ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: อย่างไร, -อย่างไร- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ จั่งใด๋ | [จัง^-ได๋] (pron) ยังไง, อย่างไร |
| trade terms | [เทรด เทอมส] (n) "ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้า" ยังไม่เจาะจงลงไปว่าเป็นแหล่งอ้างอิงจากชื่อใด เข่น AFTD: American Foreign Trade Definition หรือ RWO: Rules of Warsaw and Oxford หรือ GCDM: General Conditions for Delivery of Merchandise หรือ Combiterms หรือ Incoterms ซึ่งในแต่ละแหล่งอ้างอิงมี Terms ให้ใช้คล้ายกัน เช่น Ex Works, FOB หรือ CIF เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แหล่งอ้างอิงที่เสถียรในเรื่องค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการส่งมอบ คือแหล่ง Incoterms ทำให้หลายแหล่ง เช่น ล่าสุดทางอเมริกา ประกาศยกเลิก ธรรมนูญการค้าหรือ UCC บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าของตน ซึ่ง UCC นี้เองได้เป็นฐานในการกำหนดงเป็น AFTD ล่าสุดอเมริกาและแทบทั้งโลกมาขอใช้ร่วมกับ Incoterms ของ ICC International Chamber of Commerce, Paris, France นี้ เป็นมีการกำหนดจุดรับภาระที่แน่นอนกว่า |
|
| กุศล | (n, adj, adv) การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับจิตใจให้ดีขึ้น ปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น มากกว่าทำความดีเฉย ๆ การกระทำใด ๆ หากทำแล้วมีผลต่อสภาวะจิตใจของตนเปลี่ยนไปในทางที่สูงขึ้น จึงเรียกว่ากุศล หากการกระทำดีนั้น ๆ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเองเลย ไม่เรียกว่ากุศล แต่เรียกว่า กรรมดี โดยทั่วไป มักจะใช้คู่กันกับคำว่า บุญกุศล แต่คำว่า บุญ กับ กุศล ความหมายต่างกัน (เขียนก็ไม่เหมือนกันแล้วจะให้ความหมายเหมือนกันได้อย่างไร) ตัวอย่าง 1. นาย กอ เป็นคนรวย ชอบที่จะให้ทาน เพราะเขาหวังว่า การให้ทานของเขาจะส่งผลทำให้เขารวย ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอาจจะได้ไปสวรรค์ หลังจากที่เขาตายไป - อันนี้นาย กอ ทำกรรมดี หรือทำบุญ แต่ไม่ได้เกิดกุศลในจิต หรือเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะเขาทำทานก็จริง แต่ไม่มีผลทำให้จิตใจของเขาวางลงจากความโลภ หรืออยากเลย 2. นาย ขอ เป็นคนชั้นกลาง เขาเห็นเด็กกำพร้ามากมายเกิดขึ้น เขาจึงรู้สึกอยากที่จะช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น จึงประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะให้ตัวเองมีเงินเหลือมากขึ้น เพื่อที่จะแบ่งไปบริจาคเด็กเหล่านั้น เพื่อที่เด็กเหล่านั้นจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป - อันนี้ นาย ขอ ทำทั้งกุศล และบุญ เพราะมีผลที่ทำให้เขาต้องประหยัด อดออมมากขึ้น และการประหยัดอดออมนี้เอง จะทำได้ก็คือต้องปล่อยวางความอยากของตนเอง และทำเพราะในใจเกิดจิตเมตตากรุณา |
| ทำพรือ | (slang) ทำอย่างไร | พันพรือ | [pan-prau] (vt) อย่างไร, See also: S. how |
| อย่างไร | (ques) how, See also: what, Syn. เช่นไร, ยังไง, Example: ความงามความดีมนุษย์ สร้างขึ้นมาได้อย่างไร | ถึงอย่างไร | (conj) even though, See also: though, however, anyhow, Syn. อย่างไรก็ดี, อย่างไรก็ตาม, Example: ถึงอย่างไร ปัญหาการจราจรติดขัดก็ยังคงแก้ไม่ได้ | อย่างไรก็ดี | (adv) however, See also: any way, Syn. อย่างไรก็ตาม, Example: อย่างไรก็ดี การวิจัยยังจะต้องดำเนินต่อไปแน่นอน | อย่างไรบ้าง | (ques) what, See also: how, Example: เพื่อนๆ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง | อย่างไรบ้าง | (ques) what, See also: how, Example: เพื่อนๆ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง | อย่างไรเล่า | (ques) how, See also: in what way, Example: เมื่อเหตุการณ์ผันแปรเช่นนี้ ประชาชนควรจะทำอย่างไรเล่า | ถึงจะอย่างไร | (conj) however, See also: anyhow, nevertheless, notwithstanding, Syn. ถึงอย่างไร, Example: ไม่ว่าลูกจะดีจะชั่วอย่างไร ถึงจะอย่างไรพ่อแม่ก็ยังรักลูกของตัวเองเสมอ | อย่างไรก็ตาม | (conj) however, See also: nevertheless, but, Syn. อย่างไรก็ดี, แม้กระนั้น, แต่, Example: ในการรบครั้งนั้นฝ่ายรัฐบาลสูญเสียนายทหารและพลทหารไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามทางฝ่ายรัฐบาลก็หาได้หยุดยั้งการรุกต่อไปไม่ | จะอย่างไรก็ตาม | (conj) however, Syn. กระนั้นก็ตาม, อย่างไรก็ตาม, Example: จะอย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็มีสิ่งที่ตรงกัน คือมุ่งแสวงหาสิ่งที่ดีสำหรับตนเอง เพียงแต่เครื่องมือที่ใช้อาจแตกต่างกันตามสภาพเท่านั้น | ถึงอย่างไรก็ตาม | (conj) even though, Syn. อย่างไรก็ดี, อย่างไรก็ตาม, ถึงอย่างไร, Example: อย่างไรก็ตาม การเดินทางด้วยรถของเราเองก็ยังดีกว่านั่งรถประจำทางเป็นอันมาก |
| อย่างไร | ว. ใช้ในประโยคคำถาม ถามถึงความเป็นไป ความเป็นอยู่ เช่น คนไข้มีอาการอย่างไร หมู่นี้เป็นอย่างไรบ้าง, ถามถึงวิธีหรือความเห็นเป็นต้น เช่น จะทำอย่างไร มีความเห็นอย่างไร | อย่างไร | ถ้าใช้ในประโยคที่ไม่เป็นคำถาม หมายความว่า จะโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ถึงอย่างไรเขาก็ไม่มา. | อย่างไรก็ดี, อย่างไรก็ตาม | สัน. ถึงเช่นนั้น, แม้กระนั้น, แต่. | กงเกวียนกำเกวียน | ใช้เป็นคำอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกำเกวียน. | กระเทือน | ก. มีอาการสั่นไหวเพราะถูกกระทบ เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า เป็นทุกข์กังวล เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า. | กระไร | ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี (ม. ร่ายยาว กุมาร). | กลืนไม่เข้าคายไม่ออก | ก. อาการที่รู้สึกพะอืดพะอมไม่รู้จะเลือกอย่างไรดี. | กำเนิด | (กำเหฺนิด) น. การเกิด เช่น บิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิดแก่บุตร, มูลเหตุดั้งเดิม เช่น ตัวหนังสือไทยมีกำเนิดมาอย่างไร. | คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก | น. ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าอึดอัดใจ ที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตอย่างไรก็อยู่ไม่ได้. | เคมี | น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวและสมบัติของสารต่าง ๆ ว่าประกอบกันขึ้นเป็นสารนั้น ๆ ได้อย่างไร และเมื่อสารนั้น ๆ แปรเปลี่ยนไปเป็นสารอื่นได้ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างไร ทั้งกล่าวถึงการที่จะสังเคราะห์สารนั้น ๆ ขึ้นได้อย่างไรด้วย แบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ อีกหลายสาขา เช่น เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ ชีวเคมี เคมีกายภาพ เคมีวิเคราะห์. | ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด | ก. ตัดเยื่อใยไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ที่รักลูกมากถึงจะโกรธจะเกลียดอย่างไรก็ตัดไม่ขาด). | จิตไร้สำนึก | น. ความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดัน ซึ่งถูกกดเก็บไว้ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยายามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก. | ฉันใด | ว. อย่างไร, อย่างใด, เช่นใด. | ไฉน ๑ | (ฉะไหฺน) ว. ฉันใด, เช่นไร, อย่างไร, เช่น เป็นไฉน, ทำไม, เหตุใด, เช่น ไฉนจึงไม่มาให้ทันเวลา. | ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด | น. ความชั่วหรือความผิดร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด. | เชือนแช | ว. ไถล, เถลไถลไม่ตรงไปตรงมา, เช่น อย่ามัวแต่เชือนแชอยู่เดี๋ยวจะไม่ทันรถไฟ ความจริงมีอย่างไรก็พูดมา อย่าพูดจาเชือนแช, แชเชือน ก็ว่า, (โบ) อาการที่เดินไม่ตรงทางอย่างคนเมา. | ซ่ก | ก. เปียกชุ่มจนถึงหยด เช่น เหงื่อซ่ก บิดผ้าน้ำยังซ่กอยู่เลย เอามาถูพื้นได้อย่างไร. ว. มาก เช่น หิวซ่ก. | ดำ ๆ แดง ๆ | น. เงินทองรูปพรรณ เช่น เออ จะว่าอย่างไร ดำ ๆ แดง ๆ ที่เรามีอยู่เฟื้องอยู่สลึง (ลักวิทยา). | ดี ๆ ชั่ว ๆ | ว. ถึงอย่างไรก็ตาม เช่น ดี ๆ ชั่ว ๆ เขาก็เป็นลูกเรา. | ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ | ก. ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย เช่น คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้, เป็นคำเปรียบเทียบ หมายความว่า ตกอยู่ที่ใดก็ไม่สูญหาย เช่น ของหลวงตกนํ้าไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้. | ต้นบท | น. คนบอกบทให้คนรำรู้ว่าจะทำบทบาทอย่างไร หรือให้คนร้องรู้ว่าจะร้องทำนองและเนื้ออย่างไร. | เตลิด | (ตะเหฺลิด) ก. แตกหนีไปคนละทิศละทาง, หนีไปอย่างไร้ทิศทาง, เช่น ฝูงวัวเตลิดไป, โดยปริยายหมายความว่า รั้งไม่อยู่ เช่น เด็กคนนี้เตลิดไปแล้ว เอาแต่เที่ยวเตร่ไม่ยอมเรียนหนังสือ. | เตลิด | (ตะเหฺลิด) ว. อาการที่แตกหนีไปคนละทิศละทาง, อาการที่หนีไปอย่างไร้ทิศทาง, เช่น พอมีเสียงตะโกนว่าไฟไหม้ ฝูงคนก็หนีเตลิดไปอย่างรวดเร็ว เด็กตกใจวิ่งเตลิดไป. | เตลิดเปิดเปิง | ก. ไปโดยเร็วจนยั้งไม่ได้, ไปอย่างไร้ทิศทาง, เช่น เตลิดเปิดเปิงไปไหนแล้วก็ไม่รู้. | ทั้งขึ้นทั้งล่อง | ว. หมดทุกทางไม่ว่าจะเป็นในทางใด เช่น งานนี้ถึงคนจะมาน้อยหรือมามากผู้จัดก็ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง ไม่ว่าจะแก้ตัวอย่างไรเขาก็โดนดุทั้งขึ้นทั้งล่อง. | ทาบ | ก. วางวัตถุสิ่งหนึ่งแนบกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เอาผ้าทาบตัว เอามือทาบอก, (ปาก) เปรียบ, เทียบ, เช่น เรามีความรู้น้อยจะไปทาบท่านผู้รู้ได้อย่างไร | ที่ไหน | คำใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มีความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น แล้วว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา (อิเหนา). | นั่นแน่ | คำแสดงการยืนยันการพบเห็นเป็นต้น เช่น นั่นแน่ อยู่ที่นี่เอง นั่นแน่ ว่าแล้วอย่างไรล่ะ. | น้ำใจ | น. ใจแท้ ๆ, ใจจริง, ความรู้สึกนึกคิดจริง ๆ, เช่น อยู่ด้วยกันไม่นานก็เห็นนํ้าใจว่าเขาเป็นคนอย่างไร, ความจริงใจ เช่น เราเห็นว่าเขามีน้ำใจกับเรา ไม่เคยหลอกลวงเราเลย, นิสัยใจคอ เช่น นํ้าใจชาย นํ้าใจหญิง, ความเอื้ออาทร เช่น เขาเป็นคนมีนํ้าใจ เธอช่างแล้งนํ้าใจ. | แนะแนว | ก. แนะนำแนวทางว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร. | บริษัท | (บอริสัด) น. หมู่, คณะ, เช่น พุทธบริษัท, ที่ประชุม เช่น จะพูดอย่างไรต้องดูบริษัทเสียก่อน | บอกยี่ห้อ | ก. แสดงกิริยาท่าทีหรือคำพูดให้รู้ว่ามีลักษณะนิสัยใจคอหรือชาติตระกูลเป็นอย่างไรเป็นต้น. | ปากพระร่วง | น. วาจาสิทธิ์ คือ พูดอย่างไรแล้วจะเป็นไปตามที่ปากว่า เช่น เธอนี่ปากพระร่วงนะ บอกว่าฝนจะตกก็ตกจริง ๆ. | เป็น ๑ | ก. คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำเพื่อให้เห็นว่าคำหน้าและคำหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย. | เป็นไร | ว. ใช้ในความหมายที่ยืนยัน หมายความว่า เป็นอย่างนั้น เช่น นั่นเป็นไรล่ะ, ใช้ในความหมายที่เป็นคำถาม หมายความว่า เป็นอย่างไรไป เช่น นั่นเป็นไรหรือ. | ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า | ว. ทำอย่างไร ๆ ก็ไม่ถูกใจสักอย่าง. | พรายย้ำ | น. รอยดำ ๆ คล้ายถูกอะไรกัดเป็นรอยชํ้า ปรากฏตามร่างกายเป็นแห่ง ๆ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดอย่างไร โบราณถือว่าถูกผีพรายกัดยํ้าเอา แต่ไม่ถึงกับเข้าเป็นแผล. | พะอืดพะอม | โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไรดี, ไม่กล้าที่จะตัดสินใจเด็ดขาดลงไป, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ก็ว่า. | มืดแปดด้าน | ก. นึกไม่เห็น, คิดไม่ออก, จนปัญญาไม่รู้จะหาทางออกได้อย่างไร, เช่น ตอนนี้รู้สึกมืดแปดด้านไปหมด. | ไม่ยี่หระ | ก. ไม่สะทกสะท้าน, ไม่ไยดี, เช่น ใครจะด่าว่าอย่างไร เขาก็ไม่ยี่หระ. | ยิ้มแก้เก้อ, ยิ้มแก้ขวย | ก. อาการที่รู้สึกเก้อหรือขวยแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ฝืนยิ้มออกมา. | แยแส | ก. เอาเป็นธุระ, เกี่ยวข้อง, สนใจ, เอาใจใส่, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เขาไม่แยแสว่าใครจะคิดอย่างไร. | รับรู้ | รับผิดชอบ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ลูกไปทำผิด พ่อแม่จะไม่รับรู้ได้อย่างไร. | รู้ใจ | ก. รู้อัธยาศัยใจคอว่าเป็นอย่างไร หรือชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เช่น ลูกน้องรู้ใจนาย, รู้เส้น ก็ว่า. | รู้ท่า | ก. รู้ทันความคิด, รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งคิดอย่างไร, เช่น เห็นหน้าน้องก็รู้ท่าว่าจะมาขอเงิน. | รู้แล้วรู้รอด | ก. เสร็จสิ้นกันที เช่น เรื่องนี้จะว่าอย่างไรก็ว่ากัน จะได้รู้แล้วรู้รอดไปเสียที. | รูปพรรณสัณฐาน | น. รูปร่างลักษณะ เช่น เขามีรูปพรรณสัณฐานอย่างไร สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว. | เรา | ส. สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม. | ลอง ๒ | ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิมผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือน้ำตาล | ลับลมคมใน | ว. มีเงื่อนงำบางอย่างแฝงอยู่ ไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร เช่น เขาเป็นคนลับลมคมใน คบยาก เรื่องนี้มีลับลมคมในต้องสืบสวนต่อไป. |
| verbigeration | อาการพูดหรือเขียนซ้ำ ๆ อย่างไร้ความหมาย [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
| Single Photon Emission Computed Tomography | สเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก, Example: [นิวเคลียร์] | Single Photon ECT | สเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก [นิวเคลียร์] | surge protector | เครื่องป้องกันไฟกระชาก, อุปกรณ์ที่อยู่ระหว่างคอมพิวเตอร์กับกระแสไฟฟ้าบ้าน และป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์เสียหายจากกระแสไฟฟ้าที่กระชากขึ้นสูง โดยกระทันหัน อย่างไรก็ตามเครื่องนี้จะไม่สามารถป้องกันกระแสไฟฟ้าตก หรือไฟฟ้าดับได้ [คอมพิวเตอร์] | ฉันใด | อย่างไร อย่างใด เช่นใด, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ฉันท์ใด [คำที่มักเขียนผิด] | Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Mission | การเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต] | Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] | concert of nations | ความปรองดองระหว่างชาติ หลักการและแนวคิดเรื่องความปรองดองระหว่างชาติเกิดขึ้นในยุโรป ระหว่าง พ.ศ. 2357-2358 ซึ่งเรียกว่า Concert of Europe หรือบางครั้งเรียกว่า Concert of Allies โดยการรวมตัวของกลุ่มรัฐพันธมิตรที่ต่อต้านการขยายอำนาจของฝรั่งเศส คือ รัสเซีย ออสเตรีย ปรัสเซีย และอังกฤษ ได้รวมตัวกันเป็นระบบแห่งยุโรป (European system) หรือระบบแห่งมหาอำนาจในยุโรป ซึ่งต่อมาฝรั่งเศสและสเปนได้เข้าร่วมในระบบความปรองดองแห่งยุโรปด้วย นอกจากนี้การเกิดระบบความปรองดองแห่งยุโรปซึ่งมีระบบการประชุมคองเกรส ระหว่างชาติมหาอำนาจเป็นกลไกสำคัญนั้น ยังเป็นการแสดงถึง "มหาอำนาจแห่งปฐมลำดับ" (The powers of the first order) และยังถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการเรียกชื่อที่ระบุคำว่ามหาอำนาจ (The first expression of the idea of the Great Powers) อย่างไรก็ตาม ระบบความปรองดองแห่งยุโรปได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2365 [การทูต] | Conciliation | การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการของการส่งเรื่องกรณีพิพาทไปให้คณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นทางการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริง แล้วเสนอรายงาน ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอแนะในอันที่จะระงับกรณีพิพาทนั้น อย่างไรก็ดี ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการนี้ไม่มีผลบังคับแก่คู่พิพาทแต่อย่างใด ไม่เหมือนกับคำวินิจฉัยในการตัดสินชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) [การทูต] | Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] | Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] | Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] | Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articles | การยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต] | Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] | Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] | Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] | Functions of Diplomatic Mission | ภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะผู้แทนทางการทูต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติเป็นประจำของผู้แทนทางการทูตนั้น ได้แก่ หน้าที่การเจรจา การสังเกต และการคุ้มครอง อย่างไรก็ดี มีบางประเทศได้มอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตของตนปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และกิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญใด ๆ กับการทูตเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า1. นอกจากประการอื่นแล้ว การหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตประกอบด้วยก. ทำหน้าที่แทนรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับข. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดอันกฎหมายระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ค. เจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับง. สืบเสาะให้แน่ด้วยวิถีทางทั้งมวลอันชอบด้วยกฎหมายถึงสถาวะและพัฒนาการในรัฐ ผู้รับ แล้วรายงานไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่งจ. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ2. ไม่มีข้อความในอนุสัญญานี้ ที่จะหมายความได้ว่าเป็นการห้ามไม่ให้คณะผู้แทนทางการทูตปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล [การทูต] | Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] | International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] | Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] | Intellectual Property | ทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต] | New Diplomacy | การทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] | Normal Diplomacy | การติดต่อทางการทูตโดยวิถีทางทูตตามปกติ มักจะกระทำกันดังนี้ เมื่อรัฐบาลต้องการจะหยิบยกปัญหาขึ้นกับอีกรัฐบาลหนึ่ง ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำสั่งไปยังเอกอัครราชทูตของ ประเทศตนที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับส่งให้ยกเรื่องนั้นขึ้นเจรจากับรัฐบาล ของประเทศผู้รับ โดยปกติเอกอัครราชทูตจะมีหนังสือทางการทูต (Diplomatic Note) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศผู้รับนั้นก่อน หรือไม่ก็ไปพบกับรัฐมนตรีด้วยตนเอง ณ กระทรวงการต่างประเทศ การเจรจากันอาจทำให้จำเป็นต้องมีการบันทึกของทูตแลกเปลี่ยนกันขึ้น ในรูปบันทึกช่วยจำ (Aide-Memoire ) ในบางกรณี เอกอัครราชทูตจำเป็นต้องไปพูดจา ณ กระทรวงการต่างประเทศ อีกหลายครั้งกว่าจะเสร็จเรื่อง ในระหว่างนั้น เอกอัครราชทูตมีหน้าที่จะต้องรายงานผลการเจรจาแต่ะครั้งไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศของตน และบางคราวอาจจะต้องขอคำสั่งเพิ่มเติมอีกเมื่อเกิดกรณีใหม่โดยมิได้คาดหมาย มาก่อนเป็นต้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับก็จะส่งคำสั่งไปยังเอก อัครราชทูตของตน แนะว่าควรดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจากันกับรัฐบาลของ ประเทศที่ตนประจำอยู่ผลการเจรจาอาจเป็นที่ตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง ฝ่าย หรืออาจจะจบลงด้วยภาวะชะงักงัน ( Stalemate ) หรือรัฐบาลทั้งสองอาจจะตกลงกันว่าไม่สามารถตกลงกันได้ และปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปก่อน จนกว่าจะมีการรื้อฟื้นเจรจากันใหม่ บางคราวปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น อาจกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไปก็ได้ [การทูต] | Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] | Organization of European Economic Cooperation | คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] | Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] | persona non grata | บุคคลทางการทูตที่รัฐผู้รับไม่ยอมรับ เช่น กรณีนักการทูตทำผิดกฎหมายหรือข้อบังคับทางศาสนาในประเทศที่พำนักอยู่ จนทางรัฐบาลของประเทศนั้นไม่อาจยอมรับได้และต้องให้เดินทางกลับออกนอกประเทศ นั้น อย่างไรก็ตาม นักการทูตอาจถูกรัฐบาลของรัฐผู้รับให้ออกนอกประเทศเป็น persona non grata ด้วยเหตุผลของการดำเนินการโต้ตอบทางการเมืองระหว่างรัฐผู้รับและรัฐผู้ส่งก็ เป็นได้ โดยที่นักการทูตผู้นั้นมิได้กระทำผิดกฎหมายของรัฐผู้รับหรือกระทำผิดทาง ศาสนาของรัฐผู้รับแต่อย่างใด [การทูต] | Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] | Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] | Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunities | บุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต] | Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] | Political Offenses | ความผิดทางการเมือง หลักการข้อหนึ่งของการส่งตัวผู้กระทำความผิดไปให้อีก ประเทศหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการส่งผู้ร้ายข้ามแดน คือ ผู้ที่กระทำผิดทางการเมืองจะถูกส่งข้ามแดนไปให้อีกประเทศหนึ่งไม่ได้เป็นอัน ขาด แต่อย่างไรก็ดี มีปัญหาในปฏิบัติคือว่า จะแยกความแตกต่างกันอย่างไรระหว่างความผิดทางการเมือง กับที่มิใช่ด้วยเหตุผลทางการเมือง นักวิชาการบางท่านนิยามความหมายของคำว่าความผิดทางการเมืองไว้ว่า คือ ความผิดฐานกบฏ (Treason) ซึ่งในกฎหมายของหลายประเทศหมายถึงการประทุษร้าย หรือพยายามประทุษร้ายต่อประมุขของประเทศ หรือช่วยฝ่ายศัตรูทำสงครามกับประเทศของตน ความผิดฐานปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ (Sedition) หรือการประกอบจารกรรม (Espionage) อันเป็นการคุกคามต่อความั่นคงหรือต่อระบบการปกครองของประเทศผู้ร้องขอ (หมายถึงประเทศที่ร้องขอให้ส่งตัวผู้กระทำผิดไปให้ในลักษณะผู้ร้ายข้ามแดน) ไม่ว่าจะกระทำโดยคนเดียวหรือหลายคนก็ตาม [การทูต] | Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] | Responsibility to protect | หลักการความรับผิดชอบในการคุ้มครอง เป็นหลักการที่ได้รับการรับรองในการประชุมระดับผู้นำ เพื่อทบทวนผลของปฏิญญาสหัสวรรษ(High Level Panel Meeting - HLPM) เมื่อวันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2548 ณ นครนิวยอร์ก ที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงทางมนุษยธรรม ( humanitarian interference/intervention of humanity)เพื่อคุ้มครองประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การฆ่าล้างชนชาติ โดยจะถือเป็นความรับผิดชอบและที่จะต้องดำเนินการร่วมกันโดยประชาคมระหว่าง ประเทศ อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่องนี้มีนัยเกี่ยวข้องกับกฏหมายระหว่างประเทศ อธิปไตย ของรัฐ ความอ่อนไหวทางการเมือง และความชอบธรรมในการปฏิบัติ จึงยังไม่มีการนิยามแนวความคิด R2P รวมถึงขอบเขตของ R2P ที่ชัดเจน [การทูต] | Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] | Voting Procedure in the United Nations | วิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต] | ดัชนีความหนืด | ดัชนีความหนืดของน้ำมันหล่อลื่นเป็นตัวบ่งชี้ว่าน้ำมันหล่อลื่นชนิดนี้จะมี ความหนืดเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิอย่างไร ถ้าน้ำมันหล่อลื่นมีค่าดัชนีความหนืดมาก แสดงว่าน้ำมันหล่อลื่นชนิดนี้ความหนืดจะเปลี่ยนแปลงน้อยเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน ในขณะที่น้ำมันหล่อลื่นที่มีค่าดัชนีความหนืดต่ำ แสดงว่าน้ำมันหล่อลื่นชนิดนั้น ความหนืดจะเปลี่ยนแปลงมากเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน น้ำมันที่มีดัชนีความหนืดสูงจะเป็นน้ำมันคุณภาพดี สามารถใช้งานได้ดี แม้มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมาก [ปิโตรเลี่ยม] | mechanism of a reaction | กลไกของปฏิกิริยา, วิธีการแสดงว่าปฏิกิริยาเคมีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งอาจอธิบายได้โดยใช้สมการเคมีหลาย ๆ สมการ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจน(H) กับโบรมีน(Br) เกิดเป็นไฮโดรเจนโบรไมด์(HBr) อาจอธิบายกลไกของปฏิกิริยาโดยใช้สมการเคมีต่ง ๆ ดังนี้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | conceptual model | แบบจำลองความคิด, ภาพร่าง แผนผังความคิด ผังงาน หรือแผนภูมิ เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจวิธีการที่ใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ โดยแสดงลำดับขั้นตอนความคิดของการทำงานในระบบงานหนึ่ง ๆ ในภาพรวม เพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบงานมีการทำงานหรือวิธีการทำงานอย่างไร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
