อีสา | น. งอนไถ. |
อีสา | ว. งอนช้อนขึ้น. |
อีสาน ๑ | น. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ. |
อีสาน ๒ | น. พระศิวะหรือพระรุทระ. |
กระโจม ๓ | เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์). |
กระดี่ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ T. trichopterus (Pallas) ] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ T. microlepis (Günther) ] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ T. leeri (Bleeker) ] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด. |
กระเทียม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม. |
กระน่อง | น. น่อง, อวัยวะส่วนหลังของแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า, กระหน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก, อีสานว่า กะหน่อง หรือ กะน่อง. |
กระบม | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุด รูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก, อีสานและพายัพว่า กะบมหรือกะโบม. |
กระโบม ๒ | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุด รูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก, อีสานและพายัพว่า กะบมหรือกะโบม. |
กระปุ่ม | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สำหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้, อีสานว่า กะปุ่ม. |
กระพรวน | (-พฺรวน) น. โลหะทำเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกข้อเท้าเด็กหรือคอสัตว์เป็นต้น, พรวน ลูกพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า, (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) หมากหิ่ง หรือ มะหิ่ง. |
กระพา | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ที่หลังคน ใช้อย่างเป้ มีสายรัดไขว้ที่หน้าอก หรือคาดที่หน้าผาก, อีสานว่า กะพา. |
กระย่อง | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสำรับ, ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาตามวัด, อีสานว่า กะย่อง. |
กระลอม | น. ชะลอม, เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปทรงกระบอก สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, อีสานว่า กะลอม. |
กระหน่อง ๒ | น. น่อง, อวัยวะส่วนหลังของแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก, อีสานว่า กะหน่อง หรือ กะน่อง. |
กวน ๓ | น. กวาน, ชื่อตำแหน่งขุนนางในภาคอีสานสมัยโบราณ แต่ชาวอีสานบางถิ่นออกเสียงเป็น กวน เช่น บ้านเมืองข้อนขุนกวน ยาดไพร่. |
กะโซ่, กะโซ้ ๑ | น. เผ่าข่าโซ้ เป็นชาวป่าทางภาคอีสานของไทย มีลักษณะคล้ายเขมร. |
กะทอ | น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ตาโปร่ง ด้านในกรุด้วยใบไม้แห้ง รูปทรงกระบอก สำหรับใส่เกลือ ฝ้าย ยาสูบ เป็นต้น ใช้กันในภาคอีสาน. |
กะน่อง | น. น่อง, อวัยวะส่วนหลังของแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบกะน่อง (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กะหน่อง ก็เรียก. |
กัลปพฤกษ์ ๒ | (กันละปะพฺรึก) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม. |
กางเขน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Turdidae ปากยาวปานกลางปลายแหลม หางยาวกว่าลำตัวมาก เช่น กางเขนบ้าน [ Copsychus saularis (Linn.) ] ส่วนบนลำตัวสีดำ ส่วนล่างตั้งแต่อกลงไปสีขาวหม่น ปีกมีลายพาดสีขาว มักอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ กินแมลง, ภาคกลางเรียก กางเขน, พายัพเรียก จีแจ๊บ, อีสานเรียก จี่จู้, ปักษ์ใต้เรียก บินหลา, กางเขนดง [ C. malabaricus (Scopoli) ] ปาก หัว หลัง อก และปีกของตัวผู้สีดำเหลือบ หลังส่วนล่างติดโคนหางสีขาว อกส่วนล่างไปจนถึงหางสีน้ำตาลแดง หางยาว ด้านบนสีดำ ใต้หางและขอบหางสีขาว ขาสีน้ำตาลอมชมพู ตัวเมียสีจางไม่สดใสเท่าตัวผู้และหางสั้นกว่า. |
กิ้งก่า | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Agamidae มีขนาดลำตัวต่าง ๆ กัน สันกลางของคอถึงลำตัวมีหนามแหลมจำนวนและขนาดต่างกัน เพศผู้มีสีเข้มและปรับสีได้ดีแตกต่างจากเพศเมีย ตัวและขามีเกล็ด ขาและนิ้วเล็กเรียว เล็บแหลมคม หางยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนต้นไม้ เช่น กิ้งก่าบ้านหัวนํ้าเงิน ( Calotes mystaceus Dumeril & Bibron) กิ้งก่าเขา [ Acanthosaura armata (Hardwicke & Gray) ], อีสานเรียก ปอม กะปอม กะทั่ง หรือ กะท้าง. |
