ชิงสุกก่อนห่าม | ก. ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน), ใช้เป็นคำสอนหรือเตือนสติว่า อย่าชิงสุกก่อนห่าม. |
ตราภูมิคุ้มห้าม | น. หนังสือราชการประจำตัวไพร่หลวงสำหรับบางหมู่บางพวก เดิมเพื่อได้รับการลดหย่อนภาษีอากรต่าง ๆ หรือได้รับยกเว้นการเกณฑ์แรงงานตามที่กำหนดให้ ต่อมาเหลือเพียงการลดหย่อนภาษีอากร. |
นางห้าม | น. สตรีผู้เนื่องในพระราชวงศ์หรือสตรีสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้านาย, เดิมเรียกว่า ห้าม ต่อมาเรียกว่า นางห้าม หม่อมห้าม และ หม่อม ตามลำดับ. |
ไม้หวงห้าม | น. ไม้ซึ่งการทำไม้และการเคลื่อนย้ายจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับสัมปทานตามกฎหมายป่าไม้. |
สุกก่อนห่าม | ว. ที่ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน) เช่น ใครเขาจะเอาเยี่ยงอย่างอีซนซุก อีสุกก่อนห่าม มันมาอยู่สักกี่วันกี่เดือน นี่มันจะมาตั้งเตือนต่อก่อความให้ขุ่นไปทั้งบ้าน (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
หม่อมห้าม | น. สตรีผู้ที่เนื่องในพระราชวงศ์หรือสตรีสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้านาย, เดิมเรียกว่า ห้าม ต่อมาเรียกว่า นางห้าม หม่อมห้าม และ หม่อม ตามลำดับ. |
หวงห้าม | ก. กันไว้โดยเฉพาะ เช่น ผลไม้ในสวนนี้เจ้าของไม่หวงห้าม จะเก็บไปกินก็ได้. |
หวงห้าม | ว. ที่กันไว้โดยเฉพาะ เช่น เขตหวงห้าม เข้าได้เฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง. |
หักห้าม | ก. ยับยั้งใจ. |
ห่าม | ว. จวนสุก (ใช้แก่ผลไม้) |
ห่าม | มีนิสัยมุทะลุ ห้าวหาญบ้าบิ่น ผิดปรกติวิสัย. |
ห้าม | ก. ให้เว้นกระทำ, ไม่ให้ทำตามที่กำหนดไว้. |
ห้าม | น. เรียกภรรยาของเจ้านายที่ไม่ใช่สะใภ้หลวง ว่า นางห้าม, เรียกหญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย ว่า หม่อมห้าม. |
ห้ามเข้าเขตกำหนด | น. วิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างหนึ่งที่ศาลใช้ห้ามผู้ถูกลงโทษและพ้นโทษแล้วเข้าในเขตที่กำหนดได้ไม่เกิน ๕ ปี. |
ห้ามญาติ | น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระกายตามปรกติ พระหัตถ์ขวาแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม. |
ห้ามทัพ | ก. ยับยั้งศึก, โดยปริยายหมายความว่า ยับยั้งการทะเลาะวิวาทกัน. |
ห้ามปราม | ก. สั่งไม่ให้ทำ. |
ห้ามพระแก่นจันทน์ | น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ซ้ายแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม. |
ห้ามไม่ให้ | ก. เป็นการย้ำไม่ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ห้ามไม่ให้เขียน ห้ามไม่ให้พูด. |
ห้ามล้อ | ก. ยั้ง. น. กลอุปกรณ์ชนิดหนึ่งใช้สำหรับลดความเร็วแห่งการหมุนของล้อรถ. |
ห้ามเลือด | ก. ทำให้เลือดหยุดไหลด้วยวิธีการต่าง ๆ. |
ห้ามสมุทร | น. ชื่อพระพุทธ-รูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้างยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม ที่สร้างเป็นแบบพระทรงเครื่องก็มี. |
กรอด ๓ | (กฺรอด) ก. บรรเลงดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง โดยวิธีบังคับหรือห้ามเสียงในช่วงท้ายให้สั้นลง มักใช้ในการตีระนาด ฆ้องวง และกรับเสภา. |
กระตุก | รั้งไว้, ห้ามไว้โดยเร็ว, เช่น เกือบจะมีเรื่องกับเขาแล้ว ดีว่าเพื่อนกระตุกไว้ |
กระเห่อ | ก. เห่อ เช่น คนห่ามกระเห่อทำ อวดรู้ (พระนลคำหลวง อารัมภกถา). |
กู่ไม่กลับ | ก. ไม่ฟังคำทัดทาน, ห้ามไม่อยู่. |