| - What about it? | - อย่างไร Size Matters (2014) | We've got to make due with what we've got. | เราต้องทำอย่างไรกับสิ่งที่เรามได้มา The Broken Man (2016) | -Oh, wise Sultan. How may I serve you? | โอ้ สุลต่านผู้ชาญฉลาด ข้าจะรับใช้ท่านอย่างไรดี Aladdin (1992) | Oh, sure. People who tell you where to go and how to dress. | โอ้ แน่นอน ผู้คนจะบอกเธอ จะไปที่ไหนและแต่งตัวอย่างไร Aladdin (1992) | Jafar, I'm stuck! | ข้าจะรีบใช้ท่านอย่างไรดี Aladdin (1992) | Good bye! Well, now. How about that, Mr. doubting mustafa? | เอาล่ะ ทีนี้ เป็นอย่างไรบ้าง ท่านมุสตาฟาขี้สงสัย Aladdin (1992) | So how 'bout it? | มันเป็นอย่างไร ท่านต้องการอะไรมากที่สุด Aladdin (1992) | How could I choose someone she hates? -Not to worry, my liege.There is more. | ข้าจะเลือกคนที่เธอเกลียดให้ได้อย่างไร ทรงไม่ต้องกังวลไป มันยังมีต่อ Aladdin (1992) | What am I going to do? Jasmine won't even let me talk to her. | ข้าจะทำอย่างไรดี จัสมิน ยังไม่อนุญาติแม้ให้ข้าเข้าพบด้วยซ้ำ Aladdin (1992) | How do I look? | ข้าดูเป็นอย่างไรบ้าง Aladdin (1992) | Down kitty! How's our beau doing? | หรุ่มสำอางค์ของเราเป็นอย่างไรบ้าง Aladdin (1992) | What do you say, my dear? Why, with you as my queen... | เจ้าจะว่าอย่างไร ที่รัก ด้วยเธอเป็น ราชินีของข้า Aladdin (1992) | How should I answer? | ฉันควรจะตอบอย่างไรดี Wuthering Heights (1992) | Well, really, Miss Cathy, how should I know? | จริงๆนะ คุณแคทธี ฉันจะรู้ได้อย่างไร Wuthering Heights (1992) | What do you mean? | หมายความว่าอย่างไร Wuthering Heights (1992) | It's our old home, after all. | อย่างไรก็ตาม บ้านก็เป็นบ้านเก่าเรา Wuthering Heights (1992) | I remember how you pictured it. | ฉันจำได้ ว่าเธอจินตนาการไว้อย่างไร Wuthering Heights (1992) | How's Cathy? | แคทธีเป็นอย่างไรบ้าง Wuthering Heights (1992) | How can I bear it? | ฉันจะทนได้อย่างไร Wuthering Heights (1992) | I cannot live without my life. | ฉันจะอยู่ได้อย่างไรหากไร้ซึ่งชีวิตเสียแล้ว Wuthering Heights (1992) | I cannot live without my soul. | จะอยู่ได้อย่างไรหากไร้ซึ่งจิตวิญญาณ Wuthering Heights (1992) | If my father died before I returned, could I bear to live? | หากพ่อดิฉันเสียชีวิต ก่อนดิฉันกลับไป ดิฉันจะทนมีชีวิตได้อย่างไร Wuthering Heights (1992) | What was she like? | หล่อนเป็นอย่างไรบ้าง Wuthering Heights (1992) | How do you feel? | เธอรู้สึกอย่างไร Wuthering Heights (1992) | How do you feel, Catherine? | รู้สึกอย่างไร แคทเธอรีน Wuthering Heights (1992) | I don't know how you can bear to leave her. | ฉันไม่รู้ว่าเธอยอมทน อยู่ห่างหล่อนได้อย่างไร Wuthering Heights (1992) | How would you feel if I spoke badly of your father? | เธอจะรู้สึกอย่างไร หากฉันพูดไม่ดีเกี่ยวกับพ่อของเธอ Wuthering Heights (1992) | How do you mean- a change? | หมายความว่าอย่างไร การเปลี่ยนแปลง Wuthering Heights (1992) | So as you can see, the results with this one human subject... indicate unlimited applications for mental disability alone... such as retardation, Alzheimer's. | อย่างที่คุณเห็น ผลลัพธ์ที่เกิดกับร่างทดลอง เกิดพัฒนาการอย่างไร้ขีดจำกัด จากเดิมที่เป็นคนปัญญาอ่อน The Lawnmower Man (1992) | I'm gonna miss the boat. What's that? | ผมจะพลาดเรือ นั้นเป็นอย่างไร In the Name of the Father (1993) | The address, you mean? | - - ที่อยู่คุณหมายความว่าอย่างไร - In the Name of the Father (1993) | - Long-distance call. | - เป็นอย่างไร - - สายระยะไกล In the Name of the Father (1993) | - I'm fine. How are you? | - ผมสบายดี คุณเป็นอย่างไรบ้าง In the Name of the Father (1993) | - How do you mean? | - - คุณหมายความว่าอย่างไร? In the Name of the Father (1993) | She had nothing to do with it. | เธอก็ไม่มีอะไร จะทำอย่างไรกับมัน In the Name of the Father (1993) | - Nothing to do with what, Gerry? | - - ไม่มีอะไรจะทำอย่างไรกับสิ่งที่, Gerry? In the Name of the Father (1993) | Have you anything to say to him? | คุณมีสิ่งที่ จะพูดกับเขาว่าอย่างไร In the Name of the Father (1993) | - Why did you give 'em my fucking name? | - - ทำไมคุณให้'em ชื่อร่วมเพศของฉันได้อย่างไร In the Name of the Father (1993) | How do we know this? Because the truth was on their hands. | เราจะทราบได้อย่างไร เพราะความจริงอยู่ในมือของพวกเข? In the Name of the Father (1993) | - How do you find the defendants? | - - คุณจะพบจำเลยได้อย่างไร - In the Name of the Father (1993) | What? Manners to him? | เป็นอย่างไร มารยาทกับเขา? In the Name of the Father (1993) | - What's good about it? | - - ของดีเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร In the Name of the Father (1993) | - How's your boy? | - - boy ของคุณได้อย่างไร In the Name of the Father (1993) | - How can I help you? | - - ฉันสามารถช่วยคุณได้อย่างไร In the Name of the Father (1993) | "The Parade of Innocence." What do you think? | "ขบวนของ lnnocence." คุณคิดอย่างไร? In the Name of the Father (1993) | What harm could it do? | สิ่งที่เป็นอันตรายต่อมันจะทำอย่างไร In the Name of the Father (1993) | Would you mind telling me what's good about that? | คุณจะช่วยบอกฉัน ของดีเกี่ยวกับการว่าเป็นอย่างไร In the Name of the Father (1993) | Now, you've probably wondered where holidays come from. | ตอนนี้คุณอาจจะสงสัย ว่าวันหยุดมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร The Nightmare Before Christmas (1993) | Though I do not have the key Something's here I cannot see | แต่ถึงอย่างไร ฉันก็ไม่มีกุญแจไขเข้าไป / สิ่งทีอยู่ข้างในนั้นฉันจึงไม่ได้พบเห็นมัน The Nightmare Before Christmas (1993) | Although I'd like to join the crowd | อย่างไรก็ตาม ฉันชอบเข้าร่วมกับฝูงชน The Nightmare Before Christmas (1993) |
| อ่านอย่างไร | [ān yāngrai] (v, exp) EN: how to pronounce ? FR: comment doit-on prononcer ? | เอาอย่างไร | [ao yāngrai] (x) EN: what do you want ? ; what's the answer ? | ช่วงนี้เป็นอย่างไร | [chūang nī pen yāngrai] (xp) EN: how's it going ? FR: comment ça va en ce moment ? | ... ได้อย่างไร | [... dai yāng rai] (v, exp) FR: comment faire pour ... | เห็นเป็นอย่างไร | [hen pen yāngrai] (xp) FR: qu'en pensez-vous ? | เขียนอย่างไร | [khīen yāngrai] (v, exp) FR: comment doit-on écrire ? | คุณรู้สึกอย่างไร | [khun rūseuk yāngrai] (xp) EN: how do you feel ? FR: comment vous sentez-vous ? ; quel est votre sentiment ? ; quelles sensations ressentez-vous ? | ไม่รู้จะเอาอย่างไร | [mai rū ja ao yāngrai] (xp) EN: I don't know what to do ; I don't know what he wants | มันหมายความว่าอย่างไร | [man māikhwām wā yāngrai] (xp) EN: What does it mean ? FR: Qu'est-ce que ça signifie ? | ...มีลักษณะเป็นอย่างไร | [... mī laksana pen yāngrai] (xp) FR: quelles ont les caractéristiques de ... ? | ...มีที่มาอย่างไร | [... mī thīmā yāngrai] (xp) EN: what about the origin of ... FR: quelle est l'origine de ... ? | เป็นอย่างไร | [pen yāngrai] (x) EN: then what ? | เป็นอย่างไรบ้าง | [pen yāngrai bāng] (xp) EN: how are things ? | ...เป็นอย่างไรบ้าง | [… pen yāngrai bāng] (xp) EN: how is … ; how are … FR: comment va … ; comment vont … | รู้ได้อย่างไร | [rū dāi yāngrai] (xp) FR: comment le savez-vous ? | ...ทำงานอย่างไร | [... thamngān yāngrai] (v, exp) FR: comment fonctionne ... ? ; comment ça marche ? | ถือดีอย่างไร | [theūdī yāngrai] (v, exp) EN: how dare you ... ; how do you think you are (to) | อย่างไร | [yāngrai] (x) EN: how ; what ; in what manner ; anyhow ; anything FR: comment ? ; de quelle manière ? ; de quelle façon ? ; quel que soit | อย่างไรบ้าง | [yāngrai bāng] (x) EN: what ? ; how ? FR: comment ? | อย่างไรก็ช่าง | [yāngrai køchang] (x) FR: ça m'est égal | อย่างไรก็ได้ | [yāngraikødāi] (x) EN: whatever ; anything is all right FR: de toute façon ; quoii que | อย่างไรก็ดี | [yāngraikødī] (x) EN: in any event ; in any case ; however ; anyhow ; nevertheless FR: en tout cas ; pourtant | อย่างไรก็ไม่รู้ | [yāngrai kø mai rū] (xp) EN: I don't know | อย่างไรก็ตาม | [yāngraikøtām] (adv) EN: however ; nevertheless ; but ; anyway ; anyhow ; in any case ; in any event ; nevertheless FR: cependant ; néanmoins ; quoi qu'il en soit ; dans tous les cas |
| Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) | (n, name) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ พยาธิสภาพของโรคเอแอลเอสอยู่ที่บริเวณแกนสมอง และไขสันหลัง ทำให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อแขนขา และลำตัวอ่อนแรง กลืนลำบาก และพูดไม่ชัด คำว่า “Amyotrophic” หมายถึง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฝ่อลีบและเต้นพลิ้ว (fasciculation) ส่วนคำว่า “Lateral sclerosis” หมายถึงรอยโรคในทางเดินของกระแสประสาทซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในไขสันหลัง โรคเอแอลเอสพบน้อยมาก โดยพบได้เพียง 4 ถึง 6 ต่อประชากร 100, 000 คน และโอกาสที่จะพบผู้ป่วยรายใหม่มีเพียง 1.5 ถึง 2.5 ต่อประชากร 100, 000 คนต่อปี โรคนี้เป็นกับผู้ใหญ่วัยใดก็ได้ แต่จะพบบ่อยขึ้นตามอายุ อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 65 ปี โดยมักเป็นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรคเอแอลเอสเกิดขึ้นได้อย่างไร ผู้ป่วยราวร้อยละ 5 (โดยเฉพาะผู้ป่วยอายุน้อย) อาจมีประวัติโรคนี้ในครอบครัว สิ่งแวดล้อมหรือสารพิษบางชนิด อาจมีผลกับการเกิดโรคนี้ เนื่องจากพบว่าในบางพื้นที่ของโลก เช่นที่เกาะกวม พบโรคนี้มากกว่าที่อื่น นอกจากนั้นการศึกษาทางระบาดวิทยายังพบว่า นักกีฬาบางประเภท โดยเฉพาะนักฟุตบอลอาชีพมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าประชากรทั่วไป ปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของโรคนี้อาจเกิดจาก กลไกภูมิคุ้มกันต่อตนเองผิดปกติ (Autoimmune attack) หรือเกิดจากกลไกอนุมูลอิสระ (Free radicals) ทำลายเซลล์ประสาทของตนเอง ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่า การเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทในสมองและไขสันหลังเกิดจากสารสื่อนำกระแสประสาท (neurotransmitter) ที่เรียกว่ากลูตาเมต (glutamate) กระตุ้นให้เกิดการทำลายเซลล์ (ข้อมูลจาก ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ปัจฉิมวัย : http://www.thonburihospital.com/th/tip_detail.asp?id=22 , http://www.inf.ku.ac.th/article/diag/520506/alsmnd.html) |
| absurdly | (adv) อย่างไร้สาระ, See also: อย่างไม่เป็นเหตุเป็นผล, Syn. ridiculously, foolishly | anyway | (adv) นอกจากนั้น, See also: ถึงอย่างไร, อย่างไรก็ตาม, Syn. nevertheless, anyhow | after all | (idm) อย่างไรก็ตาม, See also: ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม | all the same | (idm) แต่กระนั้น, See also: อย่างไรก็ตาม | all the same | (idm) ถึงอย่างไรก็ตาม, See also: ถึงอย่างนั้น, แต่กระนั้น, Syn. just the same, nevertheless | at all costs | (idm) ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม | at any cost | (idm) ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม | at any rate | (idm) ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม (คำไม่เป็นทางการ), See also: อย่างไรก็ตาม | be abreast of | (phrv) รู้ทะลุปรุโปร่ง, See also: รู้ตลอดเวลาว่าความจริงทั้งหมดเป็นอย่างไร, Syn. keep abreast of | bugger about | (phrv) ปล่อยเวลาให้เสียไปอย่างไร้ประโยชน์ (คำสแลงและคำต้องห้าม), Syn. mess about | bugger around | (phrv) ปล่อยเวลาให้เสียไปอย่างไร้ประโยชน์ (คำสแลงและคำต้องห้าม), Syn. mess about | coldly | (adv) อย่างไร้อารมณ์ความรู้สึก, See also: อย่างเฉยเมย, อย่างเย็นชา | carp at | (phrv) จับผิด, See also: บ่นอย่างไร้เหตุผลเกี่ยวกับ, หาเรื่อง, Syn. cavil at | come what may | (idm) ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม, See also: ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม | drift along | (phrv) ล่องลอยไปอย่างไร้จุดหมาย, See also: แล่นไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมาย | fiddle with | (phrv) ปัดมือหรือส่ายมือเล่นไปมากับ...อย่างไร้จุดมุ่งหมาย, Syn. fidget with | fidget with | (phrv) ขยับเล่น (บางสิ่ง) ไปมากับ...อย่างไร้จุดมุ่งหมาย, Syn. fiddle with | flap about | (phrv) ส่ายไปมาอย่างไร้ทิศทาง, See also: แกว่งไปมาอย่างไร้ทิศทาง, Syn. flap around | flap around | (phrv) ส่ายไปมาอย่างไร้ทิศทาง, See also: แกว่งไปมาอย่างไร้ทิศทาง, Syn. flap about | despite | (prep) ถึงอย่างไรก็ตาม, See also: จะอย่างไรก็ตาม, Syn. in spite of, regardless of | drift | (vi) เร่ร่อน, See also: ระหกระเหิน, ใช้ชีวิตอย่างไร้จุดมุ่งหมาย, Syn. roam, wander, ramble | even so | (adv) ถึงกระนั้น, See also: ถึงอย่างไร, แต่กระนั้น, อย่างไรก็ตาม, แม้กระนั้น, Syn. nevertheless | fetch | (n) เขตที่ลมพัดผ่านสะดวก, See also: เขตลมพัดผ่านอย่างไร้สิ่งกีดขวาง | fiddle-faddle | (vi) ปล่อยเวลาผ่านไปอย่างไร้ค่า, See also: ชักช้า, เถลไถล, เรื่อยเปื่อย | freehold | (n) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ครอบครองมีสิทธิที่จะทำอย่างไรก็ได้กับอสังหาริมทรัพย์นั้น | futz | (vi) ใช้เวลาหมดไปอย่างไร้ประโยชน์ | gad about | (phrv) ท่องไปทั่ว, See also: เดินทางไปอย่างไร้จุดหมาย, Syn. gad around, gallivant about | gad around | (phrv) ท่องไปทั่ว, See also: เดินทางไปอย่างไร้จุดหมาย, Syn. gad about, gallivant about | idle about | (phrv) ใช้เวลาหมดไปอย่างไร้ค่า, Syn. mess about | idle around | (phrv) ใช้เวลาหมดไปอย่างไร้ค่า, Syn. mess about | gadabout | (n) คนชอบเที่ยวหาความสำราญอย่างไร้จุดหมาย, See also: คนชอบเที่ยวเตร่ไปวันๆ, Syn. rover, rambler | how | (adv) เท่าไร, See also: เท่าใด, เพียงใด, แค่ไหน, อย่างไร, เช่นไร | however | (conj) อย่างไรก็ตาม, See also: แม้กระนั้น, โดยวิธีใดก็ตาม, อย่างไรก็ดี | howsoever | (adv) อย่างไรก็ตาม | hit and miss | (idm) อย่างไม่ระมัดระวัง, See also: อย่างไร้ทิศทาง, อย่างไร้แผนการ, Syn. hit or miss, Ant. hit or miss | hit or miss | (idm) อย่างไม่ระมัดระวัง, See also: อย่างไร้ทิศทาง, อย่างไร้แผนการ, Syn. hit and miss, Ant. hit and miss | just the same | (idm) แต่กระนั้น, See also: อย่างไรก็ตาม | one way or another | (idm) อย่างไรก็ตาม, See also: ด้วยเหตุใดก็ตาม, ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง | rob Peter to pay Paul | (idm) หยิบยืมจากอีกคนไปให้อีกคน, See also: ยืมจากคนนี้ไปใช้คนโน้น อย่างไรก็ยังเป็นหนี้อยู่ดี | What of it? | (idm) แล้วทำไม, See also: มันไม่ใช่เรื่องสำคัญเลยนะ, แล้วอย่างไรล่ะ | with the best will in the world | (idm) ไม่ว่าจะทำอย่างไร | ideally | (adv) อย่างสมบูรณ์แบบ, See also: อย่างไร้ที่ติ, อย่างเลอเลิศ, Syn. perfectly | in vain | (adv) อย่างไร้ความหมาย, See also: อย่างล้มเหลว, เปล่าๆ, Syn. unsuccessfully | insolently | (adv) อย่างอวดดี, See also: อย่างโฮกฮาก, อย่างไร้มารยาท | loaf about | (phrv) เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์, See also: ปล่อยให้เวลาผ่านไปอย่างไร้จุดหมาย, Syn. loaf around | loaf around | (phrv) ใช้เวลาหมดไปโดยเปล่าประโยชน์, See also: ปล่อยให้เวลาผ่านไปอย่างไร้จุดหมาย, Syn. loaf about | lounge about | (phrv) เดินเตร่, See also: เดินไปเดินมาอย่างไร้ประโยชน์, Syn. loll about, lounge around | lounge around | (phrv) เดินเตร่, See also: เดินไปเดินมาอย่างไร้ประโยชน์, Syn. loll about, lounge about | listlessly | (adv) อย่างเฉื่อยชา, See also: อย่างเซื่องซึม, อย่างไม่กระตือรือร้น, อย่างไร้ความสนุกสนาน, อย่างไร้ชีวิตชีวา, Syn. languidly | make a fuss about | (idm) วิตกกังวลอย่างไร้เหตุผล, Syn. make of |
| albeit | (ออลยี' อิท) conj. แม้ว่า, อย่างไรก็ตาม | all | (ออล) n., adj., adv. ทั้งหมด, จำนวนทั้งหมด, ทั้งมวล, ทั่วทุก, ตลอด, เท่าที่มีทั้งหมด, ล้วน, แท้, สูงสุด, ที่สุด. -above all ก่อนอื่น. -after all อย่างไรก็ตาม, ในที่สุด. -once and for all ในที่สุด. -all but เกือบจะ, จวนเจียน | although | (ออล' โธ) conj. ถึงแม้ว่า, อย่างไรก็ตาม, Syn. though, even though | analog computer | (แอน' นะลอกคอมพิวเตอร์) n. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คำนวณด้วยสิ่งที่แทนตัวเลขได้ และมีการแสดงผลลัพธ์โดยทางภาพที่ปรากฏบนจอภาพ หน้าปัด หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัด ค่าต่าง ๆ ที่นำมาใช้กับการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ เป็นค่าที่ต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิ ความดัน อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จำเป็นต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ช่วย เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบแทนค่าได้ ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่ สไลด์รูล (slide rule) เทอร์โมแสตท (thermostat) เครื่องวัดความเร็วรถยนต์ เป็นต้น ความละเอียดถูกต้องในการคำนวณด้วยอะนาล็อกคอมพิวเตอร์มีน้อยกว่าดิจิตอลคอมพิวเตอร์มากดู digital computer เปรียบเทียบ | anyhow | (เอน'นีเฮา) adv. อย่างไรก็ตาม, กรณีใด ๆ , อย่างไม่ระมัดระวัง., Syn. notwithstanding, anyway | apple computer inc. | บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ <คำแปล>เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล ชุดที่โด่งดังมาก ได้แก่ แอปเปิลทู (Apple II) และ แมคอินทอช (Macintosh) ฯ คอมพิวเตอร์แอปเปิลที่วางขาย ในตลาดรุ่นแรก ๆ นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความฮือฮาอย่างมากในวงการคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นครั้งแรก (ราว ค.