Oxidation Process | กระบวนการออกซิเดชัน, Example: การบำบัดน้ำเสียโดยจุลินทรีย์ ใช้ออกซิเจนในการย่อยสารอินทรีย์ หรือกระบวนการออกซิไดส์แบบอื่น ๆ [สิ่งแวดล้อม] |
Oxidation Treatment | การบำบัดด้วยวิธีออกซิเดชัน, Example: การบำบัดน้ำเสียโดยการใชัจุลินทรีย์ย่อยสาร อินทรีย์ หรือผ่าน กระบวนการออกซิเดชัน [สิ่งแวดล้อม] |
Antioxidants | ตัวต้านออกซิเดชัน, Example: สารที่ใส่เพื่อลดการออกซิเดชันของสารประกอบ [สิ่งแวดล้อม] |
Oxidation-Reduction Potential | ศักย์ออกซิเดชัน-รีดักชัน, Example: ความต่างศักย์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายอีเล็ก ตรอนจากตัว oxidant ไปยังตัว reductant [สิ่งแวดล้อม] |
Oxidation | ออกซิเดชัน, Example: หมวดคุณภาพน้ำ หมายถึง ปฎิกิริยาที่เพิ่มออกซิเจนในสารประกอบหรือ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสีย อิเล็กตรอนของอะตอม <br>หมวดสารพิษและกากของเสีย หมายถึง ปฏิกิริยาที่เพิ่มออกซิเจนในสารประกอบหรือ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนจากตัว Reductant ไปยังตัว Oxidant </br> [สิ่งแวดล้อม] |
Wastewater Oxidation | ออกซิเดชันของน้ำเสีย, Example: กระบวนการซึ่งอินทรียสารในน้ำเสียถูกเปลี่ยน ให้อยู่ในรูปที่เสถียรขึ้น โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน [สิ่งแวดล้อม] |
Oxidation Rate | อัตราการออกซิเดชัน, Example: เช่น อัตราที่สารอินทรีย์ในน้ำเสียถูกย่อย [สิ่งแวดล้อม] |
Oxidation | ออกซิเดชัน การออกซิไดส์ [พลังงาน] |
Additives | สารเคมีที่เติมเข้าไปในยางเพียงเล็กน้อยเพื่อปรับปรุงสมบัติต่างๆ ตามต้องการ สารเติมแต่งมีด้วยกันหลายประเภท ตัวอย่างเช่น สารต้านปฏิกิรยาออกซิเดชัน สารกันไฟฟ้าสถิต สารเพิ่มสี สารหน่วงการติดไฟ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Copper content | ปริมาณของธาตุทองแดงที่อยู่ในส่วนที่ไม่ใช่ยางในน้ำยาง มีผลต่อความทนทานต่อการเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำยางนั้น เนื่องจากทองแดงเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชันในโมเลกุลของยาง [เทคโนโลยียาง] |
Fluorocarbon rubber | ยางฟลูออโรคาร์บอนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีฟลูออรีนเป็นองค์ ประกอบอยู่ในโมเลกุล ทำให้ยางมีความเป็นขั้วและมีความเสถียรสูงมาก ทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ ความร้อน ปฏิกิริยาออกซิเดชัน เปลวไฟ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีเยี่ยม ถึงแม้ว่ายางชนิดนี้จะทนสารเคมีต่างๆ ได้ดีแต่ไม่แนะนำให้นำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น คีโตน อีเทอร์และเอสเทอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ สารประกอบเอมีน กรดไฮโดรฟลูออริกและกรดคลอโรซัลโฟนิคที่ร้อน น้ำร้อนและไอน้ำ เมทานอล และน้ำมันเบรกที่มีไกลคอลเป็นองค์ประกอบ ยางฟลูออโรคาร์บอนมีหลายเกรดแตกต่างกันตามโครงสร้างทางเคมีและปริมาณของ ฟลูออรีนในยาง การใช้งานค่อนข้างจำกัดเนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก มักนำไปผลิตปลอกหุ้มสายไฟหรือสายเคเบิล โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการความทนทานต่อความร้อน โอโซน สารเคมี และเปลวไฟสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องบิน จรวด เช่น ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ยางโอริง ปะเก็น ยางซีล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Manganese content | ปริมาณของธาตุแมงกานีสในน้ำยางธรรมชาติ มีผลต่อความทนทานต่อการเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำยาง เนื่องจากแมงกานีสเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชันในโมเลกุลของยาง ทำให้ยางเสื่อมสภาพได้ [เทคโนโลยียาง] |
Natural rubber | ยางธรรมชาติมีโครงสร้างโมเลกุลเป็น ซิส-1, 4-พอลิไอโซพรีน (cis-1, 4-polyisoprene)ได้มาจากต้นยาง Hevea brasiliensis เมื่อผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชันแล้วให้สมบัติเชิงกลดีมาก แข็งแรง ทนต่อการขัดถูและการฉีกขาดดีเยี่ยม แต่ไม่ทนน้ำมันและการเกิดออกซิเดชัน [เทคโนโลยียาง] |
