ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*อย่างหนัก*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: อย่างหนัก, -อย่างหนัก-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
อย่างหนัก(adv) harshly, See also: severely, Syn. อย่างมาก, Example: รัฐมนตรีกระทรวงการคลังถูกกระแสสังคมโจมตีอย่างหนักในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเพราะยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
กระหน่ำว. ซํ้า ๆ ลงอย่างหนัก.
ขบคิดก. คิดตรึกตรองอย่างหนัก.
น้ำตาเช็ดหัวเข่าเสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนักในเรื่องคู่ครอง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น เพราะเธอเชื่อผู้ชายคนนี้ จึงต้องน้ำตาเช็ดหัวเข่า.
บอบว. อ่อนเปลี้ยหรือหมดแรงเพราะถูกทุบตีอย่างรุนแรง หรือเจ็บป่วยอย่างหนัก หรือออกกำลังมากเกินไปเป็นต้น.
เบญจดุริยางค์น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้ประกอบการเล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่ง และเครื่องอย่างหนักใช้ประกอบการเล่นโขนชนิดหนึ่ง, เครื่องอย่างเบามี ปี่ไฉน ๑ ทับ ๒ (ตัวผู้ ๑ ใบ ตัวเมีย ๑ ใบ) กลองตุ๊ก ๑, เครื่องอย่างหนักมี ปี่ใน ๑ ระนาดเอก ๑ ฆ้องวงใหญ่ ๑ กลองทัด ๑ คู่ ตะโพน ๑ ฉิ่ง ๑.
ผ้ำ ๆว. อาการเดินหรือวิ่งอย่างหนัก.
ฟูมฟายน้ำตาก. เอามือทั้ง ๒ ข้างเช็ดน้ำตาที่ไหลอาบหน้าเพราะความเศร้าโศกเสียใจอย่างหนัก.
รู้สำนึกก. รู้สึกตัวว่าผิด เช่น ถูกลงโทษอย่างหนักแล้วยังไม่รู้สำนึก.
หนักหน่วงว. จริงจัง, มาก, ยิ่ง, เช่น เขาพยายามอย่างหนักหน่วงเพื่อส่งเสียให้ลูกเรียน.
หน้าดำคร่ำเครียด, หน้าดำคล้ำเครียดน. ใบหน้าหมองคล้ำเพราะต้องคร่ำเครียดหมกมุ่นอยู่กับงานหรือต้องใช้ความคิดอย่างหนัก.
หูตูบโดยปริยายหมายถึงทำงานอย่างหนักหรือถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น ถูกใช้จนหูตูบ วิ่งจนหูตูบ.
อาน ๒ว. บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียอาน, โดยปริยายหมายความว่า อย่างหนัก, อย่างมาก, เช่น ถูกต่อว่าอานเลย.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
diligent inquiryการสอบสวนอย่างหนักหน่วง (เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอย่างสมบูรณ์) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Potsdam Proclamationคือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต]
Diabetes Mellitus, Severeเบาหวานอย่างหนัก [การแพทย์]
Diarrhea, Severeท้องเดินอย่างหนัก, ถ่ายอุจจาระมากและบ่อย [การแพทย์]
Exercise, Heavyออกกำลังกายอย่างหนัก [การแพทย์]
ฟื้นฟูสมรรถภาพสุขภาพจิตฟื้นฟูสมรรถภาพสุขภาพจิต, มุมมองการดำเนินงานที่เน้นการอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพเข้ามามีบทบาทใน การเยียวยาจิตใจหรือเสริมศักยภาพที่เสียไปให้มีเพิ่มเท่าเดิมหรือดีกว่าเดิม ด้วยหลักวิชาการและแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมตามวิชาชีพ เพื่อให้ผู้มีเคยเจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนัก ได้เห [สุขภาพจิต]
บำบัดรักษาปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช, มุมมองการดำเนินงานที่เน้นการให้ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพเข้ามามีบทบาทในการ ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชด้วยหลักวิชาการและแนวทางปฏิบัติที่ เหมาะสมตามวิชาชีพ เพื่อให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนัก หรือผู้ป่วยจิตเวชมีอาการทุเลา หรือหายจากปัญหาหรือโรคที่ท [สุขภาพจิต]
Glomerulonephritis, Diffuse, Severe Acuteกลอเมอรูไลในไตอักเสบอย่างหนัก [การแพทย์]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
อย่างหนัก[yāng nak] (adv) EN: harshly ; severely  FR: grièvement ; gravement

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
bone(vi) เรียนอย่างหนัก, See also: มุมานะ, คร่ำเคร่ง
bear down on(phrv) ลงโทษอย่างรุนแรง, See also: ลงโทษอย่างหนัก
bear down upon(phrv) ลงโทษอย่างรุนแรง, See also: ลงโทษอย่างหนัก
bone up on(phrv) ศึกษาอย่างหนัก, Syn. mug up, swot up
carousal(n) การดื่มเหล้ากันอย่างหนัก, Syn. carouse
carouse(n) การดื่มเหล้ากันอย่างหนัก, Syn. carousal
cough one's head off(idm) ไอต่อเนื่องอย่างหนัก, See also: ไอรุนแรงและต่อเนื่อง
cram up(phrv) ท่องหนังสืออย่างหนัก (เพื่อสอบ)
drive a hard bargain(idm) พยายามต่อรองอย่างมากหรืออย่างหนัก
fester(vi) ้เป็นหนอง, See also: ติดเชื้ออย่างหนัก, Syn. ooze, putresce
firm(adv) อย่างมั่นคง, See also: อย่างเด็ดขาด, อย่างหนักแน่น, Syn. firmly
firmly(adv) อย่างหนักแน่น, See also: อย่างมั่นคง, อย่างเหนียวแน่น
forcefully(adv) อย่างหนักแน่น, See also: อย่างเข้มแข็ง, อย่างแข็งขัน
go to work on(idm) พยายามอย่างหนัก, See also: ทำงานหนัก
grind away at(phrv) ทำอย่างหนัก (เช่น เรียน, ทำงาน)
heavily(adv) อย่างหนัก, Syn. weightily
labour at(phrv) พยายามอย่างมากเกี่ยวกับ, See also: ใช้ความพยายามมาก, ทำ บางสิ่ง อย่างหนัก, Syn. toll at, work at, work on
labour over(phrv) พยายามอย่างมากเกี่ยวกับ, See also: ใช้ความพยายามมาก, ทำ บางสิ่ง อย่างหนัก, Syn. toll at, work at, work on
lash at(phrv) โจมตีอย่างหนัก (ด้วยกำลังหรือคำพูด), See also: พูดให้รู้สึกเจ็บปวดใจ, ตอบโต้อย่างหนัก, Syn. lay into
lash out(phrv) เตะอย่างแรง, See also: กระแทกอย่างแรง, ตีอย่างเเรง, หวดอย่างหนัก, Syn. hit out, kick out, lam out, strike out
labor camp(n) คุกที่นักโทษต้องทำงานอย่างหนัก
misuse(vt) ใช้อย่างหนัก, See also: กระทำทารุณ, Syn. maltreat, mistreat, Ant. respect, protect
mortally(adv) ขนาดถึงตาย, See also: ขนาดหนัก, อย่างหนัก, อย่างรุนแรง, Syn. very, deeply, seriously
pound(vi) เต้นอย่างหนัก, See also: กระเพื่อมมาก, สั่นมาก
pelt down(phrv) ตกอย่างหนัก, See also: เทลงมา ฝน, Syn. pelt with, pour down
put one's mind to(idm) ทำงานหนัก, See also: ใช้สมองอย่างหนักกับ, Syn. set to
put one's shoulder to the wheel(idm) พยายามอย่างหนัก (กับบางสิ่ง), Syn. set to
quest for(phrv) ควานหาอย่างหนัก, See also: พยายามหาอย่างหนัก, Syn. look for, search for
ride down(phrv) ใช้งานอย่างหนัก / นาน (ม้า)
beer monster(sl) คนที่ดื่มเหล้าอย่างหนัก (มักหมายถึงคนที่ยังหนุ่ม), See also: ปีศาจสุรา
brahms and Liszt(sl) ที่ดื่มเหล้าอย่างหนัก, See also: ที่ดื่มอย่างหัวราน้ำ
strive(vi) พยายามอย่างหนัก, See also: มานะ, พากเพียร, บากบั่น, อุตสาหะ, Syn. attempt, struggle, try hard
striver(n) คนที่ดิ้นรนต่อสู้, See also: คนที่พยายามอย่างหนัก, Syn. contender, fighter, struggler
swot(n) ความพยายามอย่างหนัก, Syn. grind, attempt
seek out(phrv) ค้นหาอย่างหนัก, Syn. search out
slog at(phrv) ทำงานหนัก, See also: ต่อสู้อย่างหนักและต่อเนื่อง, Syn. peg away, plod away, plug away at
strain at(phrv) ดึงเต็มที่, See also: ดึงอย่างหนัก, Syn. strain on
strain on(phrv) ดึงเต็มที่, See also: ดึงอย่างหนัก, Syn. strain at
study for(phrv) ศึกษาอย่างหนัก, See also: เรียน, เล่าเรียน
swot for(phrv) เรียนหนักเพื่อ, See also: ศึกษาอย่างหนักเพื่อ, Syn. cram for
task(vt) ใช้ความพยายามในการทำงานอย่างหนัก, See also: ทำให้ทำงานหนักเกินไป, ใช้สมองหนัก, ทำให้เหน็ดเหนื่อย
toper(n) คนที่ดื่มเหล้าอย่างหนัก
throw the book at(phrv) ทำโทษหรือลงโทษอย่างหนัก

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
bone(โบน) { boned, boning, bones } n. กระดูก vt. เอากระดูกออก vi. มุ่งเรียนอย่างหนัก -Phr. (bone of connection เรื่องที่ทะเลาะกัน)
burden(เบอร์'เดิน) n. ภาระ, น้ำหนักที่แบก vt. บรรจุอย่างหนัก, ทำให้ยุ่งยาก
cloudburstn. ฝนที่ตกอย่างหนักมากและกะทันหันปานฟ้ารั่ว, พายุฝน
heavily(เฮฟ'วิลี) adv. อย่างหนัก, รุนแรง, มากมาย, งุ่มง่าม
plod(พลอด) v., n. (การ) เดินอย่างหนักอึ้งหรือลำบาก, ค่อย ๆ เดิน, เพียรพยายาม, See also: plodder n. plodness n, Syn. drudge
rain(เรน) n. ฝน, น้ำฝน vi. ฝนตก, ตกลงมาคล้ายฝน. vt. ส่งลงมา, ทำให้ตกลงมาเป็นจำนวนมาก, ให้อย่างมากมาย, เสนอให้อย่างมากมาย, -Phr. (rain cats and dogs ฝนตกลงมาอย่างหนักหรือไม่ขาดสาย), See also: rains n. ฤดูฝน, หน้าฝน, การหลั่งไหลลงมาอย่างแรง
soak(โซค) vi., n. (การ) จุ่ม, ทำให้โชก, ทำให้ชุ่ม, หมัก, แช่. vt. จุ่ม, ทำให้โชก, ทำให้ชุ่ม, หมัก, แช่, ทำให้เมา, จำนำ, ลงโทษอย่างหนัก, เก็บภาษีมากเกินไป, เก็บเงินมากเกินไป. soaking adj. เปียกชุ่ม, Syn. seep, steep

English-Thai: Nontri Dictionary
grievously(adv) อย่างเศร้าโศก, อย่างสาหัส, อย่างมหันต์, อย่างร้ายแรง, อย่างหนัก
hard(adv) อย่างแข็งขัน, อย่างเต็มกำลัง, อย่างเต็มที่, อย่างหนัก, อย่างยากลำบาก
steadily(adv) อย่างแน่วแน่, อย่างมั่นคง, อย่างหนักแน่น, อย่างเด็ดเดี่ยว

German-Thai: Longdo Dictionary
Hagelschlag(n) |der| การตกอย่างหนักของลูกเห็บ ซึ่งมักก่อความเสียหายแก่เกษตรกร
sehr(adv) |ใช้เติมหน้าำคำคุณศัพท์ หรือ อยู่โดดๆได้| อย่างยิ่ง อย่างมาก เช่น Sie hat sehr geweint. เธอร้องให้มาอย่างหนัก, Er ist sehr reich. เขารวยมาก

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top