Accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น <em>โปรตอน</em>หรือ<em>อิเล็กตรอน</em> โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น <em>ไซโคลทรอน</em> <em>ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น</em> และ<em>บีตาทรอน</em> [นิวเคลียร์] |
Annihilation | ประลัย, ปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคกับปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้นๆ แล้วอนุภาคทั้งสองหายไปกลายเป็นรังสีแกมมาพลังงานเท่ากันเคลื่อนที่ออกไปในทิศทางตรงข้ามกัน เช่นการรวมตัวของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอน ได้รังสีแกมมาพลังงานรวม 1.02 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (ดู Antimatter ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Atom | อะตอม, หน่วยที่เล็กที่สุดที่ยังคงสมบัติทางเคมีของธาตุ โครงสร้างของอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสอยู่ตรงกลางและอิเล็กตรอนอยู่ในวงโคจรรอบนิวเคลียส นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ในสภาพปกติอะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Barn, b | บาร์น, หน่วยพื้นที่ภาคตัดขวางของอะตอม นิวเคลียส อิเล็กตรอน และอนุภาคอื่นๆ ที่แสดงโอกาสในการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ 1 บาร์น มีค่าเท่ากับ 10–24 ตารางเซนติเมตร (ดู cross section ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Betatron | บีตาทรอน, เครื่องเร่งอิเล็กตรอน ที่มีลักษณะเป็นรูปโดนัต อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่โดยการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก เครื่องที่มีรัศมีประมาณ 0.75-1.00 เมตร สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 340 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ บีตาทรอนเครื่องแรกสร้างโดย Donald W. Kerst ในปี พ.ศ. 2483 ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงาน 2.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ [นิวเคลียร์] |
Binding energy | พลังงานยึดเหนี่ยว, พลังงานยึดเหนี่ยวของโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียส มีค่าเท่ากับพลังงานที่น้อยที่สุดสำหรับการแยกนิวเคลียสออกเป็นโปรตอนและนิวตรอน นอกจากนี้ยังหมายถึง พลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนด้วย ซึ่งมีค่าเท่ากับพลังงานที่ต้องใช้เพื่อแยกอิเล็กตรอนออกมาจากอะตอมหรือโมเลกุล [นิวเคลียร์] |
Characteristic X-ray | รังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะ, รังสีที่เกิดจากการที่อะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ซึ่งมีค่าพลังงานเฉพาะของธาตุที่ถูกกระตุ้น (ดู excited state ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Compton scattering | การกระเจิงแบบคอมป์ตัน, ปรากฏการณ์เมื่อโฟตอนวิ่งชนอิเล็กตรอนของอะตอม แล้วเกิดการกระเจิง โฟตอนที่กระเจิงออกไปจะมีพลังงานลดลงจากเดิม ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมของการกระเจิงและมวลของอนุภาคที่ถูกชน ปรากฏการณ์นี้ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ คือ อาร์เทอร์ ฮอลลี คอมป์ตัน (Arthur Holly Compton) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี พ.ศ.2470 [นิวเคลียร์] |
Cosmic radiation | รังสีคอสมิก, รังสีจากอวกาศซึ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก มีองค์ประกอบโดยประมาณ ได้แก่ โปรตอนร้อยละ 87 รังสีแอลฟาร้อยละ 11 รังสีอนุภาคหนักที่มีเลขเชิงอะตอมระหว่าง 4 ถึง 26 ร้อยละ 1 และ อิเล็กตรอนร้อยละ 1 [นิวเคลียร์] |
Particle accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น โปรตอนหรืออิเล็กตรอน โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น ไซโคลทรอน ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และบีตาทรอน [นิวเคลียร์] |
