จระเข้หางยาว | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น นิยมใช้เป็นเพลงเริ่มฝึกการหัดเรียนดนตรีประเภทเครื่องสายและขับร้อง |
จระเข้หางยาว | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา. |
จิ้งเหลนหางยาว | ดู สางห่า. |
เรือหางยาว | น. เรือยนต์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเพรียวยาว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ติดที่ท้ายเรือ มีท่อโลหะยาวคล้ายหางติดใบจักรใช้แทนหางเสือไปในตัวและยกขึ้นลง โยกไปทางซ้ายทางขวาเพื่อเปลี่ยนทิศทางได้. |
หางยาว | น. เรียกเรือยนต์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเพรียวยาว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ติดท้ายเรือ มีท่อโลหะยาวปลายติดใบจักรใช้แทนหางเสือไปในตัว โยกไปทางซ้ายทางขวาเพื่อเปลี่ยนทิศทางและยกขึ้นลงได้ ว่า เรือหางยาว. |
กรวด ๒ | (กฺรวด) น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อจุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, จรวด ก็เรียก. |
กระจิบ ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Sylviidae ปากเล็กบาง ปลายแหลมตรง ขายาวเรียวเล็ก ร้องเสียงคล้าย “จิบ ๆ ” กินแมลง มีหลายชนิด เช่น กระจิบธรรมดาหรือกระจิบหางยาว [ Orthotomus sutorius (Pennant) ] กระจิบคอดำ ( O. atrogularis Temminck) กระจิบหัวแดง ( O. sepiumHorsfield). |
กระรอก | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและใบหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี [ Callosciurus finlaysoni (Horsfield) ] พญากระรอกดำ [ Ratufa bicolor (Sparrman) ] . |
กะลิง | น. ชื่อนกปากขอชนิด Psittacula finschii (Hume) ในวงศ์ Psittacidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกแขกเต้าที่พบในประเทศไทย ปากสีแดง โดยปลายขากรรไกรบนสีแดงปลายเหลือง ขากรรไกรล่างสีเหลือง หัวสีเทา ตัวสีเขียว หางยาว กินผลไม้และเมล็ดพืช, กะแล ก็เรียก. |
กางเขน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Turdidae ปากยาวปานกลางปลายแหลม หางยาวกว่าลำตัวมาก เช่น กางเขนบ้าน [ Copsychus saularis (Linn.) ] ส่วนบนลำตัวสีดำ ส่วนล่างตั้งแต่อกลงไปสีขาวหม่น ปีกมีลายพาดสีขาว มักอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ กินแมลง, ภาคกลางเรียก กางเขน, พายัพเรียก จีแจ๊บ, อีสานเรียก จี่จู้, ปักษ์ใต้เรียก บินหลา, กางเขนดง [ C. malabaricus (Scopoli) ] ปาก หัว หลัง อก และปีกของตัวผู้สีดำเหลือบ หลังส่วนล่างติดโคนหางสีขาว อกส่วนล่างไปจนถึงหางสีน้ำตาลแดง หางยาว ด้านบนสีดำ ใต้หางและขอบหางสีขาว ขาสีน้ำตาลอมชมพู ตัวเมียสีจางไม่สดใสเท่าตัวผู้และหางสั้นกว่า. |
กาแวน | น. ชื่อนกขนาดกลาง ชนิด Crypsirina temia (Daudin) วงศ์ย่อย Corvidae ในวงศ์ Corvidae ปากค่อนข้างหนาคล้ายปากอีกา บริเวณหนังส่วนหน้าที่ติดกับโคนปากคล้ายกำมะหยี่สีดำ ม่านตาสีฟ้าสด ลำตัวสีดำ ปลายหางยาวกลมมนแผ่ออกได้คล้ายนกแซงแซง, กระแวน ก็เรียก. |
กาฮัง | น. ชื่อนกเงือกชนิด Buceros bicornis Linn. ในวงศ์ Bucerotidae เป็นนกขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่นกเงือก โคนขากรรไกรบนมีโหนกแข็งขนาดใหญ่ คอสีขาว ปีกสีดำพาดเหลือง ปลายปีกขาว หางยาวสีขาวพาดดำ ตัวผู้ตาสีแดง ตัวเมียตาสีขาว กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก, กก หรือ กะวะ ก็เรียก. |