กุดจี่ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae หัวแบน ขาแบน ด้านข้างขามีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย ลำตัวยาว ๐.๕-๖.๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ปั้นมูลสัตว์เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกตัวมักทำเสียงดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียก ตัวฉู่ฉี่หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อย เช่น Onitis subopacusArrow, Onthophagus seniculus Fabricius พบทุกภาค, กุดจี่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กุดจี่ขี้ช้างหรือด้วงขี้ช้าง ( Heliocopris dominus Bates) พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน, จี่ ก็เรียก. |
กูด ๑ | ทางเหนือและอีสาน เรียกเฟินว่า กูด. |
กูปรี | (-ปฺรี) น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด Bos sauveli Urbain ในวงศ์ Bovidae เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้สีดำ มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ใช้เขาขุดดินและแทงต้นไม้ทำให้ปลายแตกเป็นเส้น ๆ ร่นลงไปมองเห็นเป็นพู่ ตัวเมียสีน้ำตาลอมเทาหรือน้ำตาลเข้ม เขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณอีสานใต้ตามชายแดนไทย–กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทยที่ใกล้จะสูญพันธุ์, โคไพร ก็เรียก. |
แกร็บ | น. เครื่องตีทำด้วยไม้ ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน เช่นเซิ้ง. |
โกฐพุงปลา | น. ชื่อเรียกสิ่งที่นูนปูดขึ้นมาตามกิ่งและใบของไม้ต้นหลายชนิดในสกุล T erminalia วงศ์ Combretaceae เช่น สมอไทย ( T. chebula Retz.), อีสานเรียก ปูดกกส้มมอ. |
ขมิ้น ๑ | (ขะมิ่น) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma longa L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทำยา ทำผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น. |
ขะน่อง | น. น่อง, อวัยวะส่วนหลังของแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า, กระหน่อง กระน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก, อีสานว่า กะหน่อง หรือ กะน่อง. |
ขาน่อง | น. น่อง, อวัยวะส่วนหลังของแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า, กระหน่อง กระน่อง หรือ ขะน่อง ก็เรียก, อีสานว่า กะหน่อง หรือ กะน่อง. |
ข้าวคั่ว | น. ข้าวสารที่นำมาคั่วแล้วโขลกให้แหลก ใช้ใส่อาหารประเภทลาบแบบอีสานเป็นต้น. |
ข้าวเบา | น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลเร็วกว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวงในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวเหนียวหางยี ๗๑ พันธุ์ข้าวน้ำสะกุย ๑๙, พายัพและอีสานว่า ข้าวดอ. |
เขยตาย | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทำยา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น. |
แคน | น. เครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เสียงคล้ายออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ นิยมเล่นในทุกจังหวัดของภาคอีสานตอนเหนือ ทำด้วยไม้ซาง เรียกว่า ไม้กู่แคนหรือไม้เฮี้ย มีขนาดยาวลดหลั่นกัน เรียงติดเป็นตับในเต้าแคนที่ทำด้วยไม้ ลิ้นแคนทำด้วยโลหะเงินหรือทองเหลือง ทำเสียงสูง-ต่ำ ด้วยการเปิดปิดนิ้วที่รูเล็ก ๆ ซึ่งเจาะไว้ข้างกู่แคน กู่แคนติดแน่นกับเต้าแคนด้วยขี้สูดหรือชันโรง มีหลายขนาด ตั้งแต่ ๓ คู่ จนถึง ๙ คู่ ที่นิยมที่สุดคือคู่ ๘ ใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงทั่วไปและประกอบหมอลำหรือวงพิณ วงโปงลาง ในงานมงคล เป็นมหรสพประจำของชาวอีสาน. |
จระเข้ | (จอระ-) น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Crocodylidae ปากและหัวยาว ปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูหายใจ เรียกว่า ก้อนขี้หมา ลำตัวกลมยาว หนังเป็นเกล็ดแข็งทั้งตัว หางแบนยาวทางข้างใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า อาศัยบริเวณป่าริมน้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือจระเข้สยาม ( Crocodylus siamensisSchneider) จระเข้นํ้าเค็ม อ้ายเคี่ยม หรืออ้ายทองหลาง ( C. porosus Schneider) และจระเข้ปากกระทุงเหวหรือตะโขง [ Tomistoma schlegelii (S. Müller) ], ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้ |