Decay, radioactive | การสลาย(กัมมันตรังสี), การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Disintegration, radioactive | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Electron | อิเล็กตรอน, อนุภาคมูลฐานที่เป็นส่วนประกอบของอะตอม มีประจุไฟฟ้าลบ และมีมวล 1 ใน 1873 ส่วนของมวลโปรตอน โดยแต่ละอะตอมจะมีอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งอยู่ล้อมรอบนิวเคลียสที่มีประจุบวก สำหรับอะตอมที่เป็นกลางจำนวนอิเล็กตรอนจะเท่ากับจำนวนโปรตอนและเป็นตัวกำหนดสมบัติทางเคมีของอะตอม [นิวเคลียร์] |
Electron Capture | การจับยึดอิเล็กตรอน, การสลายกัมมันตรังสีแบบหนึ่งของนิวไคลด์ โดยอิเล็กตรอนจากวงโคจรในสุด 1 ตัว ถูกจับยึดและรวมเข้ากับนิวเคลียส เกิดเป็นนิวไคลด์ชนิดใหม่ที่มีเลขมวลคงเดิม แต่มีเลขเชิงอะตอมลดลง 1 (ดู K-capture ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Electron linear accelerator | เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เครื่องเร่งอิเล็กตรอน ที่อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงด้วยสนามไฟฟ้า มีสองแบบคือ แบบที่อิเล็กตรอนถูกควบคุมด้วยสนามไฟฟ้าสถิต และแบบที่ควบคุมด้วยสนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ แบบแรกให้พลังงานของอิเล็กตรอนต่ำกว่าแบบหลัง เครื่องเร่งชนิดนี้เหมาะสำหรับงานวิจัยทางฟิสิกส์ และการปรับปรุงคุณภาพวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ เช่น งานเคลือบผิววัตถุและงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ, Example: [นิวเคลียร์] |
Electron volt | อิเล็กตรอนโวลต์, หน่วยหนึ่งของพลังงานหรืองาน 1 อิเล็กตรอนโวลต์ คือ พลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ผ่านความต่างศักย์ไฟฟ้าขนาด 1 โวลต์ มีค่าเท่ากับ 1.603 x 10<sup>-12</sup> เอิร์ก [นิวเคลียร์] |
Elementary particles | อนุภาคมูลฐาน, อนุภาคชั้นสามัญที่สุดของสสารและรังสี ส่วนใหญ่มีอายุสั้นและไม่ปรากฏในภาวะปกติ (ยกเว้น อิเล็กตรอน นิวตรอน โปรตอน และนิวทริโน) เดิมหมายถึงอนุภาคใดๆ ที่ไม่สามารถแบ่งย่อยต่อไปได้ หรืออนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม ปัจจุบันหมายถึงอนุภาคโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน มีซอน มิวออน แบรีออน และปฏิยานุภาคของอนุภาคเหล่านี้ รวมทั้งโฟตอน แต่ไม่รวมอนุภาคแอลฟาหรือดิวเทอรอน [นิวเคลียร์] |
Epithermal neutron | เอพิเทอร์มัลนิวตรอน, นิวตรอนที่มีพลังงานสูงกว่าเทอร์มัลนิวตรอนแต่ต่ำกว่านิวตรอนเร็ว มีพลังงานในช่วง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ ถึง 1 แสนอิเล็กตรอนโวลต์ คำนี้มีความหมายเหมือนกับ intermediate neutron [นิวเคลียร์] |
Excited state | สถานะถูกกระตุ้น, สถานะของนิวเคลียส อิเล็กตรอน อะตอม หรือโมเลกุล ขณะเมื่อมีพลังงานสูงกว่าระดับปกติ พลังงานส่วนเกินของนิวเคลียสมักถูกปลดปล่อยเป็นรังสีแกมมา สำหรับพลังงานส่วนเกินของโมเลกุลอาจปรากฏในลักษณะการเรืองแสงหรือความร้อน (ดู ground state ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Ionospheric electron density | ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนในไอโอโนสเฟียร์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
X-rays | รังสีเอกซ์, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Thermoluminescence | เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์, ปรากฏการณ์การเปล่งแสงของสารบางชนิดเมื่อได้รับความร้อน นำมาประยุกต์ใช้วัดปริมาณรังสีที่สารนั้นดูดกลืนไว้ เช่น การวัดปริมาณรังสีด้วยทีแอลดี การหาอายุโบราณวัตถุและโบราณสถาน เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์เกิดเมื่อสารได้รับรังสีและดูดกลืนพลังงานจากรังสีไว้ ทำให้อิเล็กตรอนส่วนหนึ่งหลุดออกมา และบางส่วนจะถูกจับไว้ในผลึกที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อนำมากระตุ้นด้วยความร้อน อิเล็กตรอนดังกล่าวจะถูกปลดปล่อยออกมาพร้อมทั้งคายพลังงานในรูปของแสง ตัวอย่างสารเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ในธรรมชาติ เช่น แร่แคลไซต์ แร่โดโลไมต์ หินฟันม้า หินเขี้ยวหนุมาน เพทาย และสารที่สังเคราะห์ขึ้น เช่น แคลเซียมฟลูออไรด์ (ดู thermoluminescence dating ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Thermal neutron | เทอร์มัลนิวตรอน, นิวตรอนที่มีพลังงานในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ มีความเร็วเฉลี่ย 2, 200 เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิห้อง, Example: [นิวเคลียร์] |