กิ้งก่า | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Agamidae มีขนาดลำตัวต่าง ๆ กัน สันกลางของคอถึงลำตัวมีหนามแหลมจำนวนและขนาดต่างกัน เพศผู้มีสีเข้มและปรับสีได้ดีแตกต่างจากเพศเมีย ตัวและขามีเกล็ด ขาและนิ้วเล็กเรียว เล็บแหลมคม หางยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนต้นไม้ เช่น กิ้งก่าบ้านหัวนํ้าเงิน ( Calotes mystaceus Dumeril & Bibron) กิ้งก่าเขา [ Acanthosaura armata (Hardwicke & Gray) ], อีสานเรียก ปอม กะปอม กะทั่ง หรือ กะท้าง. |
กินปลี | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด วงศ์ย่อย Nectariniidae ในวงศ์ Nectariniidae ขนคลุมลำตัวสีเหลือบเป็นมัน ตัวผู้สีเข้มกว่าตัวเมีย ซึ่งส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลอมเขียว ปากยาวเรียวโค้งลงเหมาะสำหรับดูดน้ำต้อยจากปลีกล้วย ดอกไม้ และจับแมลงกิน เช่น กินปลีอกเหลือง [ Nectarinia jugularis (Linn.) ] กินปลีหางยาวเขียว [ Aethopyga nipalensis (Hodgson) ] กินปลีท้ายทอยสีน้ำเงิน [ Hypogramma hypogrammicumMüller ]. |
ไก่ฟ้า | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Phasianidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับไก่บ้าน ปากสั้นแข็งแรง ปลายแหลมโค้งเล็กน้อย ตัวผู้ส่วนใหญ่ที่หน้ามีแผ่นหนังสีสดใสคล้ายหน้ากาก เกือบทุกชนิดมีหงอนเป็นพู่ขน คอยาว ลำตัวป้อม มีหลายสี ขาแข็งแรง หางยาวโดยเฉพาะตัวผู้มีหางกะลวยสวยงามเป็นพิเศษและสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ ผลไม้สุก และเมล็ดพืช เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว [ Lophura nycthemera (Linn.) ] พญาลอหรือไก่ฟ้าพญาลอ ( L. diardi (Bonaparte)) ไก่ฟ้าหางลายขวาง [ Syrmaticus humiae (Hume) ] . |
ข้าวต้มลูกโยน | น. ข้าวเหนียวที่ผัดกับกะทิใส่เกลือ น้ำตาล ห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตยไว้หางยาว แล้วต้มให้สุก. |
ขุนแผน ๒ | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Urocissa erythrorhyncha (Boddaert) วงศ์ย่อย Corvinae ในวงศ์ Corvidae ปากสีแดง หัวและคอสีดำ ลำตัวสีฟ้าอมเทา หางยาว กินผลไม้และสัตว์เล็ก ๆ. |
ขุนแผน ๒ | ชื่อนกหลายชนิด ในสกุล Harpactesวงศ์ Trogonidae ปากกว้าง ปีกสั้น ปลายปีกมน ขาสั้น หางยาว ปลายหางตัด มีหลายสี เช่น สีแดง เหลือง ดำ เช่น ขุนแผนหัวดำ [ H. diardii (Temminck) ] ขุนแผนอกสีส้ม [ H. oreskios (Temminck) ]. |
ค่าง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดำ ลำตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้และบางครั้งผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดำ [ Presbytis melalophos (Raffles) ] ค่างแว่นถิ่นใต้ [ P. obscura (Reid) ] ค่างหงอกหรือค่างเทา [ P. cristata (Raffles) ] และค่างแว่นถิ่นเหนือ ( P. phayrei Blyth). |
จรวด ๑ | (จะหฺรวด) น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อจุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, กรวด ก็เรียก. (ข. กำชฺรัวจ ว่า พลุ). |