ศ.1977) ที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กในราคาที่คนทั่วไปจะหาไว้ใช้เป็นสมบัติส่วนตัวได้ ผู้ที่ช่วยกันริเริ่มคิดประดิษฐ์ได้แก่ Steve Jobs กับ Steve Wozniak สองสหายวัยรุ่นที่สร้างเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในโรงรถ ส่วนเครื่องรุ่นแมคอินทอชนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแรกที่เริ่มนำสัญรูป (icon) รายการคำสั่ง แบบดึงลง (pull down menu) กรอบสนทนา (dialog box) เมาส์ (mouse) ฯลฯ มาใช้ ทำให้คนทั่วไปเริ่มรู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ของยากอะไรเลย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้หนักไปในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ (desktop publishing) อย่างไรก็ตาม หาใช่มีแต่เครื่องแอปเปิลแมคอินทอชเท่านั้นไม่ที่ใช้ระบบการทำงานดังที่กล่าวแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีก็เลียนแบบ โดยการนำเอาระบบวินโดว์มาใช้ | attribute | (อะทริบ'บิวทฺ) vt. ให้เหตุผลว่า, ถือเอา, อ้างเหตุผล. -n. คุณลักษณะ. -attributer, attributor n. -attribution n., Syn. assign, consider, quality ลักษณะประจำหมายถึง คุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ มีการเน้นความแตกต่างจากของอื่นในประเภทเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลในระบบดอส จะมีลักษณะประจำต่างกันเป็น 4 อย่าง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บเป็นระเบียบ archive แฟ้มที่อ่านได้อย่างเดียว แก้ไขไม่ได้ read only แฟ้มที่ไม่แสดงตัว hidden และแฟ้มระบบ system หรือถ้าต้องการหาคำใดคำหนึ่ง เช่น ในโปรแกรมประมวลผลคำ นอกจากจะบอกคอมพิวเตอร์ว่าสะกดอย่างไรแล้ว อาจบอกเพิ่มเติมว่า ...เป็นคำที่ใช้แบบอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด ข้อความที่บ่งบอกคุณสมบัติเพิ่มเติมไปนี้ก็เรียกว่า " attribute " ทั้งสิ้น | aught | (ออท) n. สิ่งใด ๆ , ส่วนใด, ศูนย์ -adv. ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม., Syn. ought, zero, whatsoever | awkward | (ออค'เวิร์ด) adj. งุ่มง่าม, เชื่องช้า, เคอะเขิน, เก้งก้าง, ไม่รู้จะทำอย่างไรดี, อึดอัดใจ, อันตราย, ยากที่จะจัดการได้, ไม่สะดวก, ไม่เหมาะ -awkwardness n., Syn. gawky, ungainly | bank switching | การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้ | black box | กล่องดำหมายถึง แผงวงจรหรืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งแยกออกมาต่างหาก โดยปกติผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่า วงจรนั้นทำงานอย่างไร เป็นต้นว่า การถอดรหัสสัญญาณ | brazen | (เบร'เซิน) { brazened, brazening, brazens } adj. ทำด้วยทองเหลือง, หน้าด้าน, ไร้ความอาย vt. กระทำอย่างไร้ยางอาย, See also: brazenness n. ดูbrazen | bye | (บาย) n. การผ่านข้ามไปเล่นในรอบต่อไป, สิ่งที่เป็นรอง, สิ่งสำรอง -Id. (bye the bye อย่างไรก็ตาม) | capture | (แคพ'เชอะ) n. การจับได้, การยืดได้, สิ่งที่ถูกยึด, คนที่ถูกจับ, เชลย vt. จับได้, ยืดได้, เข้ายึดได้, ตีได้, ทำให้สนใจ, ทำให้หลงไหล, See also: capturer n. ดูcapture, Syn. take เก็บภาพจับภาพ ข้อมูล หมายถึง การสั่งเก็บภาพที่แสดงอยู่บนจอภาพทั้งหมด หรือ เฉพาะบางส่วนเอาไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช ใช้วิธีกดแป้น Command + Shift + 3 ภาพที่เกิดจะถูกนำไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลชื่อ Picture 1, Picture 2.... เรียงไปตามลำดับ ส่วนพีซี ใช้วิธีกดแป้น Print Screen ภาพที่อยู่บนจอจะถูกนำไปเก็บไว้ในคลิปบอร์ด clipboard เราอาจสั่งเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลได้โดยกำหนดชื่อให้เป็น ภาพ ๆ ไป แฟ้มเหล่านี้จะเรียกมาดูได้ในหลายโปรแกรม เป็นต้นว่า PageMaker, Microsoft Word อย่างไรก็ตาม หากจะเลือกเก็บเฉพาะบางส่วนของภาพที่ปรากฏบนจอ จะต้องใช้โปรแกรมพิเศษ | carp | (คาร์พ) { carped, carping, carps } vi. จับผิด, หาเรื่อง, บ่นอย่างไร้เหตุผล -n. ปลาคาร์พ, ปลาลี้ฮื้อ, Syn. find fault | client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ | compression | (คัมเพรส'เชิน) n. การอัด, การบีบ, การกด, ผลจากการถูกอัด, ความกดดัน, ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง ในดอส 6.0 ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้ จานบันทึกชนิดอ่อน floppy disk ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ | computer programmer | นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หมายถึง คนที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ และควรจะมีความชำนาญด้วย (สำหรับคนที่หัดเขียนใหม่ ๆ ไม่ควรจะใช้คำ ๆ นี้) นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น จะต้องรู้วิธีแก้ปัญหา และรู้ด้วยว่า จะแก้อย่างไร รวมทั้งต้องเข้าใจหลักและกฎเกณฑ์ของภาษาต่าง ๆ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ | copy protection | การป้องกันการคัดลอกหมายถึง วิธีการป้องกันไม่ให้ผู้ใดสามารถคัดลอกได้ ผู้เขียนโปรแกรมมักพยายามทำทุกวิถีทางที่จะกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใด มาคัดลอกโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่เขาสร้างขึ้นไว้ เช่นใช้อุปกรณ์ปิดกั้น หรือซ่อนแฟ้มข้อมูลบางแฟ้มไม่ให้มองเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกฎหมายในเรื่องของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ออกมาแล้ว ผู้ที่จะคัดลอกก็จะต้องระมัดระวังในเรื่องการคัดลอกนี้มากขึ้น | desktop publishing | การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะใช้ตัวย่อว่า DTP (อ่านว่า ดีทีพี) หมายถึง การนำภาพและข้อความมาจัดวางไว้ด้วยกันบนจอภาพ ในตำแหน่งที่สวยงาม ดูแล้วสบายตา มักใช้เป็นต้นแบบ (ต้นฉบับที่จะนำไปผลิตต่อ) ของเอกสารสิ่งพิมพ์ อธิบายง่าย ๆ ก็คือ การจัดเตรียมต้นฉบับเอกสารสิ่งพิมพ์โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) แทนที่จะเป็นการ "ตัดปะ" อย่างสมัยก่อน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องใช้โปรแกรมช่วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันมาก คือ PageMaker และ QuarkXpress การจัดเตรียมเอกสารสิ่งพิมพ์ด้วยวิธีนี้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน | despite | (ดิสไพทฺ') prep. ถึงอย่างไรก็ตาม, โดยไม่คำนึงถึง. n. ความเกลียดชัง, การดูหมิ่น, การเหยียดหยาม-Phr. (in despite of ถึงแม้ว่า) | dtp | (ดีทีพี) ย่อมาจาก desktop publishing ซึ่งแปลว่า การจัดพิมพ์ (หรือการจัดเตรียมต้นแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์) ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ หมายถึง การนำภาพและข้อความมาจัดวางไว้ด้วยกันบนจอภาพ ในตำแหน่งที่สวยงาม ดูแล้วสบายตา มักใช้เป็นต้นแบบ (ต้นฉบับที่จะนำไปผลิตต่อ) ของเอกสารสิ่งพิมพ์ อธิบายง่าย ๆ ก็คือ การจัดเตรียมต้นฉบับเอกสารสิ่งพิมพ์โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) แทนที่จะเป็นการ "ตัดปะ" อย่างสมัยก่อน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องใช้โปรแกรมช่วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันมาก คือ PageMaker และ QuarkXpress การจัดเตรียมเอกสารสิ่งพิมพ์ด้วยวิธีนี้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน | event | (อีเวนทฺ') n. เหตุการณ์, เหตุการณ์สำคัญ, กรณี, ผลที่เกิดขึ้น, ผลที่ตามมา, การแข่งขัน. -Phr. (at all events จะอย่างไรก็ตาม) -Phr. (in the event ถ้า) | exclusive or | หรือใช้ตัวย่อว่า XOR (อ่านว่า ซอร์) เป็นคำที่นักเขียนโปรแกรมใช้ เมื่อจะสั่งให้แสดงภาพออกมาเป็นตัวดำเนินการเชิงตรรกะตัวหนึ่ง ซึ่งใช้เลขฐานสอง สองตัวมาทำให้เกิดเป็นค่าใหม่ ถ้าในการคำนวณได้ผลลัพธ์เป็น 0 แสดงว่าคอมพิวเตอร์คำนวณได้ผลออกมาเหมือนกัน แต่ถ้าค่าออกมาไม่เท่ากัน ผลลัพธ์จะออกมาเป็นหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่คิดจะเป็นนักเขียนโปรแกรม ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใจเรื่องตรรกะนี้ก็ได้ | fixed disk | จานบันทึกอยู่กับที่เป็นชื่อที่ใช้เรียกฮาร์ดดิสก์ (hard disk) อีกชื่อหนึ่ง เพราะโดยปกติ เราไม่อาจจะถอดจานบันทึกแข็งนี้ ออกจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง จานบันทึกแบบธรรมดา (floppy disk) ที่สามารถถอดหรือดึงออกได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดดิสก์ที่ดึงเข้าออก ได้ก็มี ใช้อยู่ บ้าง แม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยมนัก ฮาร์ดดิสก์ชนิดนั้น เรียกว่า removable hard disk ดู removable hard disk ประกอบ | gad | (แกด) vi. เคลื่อนไปเคลื่อนมาอย่างไม่หยุด, ร่อนเร่, ไป ๆ มา ๆ อย่างไร้จุดหมาย. n. คนที่เร่ร่อนไปมา, ปฏักหรือด้ามแทงสำหรับไล่วัวควาย, เครื่องมือปลายแหลมสำหรับเจาะหาหินแร่. vt. เจาะผ่าด้วยเครื่องมือดังกล่าว, Syn. idle, rove, roam | hashing | (แฮชชิง) หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมให้จานบันทึกเก็บข้อมูลได้โดยอาศัยวิธีการคำนวณ การจะเข้าถึงข้อมูลได้ จะต้องรู้เลขประจำตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดเพียงจะเป็น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักคำนี้เลยก็ได้ | hidden file | แฟ้มที่ซ่อนไว้ในระบบดอส และวินโดว์ จะมีแฟ้มข้อมูลบางประเภทที่ไม่ปรากฏขึ้นบนจอให้เห็นเมื่อใช้คำสั่ง DIR หรือ โปรแกรม File Manager ของวินโดว์ 3.1 หรือ Windows Explorer ของวินโดว์95 โปรแกรมสำเร็จหลายโปรแกรมจะมีแฟ้มข้อมูลประเภทนี้เพื่อกันมิให้มีการคัดลอก) อย่างไรก็ตาม การที่จะให้แฟ้มข้อมูลใดเป็นแฟ้มประเภทนี้ เราสามารถกำหนดได้โดยใช้คำสั่ง ตัวอย่างแฟ้มที่ซ่อนไว้ของโปรแกรมระบบดอส คือ IO.SYS และ MSDOS.SYS เป็นต้น | high level language | ภาษาระดับสูงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างภายในของเครื่องแต่อย่างใด ภาษาระดับสูงมีอยู่ด้วยกันหลายภาษา เช่น ภาษาซี (C) ภาษาเบสิก (BASIC) และภาษาปาสกาล (PASCAL) เป็นต้น ตรงข้ามกับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเรียกกันว่าเป็นภาษาระดับต่ำ ผู้เขียนจะต้องรู้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมเป็นภาษานั้นได้ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์จะยังไม่สามารถเข้าใจภาษาระดับสูงนี้ได้ แต่จะต้องใช้ตัวแปล (compiler) จัดการแปลเสียก่อน จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งได้ดู computer language ประกอบ | hoebeit | (เฮาบี'อิท) adv. อย่างไรก็ตาม conj. แม้ว่า, Syn. nevertheless | how | (เฮา) adv. อย่างไร, อย่างไรบ้าง, ยังไง, ด้วยเหตุผลใด, อะไร, ชื่ออะไร conj. อย่างไร, อะไร, อย่างไรก็ตาม. n. อย่างไร interj. คำอุทานเชิงทะเล้น -Phr. (how come? ทำไม?เป็นอย่างไร?) | howe'er | (เฮาแอร') adv., conj. อย่างไรก็ตาม | however | (เฮาเอฟ'เวอะ) adv. อย่างไรก็ตาม, แม้ว่า, ยังคง, แต่กระนั้นก็ดี, อย่างไร conj. อย่างไรก็ตาม, Syn. nevertheless | insert key | แป้นแทรก <คำแปล>เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีคำว่า Insert หรือ Ins อยู่บนแป้น การกดแป้นนี้จะทำให้สามารถพิมพ์ตัวอักษรแทรกเข้าไปโดยที่ตัวอักษรที่อยู่ถัดไปจะถอยให้ (ถ้าไม่กดแป้นนี้ อักษรตัวใหม่ที่พิมพ์จะทับตัวเก่า ทำให้ตัวเก่าหายไป) อย่างไรก็ตาม แป้นนี้เป็นแป้นเปิด/ปิด (on/off) หมายความว่า กดแป้นนี้ครั้งแรก จะเปลี่ยนให้เป็นภาวะแทรก แต่ถ้ากดอีกครั้งหนึ่ง ก็จะเปลี่ยนกลับไปเป็นภาวะเดิม คือภาวะพิมพ์ทับ บางทีใช้ Ins keyดู insert mode ประกอบ | internet | (อินเทอร์เน็ต) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับ Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น ไทยมี Chulanet, KSC , Infonews เป็นต้น) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล | jcl | (เจซีแอล) ย่อมาจาก job control language ที่แปลว่า ภาษาควบคุมงาน หมายถึง คำสั่งที่จะกำหนดระบบการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดต่อผ่านทางระบบปฏิบัติการ (operating system) ว่า จะทำงานต่าง ๆ อย่างไร ใช้รหัสใดเพื่อสื่อสารให้ระบบปฏิบัติการควบคุมการทำงานให้ อาจจะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การเรียกหาแฟ้มข้อมูลบางแฟ้ม รวมทั้งการใช้อุปกรณ์รับข้อมูลหรืออุปกรณ์แสดงผลชนิดใด | job control language | ภาษาควบคุมงานใช้ตัวย่อว่า JCL หมายถึง คำสั่งที่จะกำหนดระบบการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดต่อผ่านทางระบบปฏิบัติการ (operating system) ว่า จะทำงานต่าง ๆ อย่างไร ใช้รหัสใดเพื่อสื่อสารให้ระบบปฏิบัติการควบคุมการทำงานให้ อาจจะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การเรียกหาแฟ้มข้อมูลบางแฟ้ม รวมทั้งการใช้อุปกรณ์รับข้อมูลหรืออุปกรณ์แสดงผลชนิดใด | know-how | (โน'ฮาว) n. ความชำนาญ, ความรู้ว่าจะทำอย่างไร, Syn. savvy, expertise | leastwise | (ลีสทฺ'ไวซ) adv. อย่างน้อยที่สุด, อย่างไรก็ตาม., Syn. leastways | login | ลงบันทึกเข้าเป็นคำสั่งที่สั่งเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เข้ากับเครือข่าย เพื่อจะได้ดึงแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมมาใช้ได้ (อย่างไรก็ตาม บางทีอาจต้องใช้รหัสผ่าน จึงจะเข้าได้) | machine language | ภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้ | macintosh | (แมค' คินทอช) n. ชื่อคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง แมคอินทอชเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่ง ออกแบบสร้างขึ้นโดยบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ นำออกสู่ตลาดครั้งแรกในปี ค.ศ.1984 คอมพิวเตอร์ตระกูลนี้ประกอบด้วยตัวประมวลผลแบบจุลภาค (microprocesssor) ขนาด 32 บิต เป็นเครื่องแรก อีกทั้งได้สร้างตัวประสานกับผู้ใช้ (user interface) ทำให้ผู้ใช้เครื่องรู้สึก สะดวกสบายเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถเรียนรู้เข้าใจได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานในวิทยาการคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากใช้ภาพเป็นสื่อทำให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ต่อมาเครื่องพีซีก็สร้างระบบวินโดว์ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตาม เครื่องยี่ห้อนี้มีส่วนแบ่งการตลาดสูงรองจากเครื่องของบริษัทไอบีเอ็มเท่านั้น | maunder | (มอน'เดอะ) vi. พูดเพ้อเจ้อ, พูดพล่อย, ไป ๆ มา ๆ อย่างไร้จุดหมาย, กระทำอย่างกับใจไม่อยู่กับตัว., See also: maunderer n., Syn. grumble | memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ | nonetheless | (นันธะเลส') adv. อย่างไรก็ตามถึงกระนั้น, Syn. nevertheless | notwithstanding | (นอทวิธสแทน'ดิง) prep. โดยไม่คำนึงถึง, แต่กระนั้นก็ตาม, แม้ว่า. -adv. อย่างไรก็ตาม, ก็เถอะ, Syn. nevertheless, yet | ntsc | (เอนทีเอสซี) ย่อมาจาก national television standards committee หมายถึง คณะกรรมการที่กำหนด มาตรฐานในระบบโทรทัศน์ เช่นมีอัตราการส่งอย่างไร มีจอภาพที่มีความละเอียดแค่ไหน มาตรฐาน NTSC นี้ ใช้ในสหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ แต่ยุโรป ใช้มาตรฐาน PAL | occasional irregularity | ความผิดปกติเป็นครั้งคราวหมายถึง ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว โดยหาสาเหตุของความผิดพลาดนั้น ไม่ได้ เช่น โปรแกรมที่กำลังวิ่งอยู่ดี ๆ ก็เกิดมีลูกระเบิดขึ้น (เฉพาะเครื่องแมคอินทอช) หรือค้าง (hang) เท่ากับบอกให้รู้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว และเราจะไม่สามารถทำความผิดปกตินั้น ให้เกิดซ้ำได้อีก (เพราะไม่ทราบว่าเกิดได้อย่างไร) | optical scanner | เครื่องกราดตรวจด้วยแสงหมายถึง เครื่องมือซึ่งใช้แสงกราดตรวจไปทั่วบริเวณที่ต้องการ แล้วนำไปเก็บในหน่วยความจำ มีทั้งแบบระนาบ (flatbed) และแบบมือถือ (handheld) อย่างไรก็ตาม แม้จะสามารถเก็บข้อ ความ (text) ได้ แต่ก็เก็บในลักษณะที่เป็นภาพ ดู scanner ประกอบ | option key | เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลแอปเปิล มีสัญลักษณ์ ? อยู่บนแป้น เป็นแป้นที่ต้องใช้ร่วมกับแป้นอื่น จะทำให้เกิดเป็นคำสั่งเฉพาะ รายการคำสั่งในเมนูต่าง ๆ ก็จะมีบอกไว้ว่า ถ้าใช้แป้นนี้กับแป้นใด จะหมายถึงคำสั่งให้ทำอะไร อย่างไรก็ตาม การกดแป้นนี้ตามลำพังจะไม่มีผลแต่อย่างใดเลย (คล้ายแป้น ALT ของพีซี) |