Slow neutron | นิวตรอนช้า, นิวตรอนที่มีพลังงานในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ มีความเร็วเฉลี่ย 2, 200 เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิห้อง, Example: [นิวเคลียร์] |
Synchrotron | ซิงโครทรอน, เครื่องเร่งอนุภาค ที่อนุภาคถูกเร่งโดยสนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงด้วยความถี่ในย่านความถี่ของคลื่นวิทยุ และถูกบังคับให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่โดยการควบคุมของสนามแม่เหล็กที่เพิ่มขึ้น พร้อมสัมพันธ์กับความเร็วของอนุภาคที่เพิ่มขึ้น ซิงโครทรอนเครื่องแรก ชื่อ คอสโมทรอน (Cosmotron) สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2495 ตั้งอยู่ที่ Brookhaven National Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเร่งโปรตอนให้มีพลังงานสูงถึง 2, 300 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์, Example: [นิวเคลียร์] |
Subatomic particle | อนุภาคย่อยของอะตอม, อนุภาคใด ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม เช่น อิเล็กตรอน นิวตรอน และโปรตอน, Example: [นิวเคลียร์] |
Spallation Neutron Source | ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เครื่องผลิตนิวตรอนชนิดหนึ่ง โดยการเร่งโปรตอนพลังงานสูงกว่า 100 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เข้าชนเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน หรือ ยูเรเนียม ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีการปลดปล่อยนิวตรอนพลังงานเฉลี่ย 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชันเครื่องแรกมีชื่อว่า KENS ตั้งอยู่ที่สถาบัน KEK (Ko Enerugi Kenkyujo) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 [นิวเคลียร์] |
Roentgen rays | รังสีเรินต์เก็น, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Radiotherapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] |
Radioactive decay | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิ วไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Radiation therapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] |
Proton synchrotron | โปรตอนซิงโครทรอน, เครื่องเร่งอนุภาคที่ใช้เร่งอนุภาคโปรตอนให้มีพลังงานสูงมากในช่วงพันล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (ดู synchrotron ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Proton | โปรตอน, อนุภาคมูลฐานที่มีประจุไฟฟ้าบวกหนึ่งหน่วย มีมวลประมาณ 1837 เท่าของอิเล็กตรอน โปรตอนเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสทุกชนิด เลขเชิงอะตอม ของอะตอมใด ๆ จะเท่ากับจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมนั้น [นิวเคลียร์] |
Positron | โพซิตรอน, อนุภาคมูลฐานที่มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอนแต่มีประจุเป็นบวก เรียกอีกอย่างว่า “แอนติอิเล็กตรอน” เกิดจาก แพร์โพรดักชัน หรือจากการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์บางชนิด เช่น โซเดียม-22 (ดู antimatter; electron และ pair production ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Pair production | แพร์โพรดักชัน, การแปลงพลังงานจลน์ของโฟตอนหรืออนุภาคที่มีพลังงานสูงให้เป็นมวล เกิดเป็นอนุภาคย่อยและปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้น เช่น การที่รังสีแกมมาหรือรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานตั้งแต่ 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ขึ้นไป ผ่านสนามไฟฟ้ารอบนิวเคลียสแล้วกลายเป็นอิเล็กตรอนและโพซิตรอนที่มีพลังงานเท่ากัน <br>พลังงาน 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์เทียบเท่ากับมวลนิ่งของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอนรวมกัน</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Nuclear reactions | ปฏิกิริยานิวเคลียร์, ปฏิกิริยาที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม เช่น ฟิชชัน ฟิวชัน การจับยึดนิวตรอน หรือ การสลายกัมมันตรังสี ซึ่งแตกต่างกับปฏิกิริยาเคมี ที่จำกัดอยู่เพียงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียส [นิวเคลียร์] |