จางปาง | อีสานว่า จ่างป่าง. |
จำปา | (ถิ่น–อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม). |
จิ้งโกร่ง | น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด Brachytrypes portentosus (Lichtenstein) เป็นจิ้งหรีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว, อ้ายโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก, พายัพเรียก จี้กุ่ง หรือ ขี้กุ่ง, อีสานเรียก จิโป่ม จี่นายโม้ จี่ป่ม หรือ จี่โป่ง. |
โฉลก | ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดีเรียกว่า ถูกโฉลก ถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับจำนวน เป็นต้น ของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคล, อีสานเรียก โสก |
ช่อน | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa striatus Bloch ในวงศ์ Channidae ลำตัวทรงกระบอก ส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย มีเกล็ดในแนวเส้นข้างตัวราว ๕๒-๕๗ เกล็ด ด้านหลังลำตัวเป็นสีค่อนข้างดำ ด้านข้างสีอ่อนกว่าและมีลายสีดำพาดเฉียง ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ มีจุดหรือริ้วสีนํ้าตาลดำ พบชุกชุมทั่วไป อาจยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก หลิม, อีสานเรียก ค่อ. |
ชะมด ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้อวัยวะเพศ มักหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด [ Viverricula malaccensis (Gmelin) ] เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง ( Viverra zibetha Linn.), ชะมดแผงสันหางดำ ( V. megaspila Blyth), อีสานเรียก เห็นอ้ม. |
ชะลอม | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปทรงกระบอก สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, อีสานเรียก กะลอม. |
ชันโรง | (ชันนะ-) น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Apidae โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเหมือนผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กในอย่างผึ้งทั่วไป จึงไม่สามารถต่อยได้ ทำรังตามโพรงไม้หรือตามรอยแตกฝาผนังของบ้านเรือน รังทำจากสารเหนียวผสมขี้ดินและยางไม้ ที่พบมากในประเทศไทยอยู่ในสกุล Trigona ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด T. terminata Smith, T. apicalis Smith มีชื่ออื่น ๆ อีกตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด, ปักษ์ใต้เรียก ขี้ชัน. |
ชีล้อม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Oenanthe javanica (Blume) DC. ในวงศ์ Umbelliferae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ใบแบนรีขอบจัก ใช้เป็นผัก ดอกเป็นกระจุกสีขาว ผลกลมค่อนข้างยาว, อัน หรือ อันอ้อ ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก หนอกช้าง. |
โชงโลง | น. เครื่องมือชนิดหนึ่งสำหรับวิดน้ำ ลักษณะคล้ายลูกฟักผ่าซีกและตัดครึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีคันยาวต่อออกไปทางท้ายสำหรับจับ ผูกโยงแขวนไว้กับขาหยั่ง แล้วจับคันจ้วงน้ำสาดออกไปยังที่ที่ต้องการ, ชงโลง ก็ว่า, อีสานเรียก กะโซ้, พายัพเรียก กระโจ้, ปักษ์ใต้เรียก โพง. |
ซาก ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Erythrophleum succirubrum Gagnep. และชนิด E. teysmannii (Kurz) Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ เนื้อแข็งและหนัก ใช้เผาถ่านได้ดี ทุกส่วนมีพิษ กินตาย ชนิดแรกใบเกลี้ยง ชนิดหลังใบมีขน, อีสานเรียก ซาด หรือ พันซาด. |
ซ้ำซาก | ว. ทำแล้วทำอีกหรือเป็นแล้วเป็นอีกอย่างเดียวกันรํ่าไป, จำเจ, เช่น เขาชอบพูดจาซ้ำซาก บางจังหวัดทางภาคอีสานเกิดภัยแล้งซ้ำซาก. |
ซ้ำสาม | น. คำว่าคนตํ่าช้าไม่มีตระกูล เช่น ทั้งนี้ก็เพราะใครเล่า เพราะอีสาวซ้ำสามซัดเซบ้าน (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
เซิ้ง | ก. รำแบบชาวอีสานตามจังหวะเสียงขับ เช่น เซิ้งกระติบข้าว. |