จาบปีกอ่อน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Emberizidae เป็นนกที่อพยพมาประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม หางยาวปานกลาง ปลายหางเว้าตื้น ทั้งสองเพศมีสีแตกต่างกัน ตัวผู้สีสดกว่าตัวเมีย กินเมล็ดผลไม้และแมลง เช่น จาบปีกอ่อนสีตาล ( Emberiza rutilaPallas) จาบปีกอ่อนอกเหลือง ( E. aureola Pallas) จาบปีกอ่อนหงอน [ Melophus lathami (Gray) ]. |
จามรี | น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos grunniens Linn. ในวงศ์ Bovidae ขนตามลำตัวละเอียดอ่อนยาวมาก สีนํ้าตาลเข้มจนถึงดำ โดยเฉพาะบริเวณสวาบคือบริเวณระหว่างชายโครงถึงสันกระดูกตะโพกมีขนสีดำห้อยยาวลงมาเกือบถึงพื้น ช่วงเขากว้างมาก หางยาวเป็นพู่ อาศัยอยู่แถบภูเขาสูงในทิเบต, จมร จมรี หรือ จามจุรี ก็เรียก |
จิ้งจก | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กในวงศ์ Gekkonidae และ Eublephoridae เป็นสัตว์จำพวกตุ๊กแก หัวโต ตัวยาว หางยาว ปรกติเคลื่อนที่โดยการไต่สี่ขาตามผนังหรือต้นไม้ กระโดดได้ในระยะสั้น ๆ วิ่งได้เร็ว สลัดหางง่ายและงอกขึ้นใหม่ได้ ปรับสีตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น จิ้งจกบ้านหรือจิ้งจกบ้านหางแบน [ Cosymbotus platyurus (Schneider) ] ตีนเกาะติดผนังได้, จิ้งจกดินลายหินอ่อน [ Cyrtodactylus peguensis (Kuhl) ] ตีนเกาะติดผนังไม่ได้, จิ้งจกบิน [ Platyurus craspedotus (Mocguard) ] สามารถร่อนตัวไปในอากาศได้, พายัพเรียก จั๊กกิ้ม. |
จิงโจ้ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Macropodidae ขาคู่หน้าสั้น คู่หลังยาวและแข็งแรง ใช้กระโดดได้ไกล ๆ หางยาวและแข็งแรงใช้เป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัว ตัวเมียออกลูกเป็นตัว ไม่มีรก มีถุงที่หน้าท้องสำหรับใส่ลูก มีหลายชนิด เช่น ชนิด Macropus rufus (Desmarest) มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย. |
จิ้งเหลน | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scincidae หัวค่อนข้างโต ลำตัวยาว เกล็ดเรียบเป็นมันซ้อนกันตั้งแต่คอตลอดลำตัวไปจนถึงขาและหาง หางยาว พวกที่มี ๔ ขา เช่น จิ้งเหลนบ้าน [ Mabuya multifasciata (Kuhl) ] จิ้งเหลนลาย [ Lipinia vittigera (Boulenger) ] พวกที่ไม่มีขา เรียก จิ้งเหลนด้วง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก หากินตามพื้นดินที่มีกิ่งไม้และใบไม้ปกคลุม กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน ชนิดที่อยู่ใต้ผิวดินมีขาเล็กมาก เช่น จิ้งเหลนเรียวขาเล็กหรือเมียงู [ Lygosoma quadrupes (Linn.) ], พายัพเรียก จั๊กเล้อ. |
ฉลามเสือ | น. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างลำตัวถึงปลายหาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโตขึ้น หางยาว ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง พิมพา หรือ เสือทะเล ก็เรียก. |
ชะมด ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้อวัยวะเพศ มักหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด [ Viverricula malaccensis (Gmelin) ] เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง ( Viverra zibetha Linn.), ชะมดแผงสันหางดำ ( V. megaspila Blyth), อีสานเรียก เห็นอ้ม. |