Neutron generator | เครื่องกำเนิดนิวตรอน, เครื่องเร่งอนุภาคชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผลิตนิวตรอน โดยการเร่งอนุภาคที่มีประจุ เช่น ดิวเทอรอน ให้มีพลังงานระหว่าง 150-500 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ แล้วปล่อยให้ชนกับเป้าบางๆ ที่เหมาะสม ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจะให้นิวตรอนที่มีพลังงานได้ถึง 17.59 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์, Example: [นิวเคลียร์] |
Neutron | นิวตรอน, อนุภาคมูลฐานที่ไม่มีประจุ มีมวลมากกว่าโปรตอนเล็กน้อย และพบในนิวเคลียสของทุกอะตอมยกเว้นอะตอมไฮโดรเจนธรรมดา นิวตรอนอิสระไม่เสถียร มีครึ่งชีวิต 10.3 นาที สลายเป็นอิเล็กตรอน โปรตอน และนิวทริโน [นิวเคลียร์] |
Electon microscopy | จุลทรรศน์อิเล็กตรอน [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Transmission electron microscopy | จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบทรานสมิชชัน [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Scanning electron microscopy | จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
K-capture | เค-แคปเชอร์, การที่นิวเคลียสจับยึดอิเล็กตรอนอนุภาคหนึ่งที่อยู่วงโคจรในสุด (K-shell) และเกิดการสลายกัมมันตรังสีขึ้น <br>(ดู electron capture ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Ionizing radiation | รังสีชนิดก่อไอออน, รังสีหรืออนุภาคใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง รังสีเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต <br>(ดู beta particle ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Ion pair | คู่ไอออน, ไอออนบวกและไอออนลบที่มีขนาดประจุเท่ากัน เกิดจากการแตกตัวของอะตอมหรือโมเลกุลที่เป็นกลางเมื่อได้รับรังสี โดยอิเล็กตรอนที่หลุดออกจากอะตอมหรือโมเลกุลจะเป็นไอออนลบ ส่วนอะตอมหรือโมเลกุลที่อิเล็กตรอนหลุดออกไปนั้นจะเป็นไอออนบวก [นิวเคลียร์] |
Ion | ไอออน, อะตอมหรือโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้าจากการสูญเสียหรือได้รับอิเล็กตรอนหนึ่งอนุภาคหรือมากกว่า อะตอมหรือโมเลกุลที่สูญเสียอิเล็กตรอนจะเป็นไอออนบวก ถ้าได้รับอิเล็กตรอนเข้ามาจะเป็นไอออนลบ [นิวเคลียร์] |
Intermediate neutron | อินเทอร์มีเดียตนิวตรอน, นิวตรอนที่มีพลังงานสูงกว่าเทอร์มัลนิวตรอนแต่ต่ำกว่านิวตรอนเร็ว มีพลังงานในช่วง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ ถึง 1 แสนอิเล็กตรอนโวลต์ คำนี้มีความหมายเหมือนกับ intermediate neutron [นิวเคลียร์] |
Ground state | สถานะพื้น , สถานะของนิวเคลียส อิเล็กตรอน อะตอม หรือโมเลกุล ขณะมีระดับพลังงานปกติ ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุด <br>(ดู excited state ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Fast neutron | นิวตรอนเร็ว, นิวตรอนที่มีพลังงานสูงกว่า 1 แสนอิเล็กตรอนโวลต์ [นิวเคลียร์] |
Food irradiation | การฉายรังสีอาหาร, การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งผลิตอย่างถูกสุขลักษณะและบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่เหมาะสม ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรือลำอิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาค ด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม เพื่อฆ่าเชื้อโรคหรือพยาธิ ยับยั้งการทำลายหรือแพร่พันธุ์ของแมลง ยืดอายุการเก็บรักษา ยับยั้งการงอก และชะลอการสุก [นิวเคลียร์] |
Free radical | อนุมูลเสรี, อนุมูลอิสระ, ธาตุ หรือ หมู่ธาตุที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว (unpaired electron) อยู่ในโครงสร้าง เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโมเลกุลของสารด้วยปฏิกิริยาเคมีหรือพลังงานบางชนิด ส่วนใหญ่มีความไวในการทำปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากต้องการจับคู่กับอิเล็กตรอนอื่นเพื่อเข้าสู่สถานะเสถียร อนุมูลเสรีใช้จุดทึบเป็นสัญลักษณ์ เช่น H•, Example: [นิวเคลียร์] |