กรางเกรียง | ว. เสียงอย่างเดียวกับกราง เช่น ก้องกงรถก้องกรางเกรียง (พากย์; สุธน). |
กลองมลายู | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะอย่างเดียวกับกลองแขก แต่ตัวกลองสั้นและอ้วนกว่า สายโยงเร่งเสียงทำด้วยหนัง ขึ้นหนัง ๒ หน้าด้วยหนังวัว ตีด้วยไม้งอน ใช้บรรเลงในวงบัวลอยในงานศพ และใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์นางหงส์. |
กลองโมงครุ่ม | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะอย่างเดียวกับกลองทัด แต่ใหญ่กว่า ขึ้นหนัง ๒ หน้า ตีทั้งสองหน้าโดยใช้ไม้กำพดตี ใช้ตีในการละเล่นสมัยโบราณ. |
กะบัง ๒ | น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลำปักทางซ้ายและทางขวาเรียงกันเป็นลำดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทำร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็นทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่ายที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่นํ้าไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า. |
กำถั่ว | น. ชื่อการพนันอย่างเดียวกับโปกำ แต่ใช้มือกำเบี้ยแทนการใช้ถ้วยครอบ. (ดู โปกำ ประกอบ). |
ขวาง | ใช้เข้าคู่กับ กว้าง เป็น กว้างขวาง หมายความอย่างเดียวกับคำว่า กว้าง. |
คระ ๑ | (คฺระ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำหรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมายความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม). |
คะ ๑ | คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ. |
ค่ะ | ว. คำรับที่ผู้หญิงใช้อย่างเดียวกับ จ้ะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ในการบอกให้ทราบอย่างสุภาพ เช่น ไปค่ะ ไม่ไปค่ะ. |
งะ | คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ง เป็นพยัญชนะต้น มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น งะงก งะงัน งะโง้ง. |
งิ้ว ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bombax ceiba L. ในวงศ์ Bombacaceae กิ่งก้านและลำต้นมีหนามแหลมคม เปลือกสีเทา ขรุขระ ดอกสีแดงสด ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าว. |
จะ ๑ | คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น. |
จั่นห้าว | น. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคนหรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียวกับหน้าไม้ก็ได้. |
จำเบศ | ความหมายอย่างเดียวกับ จำบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จำเบศจำบัง (ม. คำหลวง มหาราช). |
จิงจัง, จิ้งจัง | น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จุ้งจัง ก็ว่า. |
จิบ ๒ | น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลำปักทางซ้ายและทางขวาเรียงกันเป็นลำดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียวกับกะบัง แต่ระหว่างกลางเอาอวนลงกางกั้นให้ปลาเข้าถุงอวน จับเมื่อเวลานํ้าไหลอ่อน ๆ. |
จุ้งจัง | น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จิงจัง หรือ จิ้งจัง ก็ว่า. |
ฉะ ๒ | คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ. |
ดะ ๒ | ใช้นำหน้าคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ด ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ดะดัก ดะดุ่ม. |
ตุริยางค์ | น. เครื่องดีดสีตีเป่า หมายความอย่างเดียวกับดุริยะ. |
ทะ ๑ | คำใช้นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ทะท่าว ทะทึก. |
เทียว ๒ | ว. คำที่ใช้ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อบังคับหรือเน้นความให้มีความหมายหนักแน่นยิ่งขึ้น มีความหมายอย่างเดียวกับ ทีเดียว, เชียว, เช่น มาให้ได้เทียวนะ อย่าบอกใครเทียวนะ หมู่นี้เงียบไปเทียวไม่เห็นมาหาบ้างเลย. |
แท้ที่จริง | ว. คำขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร มีความหมายอย่างเดียวกับ ที่จริง อันที่จริง ตามที่จริง. |
ธงฉาน | น. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธงมีรูปจักร ๘ แฉก แฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือหลวง หรือเป็นธงสำหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้นไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล |
ธงบรมราชวงศ์น้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงมหาราชน้อย | น. ธงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงเยาวราชน้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงเยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงราชนาวี | น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธงมีดวงกลมสีแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว ๔ ใน ๖ ส่วนของความกว้างของผืนธง โดยให้ขอบของดวงกลมจดขอบแถบสีแดงของผืนธง ภายในดวงกลมมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสาธงหรือคันธง. |
ธงราชินีน้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชน้อย เว้นแต่ชายต่อเป็นสีแดง ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงราชินีใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
นุ่น | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Ceiba pentandra (L.) Gaertn. ในวงศ์ Bombacaceae ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว มีหนามสั้น ๆ ที่โคนต้น กิ่งออกตั้งฉากกับต้น ทิ้งใบในฤดูแล้ง ดอกสีขาวนวล ผลรูปทรงกระสวย ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าวและงิ้ว. |
โนรา ๒ | น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี, มโนราห์ ก็ว่า. |
บรรษัท | นิติบุคคลที่มีฐานะอย่างเดียวกับบริษัทจำกัด โดยมีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ. |
ประชุม | ก. มารวมกันหรือเรียกให้มารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง, มาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือ, เช่น ประชุมกรรมการ, โดยปริยายใช้หมายถึงเอาสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันมารวมกัน เช่น ประชุมพงศาวดาร ประชุมปาฐกถา, บางทีใช้หมายความอย่างเดียวกับชุมนุม เช่น ประชุมพระบรมราชาธิบาย ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔. |
ปะปน | ก. ปนกัน (มักใช้ในลักษณะที่สิ่งต่างชนิดต่างประเภทระคนปนกัน), บางทีก็ใช้หมายความอย่างเดียวกับ ปน. |
ผะ ๒ | ใช้นำหน้าคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ผ มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ผะผก ผะผ่อง ผะผ้าย ผะผ่าว ผะผํ้า. |
พะ ๒ | ใช้นำหน้าคำที่ตั้งต้นด้วยตัว พ มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น พะพรั่ง พะพรั่น พะพราย. |
มโนราห์ | น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี. |
ยะ ๑ | คำประกอบข้างหน้าคำที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย. |
วะ ๒ | คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ว เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ว่อนว่อน กร่อนเป็น วะว่อน วาบวาบ กร่อนเป็น วะวาบ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ. |
สธุสะ, สาธุสะ | คำเปล่งขึ้นก่อนกล่าวคำอื่น เพื่อขอความสวัสดิมงคลอย่างเดียวกับคำ ศุภมัสดุ. |
เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น, เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานรัดก้น | ก. ทำเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกำลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง. |
เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง | ก. ทำเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกำลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานรัดก้น. |
อ้า ๒ | ว. คำออกเสียงขึ้นต้นประโยคในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึงหรือพรรณนาวิงวอนอย่างเดียวกับคำ โอ้ หรือ โอ้ว่า. |
อินทรวิเชียร | (อินทฺระ-) น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น
| (อิลราช). |
แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น
|