ช้างเอเชีย | น. ชื่อช้างชนิด Elephas maximus (Linn.) หัวโต เห็นเป็นโหนก ๒ โหนก เรียก ตะพอง ปลายงวงด้านบนมีจะงอย ๑ จะงอย ใบหูเล็กรูปสามเหลี่ยม หลังเรียบหรือโค้งเล็กน้อย ผิวหนังค่อนข้างละเอียดนุ่ม มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง โหนกหัวและมุมปาก หางยาวเกือบถึงพื้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ไม่มีงาหรืองาสั้น เรียก ช้างสีดอ ตัวเมีย เรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาหรือมีงาสั้น งาของตัวเมีย เรียก ขนาย. |
ชีปะขาว ๒ | น. ชื่อแมลงในอันดับ Ephemeroptera ลำตัวอ่อนนิ่มบอบบางสีขาว หนวดสั้นมากมองเกือบไม่เห็น ปีกบางใสรูปสามเหลี่ยม มีเส้นปีกมากมาย เมื่อเกาะปีกจะตั้งตรง ที่ปลายท้องมีหางยาวคล้ายเส้นด้าย ๒-๓ เส้น เมื่อถูกรบกวนจะปล่อยของเหลวเหนียวสีขาวขุ่น เช่น ชนิด Ephemeraspp . ในวงศ์ Ephemeridae, ชีผ้าขาว ชีผะขาว หรือ สับปะขาว ก็เรียก. |
ดาโป้งเป้ง | น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Nepidae ที่พบบ่อยอยู่ในสกุล Laccotrephesเช่น ชนิด L. ruberLinn. และ L. robustus Stål ลำตัวยาว ๓-๔ เซนติเมตร มีหางยาวยื่นออกมา ๒ เส้น ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ ขาคู่หน้าแข็งแรง จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่นลูกน้ำหรือดักแด้ยุงกิน, มวนแมงป่องน้ำ หรือ แมลงดาโป้งเป้ง ก็เรียก, พายัพเรียก ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว, อีสานเรียก แมงฮอด อีงอด งอดน้ำ หรือ กะโซ่น้ำ, ปักษ์ใต้เรียก แมลงจิ้มฟันจระเข้ หรือ แมลงดาขี้ควาย. |
ดุกทะเล | น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Plotosus lineatus (Thunberg) และ P. canius (Hamilton) ในวงศ์ Plotosidae มีเงี่ยงที่ครีบอกและครีบหลังตอนแรก ส่วนครีบหลังตอนที่ ๒ ต่อเนื่องกับครีบก้นและครีบหางยาว, สามแก้ว ปิ่นแก้ว หรือ เป็ดแก้ว ก็เรียก. |
ดุเหว่า | (-เหฺว่า) น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Eudynamis scolopacea (Linn.) ในวงศ์ Cuculidae ตัวเล็กกว่ากาเล็กน้อย ตาแดง หางยาว ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายจุดสีขาวพาดตลอดลำตัว วางไข่ให้นกชนิดอื่นฟัก มักหากินตามลำพัง กินแมลงและผลไม้, กาเหว่า ก็เรียก. |
ตบยุง | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Caprimulgidae และในวงศ์ Eurostopodidae ขนนุ่มสีนํ้าตาลเทา มีลายกระขาว หากินในเวลากลางคืน กลางวันจะพรางตัวซ่อนอยู่ตามพื้นดิน กินแมลง เช่น ตบยุงหางยาว ( Caprimulgus macrurusHorsfield) ตบยุงเล็ก ( C. asiaticus Latham) ตบยุงภูเขา ( C. indicus Latham) ซึ่งจัดไว้ในวงศ์ Caprimulgidae, ตบยุงยักษ์ [ Eurostopodus macrotis (Vigors) ] ตบยุงพันธุ์มลายู [ E. temminckii (Gould) ] ซึ่งจัดไว้ในวงศ์ Eurostopdidae, กระบา กระบ่า หรือ กระบ้า ก็เรียก. |
ตะกวด | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Varanus bengalensis (Gray) ที่พบในประเทศไทยคือ ชนิดย่อย V. b. nebulosus (Gray) ในวงศ์ Varanidae จมูกอยู่ใกล้ตา ปากและคอค่อนข้างยาว ลิ้นแยกเป็น ๒ แฉกยาว ลำตัวกลมยาว สีนํ้าตาลเหลือง หางยาว ซ่อนตัวตามโพรงไม้ในป่า มักหากินตามพื้นดิน ไม่ค่อยลงน้ำ ปีนต้นไม้ได้ดี กินอาหารได้หลากหลายทั้งสัตว์ ซากสัตว์ และพืช, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก. |
เต่าปูลู | น. ชื่อเต่าน้ำจืดชนิด Platysternon megacephalum Gray วงศ์ Platysternidae หัวโตมากและแข็งหดเข้ากระดองไม่ได้อย่างเต่าชนิดอื่น ปลายปากเป็นจะงอย กระดองหลังยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร หางยาวเท่ากับหรือยาวกว่ากระดองหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้เตี้ย ๆ ได้ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยอาจพบถึง ๓ ชนิดย่อย คือ ปูลูเหนือ (P. m. megacephalum Gray), ปูลูพม่า (P. m. peguens Gray) และปูลูไทย ( P. m. vogeli Wermuth) พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันตก. |
บ้องไฟ | น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งมีหางยาวอย่างกรวดดอกไม้ไฟ แต่มีขนาดใหญ่มาก, บั้งไฟ ก็ว่า. |
ปักเป้า ๒ | (ปัก-) น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีหางยาว, คู่กับ ว่าวจุฬา, อีเป้า ก็เรียก. |
พญาปากกว้าง | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Eurylaimidae ปากใหญ่รูปสามเหลี่ยม อ้าปากได้กว้าง สีของปากฉูดฉาด สะท้อนแสง หัวโต ลำตัวอ้วนป้อม อาศัยอยู่ในป่าทึบ ทำรังด้วยใบไม้และใยแมงมุมเป็นรูปกระเปาะแขวนตามกิ่งไม้ใกล้แหล่งน้ำ กินแมลง สัตว์ขนาดเล็ก และผลไม้ เช่น พญาปากกว้างสีดำ [ Corydon sumatranus (Raffles) ] พญาปากกว้างท้องแดง [ Cymbirhynchus macrorhynchos (Gmelin) ] พญาปากกว้างหางยาว [ Psarisomus dalhousiae (Jameson) ]. |
พญาลอ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Lophura diardi (Bonaparte) ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเทา ตะโพกสีแดงสด ขนหางยาวสีดำเหลือบเขียว ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายขวางสีดำ ทำรังเป็นแอ่งตามพุ่มไม้หรือโพรงไม้ติดดิน คุ้ยเขี่ยหากินตามพื้นดิน พบตามป่าทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นไก่ฟ้าที่รู้จักกันดีในประเทศไทย มีชื่อสามัญว่า Siamese Fireback หรือ Siamese Fireback Pheasant, ไก่ฟ้าพญาลอ ก็เรียก. |
พังพอน | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในสกุล Herpestes วงศ์ Viverridae ขนลำตัวหนาสีนํ้าตาลหรือเทา หัวแหลม หางยาวเป็นพวง เคลื่อนไหวเร็วมาก กินสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ พังพอนธรรมดา [ H. javanicus (Geoffroy) ] ตัวเล็ก สีนํ้าตาล และพังพอนกินปูหรือพังพอนยักษ์ [ H. urva (Hodgson) ] ตัวใหญ่สีเทา มีแต้มขาวที่ด้านข้างลำคอ. |
ม้าลาย | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่มีลายสีดำและสีขาวพาดขวางลำตัวตัดกันเห็นได้ชัดเจน จมูกดำ ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้าเป็นกีบเดี่ยวกลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหางมีขนสั้น อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi (Oustalet) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชนิด E. burchelli (Gray) เป็นชนิดที่นิยมนำมาเลี้ยงตามสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป. |
แมงดา | น. ชื่อสัตว์ทะเลในวงศ์ Xiphosuridae รูปร่างคล้ายจานควํ่า หางยาวเป็นแท่ง ในน่านนํ้าไทยพบ ๒ ชนิด คือ แมงดาจานหรือแมงดาทะเลหางเหลี่ยม [ Tachypleus gigas (Müller) ] บนสันหางเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย หน้าตัดของหางมีรูปคล้ายสามเหลี่ยม และ แมงดาทะเลหางกลม แมงดาถ้วย เหรา หรือ แมงดาไฟ [ Carcinoscorpius rotundicauda (Latreille) ] ขนาดเล็กกว่าแมงดาจาน สันหางเรียบ หน้าตัดของหางค่อนข้างกลม ในบางฤดูกาล ไข่และอวัยวะภายในอาจเป็นพิษได้, แมงดาทะเล ก็เรียก |
แมว ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis catus Linn. ในวงศ์ Felidae หัวกลมและสั้น มีเขี้ยว ๒ คู่ ขนยาวนุ่ม ตีนหน้ามี ๕ นิ้ว ตีนหลังมี ๔ นิ้ว ซ่อนเล็บได้ หางยาว สั้น หรือขอด มีหลายสี เช่น ดำ ขาว นํ้าตาล หรืออาจมีลายต่าง ๆ ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ตามบ้าน แมวไทยที่สวยงามและมีชื่อเสียงมากเช่น แมวสีสวาด แมววิเชียรมาศ |
ยาวเฟื้อย | ว. ยาวมาก (มักใช้แก่สิ่งที่เป็นเส้นอย่างผมหรือหางไก่เป็นต้น) เช่น ผมยาวเฟื้อย ไก่ฟ้าหางยาวเฟื้อย. |
ระวังไพร, ระวังวัน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในสกุล Pomatorhinusวงศ์ Timaliidae ปากแหลมโค้ง คอ อก และท้องสีขาว ตัวสีนํ้าตาล หางยาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ตามพุ่มไม้หรือต้นไม้ หากินเป็นฝูงและส่งเสียงร้องตลอดเวลา กินแมลงตามพื้นดินและพุ่มไม้ เช่น ระวังไพรปากเหลือง (P. schisticeps Hodgson) ระวังไพรปากยาว [ P. hypoleucos (Blyth) ], ตระเวนไพร หรือ ตระเวนวัน ก็เรียก. |
ลิ่น | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Manidae ตัวยาว เกล็ดใหญ่หนาแข็งซ้อนเหลื่อมกัน หน้าแหลม เล็บหนายาวโค้งปลายแหลมใช้ขุดดินและปีนต้นไม้ หางยาวม้วนงอได้ เมื่อตกใจหรือป้องกันศัตรูจะม้วนตัวกลม ลิ้นยาวเป็นเส้นมีน้ำลายเหนียวใช้จับมดและปลวก แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Manis javanica Desmarest และชนิด M. pentadactyla Linn. ชนิดหลังตัวเล็กกว่าเล็กน้อยและมีโอกาสพบได้น้อยกว่าชนิดแรก, นิ่ม ก็เรียก. |
ลูกโยน | เรียกข้าวเหนียวที่ผัดกับกะทิใส่เกลือ นํ้าตาล ห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตยไว้หางยาว แล้วต้มให้สุก ว่า ข้าวต้มลูกโยน. |
วอก ๒ | น. ชื่อลิงชนิด Macaca mulatta (Zimmermann) อันดับ Primates ในวงศ์ Cercopithecidae ขนสีน้ำตาลอ่อน ขนหัวเรียบ หางยาวปานกลางห้อยลง ผิวหนังที่ก้นและขาหลังด้านในสีแดง เมื่อแก่ตัวหน้าสีแดง. |
สางห่า | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Takydromus sexlineatus (Daudin) ในวงศ์ Lacertidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกิ้งก่า ตัวเล็กลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ไม่มีลาย ความยาวตั้งแต่หัวจดปลายหางประมาณ ๕๐ เซนติเมตร หางยาวมากประมาณ ๕ เท่าของความยาวลำตัว กินแมลง พบทุกภาคของประเทศไทย ที่เรียกสางห่าเพราะเข้าใจผิดว่ามีพิษร้ายแรงแต่ความจริงเป็นสัตว์ไม่มีพิษ, จิ้งเหลนหางยาว หรือ งูคา ก็เรียก. |
เสือปลา | น. ชื่อเสือชนิด Felis viverrina Bennett ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่กว่าแมวป่า พื้นลำตัวสีเทาหรือน้ำตาลอมเขียว มีลายสีดำเป็นจุดกระจายอยู่ทั่วตัว หางยาวมีแถบสีดำเป็นวงใกล้ปลายหาง กินปลาและสัตว์เล็ก, ทางภาคตะวันออกเรียกเสือปลาที่มีขนาดใหญ่ว่า เสือแผ้ว. |