ขนอน ๑ | (ขะหฺนอน) น. สถานที่ซึ่งตั้งอยู่ในเส้นทางเข้าออกเมืองหรือเขตแดน เพื่อตรวจคนเข้าออก ผู้ลักลอบผ่านด่าน สิ่งของหรือสินค้าต้องห้าม และเรียกเก็บภาษีอากรสินค้า, ที่คอยเหตุและคนแปลกปลอม. |
ขยับเขยื้อน | (-ขะเยื่อน) ก. เคลื่อนที่, เลื่อนที่, ย้ายที่, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น หมอห้ามไม่ให้ขยับเขยื้อนเพราะกระดูกหัก. |
ขอที, ขอเสียที | ก. ห้ามเชิงขอร้อง, ขอให้ละเว้นการกระทำ. |
ขานนาค | ก. กล่าวตอบในเวลาที่พระคู่สวดสวดถามคุณสมบัติและโรคต้องห้ามเป็นภาษาบาลีในที่ประชุมสงฆ์ แล้วนาคผู้ขอบวชเป็นภิกษุตอบรับหรือปฏิเสธเป็นภาษาบาลีเช่นกัน. |
ขึงตา | ก. จ้องดูอย่างเขม็งด้วยอาการโกรธ หรือด้วยประสงค์จะห้าม. |
คดีอุทลุม | น. คดีที่บุคคลฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้. |
ค้นตัว | ก. ตรวจค้นตามร่างกาย เพื่อหาของกลาง ของต้องห้าม หรือของที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น เช่น ตำรวจค้นตัวผู้ต้องสงสัย. |
คร่า | (คฺร่า) ก. ฉุดลากไปอย่างไม่ปรานี เช่น ถ้าเจรจาถึง ๒ ครั้งไซ้ให้คร่ามือออกไปจากพระโรงแลให้ห้ามเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (สามดวง), ท่านให้มาว่ากล่าวร้องฟ้องณะโรงสานตามกระบินเมืองอย่าให้ตีด่าฉุดคร่าเอาโดยกำลังเองศักอันเลย (สามดวง) |
ค่าภาคหลวง | น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐ เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม. |
จนได้ | ว. ในที่สุดก็เป็นเช่นนั้น เช่น ห้ามแล้วยังไปทำอีกจนได้. |
จุ ๒, จุ ๆ | ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดูดลมเข้าปากเพื่อดุ ห้าม หรือเตือนเป็นต้น. |
ซ้อนคัน | ก. จอดรถยนต์ขนาบข้างรถยนต์คันอื่น เป็นการกีดขวางทางจราจร เช่น ห้ามจอดรถซ้อนคัน. |
ดำนาณ | น. เครื่องห้าม, เครื่องป้องกัน, เครื่องต้านทาน, ที่พึ่ง, ที่อาศัย. |
ดำเนิน ๒ | ว. ห่าม, แก่ยังไม่จัด, (ใช้แก่ผลไม้บางชนิด), เช่น มะม่วงดำเนิน กล้วยดำเนิน ขนุนดำเนิน, ตำเนิน ก็ว่า. |
ตัดใจ | ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น. |
ตำเนิน ๑ | ว. ห่าม, แก่ยังไม่จัด, (ใช้แก่ผลไม้บางชนิด), เช่น มะม่วงตำเนิน กล้วยตำเนิน ขนุนตำเนิน, ดำเนิน ก็ว่า. |
ทรธึก | ว. ใช้เรียกวันในตำราหมอดู ว่า วันทรธึก หมายความว่า วันที่ห้ามทำการมงคลต่าง ๆ. |
ทัณฑ์บน | คำรับรองว่าจะไม่กระทำการที่ห้ามหรือกระทำความผิดอีกภายในเวลาที่กำหนด. |
ทัดทาน | ก. กล่าวหรือแสดงออกเป็นทำนองห้ามหรือท้วงเพื่อให้งดไว้. |
นาคเกี้ยวกระหวัด, นาคบริพันธ์ ๑ | (นากบอริพัน) น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้ ๒ คำต้นของวรรคต่อไปซ้ำกับ ๒ คำสุดท้ายของวรรคหน้า โดยให้สลับคำกัน เช่น พระปิตุรงค์ฟังบุตรเห็นสุดห้าม ห้ามสุดความคิดบุตรเห็นสุดหาญ หาญสุดไม่หยุดยั้งจะรั้งราญ ราญรั้งนานแน่วเนตรสังเวชบุตร (ศิริวิบุลกิตติ์). |
น้ำตาลใกล้มดใครจะอดได้ | น. ชายหญิงที่ใกล้ชิดกันมากย่อมห้ามใจไม่ให้รักกันได้ยาก. |
เนตบอล | น. กีฬาอย่างหนึ่ง คล้ายบาสเกตบอล มีผู้เล่นฝ่ายละ ๗ คน และส่งลูกบอลโดยวิธีโยนหรือขว้างเท่านั้น ห้ามเตะหรือตบลูกบอลกับพื้น. |
บวรโตฎก | (บอวอระโตดก) น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้ ๓ พยางค์ต้นวรรคแต่ละวรรคเป็นสะคณะคือพยางค์เบา ๒ พยางค์ พยางค์หนัก ๑ พยางค์ เช่น ชลเนตรไหลนองร้องร่ำรัก ชลไนยไหลหนักอาวรณ์หวาม ชนนีห้ามบุตรสุดไม่ตาม ชลนานองน้ำพระเนตรนอง (สารานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ภาคฉันทลักษณ์). |
บังคับใจ | ก. ห้ามใจ, ข่มใจ, อดกลั้น |