Peroxide | สารเคมีที่มี –O-O- ในโมเลกุล เช่น H2O2, Na2O2, benzoyl peroxide [ (C6H5CO)2O2 ] ออกซิเจนในเพอร์ออกไซด์มีเลขออกซิเดชัน -1 ทำให้เพอร์ออกไซด์โดยทั่วไปไม่เสถียร เมื่อให้ความร้อนจะสลายตัวให้อนุมูลอิสระ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของโมเลกุลขึ้นได้ด้วยพันธะคาร์บอน-คาร์บอน นิยมใช้เพอร์ออกไซด์เป็นสารทำให้ยางคงรูปในยางที่ไม่มีพันธะคู่ เช่น EPM, EVA, CPE, Q หรือยางที่มีปริมาณพันธะคู่ในโมเลกุลต่ำมากเท่านั้น เช่น HNBR, EPDM [เทคโนโลยียาง] |
Plasticity retention index | อัตราส่วนของค่าพลาสติซิตี้หลังจากการให้ความร้อนในตู้อบอากาศร้อนเป็น เวลา 30 นาที ที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส ต่อค่าพลาสติซิตี้ก่อนการให้ความร้อนในตู้อบ ซึ่งค่านี้จะบอกถึงความต้านทานต่อการเกิดออกซิเดชันของยางดิบ [เทคโนโลยียาง] |
Antioxidants | สารพวกแอนตี้อ๊อกซีแด้นท์, สารกันอ็อกซิเดชั่น, สารต้านการเสื่อมในอากาศ, สารกันหืน, สารต้านออกซิเดชัน, วัตถุกันหืน, แอนติออกซิเดนท์, สารยับยั้งออกซิเดชั่น, แอนตี้ออกซิแดนท์, สารป้องกันการเกิดอ๊อกซิไดซ์, สารแอนติออกซิแดนต์, สารต้านออกซิไดซ์, สารกันการเติมออกซิเจน, สารยับยั้งการออกซิไดส์, แอนตี้ออกซิแดนท์, ตัวต่อต้านการออกซิไดส์, สารตัวกันออกซิเดชัน, สารต้านการออกซิไดซ์, ป้องกันน้ำมันหืน [การแพทย์] |
Antioxidants, Sequestering | สารต้านออกซิเดชันที่รวมกับพวกโลหะแล้วละลายน้ำ [การแพทย์] |
reducing agent | ตัวรีดิวซ์, ตัวให้อิเล็กตรอน, อะตอม โมเลกุล หรือไอออนที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในปฏิกิริยารีดอกซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
redox reaction [ oxidation-reduction reaction ] | ปฏิกิริยารีดอกซ์, ปฏิกิริยาเคมีที่มีการให้และรับอิเล็กตรอนหรือปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
reduction reaction | ปฏิกิริยารีดักชัน, ปฏิกิริยาเคมีที่ไอออน อะตอมหรือโมเลกุลของสารมีการรับอิเล็กตรอนหรือมีเลขออกซิเดชันลดลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
oxidation reaction | ปฏิกิริยาออกซิเดชัน, ปฏิกิริยาที่ไอออน อะตอมหรือโมเลกุลของสารมีการเสียอิเล็กตรอนหรือมีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
oxidation-reduction reaction | ปฏิกิริยาออกซิเดชันรีดักชัน, ดู redox reaction [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
reduce | รีดิวซ์, ทำให้เกิดปฏิกิริยารีดักชัน หรือทำให้รับอิเล็กตรอน หรือทำให้มีเลขออกซิเดชันลดลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
oxidation number | เลขออกซิเดชัน, จำนวนประจุของอะตอมที่มีในสารประกอบไอออนิกหรือที่อะตอมควรจะมีในสารประกอบโคเวเลนต์ อะตอมของธาตุที่ไม่ได้รวมกับธาตุอื่นมีเลขออกซิเดชันเท่ากับศูนย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
oxidize | ออกซิไดส์, ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน หรือทำให้เสียอิเล็กตรอน หรือทำให้มีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
anode | แอโนด, 1. ขั้วไฟฟ้าที่มีปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้วไฟฟ้าลบในเซลล์กัลวานิก หรือเป็นขั้วไฟฟ้าบวกในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ 2. ขั้วไฟฟ้าซึ่งเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นภายในระบบ เช่น หลอดวิทยุชนิดไดโอดเป็นขั้วซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าบวกเมื่อเทียบกับแคโทด เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
half-cell reaction | ปฏิกิริยาครึ่งเซลล์ไฟฟ้า, ปฏิกิริยาออกซิเดชันหรือปฏิกิริยารีดักชันที่เกิดขึ้นในแต่ละครึ่งเซลล์ เมื่อรวมปฏิกิริยาครึ่งเซลล์ทั้งสองนี้ด้วยกันจะได้ปฏิกิริยาของเซลล์ไฟฟ้าเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |