก่อให้เกิดความเสียหายเพียงใด เขาก็กอดเก้าอี้แน่น ไม่ยอมลาออก. |
กอเอี๊ยะ | น. แผ่นขี้ผึ้งปิดแผลชนิดหนึ่งแบบจีน. |
เก้าอี้ | น. ที่สำหรับนั่ง มีขาและพนักพิง มักยกย้ายไปมาได้ มีหลายชนิด, ถ้ามีรูปยาวใช้นอน เรียกว่า เก้าอี้นอน, ถ้าใช้โยกได้ เรียกว่า เก้าอี้โยก, ลักษณนามว่า ตัว. |
เกี้ยมอี๋ | น. ของกินชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า เป็นตัว ๆ คล้ายลอดช่อง. |
เขียงพระนางอี่, เขียงพร้า | ดู เฉียงพร้านางแอ. |
เรือเอี้ยมจุ๊น | น. เรือขนาดใหญ่ต่อด้วยไม้ ท้องเรือเป็นสัน สำหรับขนถ่ายและบรรทุกสินค้า. |
ใหม่ถอดด้าม, ใหม่เอี่ยม | ว. ใหม่ยังไม่มีใครใช้, ใหม่จริง ๆ. |
อี่ | น. สอง, เรียกลูกสาวคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกญี่. |
อี๊ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น อี๊ ! เสื้อสกปรกอย่างนี้ ยังจะเอามาให้อีก, ยี้ ก็ว่า. |
อี๋ ๑ | น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าปั้นเป็นลูกกลม ๆ ต้มนํ้าตาล. |
อี๋ ๒ | ว. คำใช้ขยายกริยา คราง ในคำว่า ครางอี๋. |
อี๋ ๓, อี๋อ๋อ | ก. กิริยาที่แสดงอาการเอาอกเอาใจหรือประจบประแจงเป็นต้น. |
อี๊ด | ว. เสียงร้องดังเช่นนั้น. |
อู้อี้ | ว. มีเสียงไม่ชัดเจนอย่างเสียงคนจมูกบี้หรือคนบ่น. |
อู๋อี๋ | ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงชักคันซอ. |
เอี้ยง | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อม หางสั้น มีทั้งที่หากินบนพื้นดินและบนต้นไม้ รวมทั้งบนสัตว์เลี้ยง เช่น ควาย พบอยู่รวมกันเป็นฝูง ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ตามโพรงไม้ ง่ามไม้ หรือซอกอาคาร กินผลไม้และแมลง เช่น เอี้ยงดำปักษ์ใต้ [ Aplonis panayensis (Scopoli) ] เอี้ยงด่าง ( Sturnus contra Linn.) เอี้ยงสาริกาหรือสาลิกา [ Acridotheres tristis (Linn.) ]. |
เอี้ยงคำ | น. นกขุนทอง. (ดู ขุนทอง). |
เอี้ยงสาลิกา | ดู สาลิกา ๑ (๒). |
เอี้ยงหัวสีทอง | ดู ลิ้นทอง. |
เอียด ๒, เอี๊ยด | ว. เสียงดังเช่นนั้น. |
เอี่ยน | น. ปลาไหลนา. (ดู ไหล ๑). |
เอี่ยม | ว. ยังไม่ได้ใช้ เช่น ใหม่เอี่ยม, เรี่ยม เช่น แต่งตัวเอี่ยม หน้าตาเอี่ยม. |
เอี่ยมอ่อง | ว. ใหม่ผุดผ่อง เช่น เสื้อผ้าเอี่ยมอ่อง |
เอี่ยมอ่อง | สะอาดสดใส, ไม่หมองมัว, เช่น หน้าตาเอี่ยมอ่อง. |
เอี๊ยม | น. แผ่นผ้าสำหรับคาดหน้าอกเด็กเล็ก ๆ, เต่า ก็ว่า. |
เอี้ยมจุ๊น | น. ชื่อเรือขนาดใหญ่ ต่อด้วยไม้ ท้องเรือเป็นสัน สำหรับขนถ่ายและบรรทุกสินค้า. |
เอี้ยมเฟี้ยม | ว. อาการที่นั่งเก็บมือเก็บเท้าอย่างเรียบร้อย, อาการที่หมอบเฝ้าหรือหมอบคอยรับใช้อย่างเรียบร้อย. |
เอี่ยว | ว. หนึ่ง, แต้ม ๑ ของลูกเต๋า, เรียกลำดับชุดที่ ๑ ของไพ่ตอง ว่า เอี่ยว เช่น เอี่ยวเกือก เอี่ยวชี เอี่ยวยาว. |
เอี่ยว | น. หุ้น, ส่วนร่วม. |
เอี่ยว | ก. มีส่วนร่วม เช่น เรื่องนี้ขอเอี่ยวด้วยคน. |
เอี่ยวลม | น. หุ้นลม. |
เอี้ยว | ก. บิดไป, หันไป, เช่น เอี้ยวคอ เอี้ยวตัว, เบี่ยง เช่น ถนนสายนี้ไม่ตรง เอี้ยวไปทางขวาเล็กน้อย. |
กระแชง ๑ | ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่าเรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทำเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง. |