| although | (con) แม้ว่า, ถึงแม้ว่า, อย่างไรก็ตาม | anyhow | (adv) ถึงอย่างไรก็ตาม | anyway | (adv) ถึงอย่างไรก็ตาม | anywise | (adv) อย่างไรก็ตาม | despite | (pre) ถึงแม้ว่า, ถึงอย่างไรก็ตาม | how | (adv) อย่างไร, โดยวิธีใด, แค่ไหน, อะไร | howbeit | (adv) อย่างไรก็ตาม | however | (adv) อย่างไรก็ดี, อย่างไรก็ตาม, กระนั้นก็ดี, แม้ว่า | howsoever | (con) อย่างไรก็ตาม, อย่างไรก็ดี | notwithstanding | (adv) ถึงกระนั้นก็ตาม, อย่างไรก็ตาม | purely | (adv) อย่างบริสุทธิ์, อย่างหมดจด, อย่างสะอาด, อย่างไร้เดียงสา | rather | (adv) ดูเหมือนจะ, ค่อนข้างจะ, อย่างไรก็ตาม | soever | (adv) ในทุกกรณี, ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม | though | (adv) ถึงแม้ว่า, อย่างไรก็ดี, มาตรว่า, หากว่า | whereby | (adv, con) ด้วยเหตุนั้น, เพราะอะไร, อย่างไร, ด้วยเรื่องใด | wherever | (con) ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม | yet | (adv) ยัง, เดี๋ยวนี้, กระนั้น, แล้ว, เรียบร้อย, อย่างไรก็ตาม |
| hackathon | กิจกรรมสร้างสรรค์และพัฒนา มากจากกลุ่มนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาร่วมชุมนุมกันในการเจาะทดสอบระบบคอมพิวเตอร์ว่ามีจุดอ่อนหรือควรแก้ไขอย่างไรบ้าง | howdy | คุณเป็นอย่างไรบ้าง | nonetheless | อย่างไรก็ตาม, ถึงกระนั้น, See also: however, A. moreover, in addition, furthermore, on the other han, Syn. nevertheless | psychoneuroimmunology | (n) จิตประสาทภูมิคุ้มกัน; การแพทย์สาขาที่เกี่ยวกับสภาวะอารมณ์มีผลต่อภูมิคุ้มกันอย่างไร | seamlessly | อย่างแนบเนียน อย่างไร้รอยตะเข็บ อย่างไร้ร่องรอย | tracking system | (n) ระบบติดตาม ใช้สำหรับติดตามกระบวนการทำงาน ทำให้สามารถทราบได้ว่าผลลัพธ์ในขั้นต่างๆ เป็นอย่างไร มีการดำเนินไปถึงส่วนใด รวมถึงสามารถดูรายละเอียดลำดับในการดำเนินการ นอกจากนั้นข้อมูลที่ได้ยังสามารถนำไปใช้ประเมินระยะเวลาที่จะดำเนินการต่อไป รวมถึงผลลัพธ์ที่จะเป็นไปได้ในขั้นต่อๆ ไปอีกด้วย | กุศล | (n, adj) กุศล ควรจะหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับจิตใจให้ดีขึ้น ปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น มากกว่าทำความดีเฉย ๆ การกระทำใด ๆ หากทำแล้วมีผลต่อสภาวะจิตใจของตนเปลี่ยนไปในทางที่สูงขึ้น จึงเรียกว่ากุศล หากการกระทำดีนั้น ๆ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเองเลย ไม่เรียกว่ากุศล แต่เรียกว่า กรรมดี โดยทั่วไป มักจะใช้คู่กันกับคำว่า บุญกุศล แต่คำว่า บุญ กับ กุศล ความหมายต่างกัน (เขียนก็ไม่เหมือนกันแล้วจะให้ความหมายเหมือนกันได้อย่างไร) ตัวอย่าง 1. นาย กอ เป็นคนรวย ชอบที่จะให้ทาน เพราะเขาหวังว่า การให้ทานของเขาจะส่งผลทำให้เขารวย ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอาจจะได้ไปสวรรค์ หลังจากที่เขาตายไป - อันนี้นาย กอ ทำกรรมดี หรือทำบุญ แต่ไม่ได้เกิดกุศลในจิต หรือเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะเขาทำทานก็จริง แต่ไม่มีผลทำให้จิตใจของเขาวางลงจากความโลภ หรืออยากเลย 2. นาย ขอ เป็นคนชั้นกลาง เขาเห็นเด็กกำพร้ามากมายเกิดขึ้น เขาจึงรู้สึกอยากที่จะช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น จึงประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะให้ตัวเองมีเงินเหลือมากขึ้น เพื่อที่จะแบ่งไปบริจาคเด็กเหล่านั้น เพื่อที่เด็กเหล่านั้นจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป - อันนี้ นาย ขอ ทำทั้งกุศล และบุญ เพราะมีผลที่ทำให้เขาต้องประหยัด อดออมมากขึ้น และการประหยัดอดออมนี้เอง จะทำได้ก็คือต้องปล่อยวางความอยากของตนเอง และทำเพราะในใจเกิดจิตเมตตากรุณา |
| 氏 | [うじ, uji] (n) ชื่อสกุล - อย่างไรก็ตามมักจะถูกออกเสียงอย่างผิดๆโดยคนญี่ปุ่นว่า"ซัง" ปัจจุบันออกเสียงว่า shi เช่น 田中氏(たなかし), Syn. 氏族 |
| 成るべく | [なるべく, narubeku] (adv) เท่าที่เป็นไปได้, อย่างไรก็ตาม | 生意気 | [なまいき, namaiki] (adv) อย่างไม่อาย, อย่างหน้าด้านๆ, อย่างใจกล้าหน้าด้าน, อย่างไร้ยางอาย<BR> <BR> Eg.<BR> 彼の生意気態度は我慢できない。<BR> ทนลักษณะท่าทางหน้าด้านของเขาไม่ได้แล้ว<BR> <BR> 生意気を言うようですが、そうしない方がいいでしょう。<BR> ดูเหมือนว่าจะพูดอย่างไม่อายเลยนะ ไม่ทำแบบนั้นน่าจะดีกว่านะ<BR> |
| Wie machst du das? | คุณทำอย่างนั้นได้อย่างไร | allerdings | อย่างไรก็ตาม (แต่) เช่น Der Film war gut, allerdings zu kurz. ภาพยนต์เรื่องนี้ดี แต่สั้นไปหน่อย | dennoch | (konj) อย่างไรก็ตาม, ทว่า เช่น Er ist schon über 70, dennoch kann er immer noch skifahren. เขาอายุมากกว่าเจ็ดสิบปี อย่างไรก็ตามเขายังสามารถเล่นสกีได้อีก, See also: S.trotzdem | deutlich | (adv, adj) ชัดเจน เช่น Hast du ihm deutlich gesagt, was du denkst? เธอได้บอกเขาชัดเจนหรือเปล่า ว่าเธอคิดอย่างไร, See also: klar, Syn. eindeutig | französisch | (adj, n) ที่เกี่ยวกับฝรั่งเศส, ภาษาฝรั่งเศส เช่น Wie heißt das auf französisch? มันเรียกว่าอย่างไรในภาษาฝรั่งเศส, Ich bin französisch./Ich bin eine Französin. ฉันเป็นคนฝรั่งเศส, See also: Frankreich | gehen | เกิดขึ้นกับ เช่น wie geht es dir? คุณสบายดีมั้ย แต่ถ้าแปลตรงตัวคือ สิ่งต่างๆ ที่เกิดกับคุณเป็นอย่างไร | jedenfalls | ไม่ว่ากรณีใดๆ, ในทุกๆ กรณี เช่น Ich weiß nicht wie lange die Sitzung dauert. Ich komme jedenfalls nach. ฉันไม่รู้ว่าที่ประชุมเลิกกี่โมง อย่างไรซะฉันก็จะตามไปนะ, Syn. auf jeden Fall | ohnehin | อย่างไรก็ตาม | wie | อย่างไร | sich fühlen | (vt) รู้สึก เช่น Wie fühlen Sie sich in Deutschland? คุณรู้สึกอย่างไรที่เยอรมนี | kommunizieren | (vi) |kommunizierte, hat kommuniziert| ติดต่อสื่อสาร, เชื่อมต่อ เช่น Wie kommunizieren Zellen? พวกเซลล์ติดต่อกันอย่างไร, Syn. mitteilen | gefallen | (vi, vt) |gefällt, gefiel, hat gefallen| ถูกใจ, พึงพอใจ, ชอบ เช่น 1° Es gefällt mir nicht, wenn du noch eine rauchst! = ฉันไม่ชอบนะ ที่คุณจะสูบบุหรี่อีก 2° Wie gefällt Ihnen der Film The Beach? = คุณชอบหนังเรื่อง เดอะ บีช อย่างไร (ถามแบบต้องการให้อธิบายความเห็น ) | finanzieren | (vt) |finanzierte, hat finanziert| จัดหาเงินทุนสำหรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น Wie hast du dein Studium finanziert? เธอจัดการเรื่องค่าเล่าเรียนอย่างไร | zusammenhängen | (vi) |hängt zusammen, hing zusammen, hat zusammengehangen| (mit etw.) เกี่ยวข้อง, เกี่ยวเนื่อง เช่น Wie hängt die Flüssigkeitsaufnahme mit der Gesundheit zusammen? หรือ Wie hängen die Flüssigkeitsaufnahme und die Gesundheit zusammen? การดื่มน้ำเกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างไร, See also: Related: der Zusammenhang | wie | อย่างไร (ขึ้นต้นประโยคคำถาม) เช่น Wie kommt man zu ihm? พวกเราไปที่บ้านของเขา(ไปหา)ได้อย่างไร | trocknen | (vt) |trocknete, hat getrocknet| ทำให้แห้ง, ทำให้หายเปียกชื้น เช่น Wie trocknet man die Wäsche hier? ผู้คนที่นี่ทำให้ผ้าแห้งอย่างไรหรือ | trotzdem | (konj) อย่างไรก็ตาม, ถึงกระนั้น เช่น Es gab Stau auf der Autobahn, trotzdem kommt er pünktlich. รถติดบนทางด่วน ถึงอย่างนั้นเขามาถึงตรงเวลา, See also: Related: obwohl, trotz | meinen | (vt) |meinte, hat gemeint, etw. zu etw.| มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ, คิดเห็น เช่น Was meinst du dazu? เธอคิดว่าอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ | auf die Idee kommen | มีความคิด(บรรเจิด), เกิดไอเดีย เช่น Wie ist er auf die Idee gekommen? เธอได้ความคิดนี้มาอย่างไร | Es ist mir Wurst. | ฉันไม่แคร์, อย่างไรก็ได้สำหรับฉัน เช่น Es ist mir auch Wurst ob du mir glaubst oder nicht! Du kannst dir denken was du willst., Syn. Es ist mir egal. |
| aller | (vi) |je vais, tu vas, il va, nous allons, vous avez, ils vont| (1) ไป เช่น aller à pied ไปด้วยเท้า, aller à l'étranger ไปต่างประเทศ (2) ใช้เป็นกิริยาช่วยในประโยคที่บ่งอนาคตอันใกล้รูป futur proche โดย aller + infinitif เช่น Je ne vais pas sortir ce soir. เย็นนี้ฉันจะไม่ออกจากบ้าน (3) ในประโยคทักทาย แปลว่า สบายดีหรือเป็นเช่นใด เช่น Comment vas-tu? = (Comment) ca va? เธอสบายดีไหม หรือ เธอเป็นอย่างไรบ้าง | comment allez-vous? | ((fig)) ท่าน/คุณเป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหม ? | comment vas-tu? | ((fig)) เธอเป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหม ? | comment | อย่างไร (คำขึ้นต้นประโยคคำถาม) เช่น Elle danse comment? = Comment est-ce qu'elle danse? หล่อนเต้นรำอย่างไร | Ça va? | สบายดีไหม เป็นอย่างไรบ้าง |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |