กระนี้ | ว. นี้, ดังนี้, อย่างนี้. |
ข้อลำ | น. พละกำลัง เช่น ข้อลำอย่างนี้จะสู้งานหนักไหวหรือ. |
ครอบจักรวาล ๑ | ว. ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ถามแบบครอบจักรวาลอย่างนี้ตอบยาก. |
คาถาพัน | น. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถาภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นคาถาล้วน ๆ อย่างนี้ ว่า เทศน์คาถาพัน. |
จก | ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ |
จับแพะชนแกะ | ก. ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเข้าแทนเพื่อให้ลุล่วงไป. |
ฉะนี้ | ว. ฉันนี้, เช่นนี้, อย่างนี้, ดังนี้, ดั่งนี้, เพราะฉะนี้, เพราะเหตุนี้. |
ชั่ว ๑ | น. ระยะ เช่น สูง ๓ ชั่วลำตาล, ระยะเวลา, สมัย, ครั้ง, เช่น ครอบครัวเราทำบุญที่วัดนี้มาชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วอายุผมไม่เคยเห็นอะไรอย่างนี้เลย. |
ดังจริง | ว. อย่างจริง, จริงอย่างนี้. |
แดดเดียว | น. การตากของไว้กลางแดดเพียงวันเดียว เช่น เสื้อบาง ๆ อย่างนี้ ตากแดดเดียวก็แห้ง, เรียกเนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู เนื้อวัว หรือปลา ที่เคล้าเกลือหรือน้ำปลา ตากแดดจัด ๆ เพียงวันเดียว ว่า เนื้อแดดเดียว ปลาแดดเดียว. |
ตรัสรู้ | รู้เอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้. |
ต้วมเตี้ยม | ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่ต้วมเตี้ยมอยู่อย่างนี้ทำงานไม่ทันเพื่อนเขาหรอก, กระต้วมกระเตี้ยม ก็ว่า. |
แต่ไหนแต่ไร | ตั้งแต่นานมาแล้วถึงปัจจุบัน เช่น เขาเป็นคนอย่างนี้แต่ไหนแต่ไรแล้ว. |
ถอยหน้าถอยหลัง | ไม่รุดหน้า เช่น ทำงานถอยหน้าถอยหลังอยู่อย่างนี้เลยไม่เสร็จสักที. |
ถึง ๑ | จึง เช่น ทำอย่างนี้ถึงจะดี. |
ทันกิน | ก. คิดหรือทำการใด ๆ ทันท่วงที (โดยปรกติใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น ทำการงานช้าไม่ทันกิน มัวงุ่มง่ามอยู่อย่างนี้ไม่ทันกิน. |
ท่านั้นท่านี้ | ว. อย่างนั้นอย่างนี้, โยกโย้, เช่น พูดท่านั้นท่านี้. |
ทำไม | ก. ทำอะไร เช่น ฉันจะทำอย่างนี้ ใครจะทำไม. |
ทึกทัก | ก. ตู่เอาเป็นของตัว, ถือเอาเป็นจริงเป็นจัง, เหมาเอาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้. |
แทนที่จะ | สัน. ใช้ในความที่ขัดแย้งกัน เช่น แทนที่จะเขียนอย่างนั้น เขากลับเขียนอย่างนี้. |
น่า ๑ | ว. คำประกอบหน้ากริยา หมายความว่า ควร เช่น น่าจะทำอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้ |
น้ำหน้า | น. หน้า (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น เป็นต้น) เช่น นํ้าหน้าอย่างนี้ทำไม่สำเร็จดอก เกลียดนํ้าหน้า ชังนํ้าหน้า |
บอก ๒ | แนะนำ เช่น บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช |
บ้าง | ว. ใช้ประกอบคำอื่นหมายความว่า บางจำนวนหรือบางส่วนของสิ่งที่กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของจำนวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทำก็ทำบ้าง. |
ประนี้ | ว. อย่างนี้. |
ปริสัญญู | (ปะ-) น. ผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้น ๆ ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น. |
ปากตลาด | น. ถ้อยคำที่โจษหรือเล่าลือกัน เช่น ปากตลาดเขาว่ากันมาอย่างนี้. |
ไพล่ | แทนที่จะเป็นอย่างนี้กลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น เคยทำอย่างนี้ ไพล่ไปทำอย่างนั้น. |
ฟองมัน | น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปอย่างนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สำหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ตาไก่ ก็เรียก. |
ยี้ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น ยี้ ! เสื้อสกปรกอย่างนี้ยังจะเอามาให้อีก, อี๊ ก็ว่า. |
เรา | ส. สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม. |
เรียก | ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็งเรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย |
ละ ๒ | ว. คำใช้ประกอบหน้าคำ ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้. |
เล่า | ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า. |
เลื่อยฉลุ | น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูปยาวรี ด้ามเป็นไม้สำหรับจับ อีกชนิดหนึ่งมีคันทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ด้ามเป็นไม้ติดอยู่ที่ปลายตอนล่าง ระหว่างปลายคันทั้งคู่ติดใบเลื่อยลักษณะเป็นเส้นแบนขนาดเล็ก. |
เลื่อยทำทอง | น. เครื่องมือช่างทอง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นเส้นลวดแบน ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ คล้ายคันเลื่อยฉลุ แต่สั้นกว่าและทำด้วยเหล็กแข็งกว่า. |
สะตึ, สะตึ ๆ | ว. ไม่มีอะไรดี, ไม่ได้เรื่อง, ไม่มีค่า, เช่น หนังเรื่องนี้สะตึดูแล้วเสียดายเงิน ของสะตึ ๆ อย่างนี้ไม่ซื้อหรอก. |
สามเพลงตกม้าตาย | ก. แพ้เร็ว เช่น นักมวยหน้าใหม่อย่างนี้เดี๋ยวก็สามเพลงตกม้าตายหรอก, เพลงเดียวตกม้าตาย ก็ว่า. |
สำรวย | ว. ทำกิริยากรีดกรายหยิบหย่ง, เอาแต่แต่งตัว, เช่น ท่าทางสำรวยอย่างนี้ คงจะทำงานหนักไม่ไหว. |
สิ่งละอันพันละน้อย | น. อย่างนี้บ้างอย่างนั้นบ้าง, อย่างละเล็กอย่างละน้อย, เช่น ของขายมีสิ่งละอันพันละน้อย. |
สิ่งละอันพันละน้อย | ว. มีอย่างนี้บ้างอย่างนั้นบ้าง, มีอย่างละเล็กอย่างละน้อย, เช่น แม่ค้าเก็บของสิ่งละอันพันละน้อยมาขาย. |
เสียเชิงชาย | ก. เสียชั้นเชิงที่ผู้ชายพึงมีให้ผู้หญิงดูแคลน เช่น ถูกผู้หญิงหลอกจนขายหน้าอย่างนี้ เสียเชิงชายหมด. |
เสียตา | โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่อยากดูให้เสียตาหรอก, เสียสายตา ก็ว่า. |
เสียน้ำตา | ก. ร้องไห้ เช่น ละครเรื่องนี้เศร้าจริง ๆ ทำให้ฉันต้องเสียน้ำตา คนเลว ๆ อย่างนี้ตายไปก็ไม่น่าจะเสียน้ำตาให้. |
เสียปาก | ก. พูดออกไปเปล่าประโยชน์ เช่น เด็กดื้ออย่างนี้เตือนไปก็เสียปากเปล่า ๆ |
เสียปาก | ไม่คู่ควรที่จะกิน เช่น ของอย่างนี้ฉันไม่กินให้เสียปาก. |
เสียมือ | ก. สูญเสียมือไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น คนอย่างนี้ ฉันไม่ไหว้ให้เสียมือหรอก. |
เสียสายตา | โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียสายตาหรอก, เสียตา ก็ว่า. |
เสียหัว | สิ้นเปลืองความคิด เช่น ปัญหาโลกแตกอย่างนี้ อย่าคิดให้เสียหัวเลย เลขข้อนี้กว่าจะทำได้ก็เสียหัวไปหลายชั่วโมง, เสียสมอง ก็ว่า |
เสียหูเสียตา | ก. สูญเสียหูและตาไป, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยากดูไม่อยากฟัง เช่น ละครไม่มีคุณภาพอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียหูเสียตาหรอก. |