กระทงเหิน | น. ไม้ขวางเรืออันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือของเรือเอี้ยมจุ๊น, ถ้าเป็นเรือพายม้า เรียกว่า หูกระต่าย. |
กิ้งโครง ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อมคล้ายนกเอี้ยง หางสั้น ขาแข็งแรง กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมี ๖ ชนิด ชนิดที่มีขนาดเล็ก เช่น กิ้งโครงแกลบปีกขาว [ Sturnus sinensis (Gmelin) ] ชนิดที่มีขนาดกลาง เช่น กิ้งโครงคอดำ ( S. nigricollis (Paykull)), คลิ้งโคลง ก็เรียก. |
เกลียวคอ | น. กล้ามเนื้อที่คอ สำหรับทำให้เอี้ยวคอได้สะดวก. |
ขมิ้น ๒ | (ขะมิ่น) น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Oriolidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียสีหม่นไม่สวยงาม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามง่ามไม้สูง ๆ กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำหรือขมิ้นเหลืองอ่อน ( Oriolus chinensis Linn .) ขมิ้นแดง [ O. traillii (Vigors) ] ขมิ้นขาว ( O. mellianusStresemann) . |
ขว้าง | (ขฺว้าง) ก. เอี้ยวตัวเบี่ยงแขนไปทางหลังแล้วซัดสิ่งที่อยู่ในมือออกไปโดยแรง. |
ขา ๑ | สิ่งของซึ่งมีลักษณะคล้ายขาสำหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง |
ขุนทอง | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Gracula religiosa Linn. ในวงศ์ Sturnidae ปากสีส้ม ที่ท้ายทอยและหางตาทั้ง ๒ ข้างมีแผ่นเนื้อสีเหลือง ขนลำตัวสีดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม ตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ ( G. r. intermediaHay) แผ่นเนื้อต่อเนื่องกัน และขุนทองใต้หรือขุนทองควาย ( G. r. religiosa Linn.) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก และแผ่นเนื้อไม่ต่อเนื่องกัน, พายัพเรียก เอี้ยงคำ. |
คร่อม | (คฺร่อม) ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการเช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง. |
ครุภัณฑ์ | (คะรุพัน) น. ของที่ใช้ทนทาน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้. |
เครื่องเรือน | เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้. |
เฉียงพร้านางแอ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Carallia brachiata (Lour.) Merr. ในวงศ์ Rhizophoraceae เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน, คอแห้ง เขียงพระนางอี่ เขียงพร้า สันพร้านางแอ หรือ สีฟันนางแอ ก็เรียก. |
ญี่ | น. สอง, เรียกลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกญี่, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่. |
เต่า ๒ | น. แผ่นผ้าสำหรับคาดหน้าอกเด็กเล็ก ๆ, เอี๊ยม ก็ว่า. |
โต้ง | น. เรียกไก่อูไก่ตะเภาตัวผู้ขนาดใหญ่ หรือเอี่ยวพญาของไพ่ตองไทย ว่า อ้ายโต้ง. |
ทำ | ก. กระทำ, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทำเก้าอี้ ทำโต๊ะ ทำรองเท้า ทำรัง |
เท้าแขน | ส่วนของเก้าอี้สำหรับวางแขน. |
แท่นลา | น. แท่นสี่เหลี่ยมที่ทำขึ้นเพื่อเคลื่อนย้ายไปตั้งในพิธีต่าง ๆ ได้ตามประสงค์ มีขนาดกว้างยาวพอตั้งพระเก้าอี้และโต๊ะเครื่องราชูปโภคเป็นต้น สูงประมาณ ๖-๘ นิ้ว. |